สมัยกระผมอยู่ไกลบ้าน ค้นสูตรแกงกะหรี่แล้วไปเจอสูตรนี้
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2010/11/D9939900/D9939900.html ทำให้ติดใจเพราะเข้มข้นกว่าของญี่ปุ่นที่กินๆกันในไทยมาก ขอขอบคุณเจ้าของสูตรครับ ตอนนั้นอยู่ญี่ปุ่นแต่พกผงกะหรี่จากร้านมุสลิมไปผสมกับของญี่ปุ่น ทำกินบ่อยๆ อร่อยมากๆครับ เมื่อเร็วๆนี้ค้นอีกที ทำให้เจอกับคำถามชวนคิดในกูเกิ้ลว่า เรียกแกงกะ หรี่ ทำให้รู้สึกไม่ดี
ทำไมถึงเรียกว่าแกงกะหรี่?
(อนึ่งเคยท่านอาจารย์ คมกริช อุ่ยเต็กเค่ง ที่ไม่ได้ทำครัวกากๆแล้ว เคยโพสต์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ตอนอ.ไปอินเดีย ผมเลยลองค้นเพิ่มดูจากตรงนั้นนะครับ)
ผมมีข้อสมมติฐานตามนี้ครับ
ข้อแรก ไม่ใช่คำเดียวกับ คำเรียก ผู้ขายบริการ กะ ห รี่ อันนั้นมีที่มาจากคำอื่น จะขอละที่มาไว้นะครับ
ข้อสอง คำว่าก ะ ห รี่ ของแกง ก ะ ห รี่ นั้น น่าจะมาจากอินเดียใต้และแถวๆ ศรีลังกาครับ ผง ก ะ ห รี่. จากภาษาทมิฬ கறி กรี̱ ว่า น้ำข้น, (อ้างอิง ๑)
ข้อสาม ชาวโปรตุเกสได้พิมพ์สูตรผง ก ะ ห รี่ ตามด้วย อังกฤษที่แพร่วิธีทำแบบ ผงก ะ ห รี่ กับ สตูว์ curry ภาษาอังกฤษ จึงไปถึง ภาษาญี่ปุ่น (อ้างอิง ๓)
เราจะรู้ว่ามีการค้าขายทางเรือในสมัยโบราณ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ศาสนา ทั้ง พุทธและ มุสลิม การแพร่วัฒนธรรม อาหาร จึงน่าจะติดมาด้วยจากเส้นทางนี้และมาในรูปของ ศัพท์ ตรงตัวเลย และคาดว่าสูตรก็รับมาตรงๆด้วยครับ
แกง ก ะ ห รี่ ญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์ต่างกัน โดยรับผ่านทางอังกฤษสมัยเมจิ (ประมาณรัชกาลที่ห้า) และจะมีขายตามร้านอาหารตะวันตกเท่านั้น (อ้างอิง ๒)
แกง ก ะ ห รี่ แบบอังกฤษ จะใช้เทคนิคของสตูว์ (อ้างอิง ๒) ทำให้รสและเนื้อสัมผัส ต่างจาก แบบอินเดีย
หากไปร้านอาหารอินเดีย จะเจอแต่ ติกกะ มะซะลา, โกรมา(ไทยออกเสียง แกงกุรุหม่า) ฯลฯ แต่จะไม่เจอ แกง ก ะ ห รี่
เพราะเป็นภาษาทมิฬ ไว้เรียก น้ำข้น ซึ่งอาจจะเป็นแกงแบบ แกง ก ะ ห รี่ ไทย หรือ ข้นถึงระดับที่ภาษาอังกฤษเรียกว่าซอส
ข้อคิดเห็นส่วนตัว
ฉะนั้น แกง ก ะ ห รี่ จึงเป็นความภูมิใจในรากเหง้าของไทยที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่
รับมาจากต่างชาติ, ตกทอด, ผ่านการ
พัฒนาและปรับปรุงโดยคนไทย ผ่านกาลเวลา จนกลายเป็น
อาหารไทยที่สามารถพูดได้เต็มปาก ทั้งแกง ก ะ ห รี่ ไทย, แกงเขียวหวาน, มัสหมั่น ที่ประทับใจทั้งคนไทยและต่างชาติ
การสืบทอดความเป็นไทย นอกจากใส่ชุดไทย รำไทย ไหว้ ทำตามสิ่งเก่าๆแล้ว ยังต้องมีการรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา แล้วปรับ เสริม เปลี่ยน ลดทอน ให้ถูกกับรสนิยมคนไทย กลายเป็นความเป็นไทยไปในที่สุด
อ้างอิง
๑ th wiktionary org/ wiki/ ก ะ ห รี่
๒ en wikipedia org/ wiki/ Japanese_curry
๓ www bbc co uk/ food/ 0/ 24432750
ทำไมถึงเรียกว่าแกงกะหรี่ (กระทู้ชวนคิด)
ทำไมถึงเรียกว่าแกงกะหรี่?
