เมียปู่สมบูรณ์เป็นโรคไตเสื่อมต้องฟอกไตด้วยการล้างทางหน้าท้องวันละ 4 ครั้งทุก 4 ชั่วโมง เป็นมะเร็งเต้านม แกมีปัญหาบางอย่างทำให้เดินไม่ได้ เป็นอย่างนี้มาร่วมๆ 7-8 ปี ปู่สมบูรณ์เป็นคนดูแลย่าละเมียดโดยลำพัง โดยลูกๆออกไปทำมาหากิน
ปู่สมบูรณ์เล่าว่ามันไม่ได้เริ่มต้นด้วยความรัก คนที่แกรักอยู่ที่อื่น ซึ่งถ้าจะไปขอเขาก็ไม่มีเงิน แต่แม้ว่าจะไม่ได้เริ่มต้นด้วยความรักแกก็ดูแลเมียของแกในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตของเมียแก(และสำหรับตัวแกเองด้วย)จนวาระสุดท้ายของชีวิต และดูแลในระดับที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ดังเช่นปู่สมบูรณ์
เกิดคำถามว่า “ถ้าไม่ใช่ความรัก แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ปู่สมบูรณ์ทำได้ถึงขนาดนี้”
ในแนวคิดส่วนตัวอาจจะห่างไกลจากความโรแมนติกอยู่มาก แต่แค่ “ความเป็นคน” ก็เพียงพอที่จะให้คนคนหนึ่งที่มีชีวิตผูกพันกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี นั่นหมายความว่าถ้าเราผูกพันกับใครบางคนมากถึงระดับเดียวกับคู่สามีภรรยาที่อยู่กันมานานมากๆจนเรียกได้ว่าเป็น “คู่ชีวิต” เราก็จะทำเช่นเดียวกับปู่สมบูรณ์
คำว่าคู่ชีวิตมีความหมายลึกซึ้งมาก มันไม่ใช่แค่ความรัก ความผูกพัน หรือความห่วงใย แต่มันอาจจะใกล้เคียงกับการรวมเป็นคนคนเดียวกันมากกว่า มันคล้ายกับว่าอีกฝ่ายต่างก็เป็นอวัยวะของอีกฝ่ายซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่ออวัยวะของเราเองมีปัญหา ใช้งานไม่ได้ หรือเจ็บปวดเพียงใด เราก็ตัดมันไม่ลง
ยังไม่นับว่าคนเราเองก็มีระบบศีลธรรมที่อยู่ในจิตใจ การไม่ดูแลคู่ชีวิตหรือคนรักก็เท่ากับเป็นคนเลว และหนักกว่านั้นบางคนอาจจะรู้สึกถึงขั้นว่าต้องดูแลไม่ให้มีข้อบกพร่องแม้แต่น้อยมิเช่นนั้นจะรู้สึกบกพร่องหรือถึงขั้นรู้สึกว่าตัวเองทำผิด จนตัวเองไม่ได้ดูแลตัวเองจนเจ็บป่วยไปโดยไม่รู้ตัวก็มี (ซึ่งพบได้บ่อยในกรณีคนดูแลเป็นลูกที่ต้องดูแลพ่อหรือแม่)
ทั้งในจิตใต้สำนึกและจิตสำนึกของปู่สมบูรณ์ก็คงมีหลายๆปัจจัยที่ทำให้ทุ่มเทร่างกายและจิตใจดูแลย่าละเมียดอย่างที่เราเห็นในหนัง แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นอาจจะมี “ความรัก” รวมอยู่ด้วยก็เป็นได้ แม้ว่าสิ่งที่อธิบายออกมาจากปากปู่สมบูรณ์จะมีแค่ “ก็ต้องดูแลเค้า แล้วใครจะทำ” (คำพูดประมาณนี้ ไม่ตรงเสียทีเดียว) ก็ตาม
แต่ไม่ว่าปู่สมบูรณ์จะทำภายใต้แรงขับหรือความรู้สึกใดๆก็ตาม การกระทำของปู่สมบูรณ์ก็น่าจะสร้างความประทับใจให้ผู้ชมได้ไม่ยากเย็น ไม่ว่าจะมองในระดับ “มนุษย์” คนหนึ่ง หรือ “คนรัก” คนหนึ่งก็ตาม
