สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องมารบกวนสอบถามความคิดเห็นของคนpantip ในฐานะที่เป็นตัวแทนของคนไทยส่วนหนึ่ง
ในเรื่องของระบบสาธารณสุข และการส่งต่อคนไข้(refer)
เรื่องมีอยู่ว่ามีคนไข้มารักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งหนึ่งด้วยเรื่องมีก้อนที่ใต้ลิ้นขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นมา 3 เดือน แพทย์ก็ได้ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ผลชิ้นเนื้อออกมาเป็นมะเร็ง ก็ได้แนะนำคนไข้ให้ไปฉายแสงที่ศูนย์มะเร็ง แต่คนไข้ไม่ได้ไปฉายแสง และไม่ได้มาติดตามการรักษาอีก
ต่อมาอีก 3 เดือน คนไข้กลับมาโรงพยาบาลเดิมอีกครั้ง เนื่องจากก้อนใหญ่มากขึ้น ประมาณ 4 เซนติเมตร กินส่วนของลิ้นและกระดูกขากรรไกรด้านหน้า ได้พบแพทย์อีกท่านหนึ่ง ได้แนะนำวิธีการรักษา ให้คนไข้เลือก 3 ทาง
1 ผ่าตัดเอาลิ้นและเนื้อส่วนใต้ลิ้นออก ร่วมกับการฉายแสง โอกาสหายประมาณ 40-50%
2 ฉายแสงแบบประคับประคองอาการ ตัวโรคมะเร็งไม่หาย เพียงแต่ยืดระยะเวลาออกไป
3 รักษาแบบประคับประคองอาการ ไม่ต้องเจ็บตัวผ่าตัด ไม่ต้องฉายแสง รักษาตามอาการ แต่ตัวโรคไม่หาย ตัวก้อนมะเร็งจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดจะเสียชีวิต
คนไข้และญาติเลือกวิธีฉายแสงแบบประคับประคองอาการ แพทย์ท่านนั้นจึงส่งคนไข้ไปฉายแสงที่ศูนย์มะเร็ง แต่คนไข้ไม่ได้ไป และไม่ได้มาติดตามอาการอีก
3 เดือนต่อมา ญาติถือหนังสือบันทึกข้อความจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมายื่นให้แพทย์ที่โรงพยาบาลเดิม หนังสือระบุว่าคนไข้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งนั้นด้วยเรื่องก้อนใต้ลิ้น โดยใช้สิทธิ์จ่ายเงินเอง ทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงสัยว่าน่าจะเป็นมะเร็ง จึงวางแผนจะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แต่เนื่องจากเป็นหัตถการที่มีค่าใช้จ่ายสูง จึงให้ญาติมาขอหนังสือส่งตัว(ใบrefer)จากรพ.ที่คนไข้มีสิทธิ์บัตรทองอยู่ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินเอง สามารถใช้สิทธ์บัตรทองในการรักษาได้ (ทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไม่ทราบว่าคนไข้เคยมารักษาที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และเคยตัดชิ้นเนื้อไปตรวจแล้ว )
อยากทราบว่าถ้าท่านเป็นแพทย์เจ้าของไข้ที่อยู่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ท่านจะออกใบส่งตัวให้คนไข้รายนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
และความเห็นในกรณีที่ท่านเป็นคนไข้รายนี้ เป็นญาติ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานสปสช. เป็นนักการเมืองที่ดูแลควมคุมกระทรวงสาธารณสุข เป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เป็นคนไข้ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และในฐานะที่เป็นเจ้าของเงินภาษีที่จะเอาไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยรายนี้ ท่านเห็นสมควรหรือไม่ที่จะออกหนังสือส่งตัว
หมายเหตุ :
1 โดยปรกติการส่งตัวคนไข้จะใช้ในกรณีที่เกินศักยภาพโรงพยาบาลเท่านั้น ในกรณีนี้ไม่เกินศักยภาพ การรักษาโดยการผ่าตัดเทียบเท่ากัน แตกต่างที่การฉายแสงซึ่งโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขต้องส่งคนไข้ไปฉายแสงที่ศูนย์มะเร็งซึ่งอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง
2 ค่ารักษาประมาณ 4-5 แสนบาท
3 ถ้าท่านออกใบส่งตัวมากๆ โรงพยาบาลก็จะขาดทุนมาก (เนื่องจากค่ารักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปจะแพงกว่าโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข) และท่านอาจโดนผู้บังคับบัญชาเรียกคุย
4 ถ้าท่านตัดสินใจออกหนังสือส่งตัว (ในลักษณะนี้) บ่อยขึ้น แนวโน้มในอนาคตคนไข้จะไปกระจุกตัวในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยครั้งแรกยอมเสียเงินเอง แล้วเอาใบบันทึกข้อความหรือใบนัดมาขอออกหนังสือส่งตัวจากรพ.ต้นสิทธิ์ และเมื่อคนไข้ที่รักษายากๆลดลง ทำให้แพทย์ที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รักษาหรือผ่าตัดบ่อยๆ ก็จะสูญเสียความชำนาญในการรักษาโรคนี้ และต่อไปในอนาคตเมื่อมีคนไข้โรคนี้มาก็จำเป็นต้องส่งตัวไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทุกคน เพราะโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
ไม่สามารถรักษาได้แล้ว และคนไข้ที่ไปกระจุกกันที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยก็จะรอคิวนานขึ้น
5 ถ้าท่านไม่ออกหนังสือส่งตัว ก็จะมีประเด็นทางจริยธรรมว่าคนไข้ต้องยอมหมดตัวเพื่อรักษาโรคหรือไม่ แพทย์กำลังรักษาคนไข้หรือรักษาเงินกันแน่
