ขออนุโมทนา blogger ท่านนี้ด้วยครับ
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/mettapc/2010/01/17/entry-1
พระพุทธเจ้า พระบรมครูผู้ยอดเยี่ยมของโลก
ตอนที่ 1
ลักษณะการสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 อย่าง
กล่าวตามแบบแผนทั่วไป การสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
ทรงสอนให้รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นนจริงได้และ
ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ
ในที่นี้ข้าพเจ้าประสงค์จะตั้งข้อสังเกตเป็นส่วนตนเองในการสอนของพระพุทธเจ้าโดยแบ่งหลักการสอนออกเป็น 3 ประการเหมือนกัน คือ
1. ทรงสั่งสอนโดยการปฏิวัติ เป็นการ “เปลี่ยน” หลักคำสอน ดั้งเดิมของศาสนาพื้นเมืองอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
2. ทรงสั่งสอนโดยการปฏิรูป เป็นการสอนโดยวิธีดัด “แปลง” ของเก่าที่ยังไม่ดีให้ดีขึ้นหรือของเก่ามีความหมายอย่างหนึ่งแต่นำมาแปลความหมายเสียใหม่เพื่อให้ตรงกับหลักเหตุผลยิ่งขึ้น
3. ทรงสั่งสอนโดยตั้งหลักขึ้นใหม่ ที่ยังไม่มีในที่อื่น แต่ก็เป็นไปตามหลักสัจธรรมที่ทรงค้นพบ
เพื่อที่จะขยายความแห่งหลักการสอน 3 ประการนี้ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสอธิบายไว้ในที่นี่สักน้อย
1. การสอนโดยวิธีปฏิวัติ นั้นหมายถึงการเปลี่ยนหลักการเดิมที่สอนกันมาทั้งหมด เช่น
การสอนให้ฆ่าสัตว์บูชายัญของศาสนาพราหมณ์พระพุทธเจ้าทรงปฎิเสธและสอนในทางตรงกันข้ามให้มีเมตตากรุณาต่อสัตว์แทน
การสอนให้ทรมานตนในการปฎิบัติเพื่อบรรลุคุณธรรมชั้นสูง พระพุทธเจ้าทรงทดลองมาแล้ว เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ ทรงสอนให้ใช้วิธีอื่นที่เรียกว่าทางสายกลางเป็นการอบรมกายวาจาใจในทางประพฤติปฎิบัติที่ชอบแทน
การสอนว่ามีอัตตาตัวตน หรือที่เรียกว่าอาตมันเป็นหลักใหญ่ในศาสนาพราหมณ์ ทรงสอนในทางตรงกันข้ามที่เรียกว่าอนัตตาเพื่อไม่ให้ยึดมั่นในตัวตนแทน
ในที่นี้ขอพูดแทรกเรื่องการปฎิวัติ(Revolution) สักเล็กน้อยคำนี้ใช้ใกล้กับคำว่า วิวัฒน์(Evolution)
ปฎิวัติหมายถึงการเปลี่ยนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
ส่วนวิวัฒน์หรือวิวัฒนาการหมายถึงความค่อยๆ เจริญขึ้นทั้งในทางธรรมชาติและความเป็นอยู่ของมนุษย์
การสอนศาสนาของพระพุทธเจ้าบางครั้งมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนหลักการที่สอนกันอยู่ดั้งเดิมอย่างตรงกันข้ามก็ต้องสอนในทำนองนี้ เพื่อจูงใจให้เข้าใจหลักที่แท้จริงทางพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
2. การสอนโดยวีธีปฎิรูป (Reform) คือดัดแปลงของเก่าให้ดีขึ้นโดยอธิบายความหมายใหม่บ้าง โดยให้เหตุผลใหม่บ้าง เช่น
คำสอนเรื่องพราหมณ์ ว่า ได้แก่ ผู้ประเสริฐโดยชาติกำเนิด คือ เกิดจากมารดาบิดาอยู่ในวรรณะพราหมณ์
พระพุทธเจ้าทรงอธิบายใหม่ว่า คนเราไม่เป็นพราหมณ์หรือผู้ประเสริฐเพราะชาติสกุล แต่เป็นผู้ประเสริฐ เพราะการกระทำหรือความประพฤติ
ศาสนาพราหมณ์สอนว่าให้ลงอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ แล้วจะบริสุทธิ์จากบาปได้
พระพุทธศาสนาสอนให้อาบน้ำในแม่น้ำคือศีล ได้แก่ ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันเป็นการอาบที่ตัวไม่เปียก แต่ทำให้บริสุทธิ์สะอาดได้ดีกว่าน้ำศักดิ์สิทธิ์ แม้น้ำดื่มในถ้วยก็เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว
เรื่องเทวดาจริงๆ ที่สอนกันอยู่ทั่วไป
พระพุทธศาสนาสอนว่า คนเราอาจเป็นเทวดาได้โดยตั้งอยู่ในคุณธรรม เช่น ความละอายแก่ใจ ความเกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น
3. การสั่งสอนโดยตั้งหลักขึ้นใหม่ เป็นสิ่งจำเป็น ในเมื่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นในท่ามกลางศาสนาอื่น ถ้าไม่มีอะไรเป็นของตนเองเลย ก็ไม่ควรนับเป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นใหม่ เพราะการค้นพบความจริงที่ยังไม่มีใครพบ
ดังจะเห็นได้ในเรื่องหลักธรรมเรื่องความพ้นทุกข์ที่เรียกว่าอริยสัจ 4 ประการ เป็นหลักธรรมที่ตั้งขึ้นใหม่อันแสดงไว้ชัดทั้งเหตุและผล คือการจะพ้นทุกข์ก็ต้องรู้ว่าอะไรเป็นตัวความทุกข์ อะไรเป็นต้นเหตุของมัน การดับความทุกข์ คือดับอะไร และทำอย่างไร หรือปฏิบัติอย่างไรจึงจะดับทุกข์ได้ และหลักธรรมเรื่องอริยสัจนี้
พระองค์ทรงแสดงว่าได้ปฏิบัติมาแล้วด้วยพระองค์เองจนเกิดผลแล้ว จึงได้ทรงนำมาสั่งสอน
ผู้แต่ง อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
จากหนังสือ ลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา
ที่มา : โอเคเนชัน/ลักษณะการสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 อย่าง
http://www.oknation.net/blog/SriNapa/2009/03/03/entry-1
...............................................
ตอนที่ 2
หลักในการสอนของพระพุทธองค์
กล่าวถึงการทรงแสดงธัมมจักกัปวัตนสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ โดยทรงเริ่มต้นด้วยเรื่องสุดโต่ง เป็นที่สุดสองอย่าง และ เสนอทางใหม่คือ มัชฌิมาปฏิปทา เป็นการกระทบตรงความในใจของท่านเหล่านั้น และท่านเหล่านั้นก็รู้ว่าพระองค์ทรงมีความเพียรอย่างยากยิ่งยวดมากขนาดไหน พระองค์มีความจริงใจที่พวกท่านเหล่านั้นได้ประจักษ์อยู่แน่แท้
วิธีที่พระองค์ทรงเลือกอธิบายนั้นตรงจิตตรงใจ ตรงจุดไปสู่เรื่องพ้นทุกข์อันเป็นจุดเป้าหมายของพวกท่านเหล่านั้นซึ่งพระพุทธองค์ทรงทราบชัดอยู่แล้ว
ขอยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งของพระพุทธองค์เกี่ยวกับการแสดงธรรม มาแสดง ดังนี้ :-
"อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่าง ไว้ในใจคือ :-
1. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
2. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
3. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
4. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
5. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก ๒๒/๑๕๙)"
และที่สำคัญ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงเยินยอ เว้าวอน ก้าวร้าว ต่อว่า หรือบังคับให้เชื่อ แต่ทรงเลือกอธิบายเป็นเหตุเป็นผล มีแต่ความจริงเป็นขั้นตอนต่อเนื่องไป จนทั้ง 5 ท่านเกิดเข้าใจบรรลุโสดาบันและเลื่อมใสขอบวชเป็นสาวกในพระองค์
นับว่าพระพุทธองค์ทรงประกอบปัจจัยพร้อมเป็นพระบรมศาสดาครบทุกประการ คือพระองค์ทรงมี
คุณสมบัติขององค์เองพร้อม
มีเนื้อหาที่จะสอนพร้อม
มีวิธีสอนที่ดีพร้อม
และ มีผู้เรียนพร้อม
..............ครบถ้วนบริบูรณ์ ณ วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 นั้นเอง
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกรณีปัญจวัคคีย์ภิกขุจึงสำคัญดังนี้แล.
