หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
[BERSERK] ภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์ก ตอนที่ 1
กระทู้สนทนา
เบอร์เซิร์ก
การ์ตูน
การ์ตูนญี่ปุ่น
ภาษาต่างประเทศ
ประเทศอินเดีย
คราวก่อนผมได้หยิบเอาประเด็นเกี่ยวกับ ‘จักรวาลวิทยา’ ในเบอร์เซิร์กมาพูดแล้ว คราวนี้ผมขอเอาประเด็นเรื่องภาษาในการ์ตูนเรื่องนี้มาพูดบ้าง ซึ่งภาษาในเบอร์เซิร์กที่ว่านั้นก็คือภาษาสันสกฤตที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี เพราะคำไทยหลายคำก็ยืมมาจากคำบาลีและสันสกฤต (และชื่อจริงของคนไทยส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นคำบาลี-สันสกฤตกันทั้งนั้น)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ประเด็นเรื่องภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์กนี้เคยมีคนนำมาพูดถึงแล้ว ซึ่งบางท่านอาจเคยพบเคยเห็นมาแล้ว ตามลิงค์นี้ =>
http://fantastica.exteen.com/20071208/berserk
แต่ผมจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม และพูดถึงบางคำที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง
เนื้อหาในช่วงแรกๆ ของเบอร์เซิร์กจะไม่ปรากฏภาษาสันสกฤตอยู่เลย แต่เมื่อถึงช่วงหลังๆ ของ
ภาคยุคทอง (The Golden Age Arc)
คำสันสกฤตแปลกๆ ก็ได้ปรากฏขึ้น โดยครั้งแรก เริ่มจากตัวละครที่กัทส์เจอในงานประลองยุทธ์ (หลังจากที่กัทส์ตีจากกองพันเหยี่ยวแล้ว) นั่นคือ
Silat
นักรบท่วงท่าประหลาดและช่ำชองอาวุธพิสดารจากแดนตะวันออก หลังจากนั้นช่วงที่พวกกัทส์บุกไปช่วยกริฟฟิธออกมาจากคุกนรก กษัตริย์แห่งมิดแลนด์ก็ได้ส่งนักรบกลุ่ม
Bākiraka
มาจัดการกับพวกกัทส์ จากนั้นเนื้อเรื่องในช่วงต่อๆ มาก็จะปรากฏคำเรียกคนกลุ่มหนึ่งที่เข้ามารุกรานอาณาจักรมิดแลนด์ว่าพวก
Kushan
อยู่เป็นระยะๆ ซึ่งคำๆ นี้ได้แสดงตัวออกอย่างสมบูรณ์ใน
ภาคมิลเลนเนียมฟอลค่อน (The Millennium Falcon Arc) บทแห่งพงศาวดารปิศาจศักดิ์สิทธิ์ (Chapter of The Holy Demon War)
ซึ่งทำให้รู้ว่า
Kushan
ก็คืออาณาจักรทางตะวันออกที่ปกครองโดยกษัตริย์
Ganishka
ผู้หวังจะเป็นใหญ่ในโลกนั่นเอง
นี่คือภาพรวมคร่าวๆ ของการปรากฏภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์ก จากนี้ผมจะกล่าวเนื้อหาโดยละเอียดเป็นลำดับไป
สิลัต (Silat)
มังงะไทยแปลว่า ชิรัท
คำว่า
สิลัต (Silat)
เป็นคำที่ใช้เรียกศิลปะการต่อสู้ของชนชาวมลายูในแถบเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเรียกเต็มๆ ว่า
ปันจักสิลัต (Pancak Silat)
โดย
Pancak
หมายถึงการป้องกันตัว และคำว่า
Silat
หมายถึงศิลปะ รวมแล้วจึงหมายถึงศิลปะการป้องกันตัว สิลัตเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ปรากฏในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ คือมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูลด้วย โดยคำว่าสิลัตนี้ในแต่ละภูมิภาคจะเรียกต่างกันไปตามสำเนียงภาษา อาทิ
