พระอภัยมณีฉบับเร่งรัด
ชุดที่ ๖ โชคสองชั้นของพระอภัยมณี
ตอนที่ ๒ "ถึงอยู่วังใจมาอยู่ที่ภูเขา"
ฑ.มณฑา
เมื่อ นางสุวรรณมาลี หนีการวิวาห์ไปบวชเป็นชีอยู่ที่ ภูเขาศีขิรินทร์ ปล่อยให้ พระอภัยมณี ปกครองกรุงผลึกอยู่อย่างเปล่าเปลี่ยวใจ
ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยหันมาปรับปรุงบ้านเมืองเตรียมรับทัพกรุงลังกา และฝึกทหารให้พร้อมที่จะทำศึกสงคราม
ขณะเดียวกันก็แต่งประกาศหา ผู้ที่มีฝีมือในการใช้อาวุธ และมีความรู้ความสามารถ ในการรบ ให้มาสมัครเข้ารับราชการเพิ่มขึ้น
จึงมีผู้คนพลเมืองมาสมัครเป็นทหารกันมามายทุกวัน
มีนางสาวอยู่คนหนึ่งชื่อ วาลี อายุสามสิบสี่ปี รูปชั่วตัวดำ เป็นกำพร้า บิดามารดามาแต่เล็ก อาศัยตายายอยู่ปลายนา
แต่เป็นเชื้อสายของพราหมณ์มีตำราวิชาความรู้ต่าง ๆ เป็นมรดกตกทอดมาแต่โบราณ เมื่อโตขึ้นนางก็อุตส่าห์เล่าเรียนคัมภีร์นั้น
จนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง มีความรู้เวทย์มนต์คาถา ดูฤกษ์ยามต่าง ๆ แล้วก็เผาตำราทิ้งเสีย อาศัยอยู่กับยายตาช่วยทำไร่ไถนา
และอาศัยความรู้ว่าปีไหนเดือนไหนจะมีฝนตกชุกหรือแห้งแล้ง ก็พยากรณ์ได้แม่นยำ จนชาวบ้านเชื่อถือมีของกำนัลมาให้ไม่อดอยาก
ครั้นรู้ข่าวว่าพระอภัยมณีเจ้ากรุงผลึกคนใหม่ ประสงค์จะรับผู้ที่มีวิชาความรู้ ก็ตั้งใจจะไปสมัคร
แต่นางหมายสูงไม่ได้คิดจะรับราชการเท่านั้น กะว่าจะต้องเข้าไปเป็นหม่อมห้ามเสียเลย สองตายายรู้ความคิดก็นึกขำ
ในความทะเยอทะยานของหลานสาว
"นางบอกว่าข้าจะไปเป็นหม่อมห้าม
คงสมความปรารถนาอย่าสงสัย
ทั้งผัวเมียหัวร่ององอไป
ร้องเรียกให้เพื่อนบ้านช่วยวานแล
หลานข้าเจ้าเขาจะไปเป็นหม่อมห้าม
มันเหลืองามอยู่เพียงนี้แล้วอีแม่
กูเห็นการท่านจะเอาไว้เป่าแตร
ไฉนแน่กระนี้นาข้าขอฟัง"
นางวาลีก็ไม่ฟังเข้าไปสมัครในวัง เจ้าหน้าที่รู้ว่าจะมาสมัครเป็นทหาร ก็ถามว่า มีวิชาอยู่ยงคงกระพัน หรือมีฝีมือในทางใด
"นางฟังคำทำหัวเราะเยาะอำมาตย์
ว่าท่านทาสปัญญาอย่ามาถาม
วิชาคนทนคงเข้าสงคราม
เป็นแต่ความรู้ไพร่เขาใช้แรง
อันวิชาข้านี้ดีกว่านั้น
ของสำคัญใครเขาจะเล่าแถลง
แม้นพระองค์ทรงศักดิ์จักแสดง
มิควรแพร่งพรายให้ไพร่ไพร่ฟัง"
เจ้าหน้าที่ก็ทักท้วงว่า การเป็นทหารนั้นไม่ใช่เรื่องของผู้หญิง เมื่อไม่บอกก็จะไม่พาไปเฝ้า
นางก็ว่าในการสงครามนั้น ใครมีความชอบก็ได้รับบำเหน็จรางวัลใครผิดก็ประหารไปไม่ได้เลือกว่าชายหญิง
