มื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการ
ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-จีน ครั้งที่ 3 ด้านรถไฟ เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-หนองคาย
และแก่งคอย-มาบตาพุด ในช่วงวันที่ 10-11 มีนาคม 2558 โดยมีการลงพื้นที่ที่จังหวัดหนองคายว่ามี 4
เรื่องสำคัญคือ(อ่านคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2)
1.ยืนยันรูปแบบความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ว่าเป็นรูปแบบรับจ้างก่อสร้างเบ็ดเสร็จ หรือ EPC ซึ่ง
การแบ่งความรับผิดชอบให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้ในการประชุมครั้งที่ 2 คือในฝ่ายไทยจะรับผิดชอบเรื่อง
ของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเวนคืนที่ดิน รวมทั้งจัดทำข้อมูลสนับสนุนให้กับฝ่ายจีนในการสำรวจ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ และสถานที่สร้างสถานีรถไฟตลอดเส้น
ทาง ส่วนของฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องสำรวจออกแบบและงานระบบเดินรถ ทั้งนี้ กระทรวงจะจัดให้มี
เครื่องมือกับเจ้าหน้าที่พิเศษลงพื้นที่ร่วมด้วยทั้งนี้ งานก่อสร้างฐานรากพื้นฐานอาจจะให้เอกชนเข้าร่วม โดย
ปัจจุบันทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำรายชื่อเอกชนที่มีศักยภาพแล้วประมาณ 12-15
ราย แต่ยังไม่ได้เลือกต้องพิจารณาอีกครั้ง
2.สรุปแนวทางการฝึกและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท.
และเอกชนไทย โดยเสนอแนวคิดที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ด้วยการจัดหลักสูตรสั้น-ยาว ในสาขาที่
จำเป็น โดยนายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ยกตัวอย่างสาขาที่จำเป็น เช่น วิศวกรรม
โยธารถไฟ, วิศวกรรมเครื่องกล, การบริหารระบบเดินรถ และเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร โดยมอบหมาย
ให้ ร.ฟ.ท. และการรถไฟจีนจัดทำหลักสูตรมานำเสนอในการประชุมครั้งหน้า แบ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3-6
เดือน หรือ 4-8 เดือน เริ่มต้นสิงหาคม 2558 ระยะกลาง 1-1.5 ปี เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2558 และระยะยาว
มากกว่า 1.5 ปี เริ่มต้นกลางปี 2559
3.เห็นชอบข้อตกลงเรื่องการปฏิบัติงานร่วมกันในบันทึกความร่วมมือ หรือเอ็มโอซี ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ
โครงการ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนแล้วเสร็จว่า ขั้นต้น-ขั้นกลางจะทำอะไรก่อนลงนามสัญญาบ้าง ส่วนขั้นปลาย
จะตกลงกันในการประชุมครั้งที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะประชุมหานอีกครั้งช่วงต้นเดือนเมษายนหรือปลายเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้ฝ่ายจีนเสนอให้บรรจุข้อตกลงดังกล่าวลงในรายงานการประชุม ซึ่งถือว่ามีผลผูกมัดอยู่แล้ว
จึงยังไม่มีการลงนามอย่างเป็นทางการ ส่วนร่างข้อตกลงฝ่ายไทยจะยังเก็บไว้ เผื่อได้ใช้ในโอกาสต่อไป
4.แหล่งเงินทุนและรูปแบบการลงทุน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขา
ธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 10
มีนาคม 2558 ว่า
จะแยกรูปแบบลงทุนเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนก่อสร้างเป็นรูปแบบ EPC และส่วนที่ 2 เรื่องการเดินรถ
จะเป็นรูปแบบบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับจีน
ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุน ไทยเสนอว่าให้เป็นการระดมทุนจากหลายแหล่ง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.กรรมสิทธิ์ที่ดิน
และการเวนคืน จะใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน 2.การก่อสร้าง จะใช้เงินกู้ภายในประเทศ เนื่องจากใช้วัสดุก่อสร้าง
และวัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ 3.เทคโนโลยี ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า จะใช้เงินกู้จาก
ประเทศจีน เนื่องจากจำเป็นต้องซื้อสินค้าจากจีน 4.เป็นเรื่องของบริษัทร่วมทุน
พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมว่า
สัดส่วน “การดำเนินงาน” ของบริษัทร่วมทุนจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1) ช่วง 1-3 ปีแรก
จะให้จีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก 2) ช่วง 4-7 ปี ไทยและจีนร่วมดำเนินการในสัดส่วนเท่าๆ กัน และ 3) ช่วง 7 ปีเป็นต้น
ไป ไทยเป็นผู้ดำเนินการหลัก และให้จีนเป็นที่ปรึกษา
ขณะที่สัดส่วน “เงินลงทุน” จะต้องดูเนื้องานก่อน ซึ่งในหลักการเนื้องานที่เกี่ยวกับการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ความ
รับผิดชอบเป็นของไทย 2 ใน 3 ส่วน ของจีนเป็น 1 ใน 3 ส่วน ส่วนการวางระบบอาณัติสัญญาณ การควมคุมการเดินรถ
และเทคโนโลยีต่างๆ จีนจะรับผิดชอบ 2 ใน 3 ของไทยจะเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น แต่ต้องสรุปความชัดเจนก่อนว่า
เนื้องานส่วนต่างๆ จะมีแผนการเงินและจะได้สัดส่วนของการลงทุนเท่าไร ทั้งนี้ คาดว่าจะได้กรอบสัดส่วนในการประชุม
ครั้งหน้า แต่วงเงินจะไม่ทราบจนกว่าจะมีความชัดเจนของการสำรวจและออกแบบ
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงมีความตั้งใจจะ
แบ่งสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทเป็น 3 ส่วน และให้จีนมีสัดส่วนไม่เกิน 40% ที่เหลือ
ให้เป็นของ ร.ฟ.ท. และเอกชนไทย เนื่องจากต้องการให้ ร.ฟ.ท. มีบทบาทอยู่
นายอาคมกล่าวเพิ่มเติมว่าด้านเงื่อนไขการกู้เงิน ประเด็นแรกไทยเสนอว่าอยากได้ดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดกว่า 2%
แต่ฝ่ายจีนระบุว่า
ประเทศไทยมีระดับรายได้ปานกลางแล้ว เงื่อนไขในการกู้ดอกเบี้ยจะต้องสูงกว่า 2% แต่ว่าโครงการนี้เป็นโครงการแรกระหว่าง
ไทย-จีน
จีนจึงให้ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 2% เท่าเดิมและไม่อาจให้ต่ำกว่านี้ได้ เนื่องจากยังติดข้อกฎหมายของจีนที่บอกว่าการปล่อย
เงินกู้ต่างประเทศในโครงการพื้นฐานต่างๆ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2%
ประเด็นที่ 2
เรื่องระยะเวลาของการปลอดหนี้และการชำระหนี้คืน เบื้องต้นฝ่ายจีนระบุว่าเป็นกฎของธนาคารเพื่อการส่งออกและ
นำเข้าของจีนว่าต้อง
มีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 20 ปี ปลอดหนี้ 5-7 ปี (รวมอยู่ในระยะคืนหนี้ 20 ปี) ขณะที่ฝ่าย
ไทยพยายามต่อ
รองที่ 25-30 ปี ปลอดหนี้ 7-10 ปี ซึ่งฝ่ายจีนระบุว่าจะนำไปพิจารณาก่อน
ประเด็นที่ 3 ฝ่ายไทยต่อรองลดค่านายหน้าและค่าบริหารจัดการเงินกู้ ซึ่งคิดรวมทั้ง 2 ประเภท ประมาณ 0.5% ของเงินกู้ อย่างละ
0.25% แต่ฝ่ายจีนขอให้คำตอบหลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้วเสร็จ
ประเด็นสุดท้าย ฝ่ายไทยขอให้ใช้กฎหมายไทย เนื่องจากเราเป็นผู้กู้ ซึ่งฝ่ายจีนได้ขอเวลาศึกษาก่อน รวมไปถึงรายละเอียดการใช้
อนุญาโตตุลาการ รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งนี้ โดยปกติสัญญาเงินกู้แบบนี้จะต้องใช้ระบบของอนุญาโตตุลาการ และไทยยังต้องขอ