สิละ ดีกา
และ
บือดีกา
ซึ่งไม่แน่ใจว่าคำว่าสิลัตนี้เป็นคำสันสกฤตแท้หรือไม่ แต่ก็เป็นไปได้ว่าใช่ เพราะนักวิชาการบางท่านเห็นว่า คำว่าสิละอาจมีรากศัพท์มาจากคำว่า
ศิละ
ในภาษาสันสกฤต ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่ในภาษาแถบนี้มาก
ส่วนในเบอร์เซิร์ก สิลัตเป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่ง เขาเป็นนักรบเผ่า
Bākiraka
ของอาณาจักร
Kushan
เป็นนักสู้ที่มีทักษะการต่อสู้และความคล่องแคล่วสูง สไตล์การต่อสู้ของเขามีลักษณะคล้ายกับศิลปะการต่อสู้ในแถบอินเดียใต้ที่เรียกว่า
กลริปปยัตตุ
(
Kalarippayattu
มาจากการประสมของคำว่า
Kalari
ที่แปลว่ากายกรรม กับคำว่า
Payattu
ที่แปลว่าการต่อสู้) ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่มากแขนงหนึ่งของโลก นักวิชาการบางท่านเห็นว่ามันอาจเป็นต้นกำเนิดของวิชากังฟูด้วยซ้ำ โดยวิชานี้มีต้นกำเนิดมาจากชาว
ทราวิฑ (Dravidian)
ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของดินแดนชมพูทวีป โดยศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้แพร่หลายในอินเดีย ศรีลังกา และบางส่วนของมาเลเซีย
อุรุมิ (Urumi)
มังงะไทยแปลว่า อูลมิน
อุรุมิ
เป็นอาวุธของอินเดียที่มีต้นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มีลักษณะเป็นดาบยาวกับใบมีดที่มีความยืดหยุ่นเหมือนแส้ ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก มันเป็นอาวุธที่ร้ายกาจชนิดหนึ่งที่สิลัตนำมาใช้ต่อสู้กับอาเฮียกัทส์ผู้ใช้ดาบควายขนาดเขื่อง
อันที่จริงอาวุธที่สิลัตใช้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่ปรากฏชื่อเรียกในเนื้อเรื่องมีเพียงอุรุมิเท่านั้น ตรงจุดนี้ผมจึงถือโอกาสแนะนำชื่ออาวุธชนิดอื่นๆ ที่สิลัตใช้ด้วยเลยแล้วกัน
อันนี้คือ
กตาร (Katar)
หรือ
กตาระ (Katara)
เป็นอาวุธประเภทกริชในแถบอินเดียใต้
ส่วนอันนี้คือ
จักรัม (Chakram)
เป็นอาวุธชนิดขว้างของอินเดีย มีลักษณะกลมและมีขอบด้านนอกคม
พากิรกะ (Bākiraka)
มังงะไทยแปลว่า บาคิราก้า
คำว่า
พากิรกะ
นี้ผมเข้าใจว่าเป็นคำที่ไม่มีอยู่จริง ผู้เขียนเบอร์เซิร์กน่าจะแต่งคำขึ้นมาเอง แต่มันก็เป็นคำสันสกฤตที่เกิดจากการประสมของคำว่า
พากิ (Bāki)
ที่ผมหาความหมายไม่พบ และคำว่า
รกะ (Raka)
ที่แปลว่า ผลึก, อัญมณีแห่งดวงอาทิตย์ แต่ก็เป็นไปได้ว่าคำว่า Bakiraka นี้ผู้เขียนได้ดัดแปลงคำว่า
Barakah
ซึ่งเป็นภาษาอารบิกหมายถึงการอวยพร หรือพรแห่งพระเจ้า (และยังเป็นชื่อของสุลต่านคนหนึ่งที่เคยปกครองอียิปต์ด้วย) ให้ดูคล้ายภาษาสันสกฤต
ในเรื่องเบอร์เซิร์ก พากิรกะเป็นชื่อเรียกกลุ่มชนเผ่านักรบของอาณาจักร
Kushan
ซึ่งเป็นชนเผ่าของสิลัตด้วย
ดาบส (Tapasa)
