จากกระทู้ ไปฟังคำพิพากษากับผมมั๊ยครับ ?
http://ppantip.com/topic/33127192
ที่ผมเคยตั้งไว้จากข้อมูลของอาจารย์ สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ที่ทุกคนเห็นว่าการที่ศาลปกครองชั้นต้นได้พิพากษาให้ BTS
ไม่ต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
ให้กับคนพิการและคนที่เคลื่อนไหวไม่สะดวก เพราะการก่อสร้างเกิดก่อนที่จะมีกฎหมายออกมา
หลายๆ คน (รวมทั้งผมเองด้วย) ก็เห็นว่าผลคำพิพากษาจากศาลปกครองสูงสุด ก็คงไม่ต่างจากศาลชั้นต้น
แต่เมื่อวานนี้ สื่อมวลชนทุกแขนง ก็ออกข่าวที่ทำให้ประหลาดใจ
"ศาลปกครองสูงสุดสั่งให้ กทม.สร้างลิฟต์-ที่สำหรับรถเข็นคนพิการบนรถไฟฟ้า"
ก็เลยตามไปเอาข้อเขียนของ อาจารย์สุภรธรรม คนพิการผู้ยื่นฟ้อง กทม.และรถไฟฟ้า มาให้อ่านดู
ผมว่าพิมพ์เก็บไว้ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากครับ เพราะกรณีที่ คนธรรมดาใช้ทนายอาสา
จะฟ้องหน่วยงานรัฐที่ให้เอกชนถือสัมปทานมีทีมกฎหมายสนับสนุนแล้วผลที่ออกมาแบบนี้
ที่สำคัญเป็นการฟ้องเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของมหาชน ที่พึงมีพึงได้ ลองอ่านดูครับ
ศาลปกครองสร้างการปกครองที่เป็นธรรม
วันนี้ (๒๑ มกราคม ๒๕๕๘) เวลา ๑๓.๓๐ น.
"ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครดำเนินการติดตั้งลิฟท์
และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการตามที่กฎหมายกำหนด
ในสถานีรถไฟลอยฟ้า (BTS) ๒๓ สถานีที่ได้ก่อสร้างในระยะแรก
และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในรถคันที่ให้บริการด้วย
พร้อมทั้งสั่งให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
หรือบีทีเอสให้ความร่วมมือในการดำเนินการข้างต้นด้วย"
การสั่งดังกล่าวเกิดขึ้นสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๐
ผมและคณะได้ยื่นฟ้องต่อกรุงเทพมหานครและบีทีเอสฐานละเลยต่อการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
และผู้สูงอายุตามที่กฎหมายกำหนด ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๒
ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” ด้วยเห็นว่ากฎหมายว่าด้วยคนพิการซึ่งออกในปี พ.ศ. ๒๕๓๔
เป็นเพียงการบัญญัติถึงหลักการในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
แต่รายละเอียดเพิ่งกำหนดในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และ พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามลำดับ
กรุงเทพมหานครและบีทีเอสย่อมไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร
จึงไม่เป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
เราได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดในวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
วันนี้จึงเป็นระยะเวลาร่วม ๒๐ ปีที่เราเรียกร้องต่อ กทม. และบีทีเอส
แต่ก็ถูกเพิกเฉยมาโดยตลอด เป็นระยะร่วม ๘ ปีที่เราใช้สิทธิของประชาชนเรียกร้องความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง
ก่อนการตัดสินผมทำใจไว้แล้วว่าหากคดีแพ้ก็คงต้องหาทางอื่นสู้ต่อไป
จึงไม่รู้สึกตื่นเต้นหรือมีความหวังใดๆ ผิดจากการตัดสินครั้งแรก
และวันที่ยื่นอุทธรณ์ที่มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะได้รับชัยชนะ
ในห้องพิจารณาคดีถึงแม้ว่าจะเต็มไปด้วยเพื่อนๆ คนพิการ
และผู้มาให้กำลังใจกว่าร้อยคนพร้อมด้วยกองทัพนักข่าวแทบจะทุกสำนัก
แต่ผมก็รู้สึกเย็นยะเยือกและคิดว่าคงมีงานหนักที่เราจะต้องสู้กันต่อไป
ตุลาการศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาตามลำดับ
ผมต้องสะดุดกับบางถ้อยคำ... เอ๊ะ ใช่หรือนี่ ทำไมน้ำตาเรามันไหลออกมา
ผมดูดกลืนกลับเข้าไปในขณะที่ร่างกายรู้สึกอบอุ่นและเหมือนตัวลอยขึ้น
การตั้งประเด็นการต่อสู้ของทนายความน่าจะเข้าทางที่นำไปสู่คำตัดสิน
ไม่ว่าจะเป็นการระบุว่า “.... การถือเอาวันเริ่มต้นใช้บังคับตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าว
(รายละเอียดการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก) เพื่อปฏิเสธไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ
ทั้งๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ย่อมผิดจากหลักนิติธรรมและเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่ปราศจากความเมตตา ...”