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย
“เงื่อนไขการเงินต่างๆ ยังต้องหารือกันก่อน หลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้ว รวมไปถึงเรื่องการออกแบบด้วย ซึ่งจะทำให้รู้ต้นทุน
ของโครงการ เมื่อรู้ต้นทุนแล้วจึงจะมาดูเรื่องของต้นทุนการเงินอีกที ซึ่งเราได้เร่งทั้งสองกระบวนการให้เสร็จในเดือนสิงหาคม ก็ต้อง
รอสิงหาคมจึงได้ข้อสรุปจริงๆ ส่วนเรื่องสัดส่วนการร่วมทุน ต้องศึกษาออกแบบบริษัทร่วมทุนร่วมกันก่อน คงจะเป็นการประชุมครั้งหน้า
” นายอาคมกล่าว
พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมเรื่องเงื่อนไขเงินกู้ว่า ดอกเบี้ย 2% นี้ ทางจีนยังต้องกำหนดหลักเกณฑ์มาเสนอในการประชุมครั้งหน้าด้วยว่า
ไทยต้องกู้เงินจำนวนเท่าไหร่ถึงจะได้ดอกเบี้ยอัตรา 2% แต่จำนวนเงินกู้ต่างๆ ยังต้องรอการศึกษาและออกแบบในเดือนสิงหาคมก่อน
พล.อ.อ. ประจินกล่าวถึงความคืบหน้าอื่นๆ ว่า ปัจจุบัน การรถไฟจีน (China Railway Corporation: CRC) ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาเป็นชุด
สำรวจ 20 คน แล้วคาดว่าจะตามมาอีก 30 คนรวมเป็น 50 คน ทั้งนี้ กระทรวงได้เตรียมไซต์ทำงานไว้ 3 แห่ง คือ 1) ชุดประสานงาน
หรือ war-room ที่กระทรวงคมนาคม 2) เป็นส่วนที่ ร.ฟ.ท. จัดเตรียมไว้ให้ 3) เป็นในพื้นที่อาจจะเป็นที่แก่งคอยและนครราชสีมา ซึ่ง
เมื่อทีมงานครบแล้วจะรีบลงพื้นที่สำรวจออกแบบทันที ขณะเดียวกัน การประสานงานกับกระทรวงต่างๆ ให้กระทรวงต่างประเทศจะดู
แลเรื่อง VISA กระทรวงแรงงานดูเรื่องใบอนุญาตทำงานและกระทรวงการคลังเข้ามาดูแลเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาษี
หรือการยกเว้นภาษี
ขณะเดียวกัน ปัจจุบันมีเรื่องที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 2 เรื่อง คือรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และของบประมาณสนับ
สนุนส่วนสำนักงานประสานงานไทย-จีน และค่าที่ปรึกษาการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ประเมินสินทรัพย์กรณีต้องเวนคืนที่ดิน, การ
บริหารโครงการ และประเมินมูลค่าโครงการ คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้วันที่ 27 มีนาคม 2558
“ขอสรุปประเด็นให้ทราบว่า นับแต่การประชุมครั้งที่ 1-3 เรามีความก้าวหน้าเรื่องของการกำหนดรูปแบบการลงทุน รูปแบบความร่วมมือ
และขอบเขตของงาน ที่จะเริ่มสำรวจตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นไป และจะมีผลสำเร็จสำหรับช่วง 1-2 ในปลายสิงหาคมถึงต้นกันยายน
และจะ
ก่อสร้างได้ช่วงต้นตุลาคมปีนี้เป็นต้นไป 30 เดือน ส่วนช่วงที่ 3-4 จะสำรวจเดือนมีนาคม สำรวจเสร็จธันวาคม 2558 และก่อสร้างต้นปี
2559 เป็นต้นไป 36 เดือน” พล.อ.อ. ประจินกล่าว
ทั้งนี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกำหนดการประชุมร่วมครั้งที่สี่ว่าจัดขึ้นที่คุนหมิง ประเทศจีน ในวันที่
6-8 พฤษภาคม 2558 โดยมีวาระฝ่ายจีนคือเสนอหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงื่อนไขเงินกู้และรูปแบบบริษัทร่วมทุน, เสนอผลการศึกษาเบื้อง
ต้นของโครงการ, เสนอหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยี และคำตอบข้อเสนอของไทยที่จะไปเยี่ยมชมกิจการรถไฟที่จีน ส่วนฝ่ายไทยจะ
เสนอความคืบหน้าผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ทางจีน ยังขอให้ไทยจัดทำเรื่องแนวทางการบริหารจัดการและบำรุงรถไฟมาเสนอด้วย
http://thaipublica.org/2015/03/the-truth-of-thailand-rail-system-15/
ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-จีน ครั้งที่ 3 ด้านรถไฟ เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด
ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-จีน ครั้งที่ 3 ด้านรถไฟ เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-หนองคาย
และแก่งคอย-มาบตาพุด ในช่วงวันที่ 10-11 มีนาคม 2558 โดยมีการลงพื้นที่ที่จังหวัดหนองคายว่ามี 4
เรื่องสำคัญคือ(อ่านคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2)
1.ยืนยันรูปแบบความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ว่าเป็นรูปแบบรับจ้างก่อสร้างเบ็ดเสร็จ หรือ EPC ซึ่ง
การแบ่งความรับผิดชอบให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้ในการประชุมครั้งที่ 2 คือในฝ่ายไทยจะรับผิดชอบเรื่อง
ของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเวนคืนที่ดิน รวมทั้งจัดทำข้อมูลสนับสนุนให้กับฝ่ายจีนในการสำรวจ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ และสถานที่สร้างสถานีรถไฟตลอดเส้น
ทาง ส่วนของฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องสำรวจออกแบบและงานระบบเดินรถ ทั้งนี้ กระทรวงจะจัดให้มี
เครื่องมือกับเจ้าหน้าที่พิเศษลงพื้นที่ร่วมด้วยทั้งนี้ งานก่อสร้างฐานรากพื้นฐานอาจจะให้เอกชนเข้าร่วม โดย
ปัจจุบันทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำรายชื่อเอกชนที่มีศักยภาพแล้วประมาณ 12-15
ราย แต่ยังไม่ได้เลือกต้องพิจารณาอีกครั้ง
2.สรุปแนวทางการฝึกและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท.
และเอกชนไทย โดยเสนอแนวคิดที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ด้วยการจัดหลักสูตรสั้น-ยาว ในสาขาที่
จำเป็น โดยนายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ยกตัวอย่างสาขาที่จำเป็น เช่น วิศวกรรม
โยธารถไฟ, วิศวกรรมเครื่องกล, การบริหารระบบเดินรถ และเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร โดยมอบหมาย
ให้ ร.ฟ.ท. และการรถไฟจีนจัดทำหลักสูตรมานำเสนอในการประชุมครั้งหน้า แบ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3-6
เดือน หรือ 4-8 เดือน เริ่มต้นสิงหาคม 2558 ระยะกลาง 1-1.5 ปี เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2558 และระยะยาว
มากกว่า 1.5 ปี เริ่มต้นกลางปี 2559
3.เห็นชอบข้อตกลงเรื่องการปฏิบัติงานร่วมกันในบันทึกความร่วมมือ หรือเอ็มโอซี ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ
โครงการ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนแล้วเสร็จว่า ขั้นต้น-ขั้นกลางจะทำอะไรก่อนลงนามสัญญาบ้าง ส่วนขั้นปลาย
จะตกลงกันในการประชุมครั้งที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะประชุมหานอีกครั้งช่วงต้นเดือนเมษายนหรือปลายเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้ฝ่ายจีนเสนอให้บรรจุข้อตกลงดังกล่าวลงในรายงานการประชุม ซึ่งถือว่ามีผลผูกมัดอยู่แล้ว
จึงยังไม่มีการลงนามอย่างเป็นทางการ ส่วนร่างข้อตกลงฝ่ายไทยจะยังเก็บไว้ เผื่อได้ใช้ในโอกาสต่อไป
4.แหล่งเงินทุนและรูปแบบการลงทุน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขา
ธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 10
มีนาคม 2558 ว่า จะแยกรูปแบบลงทุนเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนก่อสร้างเป็นรูปแบบ EPC และส่วนที่ 2 เรื่องการเดินรถ
จะเป็นรูปแบบบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับจีน
ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุน ไทยเสนอว่าให้เป็นการระดมทุนจากหลายแหล่ง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.กรรมสิทธิ์ที่ดิน
และการเวนคืน จะใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน 2.การก่อสร้าง จะใช้เงินกู้ภายในประเทศ เนื่องจากใช้วัสดุก่อสร้าง
และวัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ 3.เทคโนโลยี ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า จะใช้เงินกู้จาก
ประเทศจีน เนื่องจากจำเป็นต้องซื้อสินค้าจากจีน 4.เป็นเรื่องของบริษัทร่วมทุน
พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมว่า สัดส่วน “การดำเนินงาน” ของบริษัทร่วมทุนจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1) ช่วง 1-3 ปีแรก
จะให้จีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก 2) ช่วง 4-7 ปี ไทยและจีนร่วมดำเนินการในสัดส่วนเท่าๆ กัน และ 3) ช่วง 7 ปีเป็นต้น
ไป ไทยเป็นผู้ดำเนินการหลัก และให้จีนเป็นที่ปรึกษา
ขณะที่สัดส่วน “เงินลงทุน” จะต้องดูเนื้องานก่อน ซึ่งในหลักการเนื้องานที่เกี่ยวกับการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานความ
รับผิดชอบเป็นของไทย 2 ใน 3 ส่วน ของจีนเป็น 1 ใน 3 ส่วน ส่วนการวางระบบอาณัติสัญญาณ การควมคุมการเดินรถ
และเทคโนโลยีต่างๆ จีนจะรับผิดชอบ 2 ใน 3 ของไทยจะเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น แต่ต้องสรุปความชัดเจนก่อนว่า
เนื้องานส่วนต่างๆ จะมีแผนการเงินและจะได้สัดส่วนของการลงทุนเท่าไร ทั้งนี้ คาดว่าจะได้กรอบสัดส่วนในการประชุม
ครั้งหน้า แต่วงเงินจะไม่ทราบจนกว่าจะมีความชัดเจนของการสำรวจและออกแบบ
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงมีความตั้งใจจะแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทเป็น 3 ส่วน และให้จีนมีสัดส่วนไม่เกิน 40% ที่เหลือ
ให้เป็นของ ร.ฟ.ท. และเอกชนไทย เนื่องจากต้องการให้ ร.ฟ.ท. มีบทบาทอยู่
นายอาคมกล่าวเพิ่มเติมว่าด้านเงื่อนไขการกู้เงิน ประเด็นแรกไทยเสนอว่าอยากได้ดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดกว่า 2% แต่ฝ่ายจีนระบุว่า
ประเทศไทยมีระดับรายได้ปานกลางแล้ว เงื่อนไขในการกู้ดอกเบี้ยจะต้องสูงกว่า 2% แต่ว่าโครงการนี้เป็นโครงการแรกระหว่าง
ไทย-จีน จีนจึงให้ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 2% เท่าเดิมและไม่อาจให้ต่ำกว่านี้ได้ เนื่องจากยังติดข้อกฎหมายของจีนที่บอกว่าการปล่อย
เงินกู้ต่างประเทศในโครงการพื้นฐานต่างๆ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2%
ประเด็นที่ 2 เรื่องระยะเวลาของการปลอดหนี้และการชำระหนี้คืน เบื้องต้นฝ่ายจีนระบุว่าเป็นกฎของธนาคารเพื่อการส่งออกและ
นำเข้าของจีนว่าต้องมีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 20 ปี ปลอดหนี้ 5-7 ปี (รวมอยู่ในระยะคืนหนี้ 20 ปี) ขณะที่ฝ่ายไทยพยายามต่อ
รองที่ 25-30 ปี ปลอดหนี้ 7-10 ปี ซึ่งฝ่ายจีนระบุว่าจะนำไปพิจารณาก่อน
ประเด็นที่ 3 ฝ่ายไทยต่อรองลดค่านายหน้าและค่าบริหารจัดการเงินกู้ ซึ่งคิดรวมทั้ง 2 ประเภท ประมาณ 0.5% ของเงินกู้ อย่างละ
0.25% แต่ฝ่ายจีนขอให้คำตอบหลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้วเสร็จ
ประเด็นสุดท้าย ฝ่ายไทยขอให้ใช้กฎหมายไทย เนื่องจากเราเป็นผู้กู้ ซึ่งฝ่ายจีนได้ขอเวลาศึกษาก่อน รวมไปถึงรายละเอียดการใช้
อนุญาโตตุลาการ รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งนี้ โดยปกติสัญญาเงินกู้แบบนี้จะต้องใช้ระบบของอนุญาโตตุลาการ และไทยยังต้องขอ