ผู้เรียบเรียง บล็อกเกอร์ ni_gul
ที่มา : โอเคเนชัน/ความสำคัญของปัญจวัคคีย์ภิกขุ และวันอาสาฬหบูชา
http://www.oknation.net/blog/mettapc/2009/07/05/entry-4
........................................
ตอนที่ 3
เหตุผลในการที่มิได้ทรงสอนทั้งหมดเท่าที่ตรัสรู้
เพียงเพื่อยังประโยชน์สุขแก่ผู้เรียน
เหตุต่างๆ ดังนี้เองที่เหล่าพุทธศาสนิก หรือแม้แต่ผู้ใฝ่การศึกษาหาความรู้จะหลีกเลี่ยงไม่พยายามทำความเข้าใจในคำสอนของพระองค์ก็คงจะน่าเสียดาย
พระพุทธเจ้าทรงได้รับขนานนามจากปราชญ์ทั้งหลายว่า เป็น พระบรมศาสดา หรือ พระบรมครู ซึ่งแปลว่า พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม หรือ ผู้เป็นยอดของครู
มองดูจากเหตุผลง่ายๆ จะเห็นว่า
ทรงอุบัติมาท่ามกลางชมพูทวีปในยุคที่มีมวลหมู่ศาสดาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆ และปวงนักคิด ที่มีความรู้เก่งกล้าต่างๆ ทั้งมีลูกศิษย์สาวกมากมาย ล้วนเข้ามาท้าทาย ลองภูมิ มาข่ม มาปราบ แต่ พระพุทธเจ้าก็สามารถสอนสาวก แผ่ขยายคำสอน และดำรงศาสนาของพระองค์ให้เผยแพร่ต่อไปได้ดังเป็นที่ปรากฏ
คำสอนของพระองค์ก็ขัดแย้งกับคำสอนในศาสนาเดิม เช่น เรื่องวรรณะ เรื่องกรรม เรื่องความไม่มีตัวตน ฯ ทั้งยังจัดตั้งระบบคำสอน และความเชื่อถือใหม่แก่สังคมได้ เรียกว่าปฏิรูปความคิดแบบ พลิก แทบหมดสิ้นเลยก็ว่าได้
ขอบเขตคำสอนล้วนกว้างขวาง ใช้ได้ทุกระดับชน ทุกระดับความรู้ความเชื่อ ทุกแบบทุกชนิด ทรงสอนได้ทั้งสิ้น จนคนเหล่านั้นยอมเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า นับแต่กษัตริย์ลงมาทีเดียว
พระพุทธศาสนาที่เจริญมาตลอดทุกกาลสมัย แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศ หลากผิวพรรณ เป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าเป็นที่ประจักษ์ชัด
(เรียบเรียงจาก หน้า 177-179 หนังสือเล่มเดียวกันกับที่จะนำมาเล่าต่อไป)
เหตุต่างๆ ดังนี้เองที่เหล่าพุทธศาสนิก หรือแม้แต่ผู้ใฝ่การศึกษาหาความรู้จะหลีกเลี่ยงไม่พยายามทำความเข้าใจในคำสอนของพระองค์ก็คงจะน่าเสียดาย
มีความตอนหนึ่งที่อยากจะนำมาบอกเล่า ไว้เป็นหลักที่เราในฐานะบล็อกเกอร์จะใช้พิจารณาในการบอกข่าวเล่าเรื่อง หรือแม้แต่ใช้พิจารณาดู รับรู้ข่าวสาร จากผู้อื่น
จากหน้า 210-211 ในหนังสือชื่อ
"รู้หลักก่อน แล้วศึกษา และ สอนให้ได้ผล" ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ISBN 9 789743 890987 สำนักพิมพ์ธรรมสภา พ.ศ. 2551, 278 หน้า .