แต่น่าเสียดายที่คนทำหนังไม่สามารถเผยสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของปู่สมบูรณ์ออกมาให้เราได้สัมผัสมากกว่านี้ ทั้งในแง่ของสิ่งที่ผลักดันให้ทำสิ่งเหล่านี้และในแง่ของสิ่งที่ทำให้ยังคงทำอยู่ทุกวันไม่เลิกไปเสียก่อน เพราะเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เต็มที่ (ย่าละเมียดเดินไม่ได้) มันสร้างความทุกข์ให้กับผู้ดูแลไม่น้อย อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่าการที่ปู่สมบูรณ์ทำเช่นนี้เหตุผลส่วนใหญ่มันเป็นเพราะว่า “ต้องทำ” มากกว่าเลือกที่จะทำหรือไม่ทำได้อย่างอิสระ ดังนั้นมันจึงมีเหรียญอีกด้านของชายชราผู้ที่ดูแลคู่ชีวิตจนวาระสุดท้ายที่เป็นด้านที่ปู่สมบูรณ์คงไม่อยากแสดงออกมานัก (ไม่มีใครอยากเผยด้านลบ(ที่เป็นด้านลบจริงๆ)ให้ผู้อื่นรับรู้) จริงอยู่ที่หนังก็ไม่ได้สร้างภาพ “ฮีโร่” ให้กับปู่สมบูรณ์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่านอกเหนือไปจากภาพที่ปู่สมบูรณ์ให้การดูแลย่าละเมียดก็ไม่เห็นภาพอื่นๆนัก
ส่วนหนึ่งเข้าใจว่าคนทำหนังเองอาจจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้ในมุมจำกัด อาจจะด้วยขาดประสบการณ์ก็เป็นได้ เพราะสายตาของหนังที่มองปู่สมบูรณ์ไม่ได้ต่างอะไรกับเวลาเราเห็นเพื่อนบ้านหรือคนรู้จักที่มีชีวิตลักษณะนี้แล้วเราก็อาจจะเปรยขึ้นมาว่า “ดูลุงแกสิ ดูแลเมียดี๊ดี ลุงแกดีนะ” หรืออีกนัยหนึ่งคือมันค่อนข้างผิวเผิน เพราะเวลาเรามองในลักษณะนี้เราจะเห็นแค่ผู้กระทำ “ผัวดูแลเมียดี” แล้วจบแค่นั้น แล้วเมียล่ะ เมียในบริบทนี้แทบจะกลายเป็นวัตถุไปเลยด้วยซ้ำ ดังเช่นในหนังที่ให้ภาพของย่าละเมียดเป็น “คนป่วย” ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เท่านั้นเอง เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับย่าละเมียดเลย ซึ่งเข้าใจว่าหนังต้องการนำเสนอในมุมมองของปู่สมบูรณ์เป็นหลักในฐานะผู้ชายที่ทุ่มเทกายใจดูแลเมียที่ป่วยไข้ แต่มันก็จะขาดความตื้นลึกหนาบางเนื้อหนังของความเป็นมนุษย์ไป (ทั้งๆที่แกก็เป็นตัวแกจริงๆเนี่ยแหละ ไม่ได้แสดง) ส่งผลให้ขาดความน่าสนใจและความน่าติดตามไปมาก ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือตอนที่ย่าละเมียดเสียเราแทบไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะเราไม่ได้ผูกพันกับด้านที่เป็นคนธรรมดาๆของแกเลย เรามีปฏิสัมพันธ์กับแกเฉพาะด้าน “คนป่วย” ของแกเท่านั้น
ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์แบบนี้จริงๆแล้วก็เจอบ่อย ถ้าใครมีคนป่วยในบ้านอาจจะเห็นภาพชัดขึ้น และยิ่งถ้าใครที่มีสถานะเป็น “คนป่วย” ในบ้านจะยิ่งเข้าใจมากเข้าไปอีก เพราะโดยส่วนใหญ่เมื่อมีใครสักคนในบ้านที่ป่วย คนอื่นๆในบ้านก็จะพยายามทำตัวเป็น “ผู้ดูแล” – หมอสั่งว่าอย่างนั้น หมอสั่งว่าอย่างนี้ เป็นคนป่วยต้องดูแลตัวเอง ห้ามทำนั่นนี่ – โดยลืมไปว่าคนป่วยเค้าอาจจะมีโรคเพิ่มเข้ามาแต่ตัวตนชีวิตจิตใจเค้าไม่ได้หายไปไหน คนดูแลก็คิดเพียงแค่ว่ารักษาตัวดีๆจะได้อยู่นานๆ ส่วนตัวคนที่ป่วยเองก็ปฏิเสธไม่ได้เพราะรู้ว่าคนที่ดูแลเค้าเป็นห่วงก็เลยเงียบๆไว้ เป็นต้น
อย่างย่าละเมียดก็เช่นกัน เราแทบจะไม่ได้เห็นรอยยิ้มของแกเลยทั้งๆที่ผัวแกดูแลมากขนาดนั้น คิดตื้นๆก็อาจจะคิดว่า “ทำไมยังไม่พอใจอีก” “คิดแต่ในแง่ลบ คนอื่นที่เค้าดูแลนี่เหนื่อยนะ” ส่วนหนึ่งการเป็นโรคเรื้อรังมันทำให้เกิดอาการซึมเศร้าอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ทำให้ตัวเองต้องพึ่งพิงคนอื่น เพราะเค้าจะสูญเสียการมีสิทธิในตัวตนและร่างกายตนเอง (Autonomy) ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่พื้นฐานมากๆของแต่ละบุคคล ดูเผินๆย่าละเมียดอาจจะเป็นคนที่บอกให้ปู่สมบูรณ์ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่จริงๆแล้วนั่นเป็นเพียงสิ่งเล็กๆที่ย่าละเมียดสามารถทำได้เพื่อให้ได้รู้สึกว่าตนเองยังมีตัวตนอยู่ (มีอำนาจเล็กน้อยๆในการควบคุมบางสิ่งบางอย่าง) เพราะนอกเหนือจากนั้นทำเองไม่ได้และปู่ทำให้หมด แต่ถามว่าสิ่งนี้ทำให้มีความสุขหรือไม่ ย่อมไม่อย่างแน่นอน บางทีการพยายามช่วยให้ย่าละเมียดได้ช่วยเหลือตัวเองได้ ได้รับรู้สิทธิในร่างกายตนเองอาจจะทำให้ย่าละเมียดมีความสุขกว่าก็เป็นได้ แต่ในมุมมองคนภายนอกก็คงมองผัวว่าใจดำหรือไม่รักจริงก็เป็นได้ และถ้าเป็นอย่างนั้นสารคดีเรื่องนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น
สารคดีเรื่องปู่สมบูรณ์มีจุดดีๆอยู่มากเช่น ประเด็นที่อยากนำเสนอ การที่ให้คนดูอยู่ในลักษณะผู้เฝ้ามอง ไม่มีการสร้างดราม่าเร้าอารมณ์ (ทั้งที่ถ้าจะทำก็คงทำได้) แต่อาจจะยังมีปัญหาในแง่ของมุมมองที่ค่อนข้างผิวเผินและเห็นแค่ด้านเดียว ในส่วนของวิธีการเล่าเรื่องเองก็ยังไม่ชวนติดตามมากนัก โทนของหนังทั้งเรื่องก็ยังดูกระท่อนกระแท่นอยู่พอสมควร จึงทำให้ผลลัพธ์ของปู่สมบูรณ์ไม่สมบูรณ์นัก
แต่ก็ต้องชื่นชมคนทำหนังที่ทำหนังแบบนี้ออกมาเพราะไม่ว่าตัวหนังจะยังบกพร่องอยู่ก็ตามแต่มันจะต่อยอดไปสู่การพัฒนาของวงการสารคดีไทยหรืออาจจะถึงวงการหนังอิสระของไทยด้วย และที่น่ายินดียิ่งกว่าคือหนังสารคดีเรื่องนี้ได้รับการขยายรอบฉายต่อไปอีก 1 สัปดาห์หลังจากที่มีคนสนใจกันเกินคาดทีเดียว ขอแสดงความยินดีกับคนทำด้วยครับ
[CR] Review ปู่สมบูรณ์ - ในมุมมองที่ไม่โรแมนติก
