สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
พูดตรงๆนะครับ.....ภาษีแบบนี้คนรวยไม่เดือดร้อนหรอกครับ เขามีเงินจ่ายครับ หรือไม่ก็มีวิธี ซิกแซกลดหย่อนอยู่แล้ว(ตย. ที่รกร้างเอามาปลูกข้าว จ้างชาวนา ที่ไม่มีที่ทำกินมาทำ ก็ได้อัตราที่ดินเกษตรแล้วครับ ส่วนค่าจ้างก็ ให้ชาวนาที่มาทำ เอาไปขายมาแบ่งกำไรให้แล้วกันก็จบ)
.....แต่คนที่เดือดร้อนจริงๆ คงจะเป็นคนชั้นกลาง กับคนเก่าแก่ที่พอจะมีที่อยู่บ้างครับ....คนชั้นกลาง เงินสดไม่เยอะ แต่พอจะมีสินทรัพย์อยู่บ้าง ส่วนใหญ่ก็พนักงานบริษัท ลูกจ้าง คนพวกนี้ล่ะครับที่จะต้องมาแบกรับภาระ คชจ. ที่สูงขึ้น....ยิ่งถ้ามีบ้างกลางเมืองนะ หึหึ หนักแน่นอน ถ้าหาเงินไม่เก่ง ก็เดือดร้อนแน่ครับ
.....คนเก่าแก่ ที่พอจะมีที่ดิน แต่ไม่มีเงินทุนหรือช่องทางในการเข้าไปสร้างประโยชน์กับที่ดินนั้น พวกนี้โดนอัตราที่ดินรกร้างแน่นอน ถ้าหาเงินมาจ่ายไม่ไหว ก็คงต้องขายทิ้ง ขายที่ดินมรดก ให้กับนายทุนชัวๆ(ขึ้นอยู่กับว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น)
.....อีกกลุ่มคือ ที่ดินพานิชย์ ครับ ..... พวกนี้ ขอยกตัวอย่างง่ายๆแล้วไปคิดกันเองนะครับ.....บ้านตึกแถว ขายข้าวหมูแดงข้าวมันไก่ อยู่กลาง บางรัก สีลม ศาลาแดง เป็นต้น.....ถ้าจ่ายไม่ไหวก็ย้ายออกไปครับ
สรุปคือ....พื้นที่กลางเมือง ที่ราคาที่ดินแพงๆ ก็จะค่อยๆกลางเป็นพื้นที่เฉพาะของคนรวย ของนายทุน เข้าไปผูกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก คนชั้นกลาง และคนจน ไม่สามารถ ไม่มีปัญญาจ่ายภาษีครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ดินมรดกคนเก่าคนแก่ในพื้นที่ก็ตาม และสุดท้ายด้วยความจำเป็นก็จะต้องถูกบีบให้ย้ายออกในไม่ช้าก็เร็ว(แต่ อัตราที่ จขกท. เขียนมาก็ถึงว่าดีกว่าอัตราแรกตอนที่เสนอแนวคิดนี้ออกมามากอยู่นะครับ 555)
อย่าทำเป็นต่อต้านเลยครับ ทุนนิยมยังคงอยู่กับเรา และยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คนจนๆ ก็ตายไปเถอะครับ โลกมันก็อย่างนี้
ปล. ตัวผมเองก็คงใกล้จะตายแล้วเหมือนกัน 5555 คงต้องย้ายกลับไปอยู่บ้านนอกเหมือนเดิมแล้วล่ะครับ ที่นี่ มันสำหรับชาวเทวดา
.....แต่คนที่เดือดร้อนจริงๆ คงจะเป็นคนชั้นกลาง กับคนเก่าแก่ที่พอจะมีที่อยู่บ้างครับ....คนชั้นกลาง เงินสดไม่เยอะ แต่พอจะมีสินทรัพย์อยู่บ้าง ส่วนใหญ่ก็พนักงานบริษัท ลูกจ้าง คนพวกนี้ล่ะครับที่จะต้องมาแบกรับภาระ คชจ. ที่สูงขึ้น....ยิ่งถ้ามีบ้างกลางเมืองนะ หึหึ หนักแน่นอน ถ้าหาเงินไม่เก่ง ก็เดือดร้อนแน่ครับ
