ปีเตอร์ ลินช์ Peter Lynch (1944 – ปัจจุบัน) One Up The Wall Street ต้นตำรับ “รวยหลายเด้ง”
ปีเตอร์ ลินช์ เป็นหนึ่งในนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนที่เก่งที่สุดในโลก กองทุนฟิเดลิตี้ แม็คเจลแลน ที่เขาบริหารอยู่เป็นเวลา 13 ปี ทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 29.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นผลงานอันน่าอัศจรรย์และไม่เคยมีใครเทียบเทียมได้จนกระทั่งทุกวันนี้
ลินช์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 1944 ที่สหรัฐอเมริกา สมัยเด็ก เขาทำงานเป็นแคดดี้ที่สนามกอล์ฟ และได้ฟังแขกที่มาเล่นกอล์ฟคุยกันเรื่องหุ้น ทำให้เริ่มสนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ พออายุ 19 ปี เขาได้ทดลองซื้อหุ้นเป็นครั้งแรก โดยซื้อหุ้นของสายการบินฟลายอิ้ง ไทเกอร์ส ที่ราคา 7 เหรียญ ต่อมาหุ้นดังกล่าวทวีค่าเป็น 32.75 เหรียญ นั่นเป็น “หุ้นหลายเด้ง” ตัวแรกในชีวิตของเขา
ต่อมา ลินช์ เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่บอสตัน คอลเลจ ก่อนจะไปต่อปริญญาโท MBA ที่วอร์ตัน ซึ่งเป็น Business School ชั้นนำของโลก แต่ยังคงหาลำไพ่ด้วยการเป็นแคดดี้อยู่เหมือนเดิม นั่นทำให้เขาได้รู้จักกับ ดี. จอร์จ ซุลลิแวน ประธานกองทุนฟิเดลิตี้ และได้มาทำงานช่วงซัมเมอร์ที่ฟิเดลิตี้ โดยได้รับมอบหมายให้เขียนรายงานวิเคราะห์บริษัทต่างๆ
การได้ศึกษาข้อมูลธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ทำให้เขารู้ว่าการเรียน MBA จากสถาบันอย่างวอร์ตัน แทบไม่ได้ช่วยอะไรในการลงทุนเลย ตรงกันข้าม กลับจะเป็นผลร้ายเสียด้วยซ้ำ เขาพบว่าทฤษฏีเชิงปริมาณทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น “ทฤษฏีตลาดทรงประสิทธิภาพ” (EMT) หรือ “ทฤษฏีการเดินสุ่ม” ที่สั่งสอนกันล้วนเป็นเรื่องเหลวไหล และไม่สามารถใช้ได้จริงในโลกแห่งการลงทุน
นั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ลินช์เลิกเชื่อทฤษฏี และหันมาเน้น “ภาคปฏิบัติ” แทน ซึ่งเป็นรากฐานที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการลงทุนอย่างยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
หลังจากไปเกณฑ์ทหารมาสองปี ลินช์ได้เข้าทำงานเต็มเวลาที่ฟิเดลิตี้ในตำแหน่งนักวิจัย อีกไม่กี่ปีต่อมา เขาได้รับมอบหมายให้บริหารกองทุนแม็คเจลแลน ซึ่งขณะนั้นมีมูลค่า 18 ล้านเหรียญ โดยมีอำนาจในการซื้อขายหุ้นและตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างเป็นอิสระ
และลินช์ก็ตอบแทนความไว้วางใจที่บริษัทให้กับเขาอย่างงดงามยิ่ง โดยในเวลา 13 ปี ที่บริหารกองทุน (1977-1990) เขาทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึง 29.2 เปอร์เซ็นต์ และทำให้มูลค่ากองทุนเพิ่มจาก 18 ล้านเหรียญ เป็น 14,000 ล้านเหรียญ
ใครก็ตามที่เริ่มต้นลงทุนในกองทุนแม็คเจลแลนด้วยเงิน 1,000 เหรียญ ณ วันที่ลินช์เข้ามาบริหาร เงินจำนวนนั้นจะงอกเงยกลายเป็น 28,000 เหรียญ ในวันที่เขาวางมือ