หรือคิดว่าผู้หญิงฆ่าผู้ชายไม่ตาย อำมาตย์เห็นว่าเจรจาแข็งขันนัก จึงพาไปเฝ้าพระอภัยมณี
พอเห็นหน้าก็นึกประหลาดว่า
"เหมือนคุลาหน้าตุเหมือนปรุหนัง
ดูดังตะไคร่น้ำดำมิดหมี
แต่กิริยามารยาทประหลาดดี
เห็นจะมีความรู้อยู่ในใจ"
แต่ถึงพระอภัยจะซักถามความรู้อย่างไร นางวาลีก็ตอบเลี่ยงไปมาว่า เรื่องใช้เรี่ยวแรงนั้นคงจะไม่ได้
แต่ถ้าจะเอาให้มีชัยแก่ข้าศึก ก็คงจะสมประสงค์ เจ้า กรุงผลึกจึงแกล้งถามว่า ถ้าข้าศึกมาสักสิบแสน
มีแต่นางคนเดียวจะคิดการอย่างไร นางวาลีก็ว่าการศึกยังมาไม่ถึงจะพูดล่วงหน้าไปก็ไม่ถูกต้อง
เมื่อเห็นว่าข้าศึกมีกลอุบายอย่างใด จึงแก้ไขเอาชนะกันในขณะนั้น วิชาที่เรียนมานี้ไม่ต้องใช้ไพร่พลมาก
ขอแต่เพียงคู่คิดคนเดียวเท่านั้น พระอภัยสงสัยถามว่าจะหาคู่คิดได้ที่ไหน
นางวาลีก็เผยความในใจว่าขอให้ได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์เท่านั้น พระอภัยก็ชอบใจว่าจะเลี้ยงไว้เป็นที่ปรึกษา
"นางนบนอบตอบรสพจนารถ
คุณพระบาทกรุณาจะหาไหน
แต่ยศศักดิ์จักประทานประการใด
ไม่ชอบใจเจตนามาทั้งนี้
ด้วยเปลี่ยวใจไม่มีที่จะเห็น
จะขอเป็นองค์พระมเหสี
แม้นโปรดตามความรักจะภักดี
ถ้าแม้นมิเมตตาจะลาไป"
พระอภัยก็ไม่โกรธหัวเราะแล้วว่า ซึ่งมีแก่ใจมารักใคร่นั้นไม่ได้ถือสา แต่ต้องพิจารณารูปโฉมของตนเอง ว่าสมควรจะเป็นมเหสีได้หรือไม่
นางก็ทูลตอบอย่างฉาดฉาน ว่า
"นางทูลว่าข้าน้อยนี้รูปชั่ว
ก็รู้ตัวมั่นคงไม่สงสัย
แต่แสนงามความรู้อยู่ในใจ
เหมือนเพชรไพฑูรย์ฝ้าไม่ราคี
แล้วหมายว่าฝ่าพระบาทก็มีห้าม
ล้วนงามงามเคยประณตบทศรี
แต่หญิงมีวิชาเช่นข้านี้
ยังไม่มีไม่เคยเลยทั้งนั้น
จึงอุตส่าห์มายอมน้อมประณต
ให้พระยศใหญ่ยิ่งทุกสิ่งสรรพ์
บรรดาผู้รู้วิช่สารพัน
จะหมายมั่นพึ่งพาบารมี
แม้นทรงศักดิ์รักโฉมประโลมสวาท
ไม่เลี้ยงปราชญ์ไว้บำรุงซึ่งกรุงศรี
ก็ผิดอย่างทางทำเนียมประเวณี
เห็นคนดีจะไม่มาสามิภักดิ์"
พระอภัยชอบใจวาจานางวาลี จึงยอมรับไว้เป็นนางสนม ต่อเมื่อได้ทำ ความดี แสดงความรู้ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว
จึงจะยกขึ้นเป็นมเหสีทีหลังนางก็ยินยอม
พระอภัยมณีจัดการบ้านเมืองในกรุงผลึกอยู่เป็นเวลานาน ก็คิดถึงนางสุวรรณมาลี ที่ไปบวชแล้วไม่ยอมสึก
จึงชวน ศรีสุวรรณ น้องชายไปเยี่ยมถึงอาศรม แล้วก็รำพันว่า
"แล้วว่าโยมโทมนัสประหวัดหวัง
ถึงอยู่วังใจมาอยู่ที่ภูเขา
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนหนึ่งเห็นอยู่เย็นเช้า
