จิตนิยม กับ สุขนิยม เหมือนกันไหม ?

ผมเข้าใจว่า

สังคมพุทธแบบไทย คือ สุขนิยม ใช่หรือไม่ ?

หนังตลกขายดี, แพกเกจทำบุญขายดี, ยิ้มให้กันแม้ใจอยู่อีกอารมณ์

เราเสพติด ยึดติด กับ ความ สุข มากไปไหม ?

หรือว่า ผม เข้าใจผิด ว่า ...

เราควรรับไว้ทั้งสุขและทุกข์ คิดพิจารณา แล้วปล่อยวาง ?

สวัสดีปีใหม่ครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ที่จริงแล้ว ความสุขทางเนื้อหนังร่างกาย หรือความสุขจากความมั่งคั่ง ร่ำรวย มีเกียรติยศ ชื่อเสียง ความสุขสบายพรั่งพร้อมทางวัตถุ หรือที่มักเรียกรวมๆ ว่า วัตถุนิยม บริโภคนิยมที่เราโจมตีกันนั้น ในสายตาของ "ปรัชญาศีลธรรม" (moral philosophy) ตะวันตกที่เรียกว่า "สุขนิยม" (hedonism) เขามองเรื่องการแสวงหาความสุขเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมาว่า เป็นข้อเท็จจริงปกติที่มนุษย์ต่างก็แสวงหาความสุข เพราะการแสวงหาความสุขย่อมสอดคล้องกับธรรมชาติทางจิตวิทยาของมนุษย์ที่ "เกลียดทุกข์ต้องการสุข"  (มีต่อในบทความดังกล่าว น่าจะใกล้กับเนื้อหากระทู้ที่ จขกท กำลังพิจารณาบ้าง ถึงแม้ความคิดเห็นมีเกี่ยวข้องกับเหตุการเมืองยุคปี 55) http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341705458

ความหมายของสุขนิยม (ตามแนวปรัชญาตะวันตก) http://www.iep.utm.edu/hedonism/

ในปรัชญาตะวันออก สุขนิยม (โลกายัต) น่าจะไปดูที่ปรัชญาจารวาท http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/indian_philosophy/18.html

กลุ่มจิตนิยม ถือว่าจิตเป็นความแท้จริงสูงสุดเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น สสารเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น เช่น ร่างกายมนุษย์เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวของจิตเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของจิต เมื่อร่างกายสูญสลายจิตสัมพัทธ์ก็ยังคงอยู่ ซึ่งบางทีอาจกลับคืนสู่แหล่งเดิมของตนคือจิตสัมบูรณ์อันเป็นต้นตอของสรรพสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่อธิบายได้ด้วยอาการปรากฏของจิตสัมบูรณ์ทั้งสิ้น จิตเป็นธรรมที่มีเพียงชื่อหารูปไม่ได้ ผู้มีปัญหาเท่านั้นจึงจะรู้จักจิตได้ จิตนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ........ (ที่ว่าจิตนิยม หมายถึงโลกถ้ามีจิต และสสาร จิตนิยมคือที่ว่าข้างต้น เป็นความแท้จริงสูงสุด)  มีต่อ http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/the_meaning_of_the_ontology/02.html

Idealism http://www.newworldencyclopedia.org/entry/Idealism
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม (Idealism)  https://dhrammada.wordpress.com/philosophyreligion/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-pure-philosophy/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%9E-%E0%B8%AB/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1-idealism/

ในพุทธศาสนาเถรวาท ในทุกขสัจจของอริยสัจก็คือให้กำหนดรู้ (ที่ไม่พูดถึงสุข เช่นถ้าเอาแค่เรื่องการเปลี่ยนแปลง สุขก็มีไม่นานเมื่อสุขนั้นจบถ้าติดในสุขทุกข์ก็ตามมา) คำว่าปล่อยวางก็แล้วแต่ความหมายถ้าเป็นไปตามอริยสัจไปให้ครบคือสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ควรละ นิโรธ (ความดับทุกข์) ควรทำให้แจ้ง มรรค (ทางออกจากทุกข์) ควรเจริญ

แก้ไขมีแก้ไขข้อความ คำสะกดผิด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่