ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์พระองค์นั้น
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เรามักเรียกว่า "พระพุทธพจน์" หรือ "พระพุทธวจนะ" นั้น เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา
มีพระพุทธพจน์จากพระบาลีตรัสไว้ดังนี้
"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ, ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้มีสภาพประภัสสรผ่องใส
แต่ที่เศร้าหมองไปนั้น เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง"
เมื่อพิจารณาจากพระบาลี จะเห็นได้ว่าจิตของคนเราที่เกิดความเศร้าหมองไปนั้น ก็เพราะเหตุอันมีอุปกิเลสเป็นแขกจร เข้ามาครอบงำจิตของตนในภายหลัง จึงทำให้จิตของตนหมองเศร้าลงไปด้วยเหตุฉะนี้
ในขณะที่จิตของตนยังรู้สึกเฉยๆ อยู่ ด้วยไม่รู้จักอารมณ์ที่มากระทบในขณะเวลานั้น หรือยังไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ ที่เรียกว่า "แขกจร" เข้ามาในจิตของตน จิตของตนในขณะเวลานั้นจะอยู่ในสภาพที่ยัง "ปภัสสรผ่องใส" อยู่
สภาพความปภัสสรผ่องใสของจิตในขณะที่ว่านั้น เป็นสภาพเดิมของจิตขณะที่ยังไม่มีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามา แต่เป็นลักษณะของจิตที่ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร เป็นสภาพความประภัสสรผ่องใสของจิต ที่ยังไม่ได้รับความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ด้วยยังไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
ในปัจจุบันมีการถกธรรมในเรื่องนี้ เพื่อค้นหาข้อยุติ โดยพยายามค้นหาสัจธรรมความจริง ที่ไม่อาจหักล้างด้วยตรรกะพื้นๆ ทั่วไปได้ เรื่องที่ว่านั้นคือ
สภาพเดิมของจิต ที่เรียกว่าจิตเดิมแท้นั้น มีความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย อยู่ก่อนแล้ว แต่มาเศร้าหมองลงไปในภายหลัง เมื่อบรรลุ "พระนิพพาน" เพราะสิ้นตัณหาแล้ว จึงปรากฎความบริสุทธิ์ขึ้นที่จิตของตน
หรือว่า สภาพของจิตเดิมแท้นั้นคือตัวกิเลส ได้รับความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายที่เรียกว่า บรรลุ "พระนิพพาน" มาปรากฏขึ้นในภายหลัง ด้วยการเพียรเพ่งปฏิบัติธรรมภาวนามยปัญญา เพื่อให้เข้าสู่ "สภาวะธรรม" ดังกล่าว
ฝ่ายที่เห็นว่า พระนิพพานไม่มีอยู่ในจิตของตน แต่มาปรากฏขึ้นในภายหลังนั้น ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ถ้ามีสภาวะธรรมที่ว่ามานั้นปรากฏอยู่ก่อนแล้ว จิตจะเข้ามาเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะอีกทำไม ถ้าเรามีนิพพานอยู่แล้ว เหมือนกับเรามีความสุขอยู่แล้ว เราจะยอมมีความทุกข์ไหม
เพื่อหาข้อสรุป ที่เราพอจะพิจารณาตริตรอง ให้เห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องเปรียบเทียบ เทียบเคียง เพื่ออุปมาอุปมัย ให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งๆ ขึ้น
ในการนำไปพิจารณา เราเปรียบ "จิตของตน" เหมือน "น้ำ"
เดิมนั้น "น้ำ" มีสภาพใสสะอาด แต่ที่ต้องเศร้าหมองสกปรกไป เหตุเพราะมีสิ่งสกปรก ไม่สะอาดเป็นแขกจรเข้ามาเจือปนในภายหลัง น้ำที่เราเห็นด้วยตาเนื้อ เราย่อมชี้ชัดลงไปได้ว่ามีความใสสะอาด แต่ก็เชื่อได้ว่า น้ำนั้นยังไม่ได้รับบริสุทธิ์หมดจด เพราะยังมีรสชาติอยู่ และน้ำนั้นก็ยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดี ใช่หรือไม่?