เหลือจะเล่าแล้วที่จิตคิดอาลัย
คุณคะนึงถึงโยมอยู่บ้างหรือ
เห็นเพลินถือธรรมขันธ์ไม่หวั่นไหว
ตัดสวาทขาดเด็ดสำเร็จไป
เจียวหรือใจเจ้าคุณพระมุนี"
นางสุวรรณมาลีได้ฟังคำเกี้ยวก็อดหวั่นไหวไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่อยู่ในชุดทรงศีล แต่ก็หักห้ามใจไว้ได้ตามวิสัยสตรี
จึงตอบไปว่า
"ได้ตรวจน้ำรำลึกนึกไม่ขาด
ถึงเบื้องบาทบพิตรอดิศร
มิตรจิตมิตรใจอาลัยวรณ์
เว้นแต่นอนหลับไปมิได้คิด
ทั้งทราบว่าวาลีมีความรู้
เขามาสู่สมภารสำราญจิต
พอเข้านอกออกในได้ใช้ชิด
สำเร็จกิจข้าน้อยพลอยยินดี"
พระอภัยก็แก้ว่า นางวาลีเป็นคนมีความนู้ จึงรับไว้ใช้สอย เพื่อเอาไว้เป็นข้ารับใช้ในภายหน้า
เวลานี้ก็จัดการบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยดีแล้ว ขอนิมนต์ให้สึกไปครองกรุงก่อน
เอาไว้แก่เฒ่าแล้วค่อยมาบวชเสียด้วยกันจนวันตาย
นางสุวรรณมาลีก็ ทำใจแข็ง ชวนพูดคุยไปในทางธรรม พระอภัยก็ไม่ฟังแต่อ้อนวอนสักเท่าไร
นางก็ไม่ยอมปลงใจด้วย จึงคาดคั้นว่าถ้าไม่สึกภายในสามวัน ก็ไม่ต้องเห็นหน้ากันอีกต่อไป แล้วก็กลับเข้าวัง โดยไม่ได้ร่ำลา
แต่สามวันผ่านไปแล้ว นางสุวรรณมาลีก็ไม่ยอมสึก พระอภัยก็ได้แต่เสียใจไม่เสวยอาหาร และไม่ยุ่งกับสาวสนมนางกำนัลทั้งปวง
นางวาลีก็สงสารถึงเวลาเข้าเฝ้าจึงขับกล่อมด้วยเพลงที่ตรงกับความในใจ พระอภัยก็ขอให้นางช่วยหาอุบาย
ให้นางสุวรรณมาลีสึกออกมาอภิเษกให้ได้ นางวาลีก็รับอาสาว่าจะจัดการให้เรียบร้อย ภายในเจ็ดวัน แต่ไม่บอกว่าจะทำอย่างไร
"พระชื่นชอบปลอบถามถึงความคิด
นางป้องปิดมิได้พร้องสนองสาร
แล้วทูลว่ามิเสร็จสำเร็จการ
จงประหารชีวันให้บรรลัย
แต่เดี๋ยวนี้ยังมิทำได้สำเร็จ
กลเม็ดมิดม้วนไม่ควรไข
แม้นสำเร็จวิวาห์เวลาใด
จึงจะได้เห็นจริงทุกสิ่งอัน"
พอรุ่งเช้านางวาลีก็ไปเฝ้าศรีสุวรรณ ถือรับสั่งของพระอภัย ให้จัดตั้งพิธีอภิเษกในวันเจ็ดค่ำ
ศรีสุวรรณก็สั่งการให้เจ้าหน้าที่ข้างหน้าและข้างใน ดำเนินการ ตามราชประเพณีกันเป็นการใหญ่
นางมณฑา พระมารดานางสุวรรณมาลีทราบข่าวก็ตกใจว่าพระราชธิดา ยังบวชไม่สึก แล้วพระอภัยจะอภิเษกกับใคร
ก็ร้อนใจเป็นกำลัง จึงรีบออกจากวังพร้อมด้วยพวกข้าหลวง ไปหาแม่ชีที่อาศรม
แล้วก็เล่าเรื่องที่พระอภัย สั่งให้ตั้งพิธีอภิเษกในวันเจ็ดค่ำจะทำอย่างไร
นางสุวรรณมาลีก็พลอยร้อนใจ บอกว่าไม่ทราบเรื่องราวอะไรเลย