กล่าวถึงพระพุทธเจ้า เมื่อประทับอยู่ในป่าประดู่ลายใกล้เมืองโกสัมพี ได้หยิบใบไม้ประดู่ลายเล็กน้อยใส่กำพระหัตถ์ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ใบประดู่ลายในพระหัตถ์ กับ ในป่า ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ในป่ามากกว่า จึงตรัสว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้แต่มิได้ทรงสอน เหมือนใบประดู่ลายในป่า ส่วนที่ทรงสั่งสอน น้อยเหมือนใบประดู่ลายในพระหัตถ์
และตรัสแสดงเหตุผลในการที่มิได้ทรงสอนทั้งหมดเท่าที่ตรัสรู้ว่า เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นประโยชน์ มิใช่หลักการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ ไม่ช่วยให้เกิดความรู้ถูกต้องที่จะนำไปสู่จุดหมาย คือ นิพพานได้
พระองค์ทรงมีพระเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจา ตามหลัก 6 ประการ คือ :-
คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น- เลือกกาลตรัส
คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส *
ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ คือ ทรงเป็น
กาลวาที
สัจจวาที
ภูตวาที
อัตถวาที
ธรรมวาที
วินัยวาที
*ม.ม. ๑๓/๙๔; เทียบ ที.ปา ๑๑/๑๑๙
ผู้เรียบเรียง บล็อกเกอร์ ni_gul
ที่มา : โอเคเนชัน/พุทธพจน์-หลักในการกล่าววาจาอันก่อประโยชน์
http://www.oknation.net/blog/mettapc/2009/07/02/entry-2
พระพุทธเจ้า พระบรมครูผู้ยอดเยี่ยมของโลก
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/mettapc/2010/01/17/entry-1
พระพุทธเจ้า พระบรมครูผู้ยอดเยี่ยมของโลก
ตอนที่ 1
ลักษณะการสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 อย่าง
กล่าวตามแบบแผนทั่วไป การสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
ทรงสอนให้รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นนจริงได้และ
ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ
ในที่นี้ข้าพเจ้าประสงค์จะตั้งข้อสังเกตเป็นส่วนตนเองในการสอนของพระพุทธเจ้าโดยแบ่งหลักการสอนออกเป็น 3 ประการเหมือนกัน คือ
1. ทรงสั่งสอนโดยการปฏิวัติ เป็นการ “เปลี่ยน” หลักคำสอน ดั้งเดิมของศาสนาพื้นเมืองอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
2. ทรงสั่งสอนโดยการปฏิรูป เป็นการสอนโดยวิธีดัด “แปลง” ของเก่าที่ยังไม่ดีให้ดีขึ้นหรือของเก่ามีความหมายอย่างหนึ่งแต่นำมาแปลความหมายเสียใหม่เพื่อให้ตรงกับหลักเหตุผลยิ่งขึ้น
3. ทรงสั่งสอนโดยตั้งหลักขึ้นใหม่ ที่ยังไม่มีในที่อื่น แต่ก็เป็นไปตามหลักสัจธรรมที่ทรงค้นพบ
เพื่อที่จะขยายความแห่งหลักการสอน 3 ประการนี้ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสอธิบายไว้ในที่นี่สักน้อย
1. การสอนโดยวิธีปฏิวัติ นั้นหมายถึงการเปลี่ยนหลักการเดิมที่สอนกันมาทั้งหมด เช่น
การสอนให้ฆ่าสัตว์บูชายัญของศาสนาพราหมณ์พระพุทธเจ้าทรงปฎิเสธและสอนในทางตรงกันข้ามให้มีเมตตากรุณาต่อสัตว์แทน
การสอนให้ทรมานตนในการปฎิบัติเพื่อบรรลุคุณธรรมชั้นสูง พระพุทธเจ้าทรงทดลองมาแล้ว เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ ทรงสอนให้ใช้วิธีอื่นที่เรียกว่าทางสายกลางเป็นการอบรมกายวาจาใจในทางประพฤติปฎิบัติที่ชอบแทน
