โดย ไทยรัฐออนไลน์ 12 มี.ค. 2558 08:30
โบอิ้ง 777X-9 รุ่นใหม่ของตระกูล 777
โบอิ้ง เผยรายละเอียดโครงการอัพเกรดให้เครื่องบินโดยสารตระกูล 777 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดเชื้อเพลิงและเพิ่มพื้นที่โดยสารให้มากขึ้น เพื่อการแข่งขันในระยะยาว ก่อนที่รุ่นใหม่อย่าง 777X จะเข้าสายการผลิต...
โบอิ้ง 777 ในสายการผลิตที่โรงงานเอเวอเรตต์ ภาพจาก Boeing
บริษัท โบอิ้ง ได้เผยแผนงานการปรับปรุงประสิทธิภาพ (อัพเกรด) ให้กับเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777-300ER 777-200LR และ 777F (Freighter) โดยมุ่งเน้นในเรื่องการทำให้เครื่องยนต์ดีขึ้น ลดน้ำหนักของลำตัวเครื่องบิน และทำให้รูปทรงปีกใหม่ให้ลู่ลมตามหลักอากาศพลศาสตร์ โดยแผนงานนี้จะนำเข้าสู่สายการผลิตโบอิ้ง 777 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2016 คาดว่าจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงอีก 2% ขณะที่เมื่อรวมกับต้นทุนการปฏิบัติงานสายการบินจะลดภาระต้นทุนเชื้อเพลิงต่อที่นั่งได้อีก 5%
ภาพรวมทั้งหมดของแผนงานอัพเกรด โบอิ้ง 777
แผนการปรับปรุงประสิทธิภาพของโบอิ้ง 777 เริ่มด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ GE90 -115B โดยเจเนอรัล อิเล็กทริก ต่อมา คือ การลดน้ำหนักด้วยการปรับโครงสร้างลำตัวใหม่ภายใต้บนสถาปัตยกรรมคราวน์ ใช้น้ำมันไฮโดรลิกที่มีความหนาแน่นต่ำ ใส่ฉนวนกันความร้อนแบบใหม่ที่มีน้ำหนักเบา และนำเอาตัวกันส่วนหางครูดพื้นเก่าออก
เครื่องยนต์ GE90 -115B ภาพจาก Boein
การปรับปรุงพื้นผิวส่วนควบคุมแพนหาง ที่มีการนำเอาซอฟต์แวร์มาควบคุมการเคลื่อนไหว ขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อลดแรงต้านขณะที่บินแบบครุยส์ มีการเปลี่ยนมาใช้ชายปีกหน้าแบบใหม่ ที่บางลงถึง 60% ช่วยลดแรงต้านขณะบินในอากาศ และแฟลปแบบใหม่ ที่เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเพิ่มพื้นที่ปีกและลดแรงต้านลมมากกว่าเดิม เชื่อว่าจะทำให้โบอิ้ง 777 สามารถบินได้ไกลเพิ่มขึ้นอีก ราวๆ 100 ไมล์ทะเล และบรรทุกน้ำหนักได้เพิ่มอีก 5,000 ปอนด์
การอัพเกรด 777 จะเริ่มในไตรมาส 3 ปี 2016 ภาพจาก Boeing
การปรับปรุงช่องหน้าต่างแบบใหม่ ที่มีการเชื่อมที่ไร้รอยต่อ เรียบไปกับผิวเครื่องบินทำให้ลดแรงต้านลม อีกทั้งยังมีการปรับปรุงระบบป้องกันพวงหางครูดพื้นขณะวิ่งขึ้น ผสานการทำงานกับระบบควบคุมฟลาย-บาย-ไวร์ กำจัดโอกาสหางครูดพื้นสำหรับ โบอิ้ง 777-300ER
โบอิ้ง 777-300ER ภาพจาก Boeing
ในส่วนของการปรับปรุงอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือก อาทิ การนำเอาแกลเลอรี่ หรือครัวบนเครื่องบินแบบใหม่มาใช้ที่มีน้ำหนักเบากว่าครัวรุ่นก่อนๆ ห้องน้ำแบบประหยัดพื้นที่ ทำให้เพิ่มจำนวนเก้าอี้โดยสารเพิ่มได้อีกประมาณ 14 ที่นั่ง ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงต่อที่นั่งลดลง ช่องหน้าต่างพรีเมียมที่เป็นม่านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ระบบแสงไฟจากหลอดแอลอีดี (LED Light) ในห้องโดยสารเหมือนกับโบอิ้ง 787 ทางเข้าเครื่องแบบใหม่บริเวณประตู 2 และปรับปรุงการลดเสียงรบกวนในห้องโดยสารได้อีก 2.5 เดซิเบล
โบอิ้ง 777F (Freighter) เครื่องบรรทุกสินค้า ภาพจาก Boeing
การปรับปรุงครั้งใหญ่ในสายการผลิตของโบอิ้ง 777 จะทำให้ระยะยาวตระกูล 777 จะยังคงสามารถแข่งขันในตลาดได้ ทั้งเครื่องเดิมที่ปรับปรุงใหม่ และเครื่องใหม่ที่ออกจากสายการผลิตจนกว่าจะมีเครื่องรุ่นใหม่อย่าง 777X เข้ามาแทนที่ในอนาคตช่วงปี 2017.