พระมารดาก็ซ้ำเอาว่า เพราะมัวแต่แสนงอนอยู่อย่างนี้ เขาจึงคิดจะอภิเษกกับคนอื่น
"นางวาลีมิใช่ชั่วเขาตัวโปรด
จะเป็นโสดสูงเสริมเฉลิมศักดิ์
ผู้ดีเดิมเหิมฮึกทำคึกคัก
จะต้องหักทบทับอัประมาณ
เหมือนครั้งนี้วิวาห์ถ้าไม่สึก
เมืองผลึกก็จะแหลกต้องแตกฉาน
สงสารเหล่าเผ่าพงศ์พวกวงศ์วาน
เคยสำราญราษฎรจะร้อนนัก”
นางมณฑาก็ได้ตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ นา ๆ จนนางสุวรรณมาลีต้องยอมสึกพร้อมกับลูกหลานทั้งสองคือ สินสมุท และ อรุณรัศมี
กลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังดังเดิม
พระอภัยมณีก็ชอบใจในปัญญาของนางวาลี จึงประทานสร้อยสังวาลย์ที่ทรงอยู่กับตัวให้เป็นรางวัล
แล้วยกขึ้นเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย พร้อมกับนางสุวรรณมาลีด้วย
"ถีงวันเสร็จเจ็ดค่ำเป็นกำหนด
มาพร้อมหมดเหมือนหมายทั้งซ้ายขวา
ภิเษกสองครองสมบัติขัตติยา
ชาวพาราเริงรื่นทุกคืนวัน"
พระอภัยมณีจึงมีโชคถึงสองชั้น โดยได้อภิเษกสมรส กับนางสุวรรณมาลี สมความปรารถนา
และได้นางวาลีซึ่งแม้จะมีรูปชั่วตัวดำ แต่ก็มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเอาไว้ช่วยบ้านเมืองในเวลาคับขันได้อีกด้วย.
##########
พระอภัยมณีฉบับเร่งรัด ๑๘ ก.พ.๕๘
ชุดที่ ๖ โชคสองชั้นของพระอภัยมณี
ตอนที่ ๒ "ถึงอยู่วังใจมาอยู่ที่ภูเขา"
ฑ.มณฑา
เมื่อ นางสุวรรณมาลี หนีการวิวาห์ไปบวชเป็นชีอยู่ที่ ภูเขาศีขิรินทร์ ปล่อยให้ พระอภัยมณี ปกครองกรุงผลึกอยู่อย่างเปล่าเปลี่ยวใจ
ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยหันมาปรับปรุงบ้านเมืองเตรียมรับทัพกรุงลังกา และฝึกทหารให้พร้อมที่จะทำศึกสงคราม
ขณะเดียวกันก็แต่งประกาศหา ผู้ที่มีฝีมือในการใช้อาวุธ และมีความรู้ความสามารถ ในการรบ ให้มาสมัครเข้ารับราชการเพิ่มขึ้น
จึงมีผู้คนพลเมืองมาสมัครเป็นทหารกันมามายทุกวัน
มีนางสาวอยู่คนหนึ่งชื่อ วาลี อายุสามสิบสี่ปี รูปชั่วตัวดำ เป็นกำพร้า บิดามารดามาแต่เล็ก อาศัยตายายอยู่ปลายนา
แต่เป็นเชื้อสายของพราหมณ์มีตำราวิชาความรู้ต่าง ๆ เป็นมรดกตกทอดมาแต่โบราณ เมื่อโตขึ้นนางก็อุตส่าห์เล่าเรียนคัมภีร์นั้น
จนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง มีความรู้เวทย์มนต์คาถา ดูฤกษ์ยามต่าง ๆ แล้วก็เผาตำราทิ้งเสีย อาศัยอยู่กับยายตาช่วยทำไร่ไถนา
และอาศัยความรู้ว่าปีไหนเดือนไหนจะมีฝนตกชุกหรือแห้งแล้ง ก็พยากรณ์ได้แม่นยำ จนชาวบ้านเชื่อถือมีของกำนัลมาให้ไม่อดอยาก