เมื่อนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว เห็นได้ว่า "ความบริสุทธิ์หมดจดของน้ำ" เป็นคุณลักษณะประจำตัวของน้ำอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเรานำน้ำมากลั่นกรองอย่างพิถีพิถัน จนน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ความใสสะอาดบริสุทธิ์ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นทุนเดิม ย่อมปรากฏเป็นของน้ำนั้น
ไม่ใช่ว่าพอปรากฏความใสสะอาดบริสุทธิ์ของน้ำเกิดขึ้นมาแล้ว น้ำดังกล่าวนั้นต้องหายไป หรือไม่อาจเรียกว่าน้ำอีกต่อไปแล้ว และความใสสะอาดบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็ใช่ว่าจะมาแทนที่น้ำนั้นเสียเมื่อไหร่ ความใสสะอาดบริสุทธิ์และน้ำก็ยังต้องอยู่ร่วมกับน้ำเป็นปรกติสุข
เพราะน้ำที่ว่ามานั้นเป็นแม่ธาตุ ที่คงความใสสะอาดบริสุทธิ์เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว ฉันใด เราจึงสามารถที่จะกลั่นกรองน้ำ ให้กลับคืนสู่สภาพความใสสะอาดบริสุทธิ์หมดจดได้ ฉันนั้น
เช่นเดียวกับทองคำแท้ที่บริสุทธิ์สุกปลั่ง ความสุกปลั่งย่อมเป็นคุณสมบัติของทองคำแท้บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซนต์ เมื่อทองคำนั้นมีสิ่งอื่นเข้ามาผสมเจือปน ย่อมทำให้ทองคำนั้นหม่นหมองลงไป เมื่อแยกเอาสิ่งแปลกปลอมที่เจือปนอยู่ในเนื้อทองคำออกไป ย่อมทำให้ทองคำนั้นกลับมาบริสุทธิ์สุกปลั่งเหมือนเดิม เพราะคุณสมบัติที่สุกปลั่ง เป็นทุนเดิมของทองคำแท้บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์นั่นเอง
เมื่อมาพิจารณาโดยตรรกะให้ลึกลงไป จะเห็นได้ว่าเรื่องคุณลักษณะหรือคุณสมบัตินั้น เป็นเรื่องที่ต้องติดอยู่กับวัตถุสิ่งของนั้นๆ อยู่ก่อนแล้ว เราจึงสามารถทำให้วัตถุสิ่งของดังกล่าวกลับมามีคุณลักษณะ หรือมีคุณสมบัติที่เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนนั้น ปรากฏให้รู้เห็นได้
ถ้าวัตถุสิ่งของดังที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งเหลวไหล หรือมีความสกปรกโสมมเป็นทุนเดิมอยู่ก่อน เราก็ไม่อาจชำระหรือกระทำการใดๆ ให้วัตถุสิ่งของเหล่านั้น ใสสะอาดบริสุทธิ์หมดจดได้ เพราะวัตถุสิ่งของเหล่านั้นมีสภาพเดิมเป็นของเหลวไหล มีความสกปรกโสมมเป็นทุนเดิมอยู่ก่อน
เช่นเดียวกัน ถ้า "จิตเป็นตัวทุกข์ จิตเป็นตัวกิเลส จิตเป็นตัวอวิชชา" เสียแล้ว อย่างที่มีคนเคยกล่าวไว้ เราย่อมไม่อาจปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา เพื่อขจัดขัดเกลา ชำระ ลด ละ เลิก กิริยาอาการของจิตชนิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ เพราะคุณลักษณะหรือทุนเดิมที่อยู่ประจำจิตนั้น เป็นทุกข์ มีกิเลส โสมมด้วยอวิชชา คือความรู้ผิด ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ซึ่งหาเป็นเช่นนั้นไม่?