การสอนว่ามีอัตตาตัวตน หรือที่เรียกว่าอาตมันเป็นหลักใหญ่ในศาสนาพราหมณ์ ทรงสอนในทางตรงกันข้ามที่เรียกว่าอนัตตาเพื่อไม่ให้ยึดมั่นในตัวตนแทน
ในที่นี้ขอพูดแทรกเรื่องการปฎิวัติ(Revolution) สักเล็กน้อยคำนี้ใช้ใกล้กับคำว่า วิวัฒน์(Evolution)
ปฎิวัติหมายถึงการเปลี่ยนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
ส่วนวิวัฒน์หรือวิวัฒนาการหมายถึงความค่อยๆ เจริญขึ้นทั้งในทางธรรมชาติและความเป็นอยู่ของมนุษย์
การสอนศาสนาของพระพุทธเจ้าบางครั้งมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนหลักการที่สอนกันอยู่ดั้งเดิมอย่างตรงกันข้ามก็ต้องสอนในทำนองนี้ เพื่อจูงใจให้เข้าใจหลักที่แท้จริงทางพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
2. การสอนโดยวีธีปฎิรูป (Reform) คือดัดแปลงของเก่าให้ดีขึ้นโดยอธิบายความหมายใหม่บ้าง โดยให้เหตุผลใหม่บ้าง เช่น
คำสอนเรื่องพราหมณ์ ว่า ได้แก่ ผู้ประเสริฐโดยชาติกำเนิด คือ เกิดจากมารดาบิดาอยู่ในวรรณะพราหมณ์
พระพุทธเจ้าทรงอธิบายใหม่ว่า คนเราไม่เป็นพราหมณ์หรือผู้ประเสริฐเพราะชาติสกุล แต่เป็นผู้ประเสริฐ เพราะการกระทำหรือความประพฤติ
ศาสนาพราหมณ์สอนว่าให้ลงอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ แล้วจะบริสุทธิ์จากบาปได้
พระพุทธศาสนาสอนให้อาบน้ำในแม่น้ำคือศีล ได้แก่ ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันเป็นการอาบที่ตัวไม่เปียก แต่ทำให้บริสุทธิ์สะอาดได้ดีกว่าน้ำศักดิ์สิทธิ์ แม้น้ำดื่มในถ้วยก็เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว
เรื่องเทวดาจริงๆ ที่สอนกันอยู่ทั่วไป
พระพุทธศาสนาสอนว่า คนเราอาจเป็นเทวดาได้โดยตั้งอยู่ในคุณธรรม เช่น ความละอายแก่ใจ ความเกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น
3. การสั่งสอนโดยตั้งหลักขึ้นใหม่ เป็นสิ่งจำเป็น ในเมื่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นในท่ามกลางศาสนาอื่น ถ้าไม่มีอะไรเป็นของตนเองเลย ก็ไม่ควรนับเป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นใหม่ เพราะการค้นพบความจริงที่ยังไม่มีใครพบ
ดังจะเห็นได้ในเรื่องหลักธรรมเรื่องความพ้นทุกข์ที่เรียกว่าอริยสัจ 4 ประการ เป็นหลักธรรมที่ตั้งขึ้นใหม่อันแสดงไว้ชัดทั้งเหตุและผล คือการจะพ้นทุกข์ก็ต้องรู้ว่าอะไรเป็นตัวความทุกข์ อะไรเป็นต้นเหตุของมัน การดับความทุกข์ คือดับอะไร และทำอย่างไร หรือปฏิบัติอย่างไรจึงจะดับทุกข์ได้ และหลักธรรมเรื่องอริยสัจนี้
พระองค์ทรงแสดงว่าได้ปฏิบัติมาแล้วด้วยพระองค์เองจนเกิดผลแล้ว จึงได้ทรงนำมาสั่งสอน
ผู้แต่ง อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
จากหนังสือ ลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา
ที่มา : โอเคเนชัน/ลักษณะการสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 อย่าง
http://www.oknation.net/blog/SriNapa/2009/03/03/entry-1
...............................................