ครั้นรู้ข่าวว่าพระอภัยมณีเจ้ากรุงผลึกคนใหม่ ประสงค์จะรับผู้ที่มีวิชาความรู้ ก็ตั้งใจจะไปสมัคร
แต่นางหมายสูงไม่ได้คิดจะรับราชการเท่านั้น กะว่าจะต้องเข้าไปเป็นหม่อมห้ามเสียเลย สองตายายรู้ความคิดก็นึกขำ
ในความทะเยอทะยานของหลานสาว
"นางบอกว่าข้าจะไปเป็นหม่อมห้าม
คงสมความปรารถนาอย่าสงสัย
ทั้งผัวเมียหัวร่ององอไป
ร้องเรียกให้เพื่อนบ้านช่วยวานแล
หลานข้าเจ้าเขาจะไปเป็นหม่อมห้าม
มันเหลืองามอยู่เพียงนี้แล้วอีแม่
กูเห็นการท่านจะเอาไว้เป่าแตร
ไฉนแน่กระนี้นาข้าขอฟัง"
นางวาลีก็ไม่ฟังเข้าไปสมัครในวัง เจ้าหน้าที่รู้ว่าจะมาสมัครเป็นทหาร ก็ถามว่า มีวิชาอยู่ยงคงกระพัน หรือมีฝีมือในทางใด
"นางฟังคำทำหัวเราะเยาะอำมาตย์
ว่าท่านทาสปัญญาอย่ามาถาม
วิชาคนทนคงเข้าสงคราม
เป็นแต่ความรู้ไพร่เขาใช้แรง
อันวิชาข้านี้ดีกว่านั้น
ของสำคัญใครเขาจะเล่าแถลง
แม้นพระองค์ทรงศักดิ์จักแสดง
มิควรแพร่งพรายให้ไพร่ไพร่ฟัง"
เจ้าหน้าที่ก็ทักท้วงว่า การเป็นทหารนั้นไม่ใช่เรื่องของผู้หญิง เมื่อไม่บอกก็จะไม่พาไปเฝ้า
นางก็ว่าในการสงครามนั้น ใครมีความชอบก็ได้รับบำเหน็จรางวัลใครผิดก็ประหารไปไม่ได้เลือกว่าชายหญิง
หรือคิดว่าผู้หญิงฆ่าผู้ชายไม่ตาย อำมาตย์เห็นว่าเจรจาแข็งขันนัก จึงพาไปเฝ้าพระอภัยมณี
พอเห็นหน้าก็นึกประหลาดว่า
"เหมือนคุลาหน้าตุเหมือนปรุหนัง
ดูดังตะไคร่น้ำดำมิดหมี
แต่กิริยามารยาทประหลาดดี
เห็นจะมีความรู้อยู่ในใจ"
แต่ถึงพระอภัยจะซักถามความรู้อย่างไร นางวาลีก็ตอบเลี่ยงไปมาว่า เรื่องใช้เรี่ยวแรงนั้นคงจะไม่ได้
แต่ถ้าจะเอาให้มีชัยแก่ข้าศึก ก็คงจะสมประสงค์ เจ้า กรุงผลึกจึงแกล้งถามว่า ถ้าข้าศึกมาสักสิบแสน
มีแต่นางคนเดียวจะคิดการอย่างไร นางวาลีก็ว่าการศึกยังมาไม่ถึงจะพูดล่วงหน้าไปก็ไม่ถูกต้อง
เมื่อเห็นว่าข้าศึกมีกลอุบายอย่างใด จึงแก้ไขเอาชนะกันในขณะนั้น วิชาที่เรียนมานี้ไม่ต้องใช้ไพร่พลมาก
ขอแต่เพียงคู่คิดคนเดียวเท่านั้น พระอภัยสงสัยถามว่าจะหาคู่คิดได้ที่ไหน
นางวาลีก็เผยความในใจว่าขอให้ได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์เท่านั้น พระอภัยก็ชอบใจว่าจะเลี้ยงไว้เป็นที่ปรึกษา
"นางนบนอบตอบรสพจนารถ
คุณพระบาทกรุณาจะหาไหน
แต่ยศศักดิ์จักประทานประการใด
ไม่ชอบใจเจตนามาทั้งนี้
ด้วยเปลี่ยวใจไม่มีที่จะเห็น
จะขอเป็นองค์พระมเหสี
แม้นโปรดตามความรักจะภักดี
ถ้าแม้นมิเมตตาจะลาไป"