รวมไปถึงการอ้างหลักสากล กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฯลฯ รวมทั้งข้อเท็จจริงง่ายๆ คือ
“...แม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่มิได้เป็นผู้คิดค้นระบบเดินรถไฟฟ้าด้วยตนเอง
หากแต่ได้เคยไปดูงานในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งทุกประเทศ
ที่มีรถไฟฟ้าจะจัดให้มีมาตรฐานด้านบริการสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม
หรือ Universal Design จึงถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้
ทั้งโดยหน้าที่และวิชาชีพเป็นอย่างดี...”
** พวกที่เอาเงินภาษีไปดูงาน ทำให้ได้อย่างนี้นะ (จคกท.) **
ทั้งนี้ระเบียบพิธีพิจารณาของศาลปกครองนั้นจะให้ความสำคัญต่อการบรรเทาปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน
โดยถือหลักธรรมาภิบาลและการคุ้มครองสิทธิ
ศาลได้ขมวดประเด็นตอนท้ายของการอ่านคำพิพากษาชี้ให้เห็นว่า กทม. และบีทีเอส
อยู่ในวิสัยที่สามารถจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการได้
อีกทั้งกฎหมายเกี่ยวกับคนพิการที่ออกมาก็ไม่ได้มีบทบัญญัติให้ว่าการให้สัมปทาน
หรือก่อสร้างหลังการประกาศใช้กฎหมายมีข้อยกเว้นหรือไม่
การที่กรุงเทพมหานครไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้องเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
พร้อมทั้งสั่งให้กรุงเทพมหานครต้อง
(๑) ติดตั้งลิฟท์ที่สถานีขนส่งทั้ง ๒๓ สถานี
ตามรายละเอียดที่ปรากฏในกฎกระทรวง
และระเบียบว่าด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
(๒) จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่สถานีขนส่งทั้ง ๒๓ สถานี
ตามรายละเอียดที่ปรากฏในกฎกระทรวงและระเบียบฯ
(๓) จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถไฟฟ้าตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและระเบียบฯ
ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี (วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙)
พร้อมทั้งให้บีทีเอสให้ความร่วมมือกับกทม. ในการดำเนินการดังกล่าว
ความรู้สึกของผมตอนนั้นตื้นตันใจและดีใจอย่างบอกไม่ถูก สิทธิคนพิการมีอยู่จริง
ศาลปกครองสามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้
การทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดสองทศวรรษไม่สูญเปล่า
สังคมไทยจะเป็นสังคมที่เคารพในสิทธิพลเมืองและมีความเป็นธรรม
ที่สำคัญที่สุดคนพิการที่ถูกจองจำไร้อิสรภาพด้วยสภาพแวดล้อมและการเดินทางที่ไม่เอื้ออำนวยความสะดวก
ต่อไปนี้อีกไม่นานคนพิการจะออกจากบ้านไปเรียนหนังสือ ไปทำงาน
และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเท่าเทียมกับทุกคนในสังคม
เป็นสังคมในอุดมคติที่น่าจะเกิดขึ้นจริงในระยะเวลาอีกไม่นานเกินรอ
ที่สำคัญที่สุดเราไม่ได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้เพียงเพราะเพื่อคนพิการเท่านั้น
แต่ขนส่งสาธารณะที่สะดวกปลอดภัยจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อทุกคนในสังคม