มีพระพุทธพจน์จากนิพพานสูตรที่ ๓ ตรัสไว้ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้า ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้
การสลัดออกซึ่ง ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว
อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
จากพระพุทธพจน์ได้ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเอง(ธรรมชาติ) อันไม่ไปเกิดอีกแล้ว ไม่เป็นไปในภพใดแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก การสลัดคืน ซึ่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมไม่พึงปรากฏให้เห็นในโลกนี้ได้เลย
เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาที่กล่าวไว้ข้างต้น แม่ธาตุที่มาประชุมกันเป็นรูปร่างกายอันมีจิตครองอยู่นั้น เมื่อได้เริ่มปรากฏครั้งแรกขึ้นมา ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ได้ แม้ผู้มีปัญญาไม่อาจตามรู้ได้ว่ามาจากไหน โดยเฉพาะ "จิต" ที่เรียกธาตุรู้ มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ชัดเจนว่า
"อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สงฺสาโร ปุพฺพาโกฏิ น ปญฺญายติ แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารจักรนี้ มีอยู่ก่อนนานมาแล้ว
ซึ่งผู้มีปัญญาไม่อาจตามรู้ได้ว่ามาจากไหน และจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อใด"
ยังมีพระพุทธพจน์รับรองเรื่อง อวิชชา จากพระสุตตันตปิฎก กล่าวไว้ว่า
"ปุริมา ภิกฺขเว โกฏิ น ปญฺญายติ อวิชฺชาย,
อวิชฺชา ปุพฺเพ นาโหสิ อถ ปจฺฉา สมฺภวิ แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เบื้องต้นและที่สุดของอวิชชานั้น
ผู้มีปัญญาตามรู้ไม่ได้, อวิชชานี้ไม่ได้เกิดมีมาก่อน
เพราะฉะนั้นจึงเกิดมีขึ้นในภายหลัง"
พอสรุปได้ว่า ธาตุรู้ที่เป็นแม่ธาตุเมื่อแรกปรากฏขึ้นมานั้น ไม่รู้จักสุขที่เกิดจากการดับสนิทที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะตน เมื่อรู้อะไรก็เอนเอียงไม่เที่ยงตรงคงที่ต่อธาตุรู้ รู้อะไรรับเอาสิ่งที่รู้ไว้หมด เพราะยังไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อรับเอาไว้มากๆ ก็เกิดมีความพอใจ ความไม่พอใจเกิดขึ้น โดนอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำจิตของตนโดยไม่รู้ตัว อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ได้ห่อหุ้มบดบังความสะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจนหมดไป
เมื่อลงมือปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง ได้รู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้หนทางที่จะออกจากทุกข์ รู้การดับทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ดี ย่อมมีคู่เทียบให้เปรียบ ทำให้รู้จักสุขอันเกิดจากความสงบตั้งมั่น พร้อมรู้แจ้งในความดับสนิทของอุปกิเลสทั้งหลายได้
อันมีพระพุทธอุทาน ที่ได้ทรงเปล่งออกภายใต้ต้นโพธิ์ เมื่อตอนตรัสรู้ใหม่ๆ ว่า
"วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แปลว่า
จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง, บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"
และดังตัวอย่างคำพังเพยของผู้รู้ ที่กล่าวตามๆ กันมาว่า
สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ
นิพพานนั้นก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล เพียงหายใจก็ได้ยิน
และเป็นที่ยอมรับกันว่าถูกต้องเสียด้วย
บทส่งท้าย เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ที่นำเสนอมานั้น ธรรมะทางภาคปฏิบัติล้วนเป็นอัชฌัตตาธัมมา ไม่ใช่พหิทธาธัมมา เป็นเรื่องธรรม ณ ภายในกายใจของตน ยิ่งพิจารณาลงไปที่กายในกายของตน ตามหลักปฏิบัติธรรมในมหาสติปัฏฐานสูตรด้วยแล้ว ย่อมทำให้กระเทือนไปถึง เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
การค้นหาธรรม ณ ภายในจิตของตน ธรรมนั้นย่อมต้องมีอยู่ก่อน จึงทำให้ธรรมนั้นปรากฏขึ้นมาได้ เพียงแต่ถูกบดบังไว้ด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เมื่อเราเพียรเพ่งภาวนาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เพื่อบรรลุพระนิพพาน เป็นการสลัดออกซึ่ง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมทำให้จิตของตนปรากฏความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายได้