พระอภัยก็ไม่โกรธหัวเราะแล้วว่า ซึ่งมีแก่ใจมารักใคร่นั้นไม่ได้ถือสา แต่ต้องพิจารณารูปโฉมของตนเอง ว่าสมควรจะเป็นมเหสีได้หรือไม่
นางก็ทูลตอบอย่างฉาดฉาน ว่า
"นางทูลว่าข้าน้อยนี้รูปชั่ว
ก็รู้ตัวมั่นคงไม่สงสัย
แต่แสนงามความรู้อยู่ในใจ
เหมือนเพชรไพฑูรย์ฝ้าไม่ราคี
แล้วหมายว่าฝ่าพระบาทก็มีห้าม
ล้วนงามงามเคยประณตบทศรี
แต่หญิงมีวิชาเช่นข้านี้
ยังไม่มีไม่เคยเลยทั้งนั้น
จึงอุตส่าห์มายอมน้อมประณต
ให้พระยศใหญ่ยิ่งทุกสิ่งสรรพ์
บรรดาผู้รู้วิช่สารพัน
จะหมายมั่นพึ่งพาบารมี
แม้นทรงศักดิ์รักโฉมประโลมสวาท
ไม่เลี้ยงปราชญ์ไว้บำรุงซึ่งกรุงศรี
ก็ผิดอย่างทางทำเนียมประเวณี
เห็นคนดีจะไม่มาสามิภักดิ์"
พระอภัยชอบใจวาจานางวาลี จึงยอมรับไว้เป็นนางสนม ต่อเมื่อได้ทำ ความดี แสดงความรู้ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว
จึงจะยกขึ้นเป็นมเหสีทีหลังนางก็ยินยอม
พระอภัยมณีจัดการบ้านเมืองในกรุงผลึกอยู่เป็นเวลานาน ก็คิดถึงนางสุวรรณมาลี ที่ไปบวชแล้วไม่ยอมสึก
จึงชวน ศรีสุวรรณ น้องชายไปเยี่ยมถึงอาศรม แล้วก็รำพันว่า
"แล้วว่าโยมโทมนัสประหวัดหวัง
ถึงอยู่วังใจมาอยู่ที่ภูเขา
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนหนึ่งเห็นอยู่เย็นเช้า
เหลือจะเล่าแล้วที่จิตคิดอาลัย
คุณคะนึงถึงโยมอยู่บ้างหรือ
เห็นเพลินถือธรรมขันธ์ไม่หวั่นไหว
ตัดสวาทขาดเด็ดสำเร็จไป
เจียวหรือใจเจ้าคุณพระมุนี"
นางสุวรรณมาลีได้ฟังคำเกี้ยวก็อดหวั่นไหวไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่อยู่ในชุดทรงศีล แต่ก็หักห้ามใจไว้ได้ตามวิสัยสตรี
จึงตอบไปว่า
"ได้ตรวจน้ำรำลึกนึกไม่ขาด
ถึงเบื้องบาทบพิตรอดิศร
มิตรจิตมิตรใจอาลัยวรณ์
เว้นแต่นอนหลับไปมิได้คิด
ทั้งทราบว่าวาลีมีความรู้
เขามาสู่สมภารสำราญจิต
พอเข้านอกออกในได้ใช้ชิด
สำเร็จกิจข้าน้อยพลอยยินดี"
พระอภัยก็แก้ว่า นางวาลีเป็นคนมีความนู้ จึงรับไว้ใช้สอย เพื่อเอาไว้เป็นข้ารับใช้ในภายหน้า
เวลานี้ก็จัดการบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยดีแล้ว ขอนิมนต์ให้สึกไปครองกรุงก่อน
เอาไว้แก่เฒ่าแล้วค่อยมาบวชเสียด้วยกันจนวันตาย
นางสุวรรณมาลีก็ ทำใจแข็ง ชวนพูดคุยไปในทางธรรม พระอภัยก็ไม่ฟังแต่อ้อนวอนสักเท่าไร
นางก็ไม่ยอมปลงใจด้วย จึงคาดคั้นว่าถ้าไม่สึกภายในสามวัน ก็ไม่ต้องเห็นหน้ากันอีกต่อไป แล้วก็กลับเข้าวัง โดยไม่ได้ร่ำลา