.....คนเก่าแก่ ที่พอจะมีที่ดิน แต่ไม่มีเงินทุนหรือช่องทางในการเข้าไปสร้างประโยชน์กับที่ดินนั้น พวกนี้โดนอัตราที่ดินรกร้างแน่นอน ถ้าหาเงินมาจ่ายไม่ไหว ก็คงต้องขายทิ้ง ขายที่ดินมรดก ให้กับนายทุนชัวๆ(ขึ้นอยู่กับว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น)
.....อีกกลุ่มคือ ที่ดินพานิชย์ ครับ ..... พวกนี้ ขอยกตัวอย่างง่ายๆแล้วไปคิดกันเองนะครับ.....บ้านตึกแถว ขายข้าวหมูแดงข้าวมันไก่ อยู่กลาง บางรัก สีลม ศาลาแดง เป็นต้น.....ถ้าจ่ายไม่ไหวก็ย้ายออกไปครับ
สรุปคือ....พื้นที่กลางเมือง ที่ราคาที่ดินแพงๆ ก็จะค่อยๆกลางเป็นพื้นที่เฉพาะของคนรวย ของนายทุน เข้าไปผูกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก คนชั้นกลาง และคนจน ไม่สามารถ ไม่มีปัญญาจ่ายภาษีครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ดินมรดกคนเก่าคนแก่ในพื้นที่ก็ตาม และสุดท้ายด้วยความจำเป็นก็จะต้องถูกบีบให้ย้ายออกในไม่ช้าก็เร็ว(แต่ อัตราที่ จขกท. เขียนมาก็ถึงว่าดีกว่าอัตราแรกตอนที่เสนอแนวคิดนี้ออกมามากอยู่นะครับ 555)
อย่าทำเป็นต่อต้านเลยครับ ทุนนิยมยังคงอยู่กับเรา และยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คนจนๆ ก็ตายไปเถอะครับ โลกมันก็อย่างนี้
ปล. ตัวผมเองก็คงใกล้จะตายแล้วเหมือนกัน 5555 คงต้องย้ายกลับไปอยู่บ้านนอกเหมือนเดิมแล้วล่ะครับ ที่นี่ มันสำหรับชาวเทวดา
ความคิดเห็นที่ 16
ที่อยู่อาศัยรับได้แถวๆ 0.1% ล้านละพันอ่ะ.. เพดาน 0.5% มากไปนะ คหสต.
เริ่มที่ 0.01% ก็โอเค.. ทดสอบระบบความพร้อมกันไปก่อน ต้องทำความเข้าใจกันอีกระยะใหญ่อ่ะ ไม่ใช่นึกจะเก็บก็เก็บ
อีกอย่างภาษีที่ดินไม่ควรรวมราคาบ้านดิ่คะ สมมุติคุณมีบ้าน 100 วา แต่ตัวบ้านหยั่งแพง กับที่ 10 ไร่ แต่บ้านถูกๆ..
เราว่าคนที่ถือ 10 ไร่อ่ะ คุณบริโภค "ทรัพยากรซึ่งควรเป็นของส่วนรวม" มากกว่า ควรจ่ายมากกว่า ส่วนบ้านแพงๆ ที่ดินน้อย มันก็สิทธิของคุณ
เพราะนี่เรากำลังพูดกันเรื่อง "ที่ดิน" ป่ะคะ
ส่วนห้องเช่า ก็ควรเก็บกับเจ้าของที่.. คือเจ้าของตึกอ่ะแหล่ะ เพราะถือว่าเค้าเอาที่ดินมาทำผลประโยชน์
ความรู้สึกคือไม่ควรเก็บเยอะ เก็บให้ครอบคลุมมากๆ ดีกว่า
ที่รกร้างนี้ควรเก็บเยอะหน่อยนะ.. อันนี้คงต้องไปถามความเห็นคนที่เค้ามีทิ้งไว้เยอะๆ อ่ะว่าเค้าโอเคแถวเท่าไหร่
ตามที่เคยร่ำเรียนมานะ วิชาทฤษฎีภาษีอากร การเก็บภาษีต้องวางอยู่บนความเหมาะสมยุติธรรม ให้คนจ่ายเค้าเต็มใจจ่าย คุณจะเก็บได้ยั่งยืน
คุณไปบังคับเค้านะ เค้าก็หาทางเลี่ยง อันนี้ท่านๆ แถวกระทรวงก็คงเคยเรียนมาอยู่แล้ว..