ตปสะ เป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า นก หรือ ความเท่ากัน (equals) แต่ที่มาของคำนี้ในเบอร์เซิร์กน่าจะมาจากคำว่า ตปัส (Tapas) หรือคำว่า
ดาบส
(
แก้ตามคห.10
) ในภาษาไทยมากกว่า ซึ่งคำว่าดาบสนี้หมายถึง นักพรตผู้ปฏิบัติสมาธิ หรือผู้ฝึกตน หรือผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลสหรือเพื่อบรรลุโมกษะ
ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก ดาบสคือนักรบชนเผ่าพากิรกะสี่คนที่เป็นคนสนิทและบอดีการ์ดของสิลัต
กนิษกะ (Ganishka)
มังงะไทยแปลว่า คานิชก้า
กนิษกะ (Kanishka)
เป็นพระนามของกษัตริย์แห่งราชวงศ์กุษาณะในอินเดียใต้ พระเจ้ากนิษกะ (มหาราช) เป็นกษัตริย์ลำดับที่สามของราชวงศ์กุษาณะ ทรงมีชื่อเสียงในด้านการทหาร การปกครอง และการเป็นผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์เป็นผู้กำหนดใช้ศักราชแบบมหาศักราชขึ้น (ในวิชาประวัติศาสตร์สมัยมัธยมก็มี ถ้าใครพอจำได้) และชื่อเสียงที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระองค์ก็คือการเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน (เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของนิกายเถรวาทหรือหินยาน) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สี่ด้วย
ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก กนิษกะเป็นจักรพรรดิของอาณาจักร
Kushan
และยังเป็นสาวก (ของก็อดแฮนด์) ที่ร้ายกาจมากที่สุดด้วย แถมยังคิดการใหญ่ อยากเทียบรัศมีกับก็อดแฮนด์เสียด้วย หลังจากที่ได้ใช้ไสยศาสตร์ขั้นสูงแปลงรูปตัวเองจนกลายเป็น 'ร่างศิวะ' หรือกลายเป็นโลกปิศาจอันยิ่งใหญ่มโหฬารแล้ว สุดท้ายกนิษกะก็ถูกก็อดแฮนด์เฟมโตใช้เป็นเครื่องมือในการเปิดโลกแฟนตาเซีย
มีข้อสังเกตว่า กนิษกะของเบอร์เซิร์กนั้นสะกดด้วยตัว G ไม่ใช่ตัว K เหมือนพระเจ้ากนิษกะตัวจริง
กุษาณ (Kushan)
มังงะไทยแปลว่า คูซาน
กุษาณ (Kushan)
หรือ
กุษาณะ (Kushana)
เป็นชื่ออาณาจักรหรือจักรวรรดิโบราณทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในแถบปากีสถาน)
ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก กุษาณเป็นชื่ออาณาจักรที่ปกครองโดยจักรพรรดิคนิษกะ ซึ่งได้เข้ารุกรานมิดแลนด์ และยังเป็นคำเรียกกลุ่มชนของอาณาจักรนี้ด้วย
รากษส (Rakshas)
มังงะไทยแปลว่า ราคุชัส
คำว่ารากษสนี้เป็นที่คุ้นตาของคนไทยอยู่แล้ว เพราะปรากฏอยู่บ่อยครั้งในวรรณคดีไทย รากษสหมายถึงอมนุษย์จำพวกอสูรชั่วร้าย มีความดุร้ายป่าเถื่อน ในคัมภีร์โลกทีปกสารบอกว่าเป็นบริวารของพญายม ส่วนในคัมภีร์โลกบัญญัติบอกว่าเป็นบริวารของพระวรุณ
ส่วนในเบอร์เซิร์ก รากษสคือบุคคลลึกลับที่ถูกเนรเทศออกจากกุษาณ มีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นสาวกอสูร
ทากะ (Daka)
มังงะไทยแปลว่า ดากะ
ทากะ