แต่สามวันผ่านไปแล้ว นางสุวรรณมาลีก็ไม่ยอมสึก พระอภัยก็ได้แต่เสียใจไม่เสวยอาหาร และไม่ยุ่งกับสาวสนมนางกำนัลทั้งปวง
นางวาลีก็สงสารถึงเวลาเข้าเฝ้าจึงขับกล่อมด้วยเพลงที่ตรงกับความในใจ พระอภัยก็ขอให้นางช่วยหาอุบาย
ให้นางสุวรรณมาลีสึกออกมาอภิเษกให้ได้ นางวาลีก็รับอาสาว่าจะจัดการให้เรียบร้อย ภายในเจ็ดวัน แต่ไม่บอกว่าจะทำอย่างไร
"พระชื่นชอบปลอบถามถึงความคิด
นางป้องปิดมิได้พร้องสนองสาร
แล้วทูลว่ามิเสร็จสำเร็จการ
จงประหารชีวันให้บรรลัย
แต่เดี๋ยวนี้ยังมิทำได้สำเร็จ
กลเม็ดมิดม้วนไม่ควรไข
แม้นสำเร็จวิวาห์เวลาใด
จึงจะได้เห็นจริงทุกสิ่งอัน"
พอรุ่งเช้านางวาลีก็ไปเฝ้าศรีสุวรรณ ถือรับสั่งของพระอภัย ให้จัดตั้งพิธีอภิเษกในวันเจ็ดค่ำ
ศรีสุวรรณก็สั่งการให้เจ้าหน้าที่ข้างหน้าและข้างใน ดำเนินการ ตามราชประเพณีกันเป็นการใหญ่
นางมณฑา พระมารดานางสุวรรณมาลีทราบข่าวก็ตกใจว่าพระราชธิดา ยังบวชไม่สึก แล้วพระอภัยจะอภิเษกกับใคร
ก็ร้อนใจเป็นกำลัง จึงรีบออกจากวังพร้อมด้วยพวกข้าหลวง ไปหาแม่ชีที่อาศรม
แล้วก็เล่าเรื่องที่พระอภัย สั่งให้ตั้งพิธีอภิเษกในวันเจ็ดค่ำจะทำอย่างไร
นางสุวรรณมาลีก็พลอยร้อนใจ บอกว่าไม่ทราบเรื่องราวอะไรเลย
พระมารดาก็ซ้ำเอาว่า เพราะมัวแต่แสนงอนอยู่อย่างนี้ เขาจึงคิดจะอภิเษกกับคนอื่น
"นางวาลีมิใช่ชั่วเขาตัวโปรด
จะเป็นโสดสูงเสริมเฉลิมศักดิ์
ผู้ดีเดิมเหิมฮึกทำคึกคัก
จะต้องหักทบทับอัประมาณ
เหมือนครั้งนี้วิวาห์ถ้าไม่สึก
เมืองผลึกก็จะแหลกต้องแตกฉาน
สงสารเหล่าเผ่าพงศ์พวกวงศ์วาน
เคยสำราญราษฎรจะร้อนนัก”
นางมณฑาก็ได้ตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ นา ๆ จนนางสุวรรณมาลีต้องยอมสึกพร้อมกับลูกหลานทั้งสองคือ สินสมุท และ อรุณรัศมี
กลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังดังเดิม
พระอภัยมณีก็ชอบใจในปัญญาของนางวาลี จึงประทานสร้อยสังวาลย์ที่ทรงอยู่กับตัวให้เป็นรางวัล
แล้วยกขึ้นเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย พร้อมกับนางสุวรรณมาลีด้วย
"ถีงวันเสร็จเจ็ดค่ำเป็นกำหนด
มาพร้อมหมดเหมือนหมายทั้งซ้ายขวา
ภิเษกสองครองสมบัติขัตติยา
ชาวพาราเริงรื่นทุกคืนวัน"
พระอภัยมณีจึงมีโชคถึงสองชั้น โดยได้อภิเษกสมรส กับนางสุวรรณมาลี สมความปรารถนา
และได้นางวาลีซึ่งแม้จะมีรูปชั่วตัวดำ แต่ก็มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเอาไว้ช่วยบ้านเมืองในเวลาคับขันได้อีกด้วย.
##########