ผ่าโครงสร้างธุรกิจ "3 มหาวิทยาลัยเอกชน" ขุมข่ายภายใต้ทุนจีน

ผ่าโครงสร้างขุมข่ายธุรกิจทุนจีน เข้ามาถือหุ้น 3 มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง "ชินวัตร-เกริก-แสตมฟอร์ด" พบข้อมูลเชิงลึกในการดำเนินธุรกิจที่น่าสนใจ กับโครงสร้างกรรมการ โครงสร้างผู้ถือหุ้น รวมทั้งข้อมูลงบการเงินที่ไม่ธรรมดา

แวดวงการศึกษาในประเทศไทยคงมิอาจปฏิเสธสถานการณ์การเข้ามาของนักลงทุนจากประเทศจีน ซึ่งเข้ามาถือหุ้นในมหาวิทยาลัยเอกชนไทยแล้วหลายแห่ง ล่าสุด ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้สัมภาษณ์กับเครือเนชั่นระบุว่า ณ ปัจจุบันพบการเข้ามาถือหุ้นของกลุ่มทุนจีนในมหาวิทยาลัยเอกชนแล้วอย่างน้อย 3 แห่ง นั่นคือ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และมหาวิทยาลัยชินวัตร 
 
สถานการณ์เช่นนี้ กระทรวง อว. ในฐานะที่รับผิดชอบกำกับดูแลนโยบายระดับอุดมศึกษาของประเทศ ก็ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเข้มงวดในการกำกับดูแลผ่านพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งในด้านหลักสูตร การเงิน และการบริหารจัดการแล้ว
 
 
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกล่าสุดของมหาวิทยาลัยเอกชน 3 แห่ง ผ่านระบบการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ Creden Data จากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโครงสร้างบริษัทที่บริหารงานมหาวิทยาลัยเอกชนทั้ง 3 แห่ง ทั้ง บริษัท เกริก สุวรรณี และบุตร จำกัด, บริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัท เฟธ สตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีรายละเอียดดังนี้
 
มหาวิทยาลัยเกริก 
มหาวิทยาลัยเกริก ดำเนินการในนาม บริษัท เกริก สุวรรณี และบุตร จำกัด จดทะเบียนตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2558 เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี
 
โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 ม.ค. 68 พบว่ามีกรรมการบริษัท 3 คน ประกอบด้วยนายกระแส ชนะวงศ์, นายหวัง ฉางหมิง และ นางกนกวรรณ หลี่
 
ขณะที่โครงสร้างการถือหุ้นมีด้วยกัน 2 ราย คือ บริษัท เกริก อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น โฮลดิ้ง จำกัด สัญชาติไทย ถือหุ้นในสัดส่วน 100% จำนวน 299,998 หุ้น ส่วนอีกรายคือนางกนกวรรณ ถือหุ้นจำนวน 2 หุ้น
 
ทั้งนี้บริษัท เกริก สุวรรณี และบุตร จำกัด ยังเข้าไปถือหุ้น 3 บริษัทหลัก 3 บริษัทย่อย นั่นคือ บริษัท หมิงจ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง กรุ๊ป จำกัด สัดส่วน 30% จำนวน 48,000 หุ้น และบริษัท หมิงจ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด สัดส่วน 2% จำนวน 6,000 หุ้น และบริษัท เกริก อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น โฮลดิ้ง จำกัด  สัดส่วน 2% จำนวน 12,000 หุ้น
 
สำหรับบริษัท เกริก อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เกริก สุวรรณี และบุตร จำกัดนั้น ปรากฎรายชื่อกรรมการ /คือ คือนายหวัง ฉางหมิง และนางกนกวรรณ หลี่ ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเกริก อินเตอร์เนชั่นแนลฯ พบว่า มี 4 ราย ประกอบด้วย 
 
นายหวัง ฉางหมิง สัญชาติจีน ถือหุ้นสัดส่วน 49% จำนวน 294,000 หุ้น รองลงมาคือ บริษัท หมิงจ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด สัดส่วน 48% จำนวน 288,000 หุ้น บริษัท เกริก สุวรรณี และบุตร จำกัด สัดส่วน 2% จำนวน 12,000 หุ้น และนางกนกวรรณ หลี่  สัดส่วน 1% จำนวน 6,000 หุ้นด้วยกัน
 
ขณะที่ข้อมูลด้านงบการเงินนำส่งล่าสุดปี 2566 พบว่า บริษัท เกริก สุวรรณี และบุตร จำกัด มีสินทรัพย์รวม 160.95 ล้านบาท หนี้สินรวม 109.04 ล้านบาท รายได้รวม 90.27 ล้านบาท รายจ่ายรวม 63.20 ล้านบาท และผลประกอบการมีกำไรสุทธิ 21.30 ล้านบาท
 
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ดำเนินงานโดยบริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 ม.ค. 68 พบว่า บริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2537 แจ้งดำเนินธุรกิจการศึกษาระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี มีกรรมการ 4 คน คือ นายกวางยู ลี, นางสาวหัว ลี,นางสาวหงจิน ชิว และนางสาวเยี่ยนตัน เหริน 
 