ทุกครอบครัวจะมีเด็ก สตรี สตรีมีครรภ์ พ่อแม่มีลูกเล็กในรถเข็น ผู้สูงอายุ คนพิการ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามงานสำคัญเพื่อ “ขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้” คงไม่จบลงเพียงเท่านี้
แต่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดจะเป็นจุดเริ่มต้นหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของการรณรงค์ภายใต้
สังคมที่มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ภาคีเครือข่ายพร้อมด้วยพี่น้องประชาชน
และสื่อมวลชนจักจะต้องผนึกกำลังเพื่อติดตามร่วมมือสนับสนุนให้แก่หน่วยงานของรัฐ
และเอกชนที่รับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
ผมขอกราบขอบพระคุณตุลาการศาลปกครองทุกท่านที่ได้ร่วมสร้างสังคมที่เป็นธรรม
ขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นกระบอกเสียง ขอบคุณภาคีเครือข่ายกลุ่มมนุษย์ล้อนานาชาติ
คณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค
สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการไทยและเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการทั่วประเทศ
องค์กรคนพิการสากลแห่งเอเซียแปซิฟิค สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยและสมาคมคนพิการแห่งชาติทุกสมาคม
สมาคมคนพิการจังหวัดนนทบุรี ผู้นำคนพิการ ผู้นำองค์กร คนพิการผู้รักความเป็นธรรม
เพื่อนนักธุรกิจ อาสาสมัคร นักสร้างสรรค์กิจกรรม และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมด
และสุดท้ายคือมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการที่เป็นกำลังสำคัญให้ผมเพื่อเพื่อนๆ
ร่วมอุดมการณ์ได้อุทิศแรงกายแรงใจอันเป็นประโยชน์สาธารณะเพื่อสังคมที่น่าอยู่ของเราทุกคน
นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์
๒๑ มกราคม ๒๕๕๘
ไปฟังคำพิพากษากับผมมั๊ยครับ ? ภาค 2 ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ แต่คือนิติธรรม อ่านเถอะครับมีประโยชน์มาก
ที่ผมเคยตั้งไว้จากข้อมูลของอาจารย์ สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ที่ทุกคนเห็นว่าการที่ศาลปกครองชั้นต้นได้พิพากษาให้ BTS
ไม่ต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
ให้กับคนพิการและคนที่เคลื่อนไหวไม่สะดวก เพราะการก่อสร้างเกิดก่อนที่จะมีกฎหมายออกมา
หลายๆ คน (รวมทั้งผมเองด้วย) ก็เห็นว่าผลคำพิพากษาจากศาลปกครองสูงสุด ก็คงไม่ต่างจากศาลชั้นต้น
แต่เมื่อวานนี้ สื่อมวลชนทุกแขนง ก็ออกข่าวที่ทำให้ประหลาดใจ
"ศาลปกครองสูงสุดสั่งให้ กทม.สร้างลิฟต์-ที่สำหรับรถเข็นคนพิการบนรถไฟฟ้า"
ก็เลยตามไปเอาข้อเขียนของ อาจารย์สุภรธรรม คนพิการผู้ยื่นฟ้อง กทม.และรถไฟฟ้า มาให้อ่านดู
ผมว่าพิมพ์เก็บไว้ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากครับ เพราะกรณีที่ คนธรรมดาใช้ทนายอาสา
จะฟ้องหน่วยงานรัฐที่ให้เอกชนถือสัมปทานมีทีมกฎหมายสนับสนุนแล้วผลที่ออกมาแบบนี้
ที่สำคัญเป็นการฟ้องเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของมหาชน ที่พึงมีพึงได้ ลองอ่านดูครับ
ศาลปกครองสร้างการปกครองที่เป็นธรรม
วันนี้ (๒๑ มกราคม ๒๕๕๘) เวลา ๑๓.๓๐ น.
"ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครดำเนินการติดตั้งลิฟท์
และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการตามที่กฎหมายกำหนด
ในสถานีรถไฟลอยฟ้า (BTS) ๒๓ สถานีที่ได้ก่อสร้างในระยะแรก
และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในรถคันที่ให้บริการด้วย
พร้อมทั้งสั่งให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
หรือบีทีเอสให้ความร่วมมือในการดำเนินการข้างต้นด้วย"
การสั่งดังกล่าวเกิดขึ้นสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๐
ผมและคณะได้ยื่นฟ้องต่อกรุงเทพมหานครและบีทีเอสฐานละเลยต่อการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
และผู้สูงอายุตามที่กฎหมายกำหนด ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๒
ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” ด้วยเห็นว่ากฎหมายว่าด้วยคนพิการซึ่งออกในปี พ.ศ. ๒๕๓๔
เป็นเพียงการบัญญัติถึงหลักการในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
แต่รายละเอียดเพิ่งกำหนดในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และ พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามลำดับ
กรุงเทพมหานครและบีทีเอสย่อมไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร
จึงไม่เป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
เราได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดในวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
วันนี้จึงเป็นระยะเวลาร่วม ๒๐ ปีที่เราเรียกร้องต่อ กทม. และบีทีเอส
แต่ก็ถูกเพิกเฉยมาโดยตลอด เป็นระยะร่วม ๘ ปีที่เราใช้สิทธิของประชาชนเรียกร้องความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง
ก่อนการตัดสินผมทำใจไว้แล้วว่าหากคดีแพ้ก็คงต้องหาทางอื่นสู้ต่อไป
จึงไม่รู้สึกตื่นเต้นหรือมีความหวังใดๆ ผิดจากการตัดสินครั้งแรก
และวันที่ยื่นอุทธรณ์ที่มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะได้รับชัยชนะ
ในห้องพิจารณาคดีถึงแม้ว่าจะเต็มไปด้วยเพื่อนๆ คนพิการ
และผู้มาให้กำลังใจกว่าร้อยคนพร้อมด้วยกองทัพนักข่าวแทบจะทุกสำนัก
แต่ผมก็รู้สึกเย็นยะเยือกและคิดว่าคงมีงานหนักที่เราจะต้องสู้กันต่อไป
ตุลาการศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาตามลำดับ
ผมต้องสะดุดกับบางถ้อยคำ... เอ๊ะ ใช่หรือนี่ ทำไมน้ำตาเรามันไหลออกมา
ผมดูดกลืนกลับเข้าไปในขณะที่ร่างกายรู้สึกอบอุ่นและเหมือนตัวลอยขึ้น
การตั้งประเด็นการต่อสู้ของทนายความน่าจะเข้าทางที่นำไปสู่คำตัดสิน
ไม่ว่าจะเป็นการระบุว่า “.... การถือเอาวันเริ่มต้นใช้บังคับตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าว
(รายละเอียดการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก) เพื่อปฏิเสธไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ
ทั้งๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ย่อมผิดจากหลักนิติธรรมและเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่ปราศจากความเมตตา ...”
รวมไปถึงการอ้างหลักสากล กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฯลฯ รวมทั้งข้อเท็จจริงง่ายๆ คือ
“...แม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่มิได้เป็นผู้คิดค้นระบบเดินรถไฟฟ้าด้วยตนเอง
หากแต่ได้เคยไปดูงานในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งทุกประเทศ
ที่มีรถไฟฟ้าจะจัดให้มีมาตรฐานด้านบริการสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม
หรือ Universal Design จึงถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้
ทั้งโดยหน้าที่และวิชาชีพเป็นอย่างดี...”