ตอนที่ 2
หลักในการสอนของพระพุทธองค์
กล่าวถึงการทรงแสดงธัมมจักกัปวัตนสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ โดยทรงเริ่มต้นด้วยเรื่องสุดโต่ง เป็นที่สุดสองอย่าง และ เสนอทางใหม่คือ มัชฌิมาปฏิปทา เป็นการกระทบตรงความในใจของท่านเหล่านั้น และท่านเหล่านั้นก็รู้ว่าพระองค์ทรงมีความเพียรอย่างยากยิ่งยวดมากขนาดไหน พระองค์มีความจริงใจที่พวกท่านเหล่านั้นได้ประจักษ์อยู่แน่แท้
วิธีที่พระองค์ทรงเลือกอธิบายนั้นตรงจิตตรงใจ ตรงจุดไปสู่เรื่องพ้นทุกข์อันเป็นจุดเป้าหมายของพวกท่านเหล่านั้นซึ่งพระพุทธองค์ทรงทราบชัดอยู่แล้ว
ขอยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งของพระพุทธองค์เกี่ยวกับการแสดงธรรม มาแสดง ดังนี้ :-
"อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่าง ไว้ในใจคือ :-
1. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
2. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
3. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
4. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
5. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก ๒๒/๑๕๙)"
และที่สำคัญ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงเยินยอ เว้าวอน ก้าวร้าว ต่อว่า หรือบังคับให้เชื่อ แต่ทรงเลือกอธิบายเป็นเหตุเป็นผล มีแต่ความจริงเป็นขั้นตอนต่อเนื่องไป จนทั้ง 5 ท่านเกิดเข้าใจบรรลุโสดาบันและเลื่อมใสขอบวชเป็นสาวกในพระองค์
นับว่าพระพุทธองค์ทรงประกอบปัจจัยพร้อมเป็นพระบรมศาสดาครบทุกประการ คือพระองค์ทรงมี
คุณสมบัติขององค์เองพร้อม
มีเนื้อหาที่จะสอนพร้อม
มีวิธีสอนที่ดีพร้อม
และ มีผู้เรียนพร้อม
..............ครบถ้วนบริบูรณ์ ณ วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 นั้นเอง
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกรณีปัญจวัคคีย์ภิกขุจึงสำคัญดังนี้แล.
ผู้เรียบเรียง บล็อกเกอร์ ni_gul
ที่มา : โอเคเนชัน/ความสำคัญของปัญจวัคคีย์ภิกขุ และวันอาสาฬหบูชา
http://www.oknation.net/blog/mettapc/2009/07/05/entry-4
........................................