เป็นปิศาจเพศผู้ที่กินเนื้อมนุษย์ หรือวิญญาณชั่วร้าย (เพศหญิงเรียก
ทากินี-Dakini
) ในตำนานของศาสนาฮินดู ซึ่งมีปรากฏเรื่องเล่าอยู่ในหลายคัมภีร์ แต่ทากินีซึ่งเป็นเพศหญิงดูจะมีบทบาทและถูกกล่าวถึงมากกว่าทากะ ในพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ทากินีเป็นตัวแทนของความผันผวนทางอารมณ์ แรงบันดาลใจทางจิตวิญญาณ และพลังงานของเพศหญิง นอกจากนี้ในบางกรณีทากะและทากินีก็ถูกใช้เรียกผู้ปฏิบัติตนตามหลักโยคะในนิกายตันตระด้วย โดยทากะใช้เรียกผู้ปฏิบัติเพศชาย ส่วนทากินีใช้เรียกผู้ปฏิบัติเพศหญิง
* รูปที่ยกมาคือทากินี
สำหรับในเรื่องเบอร์เซิร์ก ทากะ คือกองทัพทหารอสูรหน้าตาน่ารักของอาณาจักรกุษาณ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยวิชาไสยศาสตร์อันพิสดาร
มกร (Makara)
มังงะไทยแปลว่า มาคาร่า
มกร
หรือเขียนในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกว่าก็คือ
มังกร
มันเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ร่างกายด้านหน้ามีลักษณะแบบสัตว์บก คือมีลักษณะเหมือนช้าง จระเข้ และกวาง ส่วนด้านหลังมีลักษณะแบบสัตว์น้ำ คือมีลักษณะเหมือนปลา มกรเป็นสัตว์พาหนะของพระแม่คงคา (เทพีแห่งสายน้ำ) และพระวรุณ (เทพแห่งทะเล) นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของ
กามเทวะ
(Kamadeva-คิวปิดของฮินดู) ด้วย
ส่วนในเบอร์เซิร์ก มกรเป็นสัตว์อสูรที่ควบคุมโดยนักบวชกุษาณ มันมีลักษณะเป็นสัตว์คล้ายปลาขนาดใหญ่ และยังมีส่วนผสมของช้างและวาฬ มีลำตัวยาวและมีรูปร่างใหญ่โต
ภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์กยังไม่หมดนะครับ เดี๋ยวผมค่อยมาลงตอนที่ 2 ต่อ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
กรีฟีซ ใน Berserk นับเป็นตัวร้ายรึปล่าวครับ
กรีฟีซ ใน Berserk นับเป็นตัวร้ายรึปล่าวครับ ช่วงนี้ผมอ่านถึงแค่ เล่ม 5 นะครับ แต่มิติ ที่เขาตามพระเอกมาเป็นตัวร้าย แคสก้าน่าจะเป็นนางเอก มิโนทอร์ในเล่ม 5 คือตัวอะไรครับ บินได้ด้วย แล้วพระเอกแยกกับกร
สมาชิกหมายเลข 1569412
[BERSERK] ภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์ก ตอนที่ 2
ภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์ก ตอนที่ 2 ต่อนะครับ ครุฑ (Garuda) มังงะไทยแปลว่า การูด้า ครุฑ นี่ก็เป็นสัตว์ในเทวตำนานฮินดู (และพุทธ) อีกชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักมักคุ้นกันดี เพราะเห็นอยู่เสมอในเอกสารทางร
Physica Cakravala
ชื่อของอาณาจักร "ศรีโคตรบูร" มาจากไหน?
ผมไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับอาณาจักรศรีโคตรบูรมากนักรู้เพียงว่ามีศูนย์กลางบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงในเขตประเทศไทยและลาวในปัจจุบัน และเป็นอาณาจักรร่วมสมัยกันกับทวารวดีของลุ่มน้ำในภาคกลางของไทย แต่ในบันทึกก
Like สาระ?
