นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ทิศทางตลาดทุนยังอยู่ในกรอบทรงตัว (Neutral) แต่มีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีปัจจัยสำคัญจากความชัดเจนของปัจจัยสถานการณ์ต่างประเทศ
· ใน 3 เดือนข้างหน้าตลาดทุนอยู่ในกรอบทรงตัว (Neutral) ดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 115.59 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 30.95% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าตลาดมีแนวโน้ม ทรงตัว ในขณะที่กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์มองว่าตลาดมีแนวโน้มร้อนแรง
· หมวดอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนมากที่สุด คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (PROPCON)
· หมวดอุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนมากที่สุด คือ ทรัพยากร (RESOURC)
· ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดคือ สถานการณ์ต่างประเทศ เศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจพบว่ายังมีปัจจัยภายนอกที่นักลงทุนมองว่ายังคงส่งผลต่อทิศทางตลาด เช่น การจัดการภาระหนี้ของกลุ่มประเทศยูโรโซน สถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมัน การนำมาตรการนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่างประเทศ สัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการก่อการร้าย นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับสถานการณ์ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ณ สิ้นปี 2557 และสถานการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดีการทุจริตการจำนำข้าว เป็นต้น
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี เปิดเผยว่า จากการประกาศมาตรการคิวอีของธนาคารกลางยุโรป อาจส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยมากขึ้นถึงระดับ 40,000 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ และส่งผลให้ดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มอยู่ที่ 2% ต่อไป ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือความผันผวนที่จะเกิดขึ้นจากทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางใหญ่ๆ ของโลกที่ไม่สอดคล้องกัน นอกเหนือไปจากภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่มีแรงหนุนใหม่เข้ามาทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างช้าๆ
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าว สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไตรมาสที่ 1/2558 นั้น นักลงทุนให้ความสนใจเรื่องนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ด้วยเม็ดเงินกว่า 60,000 ล้านยูโรต่อเดือน ที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2558 โดยคาดว่าเม็ดเงินน่าจะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเอเชีย ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้
1. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC)ของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0% ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI)ภาคการผลิต ภาคการบริการ เริ่มชะลอตัวเป็นผลทำให้เงินทุนไหลกลับไปยังสหรัฐฯ ช้าลง
2. งบดุลของธนาคารกลางต่างๆ ของโลกเริ่มปรับตัวได้ดี ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก
3. อัตราดอกเบี้ยของประเทศในแถบเอเชียส่วนใหญ่สูงกว่าสหรัฐฯ และยุโรป จึงเป็นแรงจูงใจกระตุ้นให้เม็ดเงินไหลเข้ามากขึ้น
ทั้งนี้ ในกรณีที่เม็ดเงินไหลเข้าประเทศไทย คาดว่าตลาดหุ้นจะได้รับความสนใจมากกว่าตลาดพันธบัตร อันเนื่องจากส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Earning Yield Gap) ปัจจุบันอยู่ที่ 4% ต้นๆ ซึ่งโดยปกติจะอยู่ประมาณ 3.0 – 4.3%
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสาร รายงานดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน FETCO NIDA Investor Sentiment Index ได้ที่นี่
http://goo.gl/Ojg8ln
สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน FETCO NIDA Investor Sentiment Index ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ทิศทางตลาดทุนยังอยู่ในกรอบทรงตัว (Neutral) แต่มีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีปัจจัยสำคัญจากความชัดเจนของปัจจัยสถานการณ์ต่างประเทศ
· ใน 3 เดือนข้างหน้าตลาดทุนอยู่ในกรอบทรงตัว (Neutral) ดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 115.59 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 30.95% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าตลาดมีแนวโน้ม ทรงตัว ในขณะที่กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์มองว่าตลาดมีแนวโน้มร้อนแรง
· หมวดอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนมากที่สุด คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (PROPCON)
· หมวดอุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนมากที่สุด คือ ทรัพยากร (RESOURC)
· ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดคือ สถานการณ์ต่างประเทศ เศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจพบว่ายังมีปัจจัยภายนอกที่นักลงทุนมองว่ายังคงส่งผลต่อทิศทางตลาด เช่น การจัดการภาระหนี้ของกลุ่มประเทศยูโรโซน สถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมัน การนำมาตรการนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่างประเทศ สัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการก่อการร้าย นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับสถานการณ์ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ณ สิ้นปี 2557 และสถานการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดีการทุจริตการจำนำข้าว เป็นต้น
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี เปิดเผยว่า จากการประกาศมาตรการคิวอีของธนาคารกลางยุโรป อาจส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยมากขึ้นถึงระดับ 40,000 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ และส่งผลให้ดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มอยู่ที่ 2% ต่อไป ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือความผันผวนที่จะเกิดขึ้นจากทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางใหญ่ๆ ของโลกที่ไม่สอดคล้องกัน นอกเหนือไปจากภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่มีแรงหนุนใหม่เข้ามาทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างช้าๆ
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าว สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไตรมาสที่ 1/2558 นั้น นักลงทุนให้ความสนใจเรื่องนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ด้วยเม็ดเงินกว่า 60,000 ล้านยูโรต่อเดือน ที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2558 โดยคาดว่าเม็ดเงินน่าจะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเอเชีย ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้
1. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC)ของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0% ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI)ภาคการผลิต ภาคการบริการ เริ่มชะลอตัวเป็นผลทำให้เงินทุนไหลกลับไปยังสหรัฐฯ ช้าลง
2. งบดุลของธนาคารกลางต่างๆ ของโลกเริ่มปรับตัวได้ดี ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก
3. อัตราดอกเบี้ยของประเทศในแถบเอเชียส่วนใหญ่สูงกว่าสหรัฐฯ และยุโรป จึงเป็นแรงจูงใจกระตุ้นให้เม็ดเงินไหลเข้ามากขึ้น
ทั้งนี้ ในกรณีที่เม็ดเงินไหลเข้าประเทศไทย คาดว่าตลาดหุ้นจะได้รับความสนใจมากกว่าตลาดพันธบัตร อันเนื่องจากส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Earning Yield Gap) ปัจจุบันอยู่ที่ 4% ต้นๆ ซึ่งโดยปกติจะอยู่ประมาณ 3.0 – 4.3%
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสาร รายงานดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน FETCO NIDA Investor Sentiment Index ได้ที่นี่ http://goo.gl/Ojg8ln