เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2556 ณ ห้องประชุมแพทยสภา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และนายวิเชียร ชุบไธสง เลขาธิการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกันแถลงข่าว โครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยรวมใจแพทย์ไทยทุกสาขาออกหน่วยแพทย์อาสา ในวันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค. 2556 ณ โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1 จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนใน จ.พระนครศรีอยุธยา มารับบริการประมาณ 7,000 คน
ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาครั้งที่ 11/2555 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พ.ย. 2555 มีมติเห็นชอบให้จัดโครงการหน่วยแพทย์เฉพาะทางอาสาร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ โดยมีนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารทางการแพทย์รุ่นที่ 1 แพทยสภา ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันทางการแพทย์ทั่วประเทศ ซึ่งโครงการออกหน่วยแพทย์เฉลิมพระเกียรตินี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก ด้วยการดำเนินการขอบันทึกสถิติแพทย์เฉพาะทางที่มาออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมากที่สุด ลงในหนังสือ “สถิติโลกกินเนสส์บุ๊ก” (Guinness Book World Record) เป็นการเทิดพระนามและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยในการสาธารณสุขเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ซึ่งเป็นกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพพลานามัยที่ดีของประชาชนในชุมชน รวมทั้งสร้างธรรมาภิบาลในการมีส่วนร่วมของแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา กำหนดจัดในวันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค. 2556 ที่โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1 จ.พระนครศรีอยุธยา คาดว่าจะมีประชาชนใน จ.พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียงมารับบริการประมาณ 7,000 คน
ด้าน นพ.ชลน่าน กล่าวว่า การจัดบริการผู้เจ็บป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์เฉพาะทางของกระทรวงสาธารณสุข จะใช้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่โรงพยาบาลเหล่านี้มักอยู่ใน กทม. หรือในจังหวัดใหญ่ๆ ทำให้ประชาชนต้องรอคิวในการรักษาพยาบาลค่อนข้างยาว ซึ่งได้พยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอด การจัดหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางออกไปให้บริการประชาชนในครั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ให้บริการที่ด้อยคุณภาพ แต่เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นมาแล้ว และส่งต่อมา ให้มีโอกาสได้รับการรักษาโรคเฉพาะทางในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ต้องรอคิวนานจนเกินไป ในการดำเนินงานครั้งนี้ กระทรวงได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประสานเตรียมจัดพื้นที่โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1 จ.พระนครศรีอยุธยา ให้เป็นโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ สามารถตรวจรักษา ผ่าตัดแก่ผู้ป่วยที่มาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง ในเครือข่ายบริการที่ 4 ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก
ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนแพทย์เฉพาะทางพยาบาล และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จากกรมอนามัย และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ร่วมจัดบริการร่วม โดยให้บริการโรคเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาลเลิศสิน ผ่าตัดผู้ป่วยที่มีปัญหานิ้วล็อก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) โดยรถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตรวจพัฒนาการเด็ก ตรวจการได้ยิน โรงพยาบาลวัดไร่ขิงร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ตรวจวัดสายตาและตัดแว่นให้ฟรี และได้ร่วมกับราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ รพ.พระพุทธชินราช พิษณุโลก รพ.ขอนแก่น ตรวจและรักษาจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน สถาบันประสาทวิทยาตรวจโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ กรมอนามัยร่วมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังให้บริการตรวจโรคทั่วไป ซึ่งประชาชนยังมีความต้องการบริการ ได้จัดทีมแพทย์จากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน จ.พระนครศรีอยุธยา และโรงพยาบาลใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลสระบุรี อ่างทอง ราชบุรี และสุพรรณบุรี ร่วมให้บริการ ในส่วนของการเตรียมการคัดกรอง เพื่อส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษาต่อที่หน่วยแพทย์อาสา ได้ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง นัดหมายและนำผู้ป่วยที่อยู่ในการคัดกรองเบื้องต้น มารับการตรวจรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในวันจัดกิจกรรม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ได้รับตามสิทธิ รวมทั้งเรื่องยาและเวชภัณฑ์ที่ต้องการเพิ่มเติม องค์การเภสัชกรรมจะให้การสนับสนุน