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้น มีบริษัท ไทย เอ็ดยูเคชั่น โฮลดิ้งส์ จำกัด สัญชาติไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุด สัดส่วน 92.87% จำนวน 3,714,998 หุ้น รองลงมาคือ บริษัท ไชน่า หยู่ฮว่า เอ็ดยูเคชั่น อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด จำกัด สัญชาติจีน สัดส่วน 7.13% จำนวน 285,001 หุ้น และสุธีรัตต ยศยิ่งยวด ถือหุ้นจำนวน 1 หุ้น 
 
สำหรับบริษัท ไทย เอ็ดยูเคชั่น โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ดฯ นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลพบรายชื่อกรรมการเหมือนกันกับบริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ดฯ ทั้ง 4 คน  
 
โดยโครงสร้างบริษัท พบว่ามีบริษัท ไซน่า หยู่ฮวา เอ็ดดูเคชั่น อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด สัญชาติจีน ถือหุ้นใหญ่สุด สัดส่วน 44.30% จำนวน 15,907 หุ้น รองลงมาคือ ทม สิริสันต์ และสุธีรัตต ยศยิ่งยวด ถือหุ้นในสัดส่วนเท่ากัน 27.85% จำนวน 10,000 หุ้น
 
ขณะที่ข้อมูลด้านงบการเงินนำส่งล่าสุดในปี 2567 พบว่า บบริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีสินทรัพย์รวม 1,113.76 ล้านบาท หนี้สินรวม 1,498.02 ล้านบาท รายได้รวม 16.45 ล้านบาท รายจ่ายรวม 25.19 ล้านบาท และผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 9.34 ล้านบาท
 
มหาวิทยาลัยชินวัตร
มหาวิทยาลัยชินวัตร ดำเนินงานโดยบริษัท เฟธ สตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 ม.ค. 68 พบว่า บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2541 ชื่อเดิมบริษัท โอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด แจ้งดำเนินธุรกิจกิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก
 
มีกรรมการ 8 คน คือ นายวู เจียนเวย, นายหวง จงไค, นางสาวหลิว เสี่ยวหยาง, นางสาวหวัง จิงซื่อ, นายเซอ คุยฮง, นางสาวเจิง จิง, นางสาวจง ชิวเยว่ และนางรภัสศา รวงอ่อนนาม
 
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้น มีบริษัท โกลบอล แอดวานซ์ เลิร์นนิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด สัญชาติไทย ถือหุ้นสัดส่วน 51% จำนวน 127,500,000 หุ้น รองลงมาคือ บริษัท โฮป เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป (ฮ่องกง) จำกัด สัญชาติฮ่องกง สัดส่วน 49% จำนวน 122,499,999 หุ้น และหวัง จิงซื่อ สัญชาติจีน จำนวน 1 หุ้น
 
สำหรับบริษัท โกลบอล แอดวานซ์ เลิร์นนิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลการถือหุ้นของบริษัทพบว่า มีบริษัท โฮป เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป (ฮ่องกง) จำกัด สัญชาติฮ่องกง ถือหุ้นใหญ่สุด 49% จำนวน 490 หุ้น รองลงมาคือ บริษัท เอ็ดดูไทย จำกัด สัญชาติไทย ถือหุ้นในสัดส่วน 26% จำนวน 260 หุ้น และบริษัท อินฟินิท อินฟอร์เมชั่น จำกัด สัญชาติไทย ถือหุ้นอีกสัดส่วน 25% จำนวน 250 หุ้นด้วยกัน
 
ขณะที่ข้อมูลด้านงบการเงินนำส่งล่าสุดในปี 2566 พบว่า บริษัท เฟธ สตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีสินทรัพย์รวม 346.51 ล้านบาท หนี้สินรวม 63.19 ล้านบาท รายได้รวม 54.62 ล้านบาท รายจ่ายรวม 50,200 บาท และผลประกอบการกำไรสุทธิ 53.96 ล้านบาท

Cr. https://www.thansettakij.com/economy/617685



กางแผน อว. คุมเข้มสกัด “ทุนจีน” ฮุบมหาลัยไทย

“ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว.” ผ่าปมทุนจีบถือหุ้น 3 มหาวิทยาลัยเอกชนไทย” พร้อมเปิดแผนยกระดับ "มาตรฐานการกำกับดูแล" เข้มงวดทั้งหลักสูตร-นอมินี รวมทั้ง "ที่มาเงินลงทุน" เหมือนธนาคาร
ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือ กระทรวง อว. ให้สัมภาษณ์สื่อในเครือเนชั่น ถึงสถานการณ์การลงทุนของต่างชาติในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย โดยเฉพาะกรณีนักลงทุนจีนที่เข้ามาถือหุ้นในหลายสถาบันว่า ข้อมูลตอนนี้มี 3 มหาวิทยาลัยเอกชนของไทยที่มีนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนคือ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด และมหาวิทยาลัยชินวัตร ซึ่งกระทรวงได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเข้มงวดในการกำกับดูแลผ่านพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งในด้านหลักสูตร การเงิน และการบริหารจัดการ
 
