พูดถึงเรื่องความละเอียดแหลมคม ในวัฏจักรไม่มีอะไรเกินกิเลส
ที่นี่เวลาเข้าเทียบกันปั๊บแล้วก็ว่าไม่มีอะไรเกินกิเลส ในวิวัฏจักรไม่มีอะไรเกินธรรม ครอบหัวกิเลสได้
ตรงนี้แหละ ธรรมประเภทนี้ไม่มี ในตำรับตำราก็ไม่มี จะมีบนเวทีของผู้ปฏิบัติธรรมที่รู้ธรรมเห็นธรรม
ตามจังหวะที่ต่อยกันระหว่างกิเลสกับธรรม ด้วยภาคปฏิบัตินี้เท่านั้น นอกนั้นไม่มี
เราไม่ได้ประมาทพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกท่านเอามาเฉพาะที่จำเป็น
ท่านไม่ได้เอามาแบบซอกแซกซิกแซ็กเหมือนกับกิเลสกับธรรมฟัดกันบนหัวใจผู้ปฏิบัติ อันนั้นพูดไม่ได้เลย
ท่านจะหยิบยกออกมาแต่จุดสำคัญ ๆ เพื่อไม่ให้เหลือเฟือฟั่นเฝือจนเกินไป
แล้วจะเหลือกำลังของผู้จดจำมา แล้วก็ท้อถอยน้อยใจ ท่านจึงเอาแต่จุดใหญ่ ๆ มา
พระไตรปิฎกท่านแสดงไว้อย่างไรบ้าง นั่นละท่านจะเอาจุดใหญ่ ๆ
เช่นว่าสมาธิ ท่านก็พูดกลาง ๆ ไว้เท่านั้น สมาธิของผู้ปฏิบัติเป็นยังไง นั่นท่านไม่ได้แจง
ผู้ปฏิบัตินั้นแลจะรู้เรื่องของสมาธิได้เป็นอย่างดี ซอกแซกซิกแซ็กซึมซาบไปหมด
ในรัศมีของสมาธิที่จะแสดงตัวเต็มเหนี่ยวของสมาธิ
นี่ในภาคปฏิบัติเป็นอย่างนั้น แล้วคัมภีร์จะไปจดได้ยังไง
ถ้าพูดถึงเรื่องภาคปัญญาฆ่ากิเลส ก็เริ่มต้นตั้งแต่ล้มลุกคลุกคลานไปทางด้านปัญญา แล้วเรื่อย ๆ
จนเหมือนกับว่ารถนี้ออกเส้นทางเรียบร้อยแล้วบึ่งละที่นี่ นั่นละสติปัญญาประเภทนี้
ท่านก็บอกไว้กลาง ๆ ว่าภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นจากการภาวนาล้วน ๆ ครอบไว้เท่านั้นเอง
แต่ผู้ขึ้นเวทีแล้วภาวนามยปัญญาเป็นยังไง แตกแขนงออกไปนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่มีในความจริง
ความจริงนี้มีสุดส่วนทุกแง่ทุกมุม เหมือนว่าเชื้อไฟอยู่ที่ไหน ๆ เชื้อไฟนั่นเหมือนความจริง ไฟคือธรรม
จะลุกลามสอดแทรกรู้เห็นไปหมด ๆ เชื้อไฟหยาบ ละเอียดขนาดไหน สติปัญญาธรรมเหล่านี้จะซึมซาบเข้าไป
เผาเข้าไป ไหม้เข้าไปเรื่อย ๆ เป็นอัตโนมัติของตัวเอง นี่ไม่มีในพระไตรปิฎก
เราไม่ได้คุย เราก็ค้นเหมือนกันพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นจึงกล้ามาพูดได้ทั้งสองภาค
ภาคพระไตรปิฎกท่านเอาเฉพาะส่วนใหญ่ ๆ ออกมาที่เหมาะสมกับผู้จะปฏิบัติ ไม่ให้เหลือเฟือหรือฟั่นเฝือจนเกินไป
จนเกิดความท้อถอยน้อยใจต่อการปฏิบัติธรรม ท่านจึงเอามาจุดใหญ่ ๆ เช่น อริยสัจ ๔ นี่อันสำคัญมากนะ
สติปัฏฐาน ๔ นี่รากแก้วของศาสนา รากแก้วของมรรคของผล ของความจริงและธรรมทั้งหลาย
ที่จะรู้ความจริงออกจากอริยสัจ ๔ นี้ พอก้าวเข้าไปนี้
ท่านบอกไว้อริยสัจ ๔ เท่านั้นไม่มาก
ให้ผู้ปฏิบัติไปแจงเอง
จะรู้เองเห็นเองทุกแง่ทุกมุม เพราะให้ต้นทุนมาแล้ว พูดง่าย ๆ เช่น ไม้ท่อนนี้เอามาให้แล้ว
ต้องการจะเลื่อยจะแปรรูปให้เป็นยังไงให้ไปแปรเอง ความหมายว่างั้น นี่พระไตรปิฎกท่านยกออกมาก็แบบเดียวกัน
ให้พอเหมาะพอดีกับผู้ปฏิบัติแล้วให้ไปแจงเอง
ความรู้ความเห็นในตัวเองจะเป็นยังไง จะไม่ต้องถามใคร
เพราะต้นใหญ่ได้เอามาแล้ว แปรออกจากต้นใหญ่เป็นไม้เป็นแผ่นกระดานหนาขนาดไหน ๆ กว้างแคบขนาดไหน
เป็นเรื่องของนายช่างที่จะต้องทำงานเองจาระไนเอง
----------------------
น้ำหนักของกิเลสกับธรรม - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1337&CatID=2
