ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแหนบ
ความหมายและหน้าที่ของแหนบ
แหนบ(leaf spring) คือ สปริงประเภทหนึ่ง เป็นส่วนประกอบของรถ ติดตั้งอยู่ช่วงล่างรับภาระบรรทุกจากโครงรถแล้วถ่ายทอดลงสู่เพลาล้อ มีหน้าที่ในการลดการสั่นสะเทือนให้กับโครงรถโดยการรับและเก็บพลังงานที่เกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนเมื่อรถวิ่งแล้วจึงคายออกในเวลาต่อมาจึงเป็นการหน่วงแรงสั่นสะเทือน ทำให้โครงรถเคลื่อนทีได้นุ่มนวลขึ้น ผู้ใช้รถจึงรู้สึกสบายไม่เกิดอาการสั่นไหวตามไปกับความขรุขระของผิวถนน
ลักษณะของแหนบ
ลักษณะของแหนบโดยทั่วไปจะประกอบด้วยแผ่นแหนบหลายแผ่นที่มีความยาวแต่ละแผ่นแตกต่างลดหลั่นกันตามลำดับวางซ้อนกันโดยมีสลักเกลียวสอดผ่านรูกลางแหนบที่เรียกว่า รูสะดือ (center hole) เพื่อยึดแผ่นแหนบแต่ละแผ่นให้รวมกันเป็นแหนบตับ สลักเกลียวนี้เรียกว่า สะดือแหนบ (center bolt) แผ่นแหนบแต่ละแผ่นจะมีความโค้งก่อนประกอบแตกต่างกันเล็กน้อยเพื่อให้เกิดค่า NIP ตามที่กำหนดไว้ เมื่อประกอบกันเข้าเป็นตับแล้ว จึงมีความโค้งเดียวกัน แหนบส่วนใหญ่จะมีความโค้งแบบกึ่งวงรี (semi-elliptic spring)
วัตถุดิบและการทำให้เหล็กเป็นสปริง
วัตถุดิบที่ใช้ทำแหนบคือเหล็กสปริง (spring steel) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีโรงงานผลิตเหล็กประเภทนี้ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
การทำเหล็กให้เป็นสปริงคือ การนำวัตถุดิบที่ผ่านการเจาะรูหรือขึ้นรูปต่างๆที่ปลายแหนบ (เช่น การม้วนหู การตัดมุม หรือ การรีดปลาย) มาผ่านกระบวนการอบชุบด้วยความร้อน (heat-treatment) โดยการเผาเหล็กให้ร้อนจนถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วทำเหล็กที่ร้อนนั้นเย็นตัวลงทันทีทันใด (quenching) ด้วยการใช้สารชุบแข็ง วิธีการนี้ทำให้เหล็กแข็งขึ้น เรียกว่า การชุบแข็ง (hardening) จากนั้นจึงนำไปอบคลาย (tempering) เพื่อให้เกิดความเหนียวขึ้นไม่แข็งเปราะ เหล็กที่ผ่านขั้นตอนเหล่านี้แล้วจึงถือได้ว่าเป็นสปริง
การติดตั้งและการทำงานของแหนบ
การติดตั้งแหนบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่มีแหนบอยู่เหนือเพลา (overslung) และประเภทแหนบที่อยู่ใต้เพลา (underslung) ซึ่งทางบริษัทผลิตรถยนต์ได้ออกแบบการติดตั้ง และการรับน้ำหนักให้เหมาะสมกับการใช้งานอยู่แล้ว แหนบโดยทั่วไป ชั้นที่ 1 จะม้วนเป็นวงกลมที่ปลายแผ่นแหนบทั้งสองข้าง ซึ่งเรียกว่าหูแหนบ (spring eye) โดยหูแหนบทั้งสองข้าง จะยึดติดกับโครงรถด้วยเต้าหูแหนบ และโตงเตง ด้านเต้าหูแหนบจะยึดติดแหนบให้คงที่ (fixed end) ส่วนด้านโตงเตงจะสามารถโยกแกว่งไปมาได้ (shackled end) เพื่อให้แหนบสามารถเหยียดตัวออกขณะรับน้ำหนัก ส่วนบริเวณกลางแหนบจะยึดติดกับเพลาล้อด้วยสาแหรก (u-bolt) สำหรับแหนบรุ่นที่ไม่มีหูแหนบ ก็จะมีตุ๊กตารับปลายแหนบแทน เมื่อแหนบรับน้ำหนักก็จะสามารถเหยียดตัวเลื่อนออกไปได้ (sliding end)