เมื่อกล่าวถึงท่านพระอรหันต์ที่เป็นอริยสาวก ที่ยังมีชีวิตินทรีย์อยู่นั้น ท่านก็ยังต้องดำรงชีวิตแบบสามัญชนคนธรรมดาเช่นกัน ยังต้องดื่ม กิน นึกคิด พิจารณา รู้เย็นร้อน อ่อนแข็ง เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ท่านพระอรหันต์อริยสาวกนั้น ท่านกระทำไปด้วยจิตใจที่ปราศจาก อวิชชา ตัณหา และอุปาทานครอบงำ เป็นเพียงหน้าที่
ส่วนสามัญชนคนธรรมดา ที่ยังหนาไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมกระทำไปตามความรู้สึกนึกคิดที่ยังรัก ชอบ ชังอยู่ มีความยึดมั่นถือมั่นในจิตของตน สาธุ
เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ
ธรรมภูต
พระนิพพานเป็นธรรม ณ ภายใน-อัชฌัตตาธัมมา ไม่ใช่พหิทธาธัมมา
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เรามักเรียกว่า "พระพุทธพจน์" หรือ "พระพุทธวจนะ" นั้น เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา
มีพระพุทธพจน์จากพระบาลีตรัสไว้ดังนี้
"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ, ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้มีสภาพประภัสสรผ่องใส
แต่ที่เศร้าหมองไปนั้น เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง"
เมื่อพิจารณาจากพระบาลี จะเห็นได้ว่าจิตของคนเราที่เกิดความเศร้าหมองไปนั้น ก็เพราะเหตุอันมีอุปกิเลสเป็นแขกจร เข้ามาครอบงำจิตของตนในภายหลัง จึงทำให้จิตของตนหมองเศร้าลงไปด้วยเหตุฉะนี้
ในขณะที่จิตของตนยังรู้สึกเฉยๆ อยู่ ด้วยไม่รู้จักอารมณ์ที่มากระทบในขณะเวลานั้น หรือยังไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ ที่เรียกว่า "แขกจร" เข้ามาในจิตของตน จิตของตนในขณะเวลานั้นจะอยู่ในสภาพที่ยัง "ปภัสสรผ่องใส" อยู่
สภาพความปภัสสรผ่องใสของจิตในขณะที่ว่านั้น เป็นสภาพเดิมของจิตขณะที่ยังไม่มีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามา แต่เป็นลักษณะของจิตที่ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร เป็นสภาพความประภัสสรผ่องใสของจิต ที่ยังไม่ได้รับความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ด้วยยังไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
ในปัจจุบันมีการถกธรรมในเรื่องนี้ เพื่อค้นหาข้อยุติ โดยพยายามค้นหาสัจธรรมความจริง ที่ไม่อาจหักล้างด้วยตรรกะพื้นๆ ทั่วไปได้ เรื่องที่ว่านั้นคือ
สภาพเดิมของจิต ที่เรียกว่าจิตเดิมแท้นั้น มีความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย อยู่ก่อนแล้ว แต่มาเศร้าหมองลงไปในภายหลัง เมื่อบรรลุ "พระนิพพาน" เพราะสิ้นตัณหาแล้ว จึงปรากฎความบริสุทธิ์ขึ้นที่จิตของตน
หรือว่า สภาพของจิตเดิมแท้นั้นคือตัวกิเลส ได้รับความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายที่เรียกว่า บรรลุ "พระนิพพาน" มาปรากฏขึ้นในภายหลัง ด้วยการเพียรเพ่งปฏิบัติธรรมภาวนามยปัญญา เพื่อให้เข้าสู่ "สภาวะธรรม" ดังกล่าว
ฝ่ายที่เห็นว่า พระนิพพานไม่มีอยู่ในจิตของตน แต่มาปรากฏขึ้นในภายหลังนั้น ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ถ้ามีสภาวะธรรมที่ว่ามานั้นปรากฏอยู่ก่อนแล้ว จิตจะเข้ามาเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะอีกทำไม ถ้าเรามีนิพพานอยู่แล้ว เหมือนกับเรามีความสุขอยู่แล้ว เราจะยอมมีความทุกข์ไหม
เพื่อหาข้อสรุป ที่เราพอจะพิจารณาตริตรอง ให้เห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องเปรียบเทียบ เทียบเคียง เพื่ออุปมาอุปมัย ให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งๆ ขึ้น
ในการนำไปพิจารณา เราเปรียบ "จิตของตน" เหมือน "น้ำ"
เดิมนั้น "น้ำ" มีสภาพใสสะอาด แต่ที่ต้องเศร้าหมองสกปรกไป เหตุเพราะมีสิ่งสกปรก ไม่สะอาดเป็นแขกจรเข้ามาเจือปนในภายหลัง น้ำที่เราเห็นด้วยตาเนื้อ เราย่อมชี้ชัดลงไปได้ว่ามีความใสสะอาด แต่ก็เชื่อได้ว่า น้ำนั้นยังไม่ได้รับบริสุทธิ์หมดจด เพราะยังมีรสชาติอยู่ และน้ำนั้นก็ยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดี ใช่หรือไม่?