เริ่มที่ 0.01% ก็โอเค.. ทดสอบระบบความพร้อมกันไปก่อน ต้องทำความเข้าใจกันอีกระยะใหญ่อ่ะ ไม่ใช่นึกจะเก็บก็เก็บ
อีกอย่างภาษีที่ดินไม่ควรรวมราคาบ้านดิ่คะ สมมุติคุณมีบ้าน 100 วา แต่ตัวบ้านหยั่งแพง กับที่ 10 ไร่ แต่บ้านถูกๆ..
เราว่าคนที่ถือ 10 ไร่อ่ะ คุณบริโภค "ทรัพยากรซึ่งควรเป็นของส่วนรวม" มากกว่า ควรจ่ายมากกว่า ส่วนบ้านแพงๆ ที่ดินน้อย มันก็สิทธิของคุณ
เพราะนี่เรากำลังพูดกันเรื่อง "ที่ดิน" ป่ะคะ
ส่วนห้องเช่า ก็ควรเก็บกับเจ้าของที่.. คือเจ้าของตึกอ่ะแหล่ะ เพราะถือว่าเค้าเอาที่ดินมาทำผลประโยชน์
ความรู้สึกคือไม่ควรเก็บเยอะ เก็บให้ครอบคลุมมากๆ ดีกว่า
ที่รกร้างนี้ควรเก็บเยอะหน่อยนะ.. อันนี้คงต้องไปถามความเห็นคนที่เค้ามีทิ้งไว้เยอะๆ อ่ะว่าเค้าโอเคแถวเท่าไหร่
ตามที่เคยร่ำเรียนมานะ วิชาทฤษฎีภาษีอากร การเก็บภาษีต้องวางอยู่บนความเหมาะสมยุติธรรม ให้คนจ่ายเค้าเต็มใจจ่าย คุณจะเก็บได้ยั่งยืน
คุณไปบังคับเค้านะ เค้าก็หาทางเลี่ยง อันนี้ท่านๆ แถวกระทรวงก็คงเคยเรียนมาอยู่แล้ว..
แสดงความคิดเห็น
ภาษีที่ดินอัตราใหม่ตามนี้ คน กทม. คิดอย่างไรกันบ้างครับ?
http://www.fpo.go.th/pdf/attach24092010.pdf
สรุปว่าบ้านอย่างเดียว ไม่ทำเกษตร ร้อยละ 0.1 นะครับ
แล้วเก็บหมดทั่ว ปท. ครับ
แต่คนอยู่ กทม. เดือดร้อนที่สุด เพราะราคาอสังหาฯ แถวนี้แพงทุกที่จริงๆ
-------------
ชงเก็บภาษีบ้านมูลค่าเกิน 2 ล้านบาท
วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 15.59 น.
นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้ากระทรวงการคลังจะเสนอพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ ครม.พิจารณาและเห็นชอบถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของรัฐ โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 3 อัตราที่ดินเพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย กำหนดเพดานจัดเก็บที่ 0.5% แต่จะเริ่มจัดเก็บที่ดินอยู่อาศัยเพียง 0.01% เนื่องจากกระทบประชาชนจำนวนมากส่วนการจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรคาดว่าจะเก็บในอัตราที่ต่ำเพื่อไม่ให้เป็นภาระเกษตรกรในการประกอบอาชีพ ส่วนที่ดินเชิงพาณิชย์กำหนดเพดานจัดเก็บที่ 1% และที่ดินรกร้างว่างเปล่ากำหนดเพดานจัดเก็บที่ 4%
ทั้งนี้ มูลค่าที่ดินและบ้านในส่วนของ 2 ล้านบาทแรก จะได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษีซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้รับยกเว้น 1 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับราคาที่ดินและบ้านในปัจจุบัน ขณะที่บ้านราคาที่เกิน 2 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องเสียภาษีในอัตราที่กำหนด แต่จะมีบทเฉพาะกาลที่แบ่งเบาภาระเป็นขั้นบันไดโดยปีแรก เสียภาษีเพียง 50% ปีที่สอง 75% และปีที่สาม 100% ส่วนอัตราภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะให้เวลา 3 ปีเพื่อนำที่ดินมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเริ่มจัดเก็บภาษีต่ำก่อนแต่หากที่ดินยังคงรกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ เมื่อพ้น 3 ปีไปแล้วจะถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูง
สำหรับมาตรการแก้จนจะเสนอให้ ครม.พิจารณาเช่นกันโดยเป็นมาตรการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) เช่นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะพักชำระหนี้เกษตรกรยากจนพร้อมกับปล่อยสินเชื่อให้เกษตรเพื่อประกอบอาชีพ ส่วนธนาคารออมสินจะเป็นมาตรการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ประชาชน ด้านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)จะเป็นมาตรการช่วยให้ประชาขนมีที่อยู่อาศัย
ที่มา : http://m.dailynews.co.th/News.do?contentId=300881
-----------------
สรุปง่ายๆ นะครับ ( แก้ใหม่นะครับ )
- บ้านราคาต่ำกว่า 2 ล้าน ไม่ต้องเสีย
- บ้าน 2 ล้านขึ้นไป คิดเฉพาะราคาที่เกิน 2 ล้านออกมา เสียในอัตราเบื้องต้น ร้อยละ 0.01 ( เช่น 2.5 ล้าน คิดแค่ 5 แสน เท่ากับเสีย 50 บาท ต่อปี เป็นต้น ) แต่อาจเก็บได้มากสุด ร้อยละ 0.5 ( เช่น 2.5 ล้าน คิดแค่ 5 แสน เสีย 2,500 ต่อปี )
- บ้านที่ต้องเสีย ปีแรกจะลดให้ร้อยละ 50 ปีที่ 2 ลดให้ร้อยละ 25 และปีที่สามเก็บเต็มอัตรา ( เช่น บ้าน 2.5 ล้าน ปีแรก เก็บ 25-1,250 ปีสองเก็บ 37.5-1,875 ปีสามเป็นต้นไป เก็บ 50-2,500 อะไรประมาณนี้ )
----------------
อะไรที่ผมยังกังวล
- บ้านใน กทม. เกือบทั้งหมดเกิน 2 ล้าน แต่เบื้องต้นตามข่าว ภาษียังมีแค่อัตราเดียว ทำให้ใครบ้านแค่ 2 ล้าน อาจเสียถึง 10,000 บาทต่อปีได้ ดังนั้นอยากให้ทำเป็นขั้นบันไดมากกว่า เช่น บ้าน 2 ล้าน เสียร้อยละ 0.01 ( 200 บาท ) ต่อปี แล้วค่อยๆ เพิ่มอัตราไปเรื่อยๆ ตามราคาบ้าน
- จะประเมินอย่างไร? เพราะบางทีก็ไม่ได้แพงที่บ้าน แต่แพงเพราะที่ดิน เช่น คนที่ปลูกบ้านเล็กๆ ในเวลาที่ที่ดินยังไม่แพง ต่อมาพื้นที่เจริญขึ้น ราคาที่ดินก็แพงขึ้น แต่บ้านก็ยังเป็นบ้านเก่าๆ เล็กๆ เหมือนเดิม คนอยู่ก็ไม่ได้เป็นเศรษฐี เป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆ เช่นกัน ดังนั้นในส่วนที่อยู่อาศัย นอกจากมูลค่าแล้วน่าจะกำหนดเกณฑ์พื้นที่ด้วย บางคนบ้านไม่ถึง 50 ตารางวา แต่อยู่กลางเมือง และอยู่มาตั้งแต่เมืองยังไม่เจริญก็มี
- แล้วพวกห้องเช่าประเภทต่างๆ จะจัดเก็บอย่างไร? แล้วจะทำให้ผู้เช่า ต้องแบกภาระเพิ่มแค่ไหน? อย่าลืมว่าคนทำงานใน กทม. ใช้บริการห้องเช่าพวกนี้เยอะมาก
คน กทม. คิดอย่างไรกันบ้างครับ?