"เรามีการติดตามอย่างต่อเนื่องในทุกมหาวิทยาลัย ไม่ใช่แค่ 3 มหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นที่น่ากังวลคือจำนวนนักศึกษาจีนที่เข้ามาเรียนค่อนข้างมาก ต้องตรวจสอบว่ามีการเรียนจริงหรือไม่ หรือเป็นการแอบแฝงเข้ามาทำงาน รวมถึงการตรวจสอบเรื่องคุณภาพการศึกษา การใช้เงินกองทุนและความผิดปกติต่างๆ" ปลัด อว. กล่าว
 
กรณีที่น่าจับตามองหลายกรณี
 
ปัจจุบันมีหลายกรณีที่อยู่ในการเฝ้าระวังของกระทรวง อว. อาทิ กรณีมหาวิทยาลัยชินวัตร ที่เคยเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเมธารัถ แต่ภายหลังขอเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิม ซึ่งที่ผ่านมากรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตรที่มีตัวแทนของกระทรวง อว. ได้เข้าตรวจสอบ เพราะพบความผิดปกติบางประการ จึงสั่งให้แก้ไข 
 
   ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
 
นอกจากนี้ยังมีกรณีของมหาวิทยาลัยเกริก ที่มีการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจีน โดยได้ซื้อกิจการวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง เพื่อเป็นสาขาวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกริก รวมถึงมีข่าวว่าการซื้อกิจการของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ที่จะมีการขายหุ้นให้กับนักลงทุนจีนเช่นกัน
 

 
ดร.ศุภชัย ยอมรับว่า แม้กฎหมายจะให้ความยืดหยุ่นเพื่อให้สถาบันการศึกษาสามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมในการกำกับดูแล โดยเฉพาะสถาบันที่มีต่างชาติถือหุ้น ซึ่งต้องมีการตรวจสอบที่มาของเงินลงทุนอย่างละเอียด เช่นเดียวกับมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
 
"เราอาจต้องพิจารณาใช้มาตรการคล้ายกับการขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือการขอใบอนุญาตธนาคาร ที่ต้องมีการตรวจสอบที่มาของเงินทุนอย่างละเอียด และผู้ถือหุ้นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการใช้ตัวแทน  หรือ นอมินี (nominee) มาถือหุ้นแทน" ปลัด อว. ระบุ
    
ปลัด อว. กล่าวอีกว่า ตามมาตรา 61 แห่ง พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กำหนดให้มหาวิทยาลัยเอกชนต้องจัดสรรทุนเป็น 6 กองทุน ได้แก่ กองทุนทั่วไป กองทุนทรัพย์สินถาวร กองทุนวิจัย กองทุนห้องสมุดและเทคโนโลยี กองทุนพัฒนาบุคลากร และกองทุนสงเคราะห์ เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินงานและดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลนักศึกษาและบุคลากรในกรณีที่เกิดปัญหา โดยต้องจัดสรรกำไรเข้ากองทุนตามสัดส่วนที่กำหนด 
 
“มาตรการนี้เป็นบทเรียนจากกรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในอดีตที่ปิดกิจการ ทำให้เกิดภาระในการดูแลนักศึกษาและบุคลากรจำนวนมาก หากพบการดำเนินการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และผิดปกติ กระทรวงจะมีการแจ้งเตือน หากเตือนแล้วไม่ดำเนินการแก้ไขกระทรวงมีอำนาจในการเข้าควบคุม”
  
โอกาสและความท้าทาย
 
อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่ง ดร.ศุภชัย มองว่า การลงทุนการศึกษาจากต่างชาติยังเป็นโอกาสที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ มีความตึงเครียด ทำให้ไทยมีโอกาสในการดึงดูดนักศึกษาคุณภาพจากจีนให้เข้ามาเรียนและทำงานในไทย
 
"เรากำลังผลักดันนโยบาย Study in Thailand เพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐมนตรี โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจากต่างประเทศ เราต้องการให้ไทยเป็น Regional Education Hub แต่ต้องเป็นการร่วมมือกับสถาบันที่มีคุณภาพ และต้องมีการควบคุมมาตรฐานอย่างเข้มงวด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ" ปลัด อว. กล่าว
 
กางบทลงโทษ กรณีสถาบันการศึกษาผิดเงื่อนไข
 
ในการออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่างชาติถือหุ้น ปลัด อว. ยอมรับว่า ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างสถาบันที่มีต่างชาติถือหุ้นกับสถาบันของคนไทย และต้องสอดคล้องกับกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับฝ่ายกฎหมายเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม
 
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบเพิ่มเติมว่า พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มาตรา 84 ระบุว่า ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดนั้น ให้คณะกรรมก

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่