ที่มา : aviationweek
http://www.thairath.co.th/content/486399
โบอิ้ง เผยแผนอัพเกรดเครื่องบินโดยสารตระกูล 777
โบอิ้ง เผยรายละเอียดโครงการอัพเกรดให้เครื่องบินโดยสารตระกูล 777 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดเชื้อเพลิงและเพิ่มพื้นที่โดยสารให้มากขึ้น เพื่อการแข่งขันในระยะยาว ก่อนที่รุ่นใหม่อย่าง 777X จะเข้าสายการผลิต...
บริษัท โบอิ้ง ได้เผยแผนงานการปรับปรุงประสิทธิภาพ (อัพเกรด) ให้กับเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777-300ER 777-200LR และ 777F (Freighter) โดยมุ่งเน้นในเรื่องการทำให้เครื่องยนต์ดีขึ้น ลดน้ำหนักของลำตัวเครื่องบิน และทำให้รูปทรงปีกใหม่ให้ลู่ลมตามหลักอากาศพลศาสตร์ โดยแผนงานนี้จะนำเข้าสู่สายการผลิตโบอิ้ง 777 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2016 คาดว่าจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงอีก 2% ขณะที่เมื่อรวมกับต้นทุนการปฏิบัติงานสายการบินจะลดภาระต้นทุนเชื้อเพลิงต่อที่นั่งได้อีก 5%
แผนการปรับปรุงประสิทธิภาพของโบอิ้ง 777 เริ่มด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ GE90 -115B โดยเจเนอรัล อิเล็กทริก ต่อมา คือ การลดน้ำหนักด้วยการปรับโครงสร้างลำตัวใหม่ภายใต้บนสถาปัตยกรรมคราวน์ ใช้น้ำมันไฮโดรลิกที่มีความหนาแน่นต่ำ ใส่ฉนวนกันความร้อนแบบใหม่ที่มีน้ำหนักเบา และนำเอาตัวกันส่วนหางครูดพื้นเก่าออก
การปรับปรุงพื้นผิวส่วนควบคุมแพนหาง ที่มีการนำเอาซอฟต์แวร์มาควบคุมการเคลื่อนไหว ขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อลดแรงต้านขณะที่บินแบบครุยส์ มีการเปลี่ยนมาใช้ชายปีกหน้าแบบใหม่ ที่บางลงถึง 60% ช่วยลดแรงต้านขณะบินในอากาศ และแฟลปแบบใหม่ ที่เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเพิ่มพื้นที่ปีกและลดแรงต้านลมมากกว่าเดิม เชื่อว่าจะทำให้โบอิ้ง 777 สามารถบินได้ไกลเพิ่มขึ้นอีก ราวๆ 100 ไมล์ทะเล และบรรทุกน้ำหนักได้เพิ่มอีก 5,000 ปอนด์
การปรับปรุงช่องหน้าต่างแบบใหม่ ที่มีการเชื่อมที่ไร้รอยต่อ เรียบไปกับผิวเครื่องบินทำให้ลดแรงต้านลม อีกทั้งยังมีการปรับปรุงระบบป้องกันพวงหางครูดพื้นขณะวิ่งขึ้น ผสานการทำงานกับระบบควบคุมฟลาย-บาย-ไวร์ กำจัดโอกาสหางครูดพื้นสำหรับ โบอิ้ง 777-300ER
ในส่วนของการปรับปรุงอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือก อาทิ การนำเอาแกลเลอรี่ หรือครัวบนเครื่องบินแบบใหม่มาใช้ที่มีน้ำหนักเบากว่าครัวรุ่นก่อนๆ ห้องน้ำแบบประหยัดพื้นที่ ทำให้เพิ่มจำนวนเก้าอี้โดยสารเพิ่มได้อีกประมาณ 14 ที่นั่ง ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงต่อที่นั่งลดลง ช่องหน้าต่างพรีเมียมที่เป็นม่านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ระบบแสงไฟจากหลอดแอลอีดี (LED Light) ในห้องโดยสารเหมือนกับโบอิ้ง 787 ทางเข้าเครื่องแบบใหม่บริเวณประตู 2 และปรับปรุงการลดเสียงรบกวนในห้องโดยสารได้อีก 2.5 เดซิเบล
การปรับปรุงครั้งใหญ่ในสายการผลิตของโบอิ้ง 777 จะทำให้ระยะยาวตระกูล 777 จะยังคงสามารถแข่งขันในตลาดได้ ทั้งเครื่องเดิมที่ปรับปรุงใหม่ และเครื่องใหม่ที่ออกจากสายการผลิตจนกว่าจะมีเครื่องรุ่นใหม่อย่าง 777X เข้ามาแทนที่ในอนาคตช่วงปี 2017.
ที่มา : aviationweek
http://www.thairath.co.th/content/486399