http://www.thairath.co.th/content/edu/323790
สธ.สร้างสถิติโลก ส่งแพทย์200 รักษาคน7,000 ลงกินเนสส์บุ๊ก
ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาครั้งที่ 11/2555 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พ.ย. 2555 มีมติเห็นชอบให้จัดโครงการหน่วยแพทย์เฉพาะทางอาสาร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ โดยมีนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารทางการแพทย์รุ่นที่ 1 แพทยสภา ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันทางการแพทย์ทั่วประเทศ ซึ่งโครงการออกหน่วยแพทย์เฉลิมพระเกียรตินี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก ด้วยการดำเนินการขอบันทึกสถิติแพทย์เฉพาะทางที่มาออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมากที่สุด ลงในหนังสือ “สถิติโลกกินเนสส์บุ๊ก” (Guinness Book World Record) เป็นการเทิดพระนามและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยในการสาธารณสุขเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ซึ่งเป็นกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพพลานามัยที่ดีของประชาชนในชุมชน รวมทั้งสร้างธรรมาภิบาลในการมีส่วนร่วมของแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา กำหนดจัดในวันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค. 2556 ที่โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1 จ.พระนครศรีอยุธยา คาดว่าจะมีประชาชนใน จ.พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียงมารับบริการประมาณ 7,000 คน
ด้าน นพ.ชลน่าน กล่าวว่า การจัดบริการผู้เจ็บป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์เฉพาะทางของกระทรวงสาธารณสุข จะใช้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่โรงพยาบาลเหล่านี้มักอยู่ใน กทม. หรือในจังหวัดใหญ่ๆ ทำให้ประชาชนต้องรอคิวในการรักษาพยาบาลค่อนข้างยาว ซึ่งได้พยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอด การจัดหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางออกไปให้บริการประชาชนในครั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ให้บริการที่ด้อยคุณภาพ แต่เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นมาแล้ว และส่งต่อมา ให้มีโอกาสได้รับการรักษาโรคเฉพาะทางในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ต้องรอคิวนานจนเกินไป ในการดำเนินงานครั้งนี้ กระทรวงได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประสานเตรียมจัดพื้นที่โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1 จ.พระนครศรีอยุธยา ให้เป็นโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ สามารถตรวจรักษา ผ่าตัดแก่ผู้ป่วยที่มาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง ในเครือข่ายบริการที่ 4 ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก
ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนแพทย์เฉพาะทางพยาบาล และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จากกรมอนามัย และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ร่วมจัดบริการร่วม โดยให้บริการโรคเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาลเลิศสิน ผ่าตัดผู้ป่วยที่มีปัญหานิ้วล็อก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) โดยรถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตรวจพัฒนาการเด็ก ตรวจการได้ยิน โรงพยาบาลวัดไร่ขิงร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ตรวจวัดสายตาและตัดแว่นให้ฟรี และได้ร่วมกับราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ รพ.พระพุทธชินราช พิษณุโลก รพ.ขอนแก่น ตรวจและรักษาจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน สถาบันประสาทวิทยาตรวจโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ กรมอนามัยร่วมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังให้บริการตรวจโรคทั่วไป ซึ่งประชาชนยังมีความต้องการบริการ ได้จัดทีมแพทย์จากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน จ.พระนครศรีอยุธยา และโรงพยาบาลใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลสระบุรี อ่างทอง ราชบุรี และสุพรรณบุรี ร่วมให้บริการ ในส่วนของการเตรียมการคัดกรอง เพื่อส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษาต่อที่หน่วยแพทย์อาสา ได้ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง นัดหมายและนำผู้ป่วยที่อยู่ในการคัดกรองเบื้องต้น มารับการตรวจรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในวันจัดกิจกรรม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ได้รับตามสิทธิ รวมทั้งเรื่องยาและเวชภัณฑ์ที่ต้องการเพิ่มเติม องค์การเภสัชกรรมจะให้การสนับสนุน
http://www.thairath.co.th/content/edu/323790