ตอนที่ 3
เหตุผลในการที่มิได้ทรงสอนทั้งหมดเท่าที่ตรัสรู้
เพียงเพื่อยังประโยชน์สุขแก่ผู้เรียน
เหตุต่างๆ ดังนี้เองที่เหล่าพุทธศาสนิก หรือแม้แต่ผู้ใฝ่การศึกษาหาความรู้จะหลีกเลี่ยงไม่พยายามทำความเข้าใจในคำสอนของพระองค์ก็คงจะน่าเสียดาย
พระพุทธเจ้าทรงได้รับขนานนามจากปราชญ์ทั้งหลายว่า เป็น พระบรมศาสดา หรือ พระบรมครู ซึ่งแปลว่า พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม หรือ ผู้เป็นยอดของครู
มองดูจากเหตุผลง่ายๆ จะเห็นว่า
ทรงอุบัติมาท่ามกลางชมพูทวีปในยุคที่มีมวลหมู่ศาสดาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆ และปวงนักคิด ที่มีความรู้เก่งกล้าต่างๆ ทั้งมีลูกศิษย์สาวกมากมาย ล้วนเข้ามาท้าทาย ลองภูมิ มาข่ม มาปราบ แต่ พระพุทธเจ้าก็สามารถสอนสาวก แผ่ขยายคำสอน และดำรงศาสนาของพระองค์ให้เผยแพร่ต่อไปได้ดังเป็นที่ปรากฏ
คำสอนของพระองค์ก็ขัดแย้งกับคำสอนในศาสนาเดิม เช่น เรื่องวรรณะ เรื่องกรรม เรื่องความไม่มีตัวตน ฯ ทั้งยังจัดตั้งระบบคำสอน และความเชื่อถือใหม่แก่สังคมได้ เรียกว่าปฏิรูปความคิดแบบ พลิก แทบหมดสิ้นเลยก็ว่าได้
ขอบเขตคำสอนล้วนกว้างขวาง ใช้ได้ทุกระดับชน ทุกระดับความรู้ความเชื่อ ทุกแบบทุกชนิด ทรงสอนได้ทั้งสิ้น จนคนเหล่านั้นยอมเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า นับแต่กษัตริย์ลงมาทีเดียว
พระพุทธศาสนาที่เจริญมาตลอดทุกกาลสมัย แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศ หลากผิวพรรณ เป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าเป็นที่ประจักษ์ชัด
(เรียบเรียงจาก หน้า 177-179 หนังสือเล่มเดียวกันกับที่จะนำมาเล่าต่อไป)
เหตุต่างๆ ดังนี้เองที่เหล่าพุทธศาสนิก หรือแม้แต่ผู้ใฝ่การศึกษาหาความรู้จะหลีกเลี่ยงไม่พยายามทำความเข้าใจในคำสอนของพระองค์ก็คงจะน่าเสียดาย
มีความตอนหนึ่งที่อยากจะนำมาบอกเล่า ไว้เป็นหลักที่เราในฐานะบล็อกเกอร์จะใช้พิจารณาในการบอกข่าวเล่าเรื่อง หรือแม้แต่ใช้พิจารณาดู รับรู้ข่าวสาร จากผู้อื่น
จากหน้า 210-211 ในหนังสือชื่อ
"รู้หลักก่อน แล้วศึกษา และ สอนให้ได้ผล" ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ISBN 9 789743 890987 สำนักพิมพ์ธรรมสภา พ.ศ. 2551, 278 หน้า .
กล่าวถึงพระพุทธเจ้า เมื่อประทับอยู่ในป่าประดู่ลายใกล้เมืองโกสัมพี ได้หยิบใบไม้ประดู่ลายเล็กน้อยใส่กำพระหัตถ์ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ใบประดู่ลายในพระหัตถ์ กับ ในป่า ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ในป่ามากกว่า จึงตรัสว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้แต่มิได้ทรงสอน เหมือนใบประดู่ลายในป่า ส่วนที่ทรงสั่งสอน น้อยเหมือนใบประดู่ลายในพระหัตถ์
และตรัสแสดงเหตุผลในการที่มิได้ทรงสอนทั้งหมดเท่าที่ตรัสรู้ว่า เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นประโยชน์ มิใช่หลักการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ ไม่ช่วยให้เกิดความรู้ถูกต้องที่จะนำไปสู่จุดหมาย คือ นิพพานได้
พระองค์ทรงมีพระเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจา ตามหลัก 6 ประการ คือ :-
คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น- เลือกกาลตรัส
คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส *
ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ คือ ทรงเป็น
กาลวาที
สัจจวาที
ภูตวาที
อัตถวาที
ธรรมวาที
วินัยวาที
*ม.ม. ๑๓/๙๔; เทียบ ที.ปา ๑๑/๑๑๙
ผู้เรียบเรียง บล็อกเกอร์ ni_gul
ที่มา : โอเคเนชัน/พุทธพจน์-หลักในการกล่าววาจาอันก่อประโยชน์
http://www.oknation.net/blog/mettapc/2009/07/02/entry-2