หลักการลงทุนของลินช์คือ ให้เน้น “การเติบโต” เป็นหลัก โดยลงทุนในหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างน้อย “10 เด้ง” หรือ 1,000 เท่า ลินช์บอกว่า นักลงทุนสามารถศึกษาหาข้อมูลในการลงทุนได้ตลอดเวลาจากสิ่งรอบๆ ตัว และไม่ต้องกลัวเลยว่าจะสู้พวกมืออาชีพไม่ได้ เขาเคยบอกว่า คณิตศาสตร์ทุกอย่างที่ต้องใช้ในการลงทุน เราทุกคนเรียนมาแล้วตั้งแต่อายุ 16
ลินช์ยังบอกอีกว่า นักลงทุนสมัครเล่นมีความได้เปรียบเหนือมืออาชีพเสียด้วยซ้ำ เพราะไม่มีข้อจำกัดในการลงทุน จะลงทุนยังไงก็ได้ ซื้อหุ้นตัวไหนก็ได้ ด้วยเงินเท่าไรก็ได้ ต่างจากผู้จัดการกองทุนที่มีข้อจำกัดมากมาย
ในหนังสือ One Up on Wall Street ปีเตอร์ ลินช์ ได้แบ่งบริษัทออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ บริษัทโตช้า บริษัทแข็งแกร่ง บริษัทที่เป็นวัฏจักร บริษัทที่มีทรัพย์สินมาก บริษัทฟื้นตัว และบริษัทโตเร็ว (หรือบริษัทเฉพาะทาง)
ที่เขาโปรดปรานที่สุดก็คือ บริษัทเติบโต โดยต้องโตได้อย่างน้อย 20% ต่อปี หรือตั้งแต่ 10 เด้ง ถึง 40 เด้ง เขาบอกว่า ถ้าคุณลงทุนในหุ้นแบบนี้เพียง 1-2 ครั้ง คุณจะสบายไปทั้งชีวิตเลยทีเดียว
หลักในการเลือกหุ้นของลินช์ยังมีอีกหลายประการ เช่น ต้องเป็นหุ้นที่มี P/E ต่ำ มีคนสนใจน้อย งบดุลดี ยอดขายโต เงินสดเยี่ยม สินค้าคงเหลือโตช้า บริษัทมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ผู้บริหารต้องถือหุ้นของบริษัท เป็นธุรกิจที่ง่ายๆ แต่ยังโตได้อีกมาก และมีอุปสรรคในการที่คู่แข่งจะเข้ามาในตลาด
ที่สำคัญคือ นักลงทุนต้องเข้าใจบริษัทนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง โดยสามารถอธิบายได้ว่าบริษัททำธุรกิจอะไร ภายในเวลา “สองนาที” มิฉะนั้นถือว่า “สอบไม่ผ่าน” และยังไม่ควรเข้าลงทุน
ทั้งนี้ การเข้าใจในตัวบริษัทที่คุณลงทุนสำคัญกว่าเรื่องมหภาค และถ้าได้ลงทุนในบริษัทที่ดีแล้วก็ไม่ควรหวั่นไหวกับราคาที่ผันผวนไปมา เหตุผลเดียวที่คุณควรจะขายหุ้นก็ต่อเมื่อพื้นฐานของมันเปลี่ยนไปเท่านั้น
นอกจากนี้ ลินช์ยังเตือนไม่ให้สนใจเรื่องเทคนิค อย่าไปดูชาร์ต อย่าไปปวดหัวกับเทรนด์บ้าบอ อย่าไปแตะต้องฟิวเจอร์สหรือออปชั่น วิธีที่เหนือกว่าคือวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้ อย่างการไปเดินในห้างสรรพสินค้าเพื่อมองหาธุรกิจชั้นดีที่มีลูกค้ามาอุดหนุนอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง โดยตัวลินช์เองก็ใช้วิธีนี้ และทำให้ได้สุดยอดหุ้นมามากมาย
เคล็ดลับประการหนึ่งในการหาหุ้นหลายเด้งก็คือ ให้ลองดูธุรกิจที่น่าเบื่อ เพราะมันมักจะไม่ได้รับความสนใจและทำให้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และควรลงทุนในบริษัทที่แม้แต่ “คนโง่” ยังบริหารได้ เพราะใครจะรู้ว่าสักวันคนโง่อาจจะมาบริหารมัน หุ้นคุณภาพที่ ลินช์ เคยลงทุน (บางตัวเป็น หุ้นหลายเด้ง) ก็อย่างเช่น ดังกิ้น โดนัท, IBM, แฟนนี่ เม, ฟอร์ด, ฟิลลิป มอร์ริส, วอลโว่, จีอี ฯลฯ
ปีเตอร์ ลินช์ เกษียณตัวเองเมื่ออายุเพียง 46 หลังจากบริหารกองทุนฟิเดลิตี้ แม็คเจลแลน มาได้ 13 ปี เพราะไม่อยากโหมงานหนักอีกต่อไป ประกอบกับอยากให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น และจะได้ไปทำงานการกุศลอย่างที่ต้องการ