เมียปู่สมบูรณ์เป็นโรคไตเสื่อมต้องฟอกไตด้วยการล้างทางหน้าท้องวันละ 4 ครั้งทุก 4 ชั่วโมง เป็นมะเร็งเต้านม แกมีปัญหาบางอย่างทำให้เดินไม่ได้ เป็นอย่างนี้มาร่วมๆ 7-8 ปี ปู่สมบูรณ์เป็นคนดูแลย่าละเมียดโดยลำพัง โดยลูกๆออกไปทำมาหากิน
ปู่สมบูรณ์เล่าว่ามันไม่ได้เริ่มต้นด้วยความรัก คนที่แกรักอยู่ที่อื่น ซึ่งถ้าจะไปขอเขาก็ไม่มีเงิน แต่แม้ว่าจะไม่ได้เริ่มต้นด้วยความรักแกก็ดูแลเมียของแกในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตของเมียแก(และสำหรับตัวแกเองด้วย)จนวาระสุดท้ายของชีวิต และดูแลในระดับที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ดังเช่นปู่สมบูรณ์
เกิดคำถามว่า “ถ้าไม่ใช่ความรัก แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ปู่สมบูรณ์ทำได้ถึงขนาดนี้”
ในแนวคิดส่วนตัวอาจจะห่างไกลจากความโรแมนติกอยู่มาก แต่แค่ “ความเป็นคน” ก็เพียงพอที่จะให้คนคนหนึ่งที่มีชีวิตผูกพันกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี นั่นหมายความว่าถ้าเราผูกพันกับใครบางคนมากถึงระดับเดียวกับคู่สามีภรรยาที่อยู่กันมานานมากๆจนเรียกได้ว่าเป็น “คู่ชีวิต” เราก็จะทำเช่นเดียวกับปู่สมบูรณ์
คำว่าคู่ชีวิตมีความหมายลึกซึ้งมาก มันไม่ใช่แค่ความรัก ความผูกพัน หรือความห่วงใย แต่มันอาจจะใกล้เคียงกับการรวมเป็นคนคนเดียวกันมากกว่า มันคล้ายกับว่าอีกฝ่ายต่างก็เป็นอวัยวะของอีกฝ่ายซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่ออวัยวะของเราเองมีปัญหา ใช้งานไม่ได้ หรือเจ็บปวดเพียงใด เราก็ตัดมันไม่ลง
ยังไม่นับว่าคนเราเองก็มีระบบศีลธรรมที่อยู่ในจิตใจ การไม่ดูแลคู่ชีวิตหรือคนรักก็เท่ากับเป็นคนเลว และหนักกว่านั้นบางคนอาจจะรู้สึกถึงขั้นว่าต้องดูแลไม่ให้มีข้อบกพร่องแม้แต่น้อยมิเช่นนั้นจะรู้สึกบกพร่องหรือถึงขั้นรู้สึกว่าตัวเองทำผิด จนตัวเองไม่ได้ดูแลตัวเองจนเจ็บป่วยไปโดยไม่รู้ตัวก็มี (ซึ่งพบได้บ่อยในกรณีคนดูแลเป็นลูกที่ต้องดูแลพ่อหรือแม่)
ทั้งในจิตใต้สำนึกและจิตสำนึกของปู่สมบูรณ์ก็คงมีหลายๆปัจจัยที่ทำให้ทุ่มเทร่างกายและจิตใจดูแลย่าละเมียดอย่างที่เราเห็นในหนัง แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นอาจจะมี “ความรัก” รวมอยู่ด้วยก็เป็นได้ แม้ว่าสิ่งที่อธิบายออกมาจากปากปู่สมบูรณ์จะมีแค่ “ก็ต้องดูแลเค้า แล้วใครจะทำ” (คำพูดประมาณนี้ ไม่ตรงเสียทีเดียว) ก็ตาม
แต่ไม่ว่าปู่สมบูรณ์จะทำภายใต้แรงขับหรือความรู้สึกใดๆก็ตาม การกระทำของปู่สมบูรณ์ก็น่าจะสร้างความประทับใจให้ผู้ชมได้ไม่ยากเย็น ไม่ว่าจะมองในระดับ “มนุษย์” คนหนึ่ง หรือ “คนรัก” คนหนึ่งก็ตาม
