หมวดที่ 1 ลิขสิทธิ์ - ส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๒-๔๓
ส่วนที่ ๖
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง
การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน
ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา
เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการ วิจัยหรือการศึกษา
มาตรา ๓๕ การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
หากไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไรและได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๕) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจาก บุคคลอื่นโดยถูกต้อง
เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย
หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๗) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(๘) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(๙) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ ของสาธารณชน
มาตรา ๓๖ การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม ออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น
หรือดำเนินการ เพื่อหากำไรเนื่องจากการ จัดให้มีการเผยแพร่ต่อ สาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง
หรือโดยทางอ้อม และนักแสดงไม่ได้ รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา
หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ
การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ
นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์
หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย
มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำ
ศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง
หรือข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็น
สาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๑ อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อ
สาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์นั้น
มาตรา ๔๓ การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
ดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ถ้าได้ปฏิบัติตาม มาตรา๓๒ วรรคหนึ่ง
Fair Use และ Parody: ข้อยกเว้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์
Fair Use คือ การใช้งานอย่างเป็นธรรม และParody คือ การล้อเลียน ซึ่ง Parody ถือเป็นFair Use อย่างนึง
Fair Use นั้นเป็นหลักที่ได้รับการรองรับทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศ
(เช่นปรากฏในข้อตกลงที่เรียกว่าTrips Agreement ซึ่งไทยและประเทศอื่นๆอย่างอเมริกา ญี่ปุ่นลงนาม
จึงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในTrips คือให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ขณะเดียวกันก็มีข้อยกเว้นด้วย)
Fair Use ปรากฏในกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ เช่น Copy Right Act ของอเมริกา หรือในกฎหมายไทย
จริงๆแล้ว (1)-(8) ในวรรค2(คือย่อหน้า) มาตรานี้ เป็นแค่ตัวอย่าง
ถ้าไม่เข้า (1)-(8) ไม่ได้หมายความว่าผิด เพราะ (1)-(8) กฎหมายเขียนว่าภายใต้วรรค 1
ดังนั้นหลักจริงๆคือที่วรรค1เป็นสำคัญ
กลับกันถ้าเข้า (1)-(8) แต่ขัดหลักในวรรค 1 อาจผิดได้
หมายความว่า ถ้าไม่แสวงหากำไร แต่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร ก็ผิดได้
แต่แม้ทำกำไร แต่ไม่ขัดหลักดังกล่าว อาจไม่ผิดก็ได้
สรุป ถ้าใช้เพื่อแสวงหากำไร จะอ้างfair use ไม่ได้ เช่น
แปลงเพลงต้นฉบับมาล้อเลียนขบขัน หรือเขียนการ์ตูนล้องานต้นฉบับ(Parody) แล้วมีกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยอ้างเป็น Fair Use แต่ไปกระทบเจ้าของเกินควรก็เกิดการฟ้องร้องขึ้นได้
ตัวอย่าง
เรื่องถ่ายเอกสารหนังสือเรียนมาใช้ในการเรียน
อเมริกาพยายามทำGuideLine ว่าไม่เกิน10%ของหนังสือทั้งหมด
จึงจะอ้างได้ว่าเอามาใช้งานส่วนตัวเพื่อการศึกษา
แต่guidelineที่ว่า เป็นแค่แนวทางไม่ใช่กฎหมาย เพราะเกิน10% ศาลก็อาจจะมองว่าไม่เกินสมควรก็ได้
ไม่ได้บังคับศาลให้ถือตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาลพิจารณาเป็นรายคดีไป 10%ที่ว่าก็เป็นแค่แนวทางประกอบ
แต่แนวทาง10% คงไม่เหมาะจะเอามาบังคับ ใช้ในไทย
ถ้าสมมุติไปมองว่าคุณถ่ายหนังสือเรียนเกิน 10%เมื่อไหร่
อ้างfair use ไม่ได้ และละเมิดลิขสิทธิ์ คงมีนักเรียนกับอาจารย์ติดคุกกันเป็นแถบ
ที่จริงเคยมีคดีในไทยแล้ว เรื่องร้านถ่ายเอกสารแถวABAC
โดนฟ้องเพราะทำcopyหนังสือต่างประเทศไว้ขายให้นักเรียน
แบบถ่ายกันเรียกว่า25%ของหนังสือเลย
เรื่องนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาในไทยอ้างguidelineของอเมริกามาประกอบด้วยว่าถ้าจำกัดแค่10%
จะจำกัดโอกาสเข้าถึงหนังสือ(โดยเฉพาะหนังสือต่างประเทศที่แพงมากๆ)และเป็นผลเสียต่อประโยชน์ทางการศึกษา
โดยสรุปศาลคงมองว่าจะเกิน10%ก็ยังโอเค เพราะบริบทสังคมไทยกับสังคมอเมริกาต่างกัน
ร้านถ่ายเอกสารชนะคดีในศาลชั้นต้น เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ยื่นอุทธรณ์ต่อมา
พอคดีนี้ขึ้นศาลสูง ศาลตัดสินให้ร้านถ่ายเอกสารแพ้เพราะว่าร้านไปถ่ายหนังสือและเย็บเล่มเก็บไว้รอขายหลายๆชุด
ไม่ใช่ว่านักศึกษามาสั่งเป็นรายๆไปแล้วค่อยทำ การไปcopyหนังสือเขา25-30%แล้วมาเย็บวางขายในร้านตน
แสดงว่าหากำไรและกระทบเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร
สรุป
ในศาลสูงร้านแพ้ไปเพราะดันไปถ่ายหนังสือเขาและเย็บเตรียมไว้ขายเลย
คือร้านถ่ายเอกสารแพ้เพราะประเด็นนี้ ไม่ได้แพ้ว่าถ่ายเกิน10%หรือไม่
ประเด็นว่าถ่ายกี่%ศาลสูงไม่ได้พูดถึงเลย
ตัวอย่างคดีของอเมริกา
กรณีเอาเพลงPretty Woman มาแปลงเป็นเพลงRap แล้วทำขาย
ศาลสหรัฐบอกว่าการเอามาขายหากำไร ไม่ได้หมายความว่าจะอ้างFair Use ไม่ได้
อย่างคดีนี้ Campbell v. Acuff-Rose Music, Inc.