หลังจากวางมือ ลินช์ได้ถ่ายทอดหลักการลงทุนของตัวเองไว้ในหนังสือ 3 เล่ม คือ “One Up on Wall Street”, “Beating the Street” และ “Learn to Earn” ซึ่งเป็นหนังสือการลงทุนที่อ่านสนุก ขายดีและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ทำให้ชื่อเสียงของเขาขจรขจายไปไกล และมีนักลงทุนหลายชาติหลายภาษาเดินตามแนวทางของเขา
ผลงานอันยอดเยี่ยม บวกกับแก่นความรู้ในการเลือกหุ้นที่ทั้งง่าย มันส์ และเน้นการเติบโต ทำให้แม้จะเกษียณตัวเองไปนานแล้ว นักลงทุนทั่วโลกยังคงจดจำ ปีเตอร์ ลินช์ ในฐานะต้นตำรับ “รวยหลายเด้ง” แห่งแวดวงการลงทุนจนถึงทุกวันนี้
กลยุทธ์ของปีเตอร์ ลินช์ มีหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือ 25 กฎเหล็กในการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อย และน่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุน
25 กฎเหล็กในการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์มีดังนี้
1. การลงทุนนั้นสนุก ตื่นเต้น และอันตรายมากถ้าคุณไม่ศึกษาหรือวิเคราะห์ก่อนลงทุน
2. ความเก่งหรือความสามารถในการลงทุนของคุณนั้น ไม่ใช่จะได้มาจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หรือผู้รู้ในตลาดหุ้น แต่ความเก่งหรือความสามารถในการลงทุนของคุณนั้นอยู่ในตัวคุณอยู่แล้ว คุณจะสามารถชนะตลาดหุ้นได้ ถ้าคุณลงทุนในบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่คุณเข้าใจอยู่แล้ว
3. 30 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นถูกโน้มน้าวหรือถูกควบคุมโดยนักลงทุนมืออาชีพ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีผลต่อตลาดมาก อย่างไรก็ตาม ถ้านักลงทุนรายใหม่อยากชนะตลาดก็ควรวิเคราะห์ หรือศึกษาการลงทุนจะดีกว่าที่จะฟังคนอื่นบอกมาอีกที
4. ติดตามบริษัทที่คุณได้ทำการลงทุนไปอย่างสม่ำเสมอ
5. ผลประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ในระยะสั้น หนึ่งเดือนหรือสองเดือน แม้กระทั้งสองหรือสามปี แต่ในระยะยาวผลประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นมีความสัมพันธ์กัน 100 เปอร์เซ็นต์
6. คุณต้องรู้ว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นอะไร และเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกเป็นเจ้าของหุ้นตัวนี้
7. การวิเคราะห์การลงทุนในระยะยาวเกินไป บ่อยครั้งที่จะคลาดเคลื่อนจากที่คิดไว้
8. การมีหุ้นนั้นเปรียบได้เหมือนมีลูก อย่าไปมีหุ้นมากเกินกว่าแรงของตัวเองจะรับไหว
9. ถ้ายังหาหุ้นที่น่าลงทุนไม่ได้ จงอย่าลงทุนและนำเงินไปฝากธนาคารจนกว่าจะหาเจอ
10. จงหลีกเลี่ยงหุ้นที่ร้อนในอุตสาหกรรมที่แรง และควรลงทุนหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตน้อยจะเป็นผู้ชนะในส่วนมาก
11. ถ้าพูดถึงบริษัทขนาดเล็กคุณควรจะรอจนกว่าบริษัทมีความสามารถทำกำไรสม่ำเสมอ แล้วค่อยตัดสินใจลงทุน
12. ถ้าคุณอยากลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในช่วงวิกฤต จงลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสที่จะรอดจากช่วงวิกฤตได้
13. ถ้าคุณลงทุน $1,000 ในตลาดหุ้น คุณมีโอกาสที่จะขาดทุนมากที่สุดเท่ากับ $1,000 แต่มีโอกาสทำกำไรมากถึง $10,000 หรือ $50,000 ถ้าคุณใจเย็นและมีความรู้ในการลงทุน