ข้อแนะนำเพื่อยืดอายุการใช้งานของแหนบ
1. เลือกใช้แหนบที่ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน
2. ควรขันสะดือ และยึดสาแหรกให้แน่นทุกครั้ง และควรมีการกวดให้แน่นเป็นระยะๆ
3. เมื่อติดตั้งแหนบเข้ากับโครงรถแล้วให้สังเกตว่า แหนบมีการบิดตัวหรือไม่ ถ้าบิดตัวให้หาสาเหตุแล้วแก้ไข
4. หลีกเลี่ยงการบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐาน
5. หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เป็นหลุมบ่อหรือขรุขระ หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรลดความเร็วลงให้รถวิ่งช้าๆ
6. ควรตรวจสอบบริเวณหูแหนบอยู่เสมอว่า ยังคงมีจาระบีอยู่หรือไม่ หรือสลักหูแหนบยังคงหมุนได้ หูแหนบไม่ตาย
7. หลีกเลี่ยงหรือป้องกันมิให้แหนบเปียกชื้น
8. ห้ามเขี่ยลวดเชื่อมเพื่อทดลองไฟ และหลีกเลี่ยงมิให้สะเก็ดลวดเชื่อมตกลงบนตัวแหนบ
กระบวนการผลิตแหนบรถยนต์
cr :
http://www.sammitrauto.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=4&Id=462759
แหนบรถยนต์
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแหนบ
ความหมายและหน้าที่ของแหนบ
แหนบ(leaf spring) คือ สปริงประเภทหนึ่ง เป็นส่วนประกอบของรถ ติดตั้งอยู่ช่วงล่างรับภาระบรรทุกจากโครงรถแล้วถ่ายทอดลงสู่เพลาล้อ มีหน้าที่ในการลดการสั่นสะเทือนให้กับโครงรถโดยการรับและเก็บพลังงานที่เกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนเมื่อรถวิ่งแล้วจึงคายออกในเวลาต่อมาจึงเป็นการหน่วงแรงสั่นสะเทือน ทำให้โครงรถเคลื่อนทีได้นุ่มนวลขึ้น ผู้ใช้รถจึงรู้สึกสบายไม่เกิดอาการสั่นไหวตามไปกับความขรุขระของผิวถนน
ลักษณะของแหนบ
ลักษณะของแหนบโดยทั่วไปจะประกอบด้วยแผ่นแหนบหลายแผ่นที่มีความยาวแต่ละแผ่นแตกต่างลดหลั่นกันตามลำดับวางซ้อนกันโดยมีสลักเกลียวสอดผ่านรูกลางแหนบที่เรียกว่า รูสะดือ (center hole) เพื่อยึดแผ่นแหนบแต่ละแผ่นให้รวมกันเป็นแหนบตับ สลักเกลียวนี้เรียกว่า สะดือแหนบ (center bolt) แผ่นแหนบแต่ละแผ่นจะมีความโค้งก่อนประกอบแตกต่างกันเล็กน้อยเพื่อให้เกิดค่า NIP ตามที่กำหนดไว้ เมื่อประกอบกันเข้าเป็นตับแล้ว จึงมีความโค้งเดียวกัน แหนบส่วนใหญ่จะมีความโค้งแบบกึ่งวงรี (semi-elliptic spring)
วัตถุดิบและการทำให้เหล็กเป็นสปริง
