หมายเหตุ - ความเห็นของนักวิชาการและนักกฎหมาย กรณีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อเอาผิดและเรียก
ค่าเสียหาย 3,000 ล้านบาท กับผู้ที่มีส่วนทำให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
เป็นโมฆะ
เอกชัย ไชยนุวัติ
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์
ขณะนี้มีคนพูดถึงคน 3 กลุ่ม คือ รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กกต. และกปปส.
ซึ่งต้องดูข้อกฎหมายว่า อำนาจอยู่ที่ใครในความรับผิดชอบจัดการเลือกตั้ง เดิมก่อนที่
จะมีรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าของ กกต.แต่ละจังหวัด แต่มีปัญหาว่ามีความ
เคลือบแคลงใจในความสุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากรัฐบาลรักษาการในขณะนั้น
สามารถที่จะสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดได้
เมื่อมีการปฎิรูปและเกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 จึงมีการเกิดขึ้นของ กกต. ซึ่งเป็นองค์กร
ฝ่ายบริหารที่เป็น "อิสระ" จากการสั่งการของรัฐบาล
นับแต่นั้นเรื่อยมาจนถึงรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และจนถึงสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญปี 2550 กกต.
มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการเลือกตั้ง
หากดูตามกฎหมาย มาตรา 229 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้ กกต.ต้องมีความเป็น
กลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต และหากดูตามมาตรา 235 ที่ได้ระบุว่า "กกต.
เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง หรือการสรรหา ส.ส. ส.ว. สมาชิก
สภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี..." และมาตรา 236 ที่เขียนว่า "กกต.มี
อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้...(1)-(9)" ซึ่งถ้าดูตามกฎหมายจะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญ
มีเจตนาไม่ให้อำนาจหน้าที่ใดๆ แก่ รัฐบาลรักษาการทั้งสิ้น เพราะอาจมีส่วนได้เสียในการ
เลือกตั้งได้
รวมทั้งใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ที่
มาตรา 20 เขียนไว้ชัดเจนว่า กกต. "มีอำนาจสั่ง" หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
ราชการ ท้องถิ่น เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นให้ได้ นอกจากนั้นที่วรรคท้ายของมาตรา 20 ยัง
ได้บอกว่า ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กกต. ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ ให้
ถือว่าเป็นการกระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
ดังนั้น สรุปได้ว่า ทั้งรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ. มีเจตนาไม่ให้อำนาจกับรัฐบาลรักษาการ และ
ให้อำนาจอย่างเต็มที่กับ กกต.
อีกประเด็นหนึ่ง ต้องย้อนกลับไปดูว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ที่ให้
ยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ต้องดูว่า ณ วันที่รัฐบาลประกาศยุบสภา
พระราชกฤษฎีกานี้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ขอเน้นว่า "ณ วันนั้น" เพราะนักกฎหมายไม่
สามารถนำเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากวันที่มีการประกาศเลือกตั้งไปพิจารณาย้อนหลังไปถึงวันที่
ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาได้ ดังนั้น ตามกฎหมายแล้ว พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ.2556 ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ
เท่าที่ติดตาม ครั้งสุดท้าย กกต.ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหาย
จากผู้ขัดขวางไม่ให้มีการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ กกต. ที่ต้องจัดการ
เลือกตั้ง จึงขอถามว่า คณะอนุกรรมการหลายๆ ชุดทั้งหลายนี้มีการฟ้องร้องบุคคลใดแล้วหรือยัง
หรือต้องการที่จะรออะไรสักอย่าง
ถามว่า กกต.จะฟ้องใคร ในเมื่อพระราชกฤษฎีกา ณ วันที่ออกนั้นชอบด้วยกฎหมาย แต่เหตุการณ์
ภายหลังที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มันไม่ชอบ จึงนำเหตุการณ์ภายหลังมา
วิเคราะห์วันที่ออกกฎหมายไม่ได้ เหตุที่เลือกตั้งไม่ได้ไม่ใช่เพราะรัฐบาล
ต้องถามว่าผู้สมัคร ส.ส.ที่ไปติดอยู่ที่สถานีตำรวจ หรือผู้ที่ไม่สามารถไปเลือกตั้งได้นั้นเป็นเพราะใคร
เป็นเพราะอะไร เรื่องพวกนี้กำลังถูกบิดเบือนในสังคม และไม่ได้พยายามออกมาสู้ในข้อเท็จจริง
ใคร! ต้องจ่าย3พันล้าน ปมเลือกตั้ง2ก.พ.โมฆะ ...มติชนออนไลน์../sao..เหลือ..noi
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อเอาผิดและเรียก
ค่าเสียหาย 3,000 ล้านบาท กับผู้ที่มีส่วนทำให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
เป็นโมฆะ
เอกชัย ไชยนุวัติ
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์
ขณะนี้มีคนพูดถึงคน 3 กลุ่ม คือ รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กกต. และกปปส.
