สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ด้วยความเคารพ ขอตอบตามประสบการณ์ประสบการณ์และความรู้เท่าที่มีนะครับ ผิดพลาดขออภัย
เรียนมาทางด้านวิศวะและสนใจด้านทฤษฏีวิทยาศาสตร์ ควันตัม มากพอควร และฝึกสมาธิมาราวๆยี่สิบกว่าปี
ขออนุญาตตอบแบบวิทยาศาสตร์มากกว่าจะเน้นด้านศาสนานะครับ
การฝึกสมาธิหรือฌาณ เป็นสิ่งทีเกิดมาก่อนพุทธศาสนาครับ เจ้าชายสิทธัตถะทรงเรียนจากอุทกดาบสและอาฬารดาบสจนสำเร็จฌาณ8
แต่พบว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงได้แสวงหาแนวทางใหม่ นั่นก็คือ "วิปัสสนา"ซึ่งเป์นแก่นแท้ของพุทธศาสนา
อธิบายแบบง่ายที่สุดก็คือ การฝึกสมาธิคือ การพยายามคิดเรื่องเดียวให้นานที่สุด ปรกติสมองเราจะคิดเรื่องราวที่แตกต่างกันวินาทีละหลายเรื่องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา เหมือนบ้านที่มีก๊อกน้ำหลายก๊อกแล้วเปิดพร้อมๆกัน น้ำย่อมไหลช้า แต่ถ้าเราเปิดเพียงก๊อกเดียวน้ำก็จะไหลแรง
เช่นเดียวกัน การมีสมาธิใจจดจ่ออยู่ที่เรื่องเดียวแทบตลอดเวลา ย่อมใช้พลังของสมองได้มีประสิทธิภาพได้ดีกว่าอย่างแน่นอน
การฝึกสมาธิก็คือการเพ่งอารมณ์หรือเพ่งวัตถุอย่างเดียว ไม่คิดว่อกแว่กเรื่องอื่นเลยเป็นเวลานานที่สุดเท่าที่จะทำได้
สมาธิมีสามขั้น คือ ขั้นต้น-จะเริ่มเห็นแสงสว่างแวบๆ เหมือนเห็นประกายไฟในความมืด ขั้นกลาง- เห็นแสงสว่างเป็นวงกลมสว่างจ้ามากๆ(อุคหนิมิตร) ขั้นสูง-เข้าสู่ญาณ เราจะเริ่มบังคับวงกลมแสงสว่างนั้นได้ดังใจ(ปฎิภาคนิมิตร)
จากนั้นจะเข้าสู่ฌาณ จะมีช่วงที่จิตกระโดดจากสมาธิสู่ฌาณ ซึ่งหัวใจเราจะเต้นแรงมากๆราวกับแทบหัวใจจะวายเลยทีเดียว ก่อนจะสงบ ฌาณที่เกิดจากการเพ่งรูปธรรม เช่นลมหายใจหรือวงกลมแสง(นิมิตร) มีถึงฌาณ4 ส่วในการเพ่งนามธรรม เช่นความว่างเปล่าต่างๆ คือญาณ5ถึงฌาณ8 แต่ผลที่ได้จะเหมือนกัน คือฌาณสี่ ห้า หก เจ็ด แปด คือการที่จิตนิ่ง ไม่มีความคิดใดๆหลงเหลืออยู่เลย จิตจึงมีกำลังมากที่สุด แต่เพราะไม่มีความคิด กำลังหรือพลังจิตที่ได้ในฌาณสี่จึงไม่สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้ ต้องถอยจิตลงมาที่ฌาณ2ก่อน เพื่อให้สมองใช้ความคิดได้ว่าจะเอาพลังจิตนี้ไปทำอะไร เช่น มองอนาคต ฯลฯ
แต่ฌาณ ไม่สามารถตัดกิเลสลงได้ ผู้ได้ฌาณจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนดี เช่นพวกเล่นคุณไสยต่างๆ