14. ในทุกอุตสาหกรรมนักลงทุนสมัครเล่นสามารถหาบริษัทที่ดีเยี่ยมก่อนนักลงทุนมืออาชีพนานเลยทีเดียว
15. ตลาดหุ้นตกเป็นเรื่องธรรมชาติเปรียบเหมือนฝนที่ต้องตกทุกปี
16. นักลงทุนทุกคนมีความสามารถที่จะทำกำไรในตลาดหุ้น แต่ไม่ทุกคนที่มีความกล้า ถ้าคุณเป็นนักลงทุนประเภทที่ต้องขายหุ้นในช่วงเวลาหุ้นตกหรือช่วงตกใจ จงอย่าลงทุนในหุ้น
17. อย่าวิตกกังวลในปัจจัยภายนอกมากเกินไป นักลงทุนควรขายหุ้นทำกำไรก็ต่อเมื่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลง
18. ไม่มีใครสามารถทำนายอัตราดอกเบี้ย แนวโน้มเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นได้ ดังนั้นจงติดตามบริษัทที่คุณได้ทำการลงทุนไปอย่างสม่ำเสมอ
19. ถ้าคุณวิเคราะห์ 10 บริษัท คุณจะเจอ 1 บริษัทที่เด่นกว่าที่คุณคิดไว้ ถ้าคุณวิเคราะห์ 50 บริษัทคุณจะเจอ 5 บริษัทที่ดีเยี่ยม
20. ถ้าคุณไม่ศึกษาหรือวิเคราะห์การลงทุนในหุ้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นไพ่โป๊กเกอร์แบบไม่ดูไพ่
21. ถ้าเวลาอยู่ข้างเดียวกับคุณ หากคุณลงทุนในบริษัทชั้นดีคุณสามารถที่จะรอได้ แต่หากคุณพลาดการลงทุนในหุ้น Wal-Mart มันก็ยังเป็นหุ้นที่น่าซื้ออยู่ดี แต่เวลาจะเป็นศัตรูกับคุณถ้าคุณซื้อออปชั่น
22. ถ้าคุณอยากลงทุนแต่คุณไม่มีเวลาทำการบ้าน คุณควรจะซื้อกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงและกองทุนหลายประเภท
23. ภาษีที่คิดจากส่วนต่างของราคาจะส่งผลในเชิงลบกับนักลงทุนที่สับเปลี่ยนกองทุนบ่อยครั้งเกินไป หากคุณลงทุนในกองทุนหนึ่งกองหรือหลายกองที่ให้ผลตอบแทนดีๆ จงอย่าขายพวกมันออกไปแบบใช้อารมณ์ จงถือกองทุนเหล่านั้น
24. ในบรรดาตลาดหุ้นทั่วโลก ตลาดหุ้นที่อเมริกาให้ผลตอบแทนรวมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสูงเป็นอันดับแปดของโลก คุณจะสามารถหาประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วกว่าโดยการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศที่มีผลตอบแทนที่ดี
25. ในระยะยาวแล้ว พอร์ตการลงทุนที่ประกอบด้วยหุ้นและกองทุนหุ้นที่ดีจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพอร์ตที่ประกอบด้วยตราสารหนี้หรือการลงทุนในตลาดเงิน อย่างไรก็ตามในระยะยาว พอร์ตที่ประกอบด้วยหุ้นและกองทุนหุ้นแบบแย่ๆ จะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินที่ถูกเก็บเอาไว้ใต้ที่นอนได้
จากกฎเหล็ก 25 ข้อข้างต้น หวังว่าคงเป็นคำแนะนำที่ดีเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการลงทุนนะครับ แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรที่จะต้องประเมินผลตอบแทนให้คุ้มกับความเสี่ยงให้เหมาะกับตัวเราเองด้วยครับ
ที่มา
http://www.thaistockvi.com/p/1944-13-29.html
ติดตามอ่านข่าวสารการลงทุน
Facebook Page :
https://www.facebook.com/setlnw
Facebook Page :
https://www.facebook.com/setvii
webblog
หุ้นVI ประเทศไทย
http://www.thaistockvi.com/
SetLnw ประเทศไทย
http://setlnw.com/
ยำหุ้นประเทศไทย
http://yamhun.blogspot.com/
วอร์เรนต์ บัฟเฟตต์
http://warrenbuffettsay.blogspot.com/
ปีเตอร์ ลินช์ Peter Lynch (One Up The Wall Street)