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย
“เงื่อนไขการเงินต่างๆ ยังต้องหารือกันก่อน หลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้ว รวมไปถึงเรื่องการออกแบบด้วย ซึ่งจะทำให้รู้ต้นทุน
ของโครงการ เมื่อรู้ต้นทุนแล้วจึงจะมาดูเรื่องของต้นทุนการเงินอีกที ซึ่งเราได้เร่งทั้งสองกระบวนการให้เสร็จในเดือนสิงหาคม ก็ต้อง
รอสิงหาคมจึงได้ข้อสรุปจริงๆ ส่วนเรื่องสัดส่วนการร่วมทุน ต้องศึกษาออกแบบบริษัทร่วมทุนร่วมกันก่อน คงจะเป็นการประชุมครั้งหน้า
” นายอาคมกล่าว
พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมเรื่องเงื่อนไขเงินกู้ว่า ดอกเบี้ย 2% นี้ ทางจีนยังต้องกำหนดหลักเกณฑ์มาเสนอในการประชุมครั้งหน้าด้วยว่า
ไทยต้องกู้เงินจำนวนเท่าไหร่ถึงจะได้ดอกเบี้ยอัตรา 2% แต่จำนวนเงินกู้ต่างๆ ยังต้องรอการศึกษาและออกแบบในเดือนสิงหาคมก่อน
พล.อ.อ. ประจินกล่าวถึงความคืบหน้าอื่นๆ ว่า ปัจจุบัน การรถไฟจีน (China Railway Corporation: CRC) ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาเป็นชุด
สำรวจ 20 คน แล้วคาดว่าจะตามมาอีก 30 คนรวมเป็น 50 คน ทั้งนี้ กระทรวงได้เตรียมไซต์ทำงานไว้ 3 แห่ง คือ 1) ชุดประสานงาน
หรือ war-room ที่กระทรวงคมนาคม 2) เป็นส่วนที่ ร.ฟ.ท. จัดเตรียมไว้ให้ 3) เป็นในพื้นที่อาจจะเป็นที่แก่งคอยและนครราชสีมา ซึ่ง
เมื่อทีมงานครบแล้วจะรีบลงพื้นที่สำรวจออกแบบทันที ขณะเดียวกัน การประสานงานกับกระทรวงต่างๆ ให้กระทรวงต่างประเทศจะดู
แลเรื่อง VISA กระทรวงแรงงานดูเรื่องใบอนุญาตทำงานและกระทรวงการคลังเข้ามาดูแลเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาษี
หรือการยกเว้นภาษี
ขณะเดียวกัน ปัจจุบันมีเรื่องที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 2 เรื่อง คือรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และของบประมาณสนับ
สนุนส่วนสำนักงานประสานงานไทย-จีน และค่าที่ปรึกษาการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ประเมินสินทรัพย์กรณีต้องเวนคืนที่ดิน, การ
บริหารโครงการ และประเมินมูลค่าโครงการ คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้วันที่ 27 มีนาคม 2558
“ขอสรุปประเด็นให้ทราบว่า นับแต่การประชุมครั้งที่ 1-3 เรามีความก้าวหน้าเรื่องของการกำหนดรูปแบบการลงทุน รูปแบบความร่วมมือ
และขอบเขตของงาน ที่จะเริ่มสำรวจตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นไป และจะมีผลสำเร็จสำหรับช่วง 1-2 ในปลายสิงหาคมถึงต้นกันยายน และจะ
ก่อสร้างได้ช่วงต้นตุลาคมปีนี้เป็นต้นไป 30 เดือน ส่วนช่วงที่ 3-4 จะสำรวจเดือนมีนาคม สำรวจเสร็จธันวาคม 2558 และก่อสร้างต้นปี
2559 เป็นต้นไป 36 เดือน” พล.อ.อ. ประจินกล่าว
ทั้งนี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกำหนดการประชุมร่วมครั้งที่สี่ว่าจัดขึ้นที่คุนหมิง ประเทศจีน ในวันที่
6-8 พฤษภาคม 2558 โดยมีวาระฝ่ายจีนคือเสนอหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงื่อนไขเงินกู้และรูปแบบบริษัทร่วมทุน, เสนอผลการศึกษาเบื้อง
ต้นของโครงการ, เสนอหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยี และคำตอบข้อเสนอของไทยที่จะไปเยี่ยมชมกิจการรถไฟที่จีน ส่วนฝ่ายไทยจะ
เสนอความคืบหน้าผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ทางจีน ยังขอให้ไทยจัดทำเรื่องแนวทางการบริหารจัดการและบำรุงรถไฟมาเสนอด้วย
http://thaipublica.org/2015/03/the-truth-of-thailand-rail-system-15/