เป็นเรื่องของนายช่างที่จะต้องทำงานเองจาระไนเอง - หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
พูดถึงเรื่องความละเอียดแหลมคม ในวัฏจักรไม่มีอะไรเกินกิเลส
ที่นี่เวลาเข้าเทียบกันปั๊บแล้วก็ว่าไม่มีอะไรเกินกิเลส ในวิวัฏจักรไม่มีอะไรเกินธรรม ครอบหัวกิเลสได้
ตรงนี้แหละ ธรรมประเภทนี้ไม่มี ในตำรับตำราก็ไม่มี จะมีบนเวทีของผู้ปฏิบัติธรรมที่รู้ธรรมเห็นธรรม
ตามจังหวะที่ต่อยกันระหว่างกิเลสกับธรรม ด้วยภาคปฏิบัตินี้เท่านั้น นอกนั้นไม่มี
เราไม่ได้ประมาทพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกท่านเอามาเฉพาะที่จำเป็น
ท่านไม่ได้เอามาแบบซอกแซกซิกแซ็กเหมือนกับกิเลสกับธรรมฟัดกันบนหัวใจผู้ปฏิบัติ อันนั้นพูดไม่ได้เลย
ท่านจะหยิบยกออกมาแต่จุดสำคัญ ๆ เพื่อไม่ให้เหลือเฟือฟั่นเฝือจนเกินไป
แล้วจะเหลือกำลังของผู้จดจำมา แล้วก็ท้อถอยน้อยใจ ท่านจึงเอาแต่จุดใหญ่ ๆ มา
พระไตรปิฎกท่านแสดงไว้อย่างไรบ้าง นั่นละท่านจะเอาจุดใหญ่ ๆ
เช่นว่าสมาธิ ท่านก็พูดกลาง ๆ ไว้เท่านั้น สมาธิของผู้ปฏิบัติเป็นยังไง นั่นท่านไม่ได้แจง
ผู้ปฏิบัตินั้นแลจะรู้เรื่องของสมาธิได้เป็นอย่างดี ซอกแซกซิกแซ็กซึมซาบไปหมด
ในรัศมีของสมาธิที่จะแสดงตัวเต็มเหนี่ยวของสมาธิ
นี่ในภาคปฏิบัติเป็นอย่างนั้น แล้วคัมภีร์จะไปจดได้ยังไง
ถ้าพูดถึงเรื่องภาคปัญญาฆ่ากิเลส ก็เริ่มต้นตั้งแต่ล้มลุกคลุกคลานไปทางด้านปัญญา แล้วเรื่อย ๆ
จนเหมือนกับว่ารถนี้ออกเส้นทางเรียบร้อยแล้วบึ่งละที่นี่ นั่นละสติปัญญาประเภทนี้
ท่านก็บอกไว้กลาง ๆ ว่าภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นจากการภาวนาล้วน ๆ ครอบไว้เท่านั้นเอง
แต่ผู้ขึ้นเวทีแล้วภาวนามยปัญญาเป็นยังไง แตกแขนงออกไปนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่มีในความจริง
ความจริงนี้มีสุดส่วนทุกแง่ทุกมุม เหมือนว่าเชื้อไฟอยู่ที่ไหน ๆ เชื้อไฟนั่นเหมือนความจริง ไฟคือธรรม
จะลุกลามสอดแทรกรู้เห็นไปหมด ๆ เชื้อไฟหยาบ ละเอียดขนาดไหน สติปัญญาธรรมเหล่านี้จะซึมซาบเข้าไป
เผาเข้าไป ไหม้เข้าไปเรื่อย ๆ เป็นอัตโนมัติของตัวเอง นี่ไม่มีในพระไตรปิฎก
เราไม่ได้คุย เราก็ค้นเหมือนกันพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นจึงกล้ามาพูดได้ทั้งสองภาค
ภาคพระไตรปิฎกท่านเอาเฉพาะส่วนใหญ่ ๆ ออกมาที่เหมาะสมกับผู้จะปฏิบัติ ไม่ให้เหลือเฟือหรือฟั่นเฝือจนเกินไป
จนเกิดความท้อถอยน้อยใจต่อการปฏิบัติธรรม ท่านจึงเอามาจุดใหญ่ ๆ เช่น อริยสัจ ๔ นี่อันสำคัญมากนะ
สติปัฏฐาน ๔ นี่รากแก้วของศาสนา รากแก้วของมรรคของผล ของความจริงและธรรมทั้งหลาย
ที่จะรู้ความจริงออกจากอริยสัจ ๔ นี้ พอก้าวเข้าไปนี้
ท่านบอกไว้อริยสัจ ๔ เท่านั้นไม่มาก ให้ผู้ปฏิบัติไปแจงเอง
จะรู้เองเห็นเองทุกแง่ทุกมุม เพราะให้ต้นทุนมาแล้ว พูดง่าย ๆ เช่น ไม้ท่อนนี้เอามาให้แล้ว
ต้องการจะเลื่อยจะแปรรูปให้เป็นยังไงให้ไปแปรเอง ความหมายว่างั้น นี่พระไตรปิฎกท่านยกออกมาก็แบบเดียวกัน
ให้พอเหมาะพอดีกับผู้ปฏิบัติแล้วให้ไปแจงเอง ความรู้ความเห็นในตัวเองจะเป็นยังไง จะไม่ต้องถามใคร
เพราะต้นใหญ่ได้เอามาแล้ว แปรออกจากต้นใหญ่เป็นไม้เป็นแผ่นกระดานหนาขนาดไหน ๆ กว้างแคบขนาดไหน
เป็นเรื่องของนายช่างที่จะต้องทำงานเองจาระไนเอง
----------------------
น้ำหนักของกิเลสกับธรรม - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1337&CatID=2