ปีเตอร์ ลินช์ Peter Lynch (1944 – ปัจจุบัน) One Up The Wall Street ต้นตำรับ “รวยหลายเด้ง”
ปีเตอร์ ลินช์ เป็นหนึ่งในนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนที่เก่งที่สุดในโลก กองทุนฟิเดลิตี้ แม็คเจลแลน ที่เขาบริหารอยู่เป็นเวลา 13 ปี ทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 29.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นผลงานอันน่าอัศจรรย์และไม่เคยมีใครเทียบเทียมได้จนกระทั่งทุกวันนี้
ลินช์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 1944 ที่สหรัฐอเมริกา สมัยเด็ก เขาทำงานเป็นแคดดี้ที่สนามกอล์ฟ และได้ฟังแขกที่มาเล่นกอล์ฟคุยกันเรื่องหุ้น ทำให้เริ่มสนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ พออายุ 19 ปี เขาได้ทดลองซื้อหุ้นเป็นครั้งแรก โดยซื้อหุ้นของสายการบินฟลายอิ้ง ไทเกอร์ส ที่ราคา 7 เหรียญ ต่อมาหุ้นดังกล่าวทวีค่าเป็น 32.75 เหรียญ นั่นเป็น “หุ้นหลายเด้ง” ตัวแรกในชีวิตของเขา
ต่อมา ลินช์ เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่บอสตัน คอลเลจ ก่อนจะไปต่อปริญญาโท MBA ที่วอร์ตัน ซึ่งเป็น Business School ชั้นนำของโลก แต่ยังคงหาลำไพ่ด้วยการเป็นแคดดี้อยู่เหมือนเดิม นั่นทำให้เขาได้รู้จักกับ ดี. จอร์จ ซุลลิแวน ประธานกองทุนฟิเดลิตี้ และได้มาทำงานช่วงซัมเมอร์ที่ฟิเดลิตี้ โดยได้รับมอบหมายให้เขียนรายงานวิเคราะห์บริษัทต่างๆ
การได้ศึกษาข้อมูลธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ทำให้เขารู้ว่าการเรียน MBA จากสถาบันอย่างวอร์ตัน แทบไม่ได้ช่วยอะไรในการลงทุนเลย ตรงกันข้าม กลับจะเป็นผลร้ายเสียด้วยซ้ำ เขาพบว่าทฤษฏีเชิงปริมาณทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น “ทฤษฏีตลาดทรงประสิทธิภาพ” (EMT) หรือ “ทฤษฏีการเดินสุ่ม” ที่สั่งสอนกันล้วนเป็นเรื่องเหลวไหล และไม่สามารถใช้ได้จริงในโลกแห่งการลงทุน
นั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ลินช์เลิกเชื่อทฤษฏี และหันมาเน้น “ภาคปฏิบัติ” แทน ซึ่งเป็นรากฐานที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการลงทุนอย่างยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
หลังจากไปเกณฑ์ทหารมาสองปี ลินช์ได้เข้าทำงานเต็มเวลาที่ฟิเดลิตี้ในตำแหน่งนักวิจัย อีกไม่กี่ปีต่อมา เขาได้รับมอบหมายให้บริหารกองทุนแม็คเจลแลน ซึ่งขณะนั้นมีมูลค่า 18 ล้านเหรียญ โดยมีอำนาจในการซื้อขายหุ้นและตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างเป็นอิสระ
และลินช์ก็ตอบแทนความไว้วางใจที่บริษัทให้กับเขาอย่างงดงามยิ่ง โดยในเวลา 13 ปี ที่บริหารกองทุน (1977-1990) เขาทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึง 29.2 เปอร์เซ็นต์ และทำให้มูลค่ากองทุนเพิ่มจาก 18 ล้านเหรียญ เป็น 14,000 ล้านเหรียญ
ใครก็ตามที่เริ่มต้นลงทุนในกองทุนแม็คเจลแลนด้วยเงิน 1,000 เหรียญ ณ วันที่ลินช์เข้ามาบริหาร เงินจำนวนนั้นจะงอกเงยกลายเป็น 28,000 เหรียญ ในวันที่เขาวางมือ