https://en.wikipedia.org/wiki/Campbell_v._Acuff-Rose_Music,_Inc.
แต่ต้องมาสู้กันต่อว่าสรุปแล้วกระทบเกินควรหรือไม่ อ้างfair use ได้มั้ย
ประเด็นเอาเพลงแปลงPretty Woman มาขาย
สุดท้ายศาลไม่ได้ตัดสินว่าอ้างfair use ได้มั้ย
เพราะคู่ความตกลงกันได้ แต่หลักที่ว่า
แม้ทำกำไรก็อาจจะอ้างfair use ได้ของคดีนี้ถูกอ้างถึงบ่อยๆ
แล้วแค่ไหนเกินสมควรจนอ้าง Fair Use ไม่ได้ จริงๆในไทยไม่ค่อยมีคดีแบบนี้
แต่ถ้ามีคดีขึ้นมา คงขึ้นกับดุลยพินิจศาล เรื่องนี้เถียงกันไม่จบง่ายๆแน่
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความhttps://en.wikipedia.org/wiki/Campbell_v._Acuff-Rose_Music,_Inc.
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mini-rambo&group=10
http://www.ipat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=167:-1-6-&catid=36:t13&Itemid=12
ขอบเขตการล้อเลียน(parody) ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย
ส่วนที่ ๖
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง
การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน
ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา
เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการ วิจัยหรือการศึกษา
มาตรา ๓๕ การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
หากไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไรและได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๕) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจาก บุคคลอื่นโดยถูกต้อง
เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย
หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๗) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(๘) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(๙) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ ของสาธารณชน
มาตรา ๓๖ การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม ออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น
หรือดำเนินการ เพื่อหากำไรเนื่องจากการ จัดให้มีการเผยแพร่ต่อ สาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง
หรือโดยทางอ้อม และนักแสดงไม่ได้ รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา
หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ
การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ
นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์
หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย
มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำ
ศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง
หรือข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็น
สาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๑ อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อ
สาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์นั้น
มาตรา ๔๓ การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
ดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ถ้าได้ปฏิบัติตาม มาตรา๓๒ วรรคหนึ่ง
Fair Use และ Parody: ข้อยกเว้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์
Fair Use คือ การใช้งานอย่างเป็นธรรม และParody คือ การล้อเลียน ซึ่ง Parody ถือเป็นFair Use อย่างนึง
Fair Use นั้นเป็นหลักที่ได้รับการรองรับทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศ
(เช่นปรากฏในข้อตกลงที่เรียกว่าTrips Agreement ซึ่งไทยและประเทศอื่นๆอย่างอเมริกา ญี่ปุ่นลงนาม
จึงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในTrips คือให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ขณะเดียวกันก็มีข้อยกเว้นด้วย)
Fair Use ปรากฏในกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ เช่น Copy Right Act ของอเมริกา หรือในกฎหมายไทย
จริงๆแล้ว (1)-(8) ในวรรค2(คือย่อหน้า) มาตรานี้ เป็นแค่ตัวอย่าง
ถ้าไม่เข้า (1)-(8) ไม่ได้หมายความว่าผิด เพราะ (1)-(8) กฎหมายเขียนว่าภายใต้วรรค 1
ดังนั้นหลักจริงๆคือที่วรรค1เป็นสำคัญ
กลับกันถ้าเข้า (1)-(8) แต่ขัดหลักในวรรค 1 อาจผิดได้
หมายความว่า ถ้าไม่แสวงหากำไร แต่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร ก็ผิดได้
แต่แม้ทำกำไร แต่ไม่ขัดหลักดังกล่าว อาจไม่ผิดก็ได้
สรุป ถ้าใช้เพื่อแสวงหากำไร จะอ้างfair use ไม่ได้ เช่น
แปลงเพลงต้นฉบับมาล้อเลียนขบขัน หรือเขียนการ์ตูนล้องานต้นฉบับ(Parody) แล้วมีกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยอ้างเป็น Fair Use แต่ไปกระทบเจ้าของเกินควรก็เกิดการฟ้องร้องขึ้นได้
ตัวอย่าง
เรื่องถ่ายเอกสารหนังสือเรียนมาใช้ในการเรียน
อเมริกาพยายามทำGuideLine ว่าไม่เกิน10%ของหนังสือทั้งหมด
จึงจะอ้างได้ว่าเอามาใช้งานส่วนตัวเพื่อการศึกษา
แต่guidelineที่ว่า เป็นแค่แนวทางไม่ใช่กฎหมาย เพราะเกิน10% ศาลก็อาจจะมองว่าไม่เกินสมควรก็ได้
ไม่ได้บังคับศาลให้ถือตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาลพิจารณาเป็นรายคดีไป 10%ที่ว่าก็เป็นแค่แนวทางประกอบ
แต่แนวทาง10% คงไม่เหมาะจะเอามาบังคับ ใช้ในไทย
ถ้าสมมุติไปมองว่าคุณถ่ายหนังสือเรียนเกิน 10%เมื่อไหร่
อ้างfair use ไม่ได้ และละเมิดลิขสิทธิ์ คงมีนักเรียนกับอาจารย์ติดคุกกันเป็นแถบ
ที่จริงเคยมีคดีในไทยแล้ว เรื่องร้านถ่ายเอกสารแถวABAC
โดนฟ้องเพราะทำcopyหนังสือต่างประเทศไว้ขายให้นักเรียน
แบบถ่ายกันเรียกว่า25%ของหนังสือเลย
เรื่องนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาในไทยอ้างguidelineของอเมริกามาประกอบด้วยว่าถ้าจำกัดแค่10%
จะจำกัดโอกาสเข้าถึงหนังสือ(โดยเฉพาะหนังสือต่างประเทศที่แพงมากๆ)และเป็นผลเสียต่อประโยชน์ทางการศึกษา
โดยสรุปศาลคงมองว่าจะเกิน10%ก็ยังโอเค เพราะบริบทสังคมไทยกับสังคมอเมริกาต่างกัน
ร้านถ่ายเอกสารชนะคดีในศาลชั้นต้น เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ยื่นอุทธรณ์ต่อมา
พอคดีนี้ขึ้นศาลสูง ศาลตัดสินให้ร้านถ่ายเอกสารแพ้เพราะว่าร้านไปถ่ายหนังสือและเย็บเล่มเก็บไว้รอขายหลายๆชุด
ไม่ใช่ว่านักศึกษามาสั่งเป็นรายๆไปแล้วค่อยทำ การไปcopyหนังสือเขา25-30%แล้วมาเย็บวางขายในร้านตน
แสดงว่าหากำไรและกระทบเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร
สรุป
ในศาลสูงร้านแพ้ไปเพราะดันไปถ่ายหนังสือเขาและเย็บเตรียมไว้ขายเลย
คือร้านถ่ายเอกสารแพ้เพราะประเด็นนี้ ไม่ได้แพ้ว่าถ่ายเกิน10%หรือไม่
ประเด็นว่าถ่ายกี่%ศาลสูงไม่ได้พูดถึงเลย
ตัวอย่างคดีของอเมริกา
กรณีเอาเพลงPretty Woman มาแปลงเป็นเพลงRap แล้วทำขาย
ศาลสหรัฐบอกว่าการเอามาขายหากำไร ไม่ได้หมายความว่าจะอ้างFair Use ไม่ได้
อย่างคดีนี้ Campbell v. Acuff-Rose Music, Inc.
https://en.wikipedia.org/wiki/Campbell_v._Acuff-Rose_Music,_Inc.
แต่ต้องมาสู้กันต่อว่าสรุปแล้วกระทบเกินควรหรือไม่ อ้างfair use ได้มั้ย
ประเด็นเอาเพลงแปลงPretty Woman มาขาย
สุดท้ายศาลไม่ได้ตัดสินว่าอ้างfair use ได้มั้ย
เพราะคู่ความตกลงกันได้ แต่หลักที่ว่า
แม้ทำกำไรก็อาจจะอ้างfair use ได้ของคดีนี้ถูกอ้างถึงบ่อยๆ
แล้วแค่ไหนเกินสมควรจนอ้าง Fair Use ไม่ได้ จริงๆในไทยไม่ค่อยมีคดีแบบนี้
แต่ถ้ามีคดีขึ้นมา คงขึ้นกับดุลยพินิจศาล เรื่องนี้เถียงกันไม่จบง่ายๆแน่
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้