เมื่อนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว เห็นได้ว่า "ความบริสุทธิ์หมดจดของน้ำ" เป็นคุณลักษณะประจำตัวของน้ำอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเรานำน้ำมากลั่นกรองอย่างพิถีพิถัน จนน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ความใสสะอาดบริสุทธิ์ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นทุนเดิม ย่อมปรากฏเป็นของน้ำนั้น
ไม่ใช่ว่าพอปรากฏความใสสะอาดบริสุทธิ์ของน้ำเกิดขึ้นมาแล้ว น้ำดังกล่าวนั้นต้องหายไป หรือไม่อาจเรียกว่าน้ำอีกต่อไปแล้ว และความใสสะอาดบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็ใช่ว่าจะมาแทนที่น้ำนั้นเสียเมื่อไหร่ ความใสสะอาดบริสุทธิ์และน้ำก็ยังต้องอยู่ร่วมกับน้ำเป็นปรกติสุข
เพราะน้ำที่ว่ามานั้นเป็นแม่ธาตุ ที่คงความใสสะอาดบริสุทธิ์เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว ฉันใด เราจึงสามารถที่จะกลั่นกรองน้ำ ให้กลับคืนสู่สภาพความใสสะอาดบริสุทธิ์หมดจดได้ ฉันนั้น
เช่นเดียวกับทองคำแท้ที่บริสุทธิ์สุกปลั่ง ความสุกปลั่งย่อมเป็นคุณสมบัติของทองคำแท้บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซนต์ เมื่อทองคำนั้นมีสิ่งอื่นเข้ามาผสมเจือปน ย่อมทำให้ทองคำนั้นหม่นหมองลงไป เมื่อแยกเอาสิ่งแปลกปลอมที่เจือปนอยู่ในเนื้อทองคำออกไป ย่อมทำให้ทองคำนั้นกลับมาบริสุทธิ์สุกปลั่งเหมือนเดิม เพราะคุณสมบัติที่สุกปลั่ง เป็นทุนเดิมของทองคำแท้บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์นั่นเอง
เมื่อมาพิจารณาโดยตรรกะให้ลึกลงไป จะเห็นได้ว่าเรื่องคุณลักษณะหรือคุณสมบัตินั้น เป็นเรื่องที่ต้องติดอยู่กับวัตถุสิ่งของนั้นๆ อยู่ก่อนแล้ว เราจึงสามารถทำให้วัตถุสิ่งของดังกล่าวกลับมามีคุณลักษณะ หรือมีคุณสมบัติที่เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนนั้น ปรากฏให้รู้เห็นได้
ถ้าวัตถุสิ่งของดังที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งเหลวไหล หรือมีความสกปรกโสมมเป็นทุนเดิมอยู่ก่อน เราก็ไม่อาจชำระหรือกระทำการใดๆ ให้วัตถุสิ่งของเหล่านั้น ใสสะอาดบริสุทธิ์หมดจดได้ เพราะวัตถุสิ่งของเหล่านั้นมีสภาพเดิมเป็นของเหลวไหล มีความสกปรกโสมมเป็นทุนเดิมอยู่ก่อน
เช่นเดียวกัน ถ้า "จิตเป็นตัวทุกข์ จิตเป็นตัวกิเลส จิตเป็นตัวอวิชชา" เสียแล้ว อย่างที่มีคนเคยกล่าวไว้ เราย่อมไม่อาจปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา เพื่อขจัดขัดเกลา ชำระ ลด ละ เลิก กิริยาอาการของจิตชนิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ เพราะคุณลักษณะหรือทุนเดิมที่อยู่ประจำจิตนั้น เป็นทุกข์ มีกิเลส โสมมด้วยอวิชชา คือความรู้ผิด ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ซึ่งหาเป็นเช่นนั้นไม่?