ซึ่งต้องดูข้อกฎหมายว่า อำนาจอยู่ที่ใครในความรับผิดชอบจัดการเลือกตั้ง เดิมก่อนที่
จะมีรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าของ กกต.แต่ละจังหวัด แต่มีปัญหาว่ามีความ
เคลือบแคลงใจในความสุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากรัฐบาลรักษาการในขณะนั้น
สามารถที่จะสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดได้
เมื่อมีการปฎิรูปและเกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 จึงมีการเกิดขึ้นของ กกต. ซึ่งเป็นองค์กร
ฝ่ายบริหารที่เป็น "อิสระ" จากการสั่งการของรัฐบาล
นับแต่นั้นเรื่อยมาจนถึงรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และจนถึงสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญปี 2550 กกต.
มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการเลือกตั้ง
หากดูตามกฎหมาย มาตรา 229 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้ กกต.ต้องมีความเป็น
กลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต และหากดูตามมาตรา 235 ที่ได้ระบุว่า "กกต.
เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง หรือการสรรหา ส.ส. ส.ว. สมาชิก
สภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี..." และมาตรา 236 ที่เขียนว่า "กกต.มี
อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้...(1)-(9)" ซึ่งถ้าดูตามกฎหมายจะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญ
มีเจตนาไม่ให้อำนาจหน้าที่ใดๆ แก่ รัฐบาลรักษาการทั้งสิ้น เพราะอาจมีส่วนได้เสียในการ
เลือกตั้งได้
รวมทั้งใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ที่
มาตรา 20 เขียนไว้ชัดเจนว่า กกต. "มีอำนาจสั่ง" หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
ราชการ ท้องถิ่น เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นให้ได้ นอกจากนั้นที่วรรคท้ายของมาตรา 20 ยัง
ได้บอกว่า ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กกต. ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ ให้
ถือว่าเป็นการกระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
ดังนั้น สรุปได้ว่า ทั้งรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ. มีเจตนาไม่ให้อำนาจกับรัฐบาลรักษาการ และ
ให้อำนาจอย่างเต็มที่กับ กกต.
อีกประเด็นหนึ่ง ต้องย้อนกลับไปดูว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ที่ให้
ยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ต้องดูว่า ณ วันที่รัฐบาลประกาศยุบสภา
พระราชกฤษฎีกานี้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ขอเน้นว่า "ณ วันนั้น" เพราะนักกฎหมายไม่
สามารถนำเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากวันที่มีการประกาศเลือกตั้งไปพิจารณาย้อนหลังไปถึงวันที่
ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาได้ ดังนั้น ตามกฎหมายแล้ว พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ.2556 ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ
เท่าที่ติดตาม ครั้งสุดท้าย กกต.ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหาย
จากผู้ขัดขวางไม่ให้มีการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ กกต. ที่ต้องจัดการ
เลือกตั้ง จึงขอถามว่า คณะอนุกรรมการหลายๆ ชุดทั้งหลายนี้มีการฟ้องร้องบุคคลใดแล้วหรือยัง
หรือต้องการที่จะรออะไรสักอย่าง
ถามว่า กกต.จะฟ้องใคร ในเมื่อพระราชกฤษฎีกา ณ วันที่ออกนั้นชอบด้วยกฎหมาย แต่เหตุการณ์
ภายหลังที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มันไม่ชอบ จึงนำเหตุการณ์ภายหลังมา
วิเคราะห์วันที่ออกกฎหมายไม่ได้ เหตุที่เลือกตั้งไม่ได้ไม่ใช่เพราะรัฐบาล
ต้องถามว่าผู้สมัคร ส.ส.ที่ไปติดอยู่ที่สถานีตำรวจ หรือผู้ที่ไม่สามารถไปเลือกตั้งได้นั้นเป็นเพราะใคร
เป็นเพราะอะไร เรื่องพวกนี้กำลังถูกบิดเบือนในสังคม และไม่ได้พยายามออกมาสู้ในข้อเท็จจริง