สอบถามความคิดเห็นของคนpantipในเรื่องของระบบสาธารณสุข และการส่งต่อคนไข้(refer)
ในเรื่องของระบบสาธารณสุข และการส่งต่อคนไข้(refer)
เรื่องมีอยู่ว่ามีคนไข้มารักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งหนึ่งด้วยเรื่องมีก้อนที่ใต้ลิ้นขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นมา 3 เดือน แพทย์ก็ได้ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ผลชิ้นเนื้อออกมาเป็นมะเร็ง ก็ได้แนะนำคนไข้ให้ไปฉายแสงที่ศูนย์มะเร็ง แต่คนไข้ไม่ได้ไปฉายแสง และไม่ได้มาติดตามการรักษาอีก
ต่อมาอีก 3 เดือน คนไข้กลับมาโรงพยาบาลเดิมอีกครั้ง เนื่องจากก้อนใหญ่มากขึ้น ประมาณ 4 เซนติเมตร กินส่วนของลิ้นและกระดูกขากรรไกรด้านหน้า ได้พบแพทย์อีกท่านหนึ่ง ได้แนะนำวิธีการรักษา ให้คนไข้เลือก 3 ทาง
1 ผ่าตัดเอาลิ้นและเนื้อส่วนใต้ลิ้นออก ร่วมกับการฉายแสง โอกาสหายประมาณ 40-50%
2 ฉายแสงแบบประคับประคองอาการ ตัวโรคมะเร็งไม่หาย เพียงแต่ยืดระยะเวลาออกไป
3 รักษาแบบประคับประคองอาการ ไม่ต้องเจ็บตัวผ่าตัด ไม่ต้องฉายแสง รักษาตามอาการ แต่ตัวโรคไม่หาย ตัวก้อนมะเร็งจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดจะเสียชีวิต
คนไข้และญาติเลือกวิธีฉายแสงแบบประคับประคองอาการ แพทย์ท่านนั้นจึงส่งคนไข้ไปฉายแสงที่ศูนย์มะเร็ง แต่คนไข้ไม่ได้ไป และไม่ได้มาติดตามอาการอีก
3 เดือนต่อมา ญาติถือหนังสือบันทึกข้อความจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมายื่นให้แพทย์ที่โรงพยาบาลเดิม หนังสือระบุว่าคนไข้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งนั้นด้วยเรื่องก้อนใต้ลิ้น โดยใช้สิทธิ์จ่ายเงินเอง ทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงสัยว่าน่าจะเป็นมะเร็ง จึงวางแผนจะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แต่เนื่องจากเป็นหัตถการที่มีค่าใช้จ่ายสูง จึงให้ญาติมาขอหนังสือส่งตัว(ใบrefer)จากรพ.ที่คนไข้มีสิทธิ์บัตรทองอยู่ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินเอง สามารถใช้สิทธ์บัตรทองในการรักษาได้ (ทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไม่ทราบว่าคนไข้เคยมารักษาที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และเคยตัดชิ้นเนื้อไปตรวจแล้ว )
อยากทราบว่าถ้าท่านเป็นแพทย์เจ้าของไข้ที่อยู่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ท่านจะออกใบส่งตัวให้คนไข้รายนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
และความเห็นในกรณีที่ท่านเป็นคนไข้รายนี้ เป็นญาติ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานสปสช. เป็นนักการเมืองที่ดูแลควมคุมกระทรวงสาธารณสุข เป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เป็นคนไข้ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และในฐานะที่เป็นเจ้าของเงินภาษีที่จะเอาไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยรายนี้ ท่านเห็นสมควรหรือไม่ที่จะออกหนังสือส่งตัว
หมายเหตุ :
1 โดยปรกติการส่งตัวคนไข้จะใช้ในกรณีที่เกินศักยภาพโรงพยาบาลเท่านั้น ในกรณีนี้ไม่เกินศักยภาพ การรักษาโดยการผ่าตัดเทียบเท่ากัน แตกต่างที่การฉายแสงซึ่งโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขต้องส่งคนไข้ไปฉายแสงที่ศูนย์มะเร็งซึ่งอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง
2 ค่ารักษาประมาณ 4-5 แสนบาท
3 ถ้าท่านออกใบส่งตัวมากๆ โรงพยาบาลก็จะขาดทุนมาก (เนื่องจากค่ารักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปจะแพงกว่าโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข) และท่านอาจโดนผู้บังคับบัญชาเรียกคุย
4 ถ้าท่านตัดสินใจออกหนังสือส่งตัว (ในลักษณะนี้) บ่อยขึ้น แนวโน้มในอนาคตคนไข้จะไปกระจุกตัวในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยครั้งแรกยอมเสียเงินเอง แล้วเอาใบบันทึกข้อความหรือใบนัดมาขอออกหนังสือส่งตัวจากรพ.ต้นสิทธิ์ และเมื่อคนไข้ที่รักษายากๆลดลง ทำให้แพทย์ที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รักษาหรือผ่าตัดบ่อยๆ ก็จะสูญเสียความชำนาญในการรักษาโรคนี้ และต่อไปในอนาคตเมื่อมีคนไข้โรคนี้มาก็จำเป็นต้องส่งตัวไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทุกคน เพราะโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
ไม่สามารถรักษาได้แล้ว และคนไข้ที่ไปกระจุกกันที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยก็จะรอคิวนานขึ้น
5 ถ้าท่านไม่ออกหนังสือส่งตัว ก็จะมีประเด็นทางจริยธรรมว่าคนไข้ต้องยอมหมดตัวเพื่อรักษาโรคหรือไม่ แพทย์กำลังรักษาคนไข้หรือรักษาเงินกันแน่