ในทางวิทยาศาสตร์ อาจต้องอ้างอิงทฤษฏีฟิสิกส์และการทดลองที่ยังไม่มีข้อสรุปนะครับ จึงไม่จำเป็นต้องเชื่อก็ได้ ปัจจุบันมีการพยายามทดลองในมหาวิทยาลัยแพทย์และสถาบันฟิสิกส์หลายแห่งในสหรัฐ เพื่อพิสูจน์ว่า ความทรงจำของมนุษย์ไม่ได้มีอยู่แต่ในสมองเท่านั้น เพราะทฤษฏีควันตั้มในปัจจุบันยอมรับกันว่า ข้อมูลไม่มีทางถูกทำลายได้แม้จะหลุดเขาไปในหลุมดำก็ตาม (สตีเฟ่น ฮอร์กิง เคยพนันกันเพื่อนว่าข้อมูลถูกทำลายได้ในหลุมดำ แต่สุดท้ายเขาก็ยอมแพ้พนัน) ดังนั้นแม้มนุษย์หรือสัตว์จะตายไปแล้ว แต่ข้อมูลของมนุษย์หรือสัตว์นั้นจะยังคงอยู่ต่อไป(วิญญาณ?) (ไม่อยากจะอ้างทฤษฏีของดร.เดวิด โบห์ม ที่ว่า สสาร พลังงาน และข้อมูล(หรือจิต) เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ซ่อนตัวและคลี่ขยายในสถานะและมิติที่ต่างกัน เพราะโบห์มตายแล้ว ไม่มีใครสานต่อทฤษฏีนี้)
จึงอาจเป็นไปได้ว่า เมื่อจิตเข้าถึงฌาณ จิตนั้นก็อาจเชื่อมต่อกับข้อมูลแห่งจักรวาล(หรือจิตจักรวาล)ได้ ระดับการรับรุ้ของจิตก็จะก้าวเลยโลกสามมิติ สู่มิติที่สูงขึ้นไป (ทฤษฏีสตริงมี10มิติ ทฤษฏีM 11มิติ) อันเป็นที่มาของความสามารถเหนือธรรมชาติ(ที่มนุษย์ปัจจุบันเข้าใจ)
ส่วนการทำวิปัสสนานั้น คือการพยายามรู้สึกตัวให้บ่อยที่สุด ปรกติเรามักจะใจลอยไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเราได้สติว่าเมื่อกี้นี้ใจลอยไป ความใจลอยจะดับลง พอเราโกรธแล้วได้สติว่าเมื่อกี้นี้เราโกรธไป ความโกรธจะดับลง(ชั่วแวบหนึ่ง) เมื่อรู้สึกตัวเช่นนี้ไปจนเริ่มเป็นอัตโนมัติ เราจะพบประสบการณ์แปลกๆทางกายและทางจิตมากขึ้นๆ ที่ชัดๆคือ พอโกรธใครแรงๆแต่อีกแว่บหนึ่งเราก็จะรู้สึกเป็นอัตโนมัติเลยว่าเมื่อกี้นี้เพิ่งโกรธไปนะ ความโกรธมันจะหายไปเลย เช่นเดียวกับความอยากมีอยากได้ต่างๆ จะเป็นจุดเริ่มต้นของกิเลสที่หายไปมากขึ้นๆ จนกระทั่ง ราวกับว่าระบบประสาทในสมองของเรามันวิวัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นคนละคนเลย จนถึงระดับไม่ยินดียินร้ายต่อความอยาก(วิปัสนาญาณมี16ขั้น แต่บางท่านอาจข้ามบางขั้นไปได้ คือไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ครบทั้ง16ฌาณก็ได้) จนถึงระดับที่สมองวิวัฒน์ตัวเอง(จะเกิดได้สี่ครั้ง แสงสว่างรุนแรงแว่บขึ้นในสมองจนสั่นสะเทือนไปทั้งตัว หรือสมุเฉกประหาร กลายเป็นอริยะ โสดา สกิธา อนาคา อรหันตผล) กลายเป็นอริยะบุคคล
เรียนมาทางด้านวิศวะและสนใจด้านทฤษฏีวิทยาศาสตร์ ควันตัม มากพอควร และฝึกสมาธิมาราวๆยี่สิบกว่าปี
ขออนุญาตตอบแบบวิทยาศาสตร์มากกว่าจะเน้นด้านศาสนานะครับ
การฝึกสมาธิหรือฌาณ เป็นสิ่งทีเกิดมาก่อนพุทธศาสนาครับ เจ้าชายสิทธัตถะทรงเรียนจากอุทกดาบสและอาฬารดาบสจนสำเร็จฌาณ8