ดินแดนมุสตางค์แห่งเนปาล ร่องรอยอาณาจักรโบราณที่เคยยิ่งใหญ่
มุสตางค์ (Mustang) หรือ อัปเปอร์มุสตางค์ อยู่ในเขตการปกครองของ เนปาล ได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรที่ถูกช
ขี้เมี่ยง ชาแนล
เมดเวเดฟ ตอบโต้ที่เซเลนสกี้ เสนอเปลี่ยนชื่อประเทศรัสเซีย เพราะกลัวรัสเซียจะอ้างอาณาจักรเคียฟรุส มายึดยูเครน
วันเดียวกัน นายดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย ได้กล่าวโจมตีท่าทีของนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ที่มีคำสั่งให้รัฐบาลยูเครน ศึกษาประวัติศาสต
สมาชิกหมายเลข 7361167
วัฏสงสาร หรือ สังสารวัฏ: ความหมายและแนวคิดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
วัฏสงสาร หรือ สังสารวัฏ: ความหมายและแนวคิดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด วัฏสงสาร หรือ สังสารวัฏ (อักษรเทวนาครี: संसार, saṃsāra) คือแนวคิดสำคัญในศาสนาต่าง ๆ ของอินเดีย
tonight8
[BERSERK] บทวิเคราะห์ก็อดแฮนด์
หากพูดถึงตัวละครที่น่าสนใจในการ์ตูนเรื่อง BERSERK นอกจากกัทส์ (กัซ) แคสก้า และกริฟฟิธ (กรีฟิส) แล้ว ผมเชื่อว่าคงมีหลายคนนึกถึงเจ้าห้าตัวในรูปข้างบนนี้เป็นแน่ เพราะพวกมันถือเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญ แ
Physika Raida
จริงหรือที่ นักวิชาการชาวอินเดียบอกว่า จีนจะขโมยจากอินเดีย China will steal from India.
China will steal from India. We are at a juncture where Chinese economy is failing, their copy cat innovation&
สมาชิกหมายเลข 7778971
คำอะไรที่มีความหมายว่า "ชั่วร้าย" ?
ผมอ่านตามวิกิ Fandom ภาษาอังกฤษไปเรื่อยๆ แล้วไปเจอคำที่แปลไทยมาว่า "กลุ่มสวรรค์ชั่วร้าย ( Wicked Heavenly Faction ) " ผู้นำกลุ่มคือ "จักรพรรดิชั่วร้าย ( Evil Emperors )" เป็นชื่อขอ
สมาชิกหมายเลข 5718012
ในบรรดา 4 ชาติ ถ้าให้มาสร้างประเทศในต่างโลก ใครจะประสบความสำเร็จ รำรวยหรือมีเสถียรภาพและความมั่นคงมากกว่ากัน
สมมุติว่า ในปี 2025 มีประตูหรือเกท สไตร์กรีกโรมัน มาเป็นใน 4 ประเทศนั้นคือไทย อเมริกา ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ทั้งสี่ชาติตัดสินใจส่งคนเข้าไปสำรวจในโลก
สมาชิกหมายเลข 6669894
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
เบอร์เซิร์ก
การ์ตูน
การ์ตูนญี่ปุ่น
ภาษาต่างประเทศ
ประเทศอินเดีย
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 12
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
[BERSERK] ภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์ก ตอนที่ 1
คราวก่อนผมได้หยิบเอาประเด็นเกี่ยวกับ ‘จักรวาลวิทยา’ ในเบอร์เซิร์กมาพูดแล้ว คราวนี้ผมขอเอาประเด็นเรื่องภาษาในการ์ตูนเรื่องนี้มาพูดบ้าง ซึ่งภาษาในเบอร์เซิร์กที่ว่านั้นก็คือภาษาสันสกฤตที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี เพราะคำไทยหลายคำก็ยืมมาจากคำบาลีและสันสกฤต (และชื่อจริงของคนไทยส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นคำบาลี-สันสกฤตกันทั้งนั้น)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ประเด็นเรื่องภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์กนี้เคยมีคนนำมาพูดถึงแล้ว ซึ่งบางท่านอาจเคยพบเคยเห็นมาแล้ว ตามลิงค์นี้ => http://fantastica.exteen.com/20071208/berserk แต่ผมจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม และพูดถึงบางคำที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง
เนื้อหาในช่วงแรกๆ ของเบอร์เซิร์กจะไม่ปรากฏภาษาสันสกฤตอยู่เลย แต่เมื่อถึงช่วงหลังๆ ของ ภาคยุคทอง (The Golden Age Arc) คำสันสกฤตแปลกๆ ก็ได้ปรากฏขึ้น โดยครั้งแรก เริ่มจากตัวละครที่กัทส์เจอในงานประลองยุทธ์ (หลังจากที่กัทส์ตีจากกองพันเหยี่ยวแล้ว) นั่นคือ Silat นักรบท่วงท่าประหลาดและช่ำชองอาวุธพิสดารจากแดนตะวันออก หลังจากนั้นช่วงที่พวกกัทส์บุกไปช่วยกริฟฟิธออกมาจากคุกนรก กษัตริย์แห่งมิดแลนด์ก็ได้ส่งนักรบกลุ่ม Bākiraka มาจัดการกับพวกกัทส์ จากนั้นเนื้อเรื่องในช่วงต่อๆ มาก็จะปรากฏคำเรียกคนกลุ่มหนึ่งที่เข้ามารุกรานอาณาจักรมิดแลนด์ว่าพวก Kushan อยู่เป็นระยะๆ ซึ่งคำๆ นี้ได้แสดงตัวออกอย่างสมบูรณ์ใน ภาคมิลเลนเนียมฟอลค่อน (The Millennium Falcon Arc) บทแห่งพงศาวดารปิศาจศักดิ์สิทธิ์ (Chapter of The Holy Demon War) ซึ่งทำให้รู้ว่า Kushan ก็คืออาณาจักรทางตะวันออกที่ปกครองโดยกษัตริย์ Ganishka ผู้หวังจะเป็นใหญ่ในโลกนั่นเอง
นี่คือภาพรวมคร่าวๆ ของการปรากฏภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์ก จากนี้ผมจะกล่าวเนื้อหาโดยละเอียดเป็นลำดับไป
สิลัต (Silat) มังงะไทยแปลว่า ชิรัท
คำว่า สิลัต (Silat) เป็นคำที่ใช้เรียกศิลปะการต่อสู้ของชนชาวมลายูในแถบเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเรียกเต็มๆ ว่า ปันจักสิลัต (Pancak Silat) โดย Pancak หมายถึงการป้องกันตัว และคำว่า Silat หมายถึงศิลปะ รวมแล้วจึงหมายถึงศิลปะการป้องกันตัว สิลัตเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ปรากฏในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ คือมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูลด้วย โดยคำว่าสิลัตนี้ในแต่ละภูมิภาคจะเรียกต่างกันไปตามสำเนียงภาษา อาทิ สิละ ดีกา และบือดีกา ซึ่งไม่แน่ใจว่าคำว่าสิลัตนี้เป็นคำสันสกฤตแท้หรือไม่ แต่ก็เป็นไปได้ว่าใช่ เพราะนักวิชาการบางท่านเห็นว่า คำว่าสิละอาจมีรากศัพท์มาจากคำว่า ศิละ ในภาษาสันสกฤต ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่ในภาษาแถบนี้มาก
ส่วนในเบอร์เซิร์ก สิลัตเป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่ง เขาเป็นนักรบเผ่า Bākiraka ของอาณาจักร Kushan เป็นนักสู้ที่มีทักษะการต่อสู้และความคล่องแคล่วสูง สไตล์การต่อสู้ของเขามีลักษณะคล้ายกับศิลปะการต่อสู้ในแถบอินเดียใต้ที่เรียกว่า กลริปปยัตตุ (Kalarippayattu มาจากการประสมของคำว่า Kalari ที่แปลว่ากายกรรม กับคำว่า Payattu ที่แปลว่าการต่อสู้) ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่มากแขนงหนึ่งของโลก นักวิชาการบางท่านเห็นว่ามันอาจเป็นต้นกำเนิดของวิชากังฟูด้วยซ้ำ โดยวิชานี้มีต้นกำเนิดมาจากชาว ทราวิฑ (Dravidian) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของดินแดนชมพูทวีป โดยศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้แพร่หลายในอินเดีย ศรีลังกา และบางส่วนของมาเลเซีย