หลักการลงทุนของลินช์คือ ให้เน้น “การเติบโต” เป็นหลัก โดยลงทุนในหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างน้อย “10 เด้ง” หรือ 1,000 เท่า ลินช์บอกว่า นักลงทุนสามารถศึกษาหาข้อมูลในการลงทุนได้ตลอดเวลาจากสิ่งรอบๆ ตัว และไม่ต้องกลัวเลยว่าจะสู้พวกมืออาชีพไม่ได้ เขาเคยบอกว่า คณิตศาสตร์ทุกอย่างที่ต้องใช้ในการลงทุน เราทุกคนเรียนมาแล้วตั้งแต่อายุ 16
ลินช์ยังบอกอีกว่า นักลงทุนสมัครเล่นมีความได้เปรียบเหนือมืออาชีพเสียด้วยซ้ำ เพราะไม่มีข้อจำกัดในการลงทุน จะลงทุนยังไงก็ได้ ซื้อหุ้นตัวไหนก็ได้ ด้วยเงินเท่าไรก็ได้ ต่างจากผู้จัดการกองทุนที่มีข้อจำกัดมากมาย
ในหนังสือ One Up on Wall Street ปีเตอร์ ลินช์ ได้แบ่งบริษัทออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ บริษัทโตช้า บริษัทแข็งแกร่ง บริษัทที่เป็นวัฏจักร บริษัทที่มีทรัพย์สินมาก บริษัทฟื้นตัว และบริษัทโตเร็ว (หรือบริษัทเฉพาะทาง)
ที่เขาโปรดปรานที่สุดก็คือ บริษัทเติบโต โดยต้องโตได้อย่างน้อย 20% ต่อปี หรือตั้งแต่ 10 เด้ง ถึง 40 เด้ง เขาบอกว่า ถ้าคุณลงทุนในหุ้นแบบนี้เพียง 1-2 ครั้ง คุณจะสบายไปทั้งชีวิตเลยทีเดียว
หลักในการเลือกหุ้นของลินช์ยังมีอีกหลายประการ เช่น ต้องเป็นหุ้นที่มี P/E ต่ำ มีคนสนใจน้อย งบดุลดี ยอดขายโต เงินสดเยี่ยม สินค้าคงเหลือโตช้า บริษัทมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ผู้บริหารต้องถือหุ้นของบริษัท เป็นธุรกิจที่ง่ายๆ แต่ยังโตได้อีกมาก และมีอุปสรรคในการที่คู่แข่งจะเข้ามาในตลาด
ที่สำคัญคือ นักลงทุนต้องเข้าใจบริษัทนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง โดยสามารถอธิบายได้ว่าบริษัททำธุรกิจอะไร ภายในเวลา “สองนาที” มิฉะนั้นถือว่า “สอบไม่ผ่าน” และยังไม่ควรเข้าลงทุน
ทั้งนี้ การเข้าใจในตัวบริษัทที่คุณลงทุนสำคัญกว่าเรื่องมหภาค และถ้าได้ลงทุนในบริษัทที่ดีแล้วก็ไม่ควรหวั่นไหวกับราคาที่ผันผวนไปมา เหตุผลเดียวที่คุณควรจะขายหุ้นก็ต่อเมื่อพื้นฐานของมันเปลี่ยนไปเท่านั้น
นอกจากนี้ ลินช์ยังเตือนไม่ให้สนใจเรื่องเทคนิค อย่าไปดูชาร์ต อย่าไปปวดหัวกับเทรนด์บ้าบอ อย่าไปแตะต้องฟิวเจอร์สหรือออปชั่น วิธีที่เหนือกว่าคือวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้ อย่างการไปเดินในห้างสรรพสินค้าเพื่อมองหาธุรกิจชั้นดีที่มีลูกค้ามาอุดหนุนอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง โดยตัวลินช์เองก็ใช้วิธีนี้ และทำให้ได้สุดยอดหุ้นมามากมาย
เคล็ดลับประการหนึ่งในการหาหุ้นหลายเด้งก็คือ ให้ลองดูธุรกิจที่น่าเบื่อ เพราะมันมักจะไม่ได้รับความสนใจและทำให้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และควรลงทุนในบริษัทที่แม้แต่ “คนโง่” ยังบริหารได้ เพราะใครจะรู้ว่าสักวันคนโง่อาจจะมาบริหารมัน หุ้นคุณภาพที่ ลินช์ เคยลงทุน (บางตัวเป็น หุ้นหลายเด้ง) ก็อย่างเช่น ดังกิ้น โดนัท, IBM, แฟนนี่ เม, ฟอร์ด, ฟิลลิป มอร์ริส, วอลโว่, จีอี ฯลฯ
ปีเตอร์ ลินช์ เกษียณตัวเองเมื่ออายุเพียง 46 หลังจากบริหารกองทุนฟิเดลิตี้ แม็คเจลแลน มาได้ 13 ปี เพราะไม่อยากโหมงานหนักอีกต่อไป ประกอบกับอยากให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น และจะได้ไปทำงานการกุศลอย่างที่ต้องการ