แต่พบว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงได้แสวงหาแนวทางใหม่ นั่นก็คือ "วิปัสสนา"ซึ่งเป์นแก่นแท้ของพุทธศาสนา
อธิบายแบบง่ายที่สุดก็คือ การฝึกสมาธิคือ การพยายามคิดเรื่องเดียวให้นานที่สุด ปรกติสมองเราจะคิดเรื่องราวที่แตกต่างกันวินาทีละหลายเรื่องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา เหมือนบ้านที่มีก๊อกน้ำหลายก๊อกแล้วเปิดพร้อมๆกัน น้ำย่อมไหลช้า แต่ถ้าเราเปิดเพียงก๊อกเดียวน้ำก็จะไหลแรง
เช่นเดียวกัน การมีสมาธิใจจดจ่ออยู่ที่เรื่องเดียวแทบตลอดเวลา ย่อมใช้พลังของสมองได้มีประสิทธิภาพได้ดีกว่าอย่างแน่นอน
การฝึกสมาธิก็คือการเพ่งอารมณ์หรือเพ่งวัตถุอย่างเดียว ไม่คิดว่อกแว่กเรื่องอื่นเลยเป็นเวลานานที่สุดเท่าที่จะทำได้
สมาธิมีสามขั้น คือ ขั้นต้น-จะเริ่มเห็นแสงสว่างแวบๆ เหมือนเห็นประกายไฟในความมืด ขั้นกลาง- เห็นแสงสว่างเป็นวงกลมสว่างจ้ามากๆ(อุคหนิมิตร) ขั้นสูง-เข้าสู่ญาณ เราจะเริ่มบังคับวงกลมแสงสว่างนั้นได้ดังใจ(ปฎิภาคนิมิตร)
จากนั้นจะเข้าสู่ฌาณ จะมีช่วงที่จิตกระโดดจากสมาธิสู่ฌาณ ซึ่งหัวใจเราจะเต้นแรงมากๆราวกับแทบหัวใจจะวายเลยทีเดียว ก่อนจะสงบ ฌาณที่เกิดจากการเพ่งรูปธรรม เช่นลมหายใจหรือวงกลมแสง(นิมิตร) มีถึงฌาณ4 ส่วในการเพ่งนามธรรม เช่นความว่างเปล่าต่างๆ คือญาณ5ถึงฌาณ8 แต่ผลที่ได้จะเหมือนกัน คือฌาณสี่ ห้า หก เจ็ด แปด คือการที่จิตนิ่ง ไม่มีความคิดใดๆหลงเหลืออยู่เลย จิตจึงมีกำลังมากที่สุด แต่เพราะไม่มีความคิด กำลังหรือพลังจิตที่ได้ในฌาณสี่จึงไม่สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้ ต้องถอยจิตลงมาที่ฌาณ2ก่อน เพื่อให้สมองใช้ความคิดได้ว่าจะเอาพลังจิตนี้ไปทำอะไร เช่น มองอนาคต ฯลฯ
แต่ฌาณ ไม่สามารถตัดกิเลสลงได้ ผู้ได้ฌาณจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนดี เช่นพวกเล่นคุณไสยต่างๆ
ในทางวิทยาศาสตร์ อาจต้องอ้างอิงทฤษฏีฟิสิกส์และการทดลองที่ยังไม่มีข้อสรุปนะครับ จึงไม่จำเป็นต้องเชื่อก็ได้ ปัจจุบันมีการพยายามทดลองในมหาวิทยาลัยแพทย์และสถาบันฟิสิกส์หลายแห่งในสหรัฐ เพื่อพิสูจน์ว่า ความทรงจำของมนุษย์ไม่ได้มีอยู่แต่ในสมองเท่านั้น เพราะทฤษฏีควันตั้มในปัจจุบันยอมรับกันว่า ข้อมูลไม่มีทางถูกทำลายได้แม้จะหลุดเขาไปในหลุมดำก็ตาม (สตีเฟ่น ฮอร์กิง เคยพนันกันเพื่อนว่าข้อมูลถูกทำลายได้ในหลุมดำ แต่สุดท้ายเขาก็ยอมแพ้พนัน) ดังนั้นแม้มนุษย์หรือสัตว์จะตายไปแล้ว แต่ข้อมูลของมนุษย์หรือสัตว์นั้นจะยังคงอยู่ต่อไป(วิญญาณ?) (ไม่อยากจะอ้างทฤษฏีของดร.เดวิด โบห์ม ที่ว่า สสาร พลังงาน และข้อมูล(หรือจิต) เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ซ่อนตัวและคลี่ขยายในสถานะและมิติที่ต่างกัน เพราะโบห์มตายแล้ว ไม่มีใครสานต่อทฤษฏีนี้)