อุรุมิ (Urumi) มังงะไทยแปลว่า อูลมิน
อุรุมิ เป็นอาวุธของอินเดียที่มีต้นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มีลักษณะเป็นดาบยาวกับใบมีดที่มีความยืดหยุ่นเหมือนแส้ ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก มันเป็นอาวุธที่ร้ายกาจชนิดหนึ่งที่สิลัตนำมาใช้ต่อสู้กับอาเฮียกัทส์ผู้ใช้ดาบควายขนาดเขื่อง
อันที่จริงอาวุธที่สิลัตใช้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่ปรากฏชื่อเรียกในเนื้อเรื่องมีเพียงอุรุมิเท่านั้น ตรงจุดนี้ผมจึงถือโอกาสแนะนำชื่ออาวุธชนิดอื่นๆ ที่สิลัตใช้ด้วยเลยแล้วกัน
อันนี้คือ กตาร (Katar) หรือ กตาระ (Katara) เป็นอาวุธประเภทกริชในแถบอินเดียใต้
ส่วนอันนี้คือ จักรัม (Chakram) เป็นอาวุธชนิดขว้างของอินเดีย มีลักษณะกลมและมีขอบด้านนอกคม
พากิรกะ (Bākiraka) มังงะไทยแปลว่า บาคิราก้า
คำว่า พากิรกะ นี้ผมเข้าใจว่าเป็นคำที่ไม่มีอยู่จริง ผู้เขียนเบอร์เซิร์กน่าจะแต่งคำขึ้นมาเอง แต่มันก็เป็นคำสันสกฤตที่เกิดจากการประสมของคำว่า พากิ (Bāki) ที่ผมหาความหมายไม่พบ และคำว่า รกะ (Raka) ที่แปลว่า ผลึก, อัญมณีแห่งดวงอาทิตย์ แต่ก็เป็นไปได้ว่าคำว่า Bakiraka นี้ผู้เขียนได้ดัดแปลงคำว่า Barakah ซึ่งเป็นภาษาอารบิกหมายถึงการอวยพร หรือพรแห่งพระเจ้า (และยังเป็นชื่อของสุลต่านคนหนึ่งที่เคยปกครองอียิปต์ด้วย) ให้ดูคล้ายภาษาสันสกฤต
ในเรื่องเบอร์เซิร์ก พากิรกะเป็นชื่อเรียกกลุ่มชนเผ่านักรบของอาณาจักร Kushan ซึ่งเป็นชนเผ่าของสิลัตด้วย
ดาบส (Tapasa)
ตปสะ เป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า นก หรือ ความเท่ากัน (equals) แต่ที่มาของคำนี้ในเบอร์เซิร์กน่าจะมาจากคำว่า ตปัส (Tapas) หรือคำว่า ดาบส (แก้ตามคห.10) ในภาษาไทยมากกว่า ซึ่งคำว่าดาบสนี้หมายถึง นักพรตผู้ปฏิบัติสมาธิ หรือผู้ฝึกตน หรือผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลสหรือเพื่อบรรลุโมกษะ
ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก ดาบสคือนักรบชนเผ่าพากิรกะสี่คนที่เป็นคนสนิทและบอดีการ์ดของสิลัต
กนิษกะ (Ganishka) มังงะไทยแปลว่า คานิชก้า
กนิษกะ (Kanishka) เป็นพระนามของกษัตริย์แห่งราชวงศ์กุษาณะในอินเดียใต้ พระเจ้ากนิษกะ (มหาราช) เป็นกษัตริย์ลำดับที่สามของราชวงศ์กุษาณะ ทรงมีชื่อเสียงในด้านการทหาร การปกครอง และการเป็นผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์เป็นผู้กำหนดใช้ศักราชแบบมหาศักราชขึ้น (ในวิชาประวัติศาสตร์สมัยมัธยมก็มี ถ้าใครพอจำได้) และชื่อเสียงที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระองค์ก็คือการเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน (เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของนิกายเถรวาทหรือหินยาน) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สี่ด้วย
ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก กนิษกะเป็นจักรพรรดิของอาณาจักร Kushan และยังเป็นสาวก (ของก็อดแฮนด์) ที่ร้ายกาจมากที่สุดด้วย แถมยังคิดการใหญ่ อยากเทียบรัศมีกับก็อดแฮนด์เสียด้วย หลังจากที่ได้ใช้ไสยศาสตร์ขั้นสูงแปลงรูปตัวเองจนกลายเป็น 'ร่างศิวะ' หรือกลายเป็นโลกปิศาจอันยิ่งใหญ่มโหฬารแล้ว สุดท้ายกนิษกะก็ถูกก็อดแฮนด์เฟมโตใช้เป็นเครื่องมือในการเปิดโลกแฟนตาเซีย
มีข้อสังเกตว่า กนิษกะของเบอร์เซิร์กนั้นสะกดด้วยตัว G ไม่ใช่ตัว K เหมือนพระเจ้ากนิษกะตัวจริง
กุษาณ (Kushan) มังงะไทยแปลว่า คูซาน
กุษาณ (Kushan) หรือ กุษาณะ (Kushana) เป็นชื่ออาณาจักรหรือจักรวรรดิโบราณทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในแถบปากีสถาน)
ส่วนในเรื่องเบอร์เซิร์ก กุษาณเป็นชื่ออาณาจักรที่ปกครองโดยจักรพรรดิคนิษกะ ซึ่งได้เข้ารุกรานมิดแลนด์ และยังเป็นคำเรียกกลุ่มชนของอาณาจักรนี้ด้วย
รากษส (Rakshas) มังงะไทยแปลว่า ราคุชัส
คำว่ารากษสนี้เป็นที่คุ้นตาของคนไทยอยู่แล้ว เพราะปรากฏอยู่บ่อยครั้งในวรรณคดีไทย รากษสหมายถึงอมนุษย์จำพวกอสูรชั่วร้าย มีความดุร้ายป่าเถื่อน ในคัมภีร์โลกทีปกสารบอกว่าเป็นบริวารของพญายม ส่วนในคัมภีร์โลกบัญญัติบอกว่าเป็นบริวารของพระวรุณ
ส่วนในเบอร์เซิร์ก รากษสคือบุคคลลึกลับที่ถูกเนรเทศออกจากกุษาณ มีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นสาวกอสูร
ทากะ (Daka) มังงะไทยแปลว่า ดากะ
ทากะ เป็นปิศาจเพศผู้ที่กินเนื้อมนุษย์ หรือวิญญาณชั่วร้าย (เพศหญิงเรียก ทากินี-Dakini) ในตำนานของศาสนาฮินดู ซึ่งมีปรากฏเรื่องเล่าอยู่ในหลายคัมภีร์ แต่ทากินีซึ่งเป็นเพศหญิงดูจะมีบทบาทและถูกกล่าวถึงมากกว่าทากะ ในพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ทากินีเป็นตัวแทนของความผันผวนทางอารมณ์ แรงบันดาลใจทางจิตวิญญาณ และพลังงานของเพศหญิง นอกจากนี้ในบางกรณีทากะและทากินีก็ถูกใช้เรียกผู้ปฏิบัติตนตามหลักโยคะในนิกายตันตระด้วย โดยทากะใช้เรียกผู้ปฏิบัติเพศชาย ส่วนทากินีใช้เรียกผู้ปฏิบัติเพศหญิง
* รูปที่ยกมาคือทากินี
สำหรับในเรื่องเบอร์เซิร์ก ทากะ คือกองทัพทหารอสูรหน้าตาน่ารักของอาณาจักรกุษาณ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยวิชาไสยศาสตร์อันพิสดาร
มกร (Makara) มังงะไทยแปลว่า มาคาร่า
มกร หรือเขียนในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกว่าก็คือ มังกร มันเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ร่างกายด้านหน้ามีลักษณะแบบสัตว์บก คือมีลักษณะเหมือนช้าง จระเข้ และกวาง ส่วนด้านหลังมีลักษณะแบบสัตว์น้ำ คือมีลักษณะเหมือนปลา มกรเป็นสัตว์พาหนะของพระแม่คงคา (เทพีแห่งสายน้ำ) และพระวรุณ (เทพแห่งทะเล) นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของ กามเทวะ (Kamadeva-คิวปิดของฮินดู) ด้วย
ส่วนในเบอร์เซิร์ก มกรเป็นสัตว์อสูรที่ควบคุมโดยนักบวชกุษาณ มันมีลักษณะเป็นสัตว์คล้ายปลาขนาดใหญ่ และยังมีส่วนผสมของช้างและวาฬ มีลำตัวยาวและมีรูปร่างใหญ่โต
ภาษาสันสกฤตในเบอร์เซิร์กยังไม่หมดนะครับ เดี๋ยวผมค่อยมาลงตอนที่ 2 ต่อ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