หลังจากวางมือ ลินช์ได้ถ่ายทอดหลักการลงทุนของตัวเองไว้ในหนังสือ 3 เล่ม คือ “One Up on Wall Street”, “Beating the Street” และ “Learn to Earn” ซึ่งเป็นหนังสือการลงทุนที่อ่านสนุก ขายดีและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ทำให้ชื่อเสียงของเขาขจรขจายไปไกล และมีนักลงทุนหลายชาติหลายภาษาเดินตามแนวทางของเขา
ผลงานอันยอดเยี่ยม บวกกับแก่นความรู้ในการเลือกหุ้นที่ทั้งง่าย มันส์ และเน้นการเติบโต ทำให้แม้จะเกษียณตัวเองไปนานแล้ว นักลงทุนทั่วโลกยังคงจดจำ ปีเตอร์ ลินช์ ในฐานะต้นตำรับ “รวยหลายเด้ง” แห่งแวดวงการลงทุนจนถึงทุกวันนี้
กลยุทธ์ของปีเตอร์ ลินช์ มีหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือ 25 กฎเหล็กในการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อย และน่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุน
25 กฎเหล็กในการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์มีดังนี้
1. การลงทุนนั้นสนุก ตื่นเต้น และอันตรายมากถ้าคุณไม่ศึกษาหรือวิเคราะห์ก่อนลงทุน
2. ความเก่งหรือความสามารถในการลงทุนของคุณนั้น ไม่ใช่จะได้มาจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หรือผู้รู้ในตลาดหุ้น แต่ความเก่งหรือความสามารถในการลงทุนของคุณนั้นอยู่ในตัวคุณอยู่แล้ว คุณจะสามารถชนะตลาดหุ้นได้ ถ้าคุณลงทุนในบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่คุณเข้าใจอยู่แล้ว
3. 30 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นถูกโน้มน้าวหรือถูกควบคุมโดยนักลงทุนมืออาชีพ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีผลต่อตลาดมาก อย่างไรก็ตาม ถ้านักลงทุนรายใหม่อยากชนะตลาดก็ควรวิเคราะห์ หรือศึกษาการลงทุนจะดีกว่าที่จะฟังคนอื่นบอกมาอีกที
4. ติดตามบริษัทที่คุณได้ทำการลงทุนไปอย่างสม่ำเสมอ
5. ผลประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ในระยะสั้น หนึ่งเดือนหรือสองเดือน แม้กระทั้งสองหรือสามปี แต่ในระยะยาวผลประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นมีความสัมพันธ์กัน 100 เปอร์เซ็นต์
6. คุณต้องรู้ว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นอะไร และเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกเป็นเจ้าของหุ้นตัวนี้
7. การวิเคราะห์การลงทุนในระยะยาวเกินไป บ่อยครั้งที่จะคลาดเคลื่อนจากที่คิดไว้
8. การมีหุ้นนั้นเปรียบได้เหมือนมีลูก อย่าไปมีหุ้นมากเกินกว่าแรงของตัวเองจะรับไหว
9. ถ้ายังหาหุ้นที่น่าลงทุนไม่ได้ จงอย่าลงทุนและนำเงินไปฝากธนาคารจนกว่าจะหาเจอ
10. จงหลีกเลี่ยงหุ้นที่ร้อนในอุตสาหกรรมที่แรง และควรลงทุนหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตน้อยจะเป็นผู้ชนะในส่วนมาก
11. ถ้าพูดถึงบริษัทขนาดเล็กคุณควรจะรอจนกว่าบริษัทมีความสามารถทำกำไรสม่ำเสมอ แล้วค่อยตัดสินใจลงทุน
12. ถ้าคุณอยากลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในช่วงวิกฤต จงลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสที่จะรอดจากช่วงวิกฤตได้
13. ถ้าคุณลงทุน $1,000 ในตลาดหุ้น คุณมีโอกาสที่จะขาดทุนมากที่สุดเท่ากับ $1,000 แต่มีโอกาสทำกำไรมากถึง $10,000 หรือ $50,000 ถ้าคุณใจเย็นและมีความรู้ในการลงทุน