จึงอาจเป็นไปได้ว่า เมื่อจิตเข้าถึงฌาณ จิตนั้นก็อาจเชื่อมต่อกับข้อมูลแห่งจักรวาล(หรือจิตจักรวาล)ได้ ระดับการรับรุ้ของจิตก็จะก้าวเลยโลกสามมิติ สู่มิติที่สูงขึ้นไป (ทฤษฏีสตริงมี10มิติ ทฤษฏีM 11มิติ) อันเป็นที่มาของความสามารถเหนือธรรมชาติ(ที่มนุษย์ปัจจุบันเข้าใจ)
ส่วนการทำวิปัสสนานั้น คือการพยายามรู้สึกตัวให้บ่อยที่สุด ปรกติเรามักจะใจลอยไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเราได้สติว่าเมื่อกี้นี้ใจลอยไป ความใจลอยจะดับลง พอเราโกรธแล้วได้สติว่าเมื่อกี้นี้เราโกรธไป ความโกรธจะดับลง(ชั่วแวบหนึ่ง) เมื่อรู้สึกตัวเช่นนี้ไปจนเริ่มเป็นอัตโนมัติ เราจะพบประสบการณ์แปลกๆทางกายและทางจิตมากขึ้นๆ ที่ชัดๆคือ พอโกรธใครแรงๆแต่อีกแว่บหนึ่งเราก็จะรู้สึกเป็นอัตโนมัติเลยว่าเมื่อกี้นี้เพิ่งโกรธไปนะ ความโกรธมันจะหายไปเลย เช่นเดียวกับความอยากมีอยากได้ต่างๆ จะเป็นจุดเริ่มต้นของกิเลสที่หายไปมากขึ้นๆ จนกระทั่ง ราวกับว่าระบบประสาทในสมองของเรามันวิวัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นคนละคนเลย จนถึงระดับไม่ยินดียินร้ายต่อความอยาก(วิปัสนาญาณมี16ขั้น แต่บางท่านอาจข้ามบางขั้นไปได้ คือไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ครบทั้ง16ฌาณก็ได้) จนถึงระดับที่สมองวิวัฒน์ตัวเอง(จะเกิดได้สี่ครั้ง แสงสว่างรุนแรงแว่บขึ้นในสมองจนสั่นสะเทือนไปทั้งตัว หรือสมุเฉกประหาร กลายเป็นอริยะ โสดา สกิธา อนาคา อรหันตผล) กลายเป็นอริยะบุคคล
แสดงความคิดเห็น
การเข้า ฌาน สามารถสร้างพลังจิตได้ไหมครับ และมี ฌาน ชั่วร้ายไหม
นอกจากนั้น ฌานมีกี่ระดับครับ แล้วระดับสูงๆเป็นยังไง แล้วการถึงฌาน มันสามารถทำเรื่องเหลือเชื่อได้ไหม (มองเป็นทฤษฎีน่ะครับ) เช่น อาจถอดร่าง ถอดจิต รู้อดีต อนาคต เห็นนิมิต ได้ยิน หรือดึงศักยภาพจากความสามารถตนเอง อะไรได้ไหม หากมองในแง่ ใช้กับวิถีโลกปัจจุบัน ที่แบบสามารถเฟดจิตตัวเองเข้าฌานได้ทันที
แล้วนอกจากนี้ หากฌาน จากที่ผมศึกษา ฟังดูเป็นด้านสว่าง แล้วมีฌานด้านมืดไหมครับ คนที่เอาฌานทำเรื่องชั่วร้าย สิ่งชั่วร้าย
ไม่รู้ ฌาน สามารถ Adapt ทำไป หรือ กลายไป ถึงสิ่งที่ผมพูดถึงได้ไหม แต่แค่อยากได้แนวทาง หรือทฤษฎีครับ ช่วยผมด้วยนะครับ กำลังเขียนหนังสือเรื่องราว fiction โดยมีเรื่อง ณานเป็นตัวตั้ง ครับ
ขอบคุณครับ