วัตถุดิบที่ใช้ทำแหนบคือเหล็กสปริง (spring steel) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีโรงงานผลิตเหล็กประเภทนี้ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
การทำเหล็กให้เป็นสปริงคือ การนำวัตถุดิบที่ผ่านการเจาะรูหรือขึ้นรูปต่างๆที่ปลายแหนบ (เช่น การม้วนหู การตัดมุม หรือ การรีดปลาย) มาผ่านกระบวนการอบชุบด้วยความร้อน (heat-treatment) โดยการเผาเหล็กให้ร้อนจนถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วทำเหล็กที่ร้อนนั้นเย็นตัวลงทันทีทันใด (quenching) ด้วยการใช้สารชุบแข็ง วิธีการนี้ทำให้เหล็กแข็งขึ้น เรียกว่า การชุบแข็ง (hardening) จากนั้นจึงนำไปอบคลาย (tempering) เพื่อให้เกิดความเหนียวขึ้นไม่แข็งเปราะ เหล็กที่ผ่านขั้นตอนเหล่านี้แล้วจึงถือได้ว่าเป็นสปริง
การติดตั้งและการทำงานของแหนบ
การติดตั้งแหนบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่มีแหนบอยู่เหนือเพลา (overslung) และประเภทแหนบที่อยู่ใต้เพลา (underslung) ซึ่งทางบริษัทผลิตรถยนต์ได้ออกแบบการติดตั้ง และการรับน้ำหนักให้เหมาะสมกับการใช้งานอยู่แล้ว แหนบโดยทั่วไป ชั้นที่ 1 จะม้วนเป็นวงกลมที่ปลายแผ่นแหนบทั้งสองข้าง ซึ่งเรียกว่าหูแหนบ (spring eye) โดยหูแหนบทั้งสองข้าง จะยึดติดกับโครงรถด้วยเต้าหูแหนบ และโตงเตง ด้านเต้าหูแหนบจะยึดติดแหนบให้คงที่ (fixed end) ส่วนด้านโตงเตงจะสามารถโยกแกว่งไปมาได้ (shackled end) เพื่อให้แหนบสามารถเหยียดตัวออกขณะรับน้ำหนัก ส่วนบริเวณกลางแหนบจะยึดติดกับเพลาล้อด้วยสาแหรก (u-bolt) สำหรับแหนบรุ่นที่ไม่มีหูแหนบ ก็จะมีตุ๊กตารับปลายแหนบแทน เมื่อแหนบรับน้ำหนักก็จะสามารถเหยียดตัวเลื่อนออกไปได้ (sliding end)
ข้อแนะนำเพื่อยืดอายุการใช้งานของแหนบ
1. เลือกใช้แหนบที่ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน
2. ควรขันสะดือ และยึดสาแหรกให้แน่นทุกครั้ง และควรมีการกวดให้แน่นเป็นระยะๆ
3. เมื่อติดตั้งแหนบเข้ากับโครงรถแล้วให้สังเกตว่า แหนบมีการบิดตัวหรือไม่ ถ้าบิดตัวให้หาสาเหตุแล้วแก้ไข
4. หลีกเลี่ยงการบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐาน
5. หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เป็นหลุมบ่อหรือขรุขระ หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรลดความเร็วลงให้รถวิ่งช้าๆ
6. ควรตรวจสอบบริเวณหูแหนบอยู่เสมอว่า ยังคงมีจาระบีอยู่หรือไม่ หรือสลักหูแหนบยังคงหมุนได้ หูแหนบไม่ตาย
7. หลีกเลี่ยงหรือป้องกันมิให้แหนบเปียกชื้น
8. ห้ามเขี่ยลวดเชื่อมเพื่อทดลองไฟ และหลีกเลี่ยงมิให้สะเก็ดลวดเชื่อมตกลงบนตัวแหนบ
กระบวนการผลิตแหนบรถยนต์
cr : http://www.sammitrauto.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=4&Id=462759