มีพระพุทธพจน์จากนิพพานสูตรที่ ๓ ตรัสไว้ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้า ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้
การสลัดออกซึ่ง ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว
อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
จากพระพุทธพจน์ได้ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเอง(ธรรมชาติ) อันไม่ไปเกิดอีกแล้ว ไม่เป็นไปในภพใดแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก การสลัดคืน ซึ่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมไม่พึงปรากฏให้เห็นในโลกนี้ได้เลย
เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาที่กล่าวไว้ข้างต้น แม่ธาตุที่มาประชุมกันเป็นรูปร่างกายอันมีจิตครองอยู่นั้น เมื่อได้เริ่มปรากฏครั้งแรกขึ้นมา ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ได้ แม้ผู้มีปัญญาไม่อาจตามรู้ได้ว่ามาจากไหน โดยเฉพาะ "จิต" ที่เรียกธาตุรู้ มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ชัดเจนว่า
"อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สงฺสาโร ปุพฺพาโกฏิ น ปญฺญายติ แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารจักรนี้ มีอยู่ก่อนนานมาแล้ว
ซึ่งผู้มีปัญญาไม่อาจตามรู้ได้ว่ามาจากไหน และจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อใด"
ยังมีพระพุทธพจน์รับรองเรื่อง อวิชชา จากพระสุตตันตปิฎก กล่าวไว้ว่า
"ปุริมา ภิกฺขเว โกฏิ น ปญฺญายติ อวิชฺชาย,
อวิชฺชา ปุพฺเพ นาโหสิ อถ ปจฺฉา สมฺภวิ แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เบื้องต้นและที่สุดของอวิชชานั้น
ผู้มีปัญญาตามรู้ไม่ได้, อวิชชานี้ไม่ได้เกิดมีมาก่อน
เพราะฉะนั้นจึงเกิดมีขึ้นในภายหลัง"
พอสรุปได้ว่า ธาตุรู้ที่เป็นแม่ธาตุเมื่อแรกปรากฏขึ้นมานั้น ไม่รู้จักสุขที่เกิดจากการดับสนิทที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะตน เมื่อรู้อะไรก็เอนเอียงไม่เที่ยงตรงคงที่ต่อธาตุรู้ รู้อะไรรับเอาสิ่งที่รู้ไว้หมด เพราะยังไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อรับเอาไว้มากๆ ก็เกิดมีความพอใจ ความไม่พอใจเกิดขึ้น โดนอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำจิตของตนโดยไม่รู้ตัว อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ได้ห่อหุ้มบดบังความสะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจนหมดไป
เมื่อลงมือปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง ได้รู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้หนทางที่จะออกจากทุกข์ รู้การดับทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ดี ย่อมมีคู่เทียบให้เปรียบ ทำให้รู้จักสุขอันเกิดจากความสงบตั้งมั่น พร้อมรู้แจ้งในความดับสนิทของอุปกิเลสทั้งหลายได้
อันมีพระพุทธอุทาน ที่ได้ทรงเปล่งออกภายใต้ต้นโพธิ์ เมื่อตอนตรัสรู้ใหม่ๆ ว่า
"วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แปลว่า
จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง, บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"
และดังตัวอย่างคำพังเพยของผู้รู้ ที่กล่าวตามๆ กันมาว่า
สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ
นิพพานนั้นก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล เพียงหายใจก็ได้ยิน
และเป็นที่ยอมรับกันว่าถูกต้องเสียด้วย
บทส่งท้าย เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ที่นำเสนอมานั้น ธรรมะทางภาคปฏิบัติล้วนเป็นอัชฌัตตาธัมมา ไม่ใช่พหิทธาธัมมา เป็นเรื่องธรรม ณ ภายในกายใจของตน ยิ่งพิจารณาลงไปที่กายในกายของตน ตามหลักปฏิบัติธรรมในมหาสติปัฏฐานสูตรด้วยแล้ว ย่อมทำให้กระเทือนไปถึง เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
การค้นหาธรรม ณ ภายในจิตของตน ธรรมนั้นย่อมต้องมีอยู่ก่อน จึงทำให้ธรรมนั้นปรากฏขึ้นมาได้ เพียงแต่ถูกบดบังไว้ด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เมื่อเราเพียรเพ่งภาวนาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เพื่อบรรลุพระนิพพาน เป็นการสลัดออกซึ่ง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมทำให้จิตของตนปรากฏความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายได้
เมื่อกล่าวถึงท่านพระอรหันต์ที่เป็นอริยสาวก ที่ยังมีชีวิตินทรีย์อยู่นั้น ท่านก็ยังต้องดำรงชีวิตแบบสามัญชนคนธรรมดาเช่นกัน ยังต้องดื่ม กิน นึกคิด พิจารณา รู้เย็นร้อน อ่อนแข็ง เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ท่านพระอรหันต์อริยสาวกนั้น ท่านกระทำไปด้วยจิตใจที่ปราศจาก อวิชชา ตัณหา และอุปาทานครอบงำ เป็นเพียงหน้าที่
ส่วนสามัญชนคนธรรมดา ที่ยังหนาไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมกระทำไปตามความรู้สึกนึกคิดที่ยังรัก ชอบ ชังอยู่ มีความยึดมั่นถือมั่นในจิตของตน สาธุ
เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ
ธรรมภูต