14. ในทุกอุตสาหกรรมนักลงทุนสมัครเล่นสามารถหาบริษัทที่ดีเยี่ยมก่อนนักลงทุนมืออาชีพนานเลยทีเดียว
15. ตลาดหุ้นตกเป็นเรื่องธรรมชาติเปรียบเหมือนฝนที่ต้องตกทุกปี
16. นักลงทุนทุกคนมีความสามารถที่จะทำกำไรในตลาดหุ้น แต่ไม่ทุกคนที่มีความกล้า ถ้าคุณเป็นนักลงทุนประเภทที่ต้องขายหุ้นในช่วงเวลาหุ้นตกหรือช่วงตกใจ จงอย่าลงทุนในหุ้น
17. อย่าวิตกกังวลในปัจจัยภายนอกมากเกินไป นักลงทุนควรขายหุ้นทำกำไรก็ต่อเมื่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลง
18. ไม่มีใครสามารถทำนายอัตราดอกเบี้ย แนวโน้มเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นได้ ดังนั้นจงติดตามบริษัทที่คุณได้ทำการลงทุนไปอย่างสม่ำเสมอ
19. ถ้าคุณวิเคราะห์ 10 บริษัท คุณจะเจอ 1 บริษัทที่เด่นกว่าที่คุณคิดไว้ ถ้าคุณวิเคราะห์ 50 บริษัทคุณจะเจอ 5 บริษัทที่ดีเยี่ยม
20. ถ้าคุณไม่ศึกษาหรือวิเคราะห์การลงทุนในหุ้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นไพ่โป๊กเกอร์แบบไม่ดูไพ่
21. ถ้าเวลาอยู่ข้างเดียวกับคุณ หากคุณลงทุนในบริษัทชั้นดีคุณสามารถที่จะรอได้ แต่หากคุณพลาดการลงทุนในหุ้น Wal-Mart มันก็ยังเป็นหุ้นที่น่าซื้ออยู่ดี แต่เวลาจะเป็นศัตรูกับคุณถ้าคุณซื้อออปชั่น
22. ถ้าคุณอยากลงทุนแต่คุณไม่มีเวลาทำการบ้าน คุณควรจะซื้อกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงและกองทุนหลายประเภท
23. ภาษีที่คิดจากส่วนต่างของราคาจะส่งผลในเชิงลบกับนักลงทุนที่สับเปลี่ยนกองทุนบ่อยครั้งเกินไป หากคุณลงทุนในกองทุนหนึ่งกองหรือหลายกองที่ให้ผลตอบแทนดีๆ จงอย่าขายพวกมันออกไปแบบใช้อารมณ์ จงถือกองทุนเหล่านั้น
24. ในบรรดาตลาดหุ้นทั่วโลก ตลาดหุ้นที่อเมริกาให้ผลตอบแทนรวมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสูงเป็นอันดับแปดของโลก คุณจะสามารถหาประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วกว่าโดยการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศที่มีผลตอบแทนที่ดี
25. ในระยะยาวแล้ว พอร์ตการลงทุนที่ประกอบด้วยหุ้นและกองทุนหุ้นที่ดีจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพอร์ตที่ประกอบด้วยตราสารหนี้หรือการลงทุนในตลาดเงิน อย่างไรก็ตามในระยะยาว พอร์ตที่ประกอบด้วยหุ้นและกองทุนหุ้นแบบแย่ๆ จะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินที่ถูกเก็บเอาไว้ใต้ที่นอนได้
จากกฎเหล็ก 25 ข้อข้างต้น หวังว่าคงเป็นคำแนะนำที่ดีเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการลงทุนนะครับ แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรที่จะต้องประเมินผลตอบแทนให้คุ้มกับความเสี่ยงให้เหมาะกับตัวเราเองด้วยครับ
ที่มา http://www.thaistockvi.com/p/1944-13-29.html
ติดตามอ่านข่าวสารการลงทุน
Facebook Page : https://www.facebook.com/setlnw
Facebook Page : https://www.facebook.com/setvii
webblog
หุ้นVI ประเทศไทย http://www.thaistockvi.com/
SetLnw ประเทศไทย http://setlnw.com/
ยำหุ้นประเทศไทย http://yamhun.blogspot.com/
วอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ http://warrenbuffettsay.blogspot.com/