แต่น่าเสียดายที่คนทำหนังไม่สามารถเผยสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของปู่สมบูรณ์ออกมาให้เราได้สัมผัสมากกว่านี้ ทั้งในแง่ของสิ่งที่ผลักดันให้ทำสิ่งเหล่านี้และในแง่ของสิ่งที่ทำให้ยังคงทำอยู่ทุกวันไม่เลิกไปเสียก่อน เพราะเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เต็มที่ (ย่าละเมียดเดินไม่ได้) มันสร้างความทุกข์ให้กับผู้ดูแลไม่น้อย อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่าการที่ปู่สมบูรณ์ทำเช่นนี้เหตุผลส่วนใหญ่มันเป็นเพราะว่า “ต้องทำ” มากกว่าเลือกที่จะทำหรือไม่ทำได้อย่างอิสระ ดังนั้นมันจึงมีเหรียญอีกด้านของชายชราผู้ที่ดูแลคู่ชีวิตจนวาระสุดท้ายที่เป็นด้านที่ปู่สมบูรณ์คงไม่อยากแสดงออกมานัก (ไม่มีใครอยากเผยด้านลบ(ที่เป็นด้านลบจริงๆ)ให้ผู้อื่นรับรู้) จริงอยู่ที่หนังก็ไม่ได้สร้างภาพ “ฮีโร่” ให้กับปู่สมบูรณ์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่านอกเหนือไปจากภาพที่ปู่สมบูรณ์ให้การดูแลย่าละเมียดก็ไม่เห็นภาพอื่นๆนัก
ส่วนหนึ่งเข้าใจว่าคนทำหนังเองอาจจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้ในมุมจำกัด อาจจะด้วยขาดประสบการณ์ก็เป็นได้ เพราะสายตาของหนังที่มองปู่สมบูรณ์ไม่ได้ต่างอะไรกับเวลาเราเห็นเพื่อนบ้านหรือคนรู้จักที่มีชีวิตลักษณะนี้แล้วเราก็อาจจะเปรยขึ้นมาว่า “ดูลุงแกสิ ดูแลเมียดี๊ดี ลุงแกดีนะ” หรืออีกนัยหนึ่งคือมันค่อนข้างผิวเผิน เพราะเวลาเรามองในลักษณะนี้เราจะเห็นแค่ผู้กระทำ “ผัวดูแลเมียดี” แล้วจบแค่นั้น แล้วเมียล่ะ เมียในบริบทนี้แทบจะกลายเป็นวัตถุไปเลยด้วยซ้ำ ดังเช่นในหนังที่ให้ภาพของย่าละเมียดเป็น “คนป่วย” ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เท่านั้นเอง เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับย่าละเมียดเลย ซึ่งเข้าใจว่าหนังต้องการนำเสนอในมุมมองของปู่สมบูรณ์เป็นหลักในฐานะผู้ชายที่ทุ่มเทกายใจดูแลเมียที่ป่วยไข้ แต่มันก็จะขาดความตื้นลึกหนาบางเนื้อหนังของความเป็นมนุษย์ไป (ทั้งๆที่แกก็เป็นตัวแกจริงๆเนี่ยแหละ ไม่ได้แสดง) ส่งผลให้ขาดความน่าสนใจและความน่าติดตามไปมาก ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือตอนที่ย่าละเมียดเสียเราแทบไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะเราไม่ได้ผูกพันกับด้านที่เป็นคนธรรมดาๆของแกเลย เรามีปฏิสัมพันธ์กับแกเฉพาะด้าน “คนป่วย” ของแกเท่านั้น
ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์แบบนี้จริงๆแล้วก็เจอบ่อย ถ้าใครมีคนป่วยในบ้านอาจจะเห็นภาพชัดขึ้น และยิ่งถ้าใครที่มีสถานะเป็น “คนป่วย” ในบ้านจะยิ่งเข้าใจมากเข้าไปอีก เพราะโดยส่วนใหญ่เมื่อมีใครสักคนในบ้านที่ป่วย คนอื่นๆในบ้านก็จะพยายามทำตัวเป็น “ผู้ดูแล” – หมอสั่งว่าอย่างนั้น หมอสั่งว่าอย่างนี้ เป็นคนป่วยต้องดูแลตัวเอง ห้ามทำนั่นนี่ – โดยลืมไปว่าคนป่วยเค้าอาจจะมีโรคเพิ่มเข้ามาแต่ตัวตนชีวิตจิตใจเค้าไม่ได้หายไปไหน คนดูแลก็คิดเพียงแค่ว่ารักษาตัวดีๆจะได้อยู่นานๆ ส่วนตัวคนที่ป่วยเองก็ปฏิเสธไม่ได้เพราะรู้ว่าคนที่ดูแลเค้าเป็นห่วงก็เลยเงียบๆไว้ เป็นต้น
อย่างย่าละเมียดก็เช่นกัน เราแทบจะไม่ได้เห็นรอยยิ้มของแกเลยทั้งๆที่ผัวแกดูแลมากขนาดนั้น คิดตื้นๆก็อาจจะคิดว่า “ทำไมยังไม่พอใจอีก” “คิดแต่ในแง่ลบ คนอื่นที่เค้าดูแลนี่เหนื่อยนะ” ส่วนหนึ่งการเป็นโรคเรื้อรังมันทำให้เกิดอาการซึมเศร้าอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ทำให้ตัวเองต้องพึ่งพิงคนอื่น เพราะเค้าจะสูญเสียการมีสิทธิในตัวตนและร่างกายตนเอง (Autonomy) ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่พื้นฐานมากๆของแต่ละบุคคล ดูเผินๆย่าละเมียดอาจจะเป็นคนที่บอกให้ปู่สมบูรณ์ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่จริงๆแล้วนั่นเป็นเพียงสิ่งเล็กๆที่ย่าละเมียดสามารถทำได้เพื่อให้ได้รู้สึกว่าตนเองยังมีตัวตนอยู่ (มีอำนาจเล็กน้อยๆในการควบคุมบางสิ่งบางอย่าง) เพราะนอกเหนือจากนั้นทำเองไม่ได้และปู่ทำให้หมด แต่ถามว่าสิ่งนี้ทำให้มีความสุขหรือไม่ ย่อมไม่อย่างแน่นอน บางทีการพยายามช่วยให้ย่าละเมียดได้ช่วยเหลือตัวเองได้ ได้รับรู้สิทธิในร่างกายตนเองอาจจะทำให้ย่าละเมียดมีความสุขกว่าก็เป็นได้ แต่ในมุมมองคนภายนอกก็คงมองผัวว่าใจดำหรือไม่รักจริงก็เป็นได้ และถ้าเป็นอย่างนั้นสารคดีเรื่องนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น
สารคดีเรื่องปู่สมบูรณ์มีจุดดีๆอยู่มากเช่น ประเด็นที่อยากนำเสนอ การที่ให้คนดูอยู่ในลักษณะผู้เฝ้ามอง ไม่มีการสร้างดราม่าเร้าอารมณ์ (ทั้งที่ถ้าจะทำก็คงทำได้) แต่อาจจะยังมีปัญหาในแง่ของมุมมองที่ค่อนข้างผิวเผินและเห็นแค่ด้านเดียว ในส่วนของวิธีการเล่าเรื่องเองก็ยังไม่ชวนติดตามมากนัก โทนของหนังทั้งเรื่องก็ยังดูกระท่อนกระแท่นอยู่พอสมควร จึงทำให้ผลลัพธ์ของปู่สมบูรณ์ไม่สมบูรณ์นัก
แต่ก็ต้องชื่นชมคนทำหนังที่ทำหนังแบบนี้ออกมาเพราะไม่ว่าตัวหนังจะยังบกพร่องอยู่ก็ตามแต่มันจะต่อยอดไปสู่การพัฒนาของวงการสารคดีไทยหรืออาจจะถึงวงการหนังอิสระของไทยด้วย และที่น่ายินดียิ่งกว่าคือหนังสารคดีเรื่องนี้ได้รับการขยายรอบฉายต่อไปอีก 1 สัปดาห์หลังจากที่มีคนสนใจกันเกินคาดทีเดียว ขอแสดงความยินดีกับคนทำด้วยครับ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น