กฎหมายใหม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 5 ก.พ. 2558 ครับ
มีผลเมื่อพ้นหกสิบวันนับจากวันประกาศครับ
กำหนดฐานความผิดเพิ่มว่า “มาตรา 28/1 การทําซ้ําโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์
อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในโรงภาพยนตร์ตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ไม่ว่าทั้งหมด
หรือแต่บางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ ให้ถือว่า
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และมิให้นํามาตรา 32 วรรคสอง (2) มาใช้บังคับ”
แต่ถ้าการกระทำตามนี้ ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ
ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน
อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท (วงเล็บนี้ไม่ใช้กับความผิดตามมาตรา 28/1)
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(9) ทําซ้ํา หรือดัดแปลง เพื่อประโยชน์ของคนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์
อันเนื่องมาจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่น
ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยต้องไม่เป็นการกระทําเพื่อหากําไร ทั้งนี้ รูปแบบของการทําซ้ําหรือดัดแปลง
ตามความจําเป็นของคนพิการและองค์กรผู้จัดทํารวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการเพื่อทําซ้ํา
หรือดัดแปลงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา”
โทษของการฝ่าฝืนคือ มาตรา 69/1 ผู้ใดกระทําการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๘/๑ ต้องระวางโทษจําคุก
ตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ในโรงภาพยนตร์ครับ
มีผลเมื่อพ้นหกสิบวันนับจากวันประกาศครับ
กำหนดฐานความผิดเพิ่มว่า “มาตรา 28/1 การทําซ้ําโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์
อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในโรงภาพยนตร์ตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ไม่ว่าทั้งหมด
หรือแต่บางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ ให้ถือว่า
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และมิให้นํามาตรา 32 วรรคสอง (2) มาใช้บังคับ”
แต่ถ้าการกระทำตามนี้ ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ
ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน
อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท (วงเล็บนี้ไม่ใช้กับความผิดตามมาตรา 28/1)
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(9) ทําซ้ํา หรือดัดแปลง เพื่อประโยชน์ของคนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์
อันเนื่องมาจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่น
ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยต้องไม่เป็นการกระทําเพื่อหากําไร ทั้งนี้ รูปแบบของการทําซ้ําหรือดัดแปลง
ตามความจําเป็นของคนพิการและองค์กรผู้จัดทํารวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการเพื่อทําซ้ํา
หรือดัดแปลงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา”
โทษของการฝ่าฝืนคือ มาตรา 69/1 ผู้ใดกระทําการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๘/๑ ต้องระวางโทษจําคุก
ตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”