** พวกที่เอาเงินภาษีไปดูงาน ทำให้ได้อย่างนี้นะ (จคกท.) **
ทั้งนี้ระเบียบพิธีพิจารณาของศาลปกครองนั้นจะให้ความสำคัญต่อการบรรเทาปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน
โดยถือหลักธรรมาภิบาลและการคุ้มครองสิทธิ
ศาลได้ขมวดประเด็นตอนท้ายของการอ่านคำพิพากษาชี้ให้เห็นว่า กทม. และบีทีเอส
อยู่ในวิสัยที่สามารถจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการได้
อีกทั้งกฎหมายเกี่ยวกับคนพิการที่ออกมาก็ไม่ได้มีบทบัญญัติให้ว่าการให้สัมปทาน
หรือก่อสร้างหลังการประกาศใช้กฎหมายมีข้อยกเว้นหรือไม่
การที่กรุงเทพมหานครไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้องเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
พร้อมทั้งสั่งให้กรุงเทพมหานครต้อง
(๑) ติดตั้งลิฟท์ที่สถานีขนส่งทั้ง ๒๓ สถานี
ตามรายละเอียดที่ปรากฏในกฎกระทรวง
และระเบียบว่าด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
(๒) จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่สถานีขนส่งทั้ง ๒๓ สถานี
ตามรายละเอียดที่ปรากฏในกฎกระทรวงและระเบียบฯ
(๓) จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถไฟฟ้าตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและระเบียบฯ
ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี (วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙)
พร้อมทั้งให้บีทีเอสให้ความร่วมมือกับกทม. ในการดำเนินการดังกล่าว
ความรู้สึกของผมตอนนั้นตื้นตันใจและดีใจอย่างบอกไม่ถูก สิทธิคนพิการมีอยู่จริง
ศาลปกครองสามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้
การทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดสองทศวรรษไม่สูญเปล่า
สังคมไทยจะเป็นสังคมที่เคารพในสิทธิพลเมืองและมีความเป็นธรรม
ที่สำคัญที่สุดคนพิการที่ถูกจองจำไร้อิสรภาพด้วยสภาพแวดล้อมและการเดินทางที่ไม่เอื้ออำนวยความสะดวก
ต่อไปนี้อีกไม่นานคนพิการจะออกจากบ้านไปเรียนหนังสือ ไปทำงาน
และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเท่าเทียมกับทุกคนในสังคม
เป็นสังคมในอุดมคติที่น่าจะเกิดขึ้นจริงในระยะเวลาอีกไม่นานเกินรอ
ที่สำคัญที่สุดเราไม่ได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้เพียงเพราะเพื่อคนพิการเท่านั้น
แต่ขนส่งสาธารณะที่สะดวกปลอดภัยจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อทุกคนในสังคม
ทุกครอบครัวจะมีเด็ก สตรี สตรีมีครรภ์ พ่อแม่มีลูกเล็กในรถเข็น ผู้สูงอายุ คนพิการ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามงานสำคัญเพื่อ “ขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้” คงไม่จบลงเพียงเท่านี้
แต่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดจะเป็นจุดเริ่มต้นหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของการรณรงค์ภายใต้
สังคมที่มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ภาคีเครือข่ายพร้อมด้วยพี่น้องประชาชน
และสื่อมวลชนจักจะต้องผนึกกำลังเพื่อติดตามร่วมมือสนับสนุนให้แก่หน่วยงานของรัฐ
และเอกชนที่รับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
ผมขอกราบขอบพระคุณตุลาการศาลปกครองทุกท่านที่ได้ร่วมสร้างสังคมที่เป็นธรรม
ขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นกระบอกเสียง ขอบคุณภาคีเครือข่ายกลุ่มมนุษย์ล้อนานาชาติ
คณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค
สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการไทยและเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการทั่วประเทศ
องค์กรคนพิการสากลแห่งเอเซียแปซิฟิค สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยและสมาคมคนพิการแห่งชาติทุกสมาคม
สมาคมคนพิการจังหวัดนนทบุรี ผู้นำคนพิการ ผู้นำองค์กร คนพิการผู้รักความเป็นธรรม
เพื่อนนักธุรกิจ อาสาสมัคร นักสร้างสรรค์กิจกรรม และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมด
และสุดท้ายคือมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการที่เป็นกำลังสำคัญให้ผมเพื่อเพื่อนๆ
ร่วมอุดมการณ์ได้อุทิศแรงกายแรงใจอันเป็นประโยชน์สาธารณะเพื่อสังคมที่น่าอยู่ของเราทุกคน
นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์
๒๑ มกราคม ๒๕๕๘