(อนึ่งเคยท่านอาจารย์ คมกริช อุ่ยเต็กเค่ง ที่ไม่ได้ทำครัวกากๆแล้ว เคยโพสต์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ตอนอ.ไปอินเดีย ผมเลยลองค้นเพิ่มดูจากตรงนั้นนะครับ)
ผมมีข้อสมมติฐานตามนี้ครับ
ข้อแรก ไม่ใช่คำเดียวกับ คำเรียก ผู้ขายบริการ กะ ห รี่ อันนั้นมีที่มาจากคำอื่น จะขอละที่มาไว้นะครับ
ข้อสอง คำว่าก ะ ห รี่ ของแกง ก ะ ห รี่ นั้น น่าจะมาจากอินเดียใต้และแถวๆ ศรีลังกาครับ ผง ก ะ ห รี่. จากภาษาทมิฬ கறி กรี̱ ว่า น้ำข้น, (อ้างอิง ๑)
ข้อสาม ชาวโปรตุเกสได้พิมพ์สูตรผง ก ะ ห รี่ ตามด้วย อังกฤษที่แพร่วิธีทำแบบ ผงก ะ ห รี่ กับ สตูว์ curry ภาษาอังกฤษ จึงไปถึง ภาษาญี่ปุ่น (อ้างอิง ๓)
เราจะรู้ว่ามีการค้าขายทางเรือในสมัยโบราณ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ศาสนา ทั้ง พุทธและ มุสลิม การแพร่วัฒนธรรม อาหาร จึงน่าจะติดมาด้วยจากเส้นทางนี้และมาในรูปของ ศัพท์ ตรงตัวเลย และคาดว่าสูตรก็รับมาตรงๆด้วยครับ
แกง ก ะ ห รี่ ญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์ต่างกัน โดยรับผ่านทางอังกฤษสมัยเมจิ (ประมาณรัชกาลที่ห้า) และจะมีขายตามร้านอาหารตะวันตกเท่านั้น (อ้างอิง ๒)
แกง ก ะ ห รี่ แบบอังกฤษ จะใช้เทคนิคของสตูว์ (อ้างอิง ๒) ทำให้รสและเนื้อสัมผัส ต่างจาก แบบอินเดีย
หากไปร้านอาหารอินเดีย จะเจอแต่ ติกกะ มะซะลา, โกรมา(ไทยออกเสียง แกงกุรุหม่า) ฯลฯ แต่จะไม่เจอ แกง ก ะ ห รี่
เพราะเป็นภาษาทมิฬ ไว้เรียก น้ำข้น ซึ่งอาจจะเป็นแกงแบบ แกง ก ะ ห รี่ ไทย หรือ ข้นถึงระดับที่ภาษาอังกฤษเรียกว่าซอส
ข้อคิดเห็นส่วนตัว
ฉะนั้น แกง ก ะ ห รี่ จึงเป็นความภูมิใจในรากเหง้าของไทยที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่ รับมาจากต่างชาติ, ตกทอด, ผ่านการพัฒนาและปรับปรุงโดยคนไทย ผ่านกาลเวลา จนกลายเป็น อาหารไทยที่สามารถพูดได้เต็มปาก ทั้งแกง ก ะ ห รี่ ไทย, แกงเขียวหวาน, มัสหมั่น ที่ประทับใจทั้งคนไทยและต่างชาติ
การสืบทอดความเป็นไทย นอกจากใส่ชุดไทย รำไทย ไหว้ ทำตามสิ่งเก่าๆแล้ว ยังต้องมีการรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา แล้วปรับ เสริม เปลี่ยน ลดทอน ให้ถูกกับรสนิยมคนไทย กลายเป็นความเป็นไทยไปในที่สุด
อ้างอิง
๑ th wiktionary org/ wiki/ ก ะ ห รี่
๒ en wikipedia org/ wiki/ Japanese_curry
๓ www bbc co uk/ food/ 0/ 24432750