ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืนยกฟ้อง 'บีทีเอส' เรียกค่าเสียหายประมูล 'สายสีส้ม'
วันที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. ศาลปกครองสูงสุด อ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยขอให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ชดใช้ค่าเสียหายจากกรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการดังกล่าว
ซึ่งคดีดังกล่าวศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯโครงการดังกล่าว ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการประกาศเชิญชวนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เหตุแห่งความเดือดร้อนหรือ ความเสียหายจากคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้จึงหมดสิ้นไปแล้ว จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีในข้อหา ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนฯที่แก้ไขเพิ่มเติม
ในส่วนค่าเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอตามคำฟ้องเพิ่มเติม ได้แก่ ค่าจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิค และ ที่ปรึกษาทางกฎหมายนั้น ศาลฯเห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการค้าตามปกติ ของผู้ฟ้องคดี เเละผู้ฟ้องคดีไม่ได้เเสดงให้ศาลเห็นว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกระทำการแก้ไขเพิ่มเติม และเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ดังกล่าว เมื่อค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิค และที่ปรึกษาทางกฎหมายของผู้ฟ้องคดีมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนฯของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง กรณี จึงไม่อาจถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้เเก่ผู้ฟ้องคดีได้
โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากเห็นว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการดังกล่าว ไม่ใช่การแก้ไขในหลักการสำคัญตามมติครม. จึงไม่ต้องเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกรอบ และการดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากเอกชนก่อนแต่อย่างใด ประกอบกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ใช้ดุลย พินิจโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 จึงไม่มีการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี และไม่จำเป็นต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ที่มา : แนวหน้า
https://www.facebook.com/photo?fbid=603322538476416&set=a.463924849082853
ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืนยกฟ้อง 'บีทีเอส' เรียกค่าเสียหายประมูล 'สายสีส้ม' โป๊ะแตกแล้ว “ชูวิทย์” รับงานใครมา?
วันที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. ศาลปกครองสูงสุด อ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยขอให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ชดใช้ค่าเสียหายจากกรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการดังกล่าว
ซึ่งคดีดังกล่าวศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯโครงการดังกล่าว ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการประกาศเชิญชวนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เหตุแห่งความเดือดร้อนหรือ ความเสียหายจากคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้จึงหมดสิ้นไปแล้ว จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีในข้อหา ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนฯที่แก้ไขเพิ่มเติม
ในส่วนค่าเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอตามคำฟ้องเพิ่มเติม ได้แก่ ค่าจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิค และ ที่ปรึกษาทางกฎหมายนั้น ศาลฯเห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการค้าตามปกติ ของผู้ฟ้องคดี เเละผู้ฟ้องคดีไม่ได้เเสดงให้ศาลเห็นว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกระทำการแก้ไขเพิ่มเติม และเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ดังกล่าว เมื่อค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิค และที่ปรึกษาทางกฎหมายของผู้ฟ้องคดีมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนฯของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง กรณี จึงไม่อาจถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้เเก่ผู้ฟ้องคดีได้
โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากเห็นว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการดังกล่าว ไม่ใช่การแก้ไขในหลักการสำคัญตามมติครม. จึงไม่ต้องเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกรอบ และการดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากเอกชนก่อนแต่อย่างใด ประกอบกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ใช้ดุลย พินิจโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 จึงไม่มีการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี และไม่จำเป็นต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ที่มา : แนวหน้า https://www.facebook.com/photo?fbid=603322538476416&set=a.463924849082853