นายสาย อิ่นคำ กรรมการสมาคมยางพารา สถาบันเกษตรกรยางพาราไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทางสมาคมยางพารา ได้ดำเนินการส่งออกยางพาราครั้งแรก โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราจำนวน 80 ตัน แยกเป็นยางแท่ง STR 20 จำนวน 50 ตัน และยางเครป จำนวน 30 ตัน .....
ซึ่งเป้าหมายการส่งออกในครั้งนี้ไปที่ประเทศจีนตอนใต้ สมาคมฯส่งโดยทางเรือ คือ นำส่งให้กับทางผู้ประกอบการของจีน ณ ท่าเรือเชียงแสน ถือว่าสิ้นสุดขั้นตอนการส่งออก ไม่ต้องแบกรับภาระไปถึงประเทศจีน เนื่องจากส่งของถึงผู้ประกอบการลงท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย ก็เสร็จสิ้นแล้ว
โดยราคายางพาราส่งออกอยู่ที่ STR 20 จำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 48 บาท ยางเครปจำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 30 บาท ระยะทางการขนส่งก็ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ เป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในระยะยาวอย่างมาก และสิ่งนี้คือความหวังของเกษตรกรอย่างมาก
นายสายกล่าวต่อว่า มาตรการและแนวทางการส่งออกยางพาราดังกล่าว เป็นผลดีต่อสมาคมฯ และเกษตรกร คือ จะช่วยกระตุ้นราคายางพาราให้สูงขึ้น เนื่องจากสถาบันเกษตรกรสามารถส่งออกได้เอง
โดยไม่ต้องพึ่งกลไกทางธุรกิจของ 5 เสือที่ผูกขาดการส่งออกยางพาราเหมือนที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีโอกาสด้านการตลาดมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทางสมาคมฯต้องการได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเร่งด่วน
และในระยะยาวคือ การสนับสนุนทุนและการจัดงบประมาณลงทุนด้านการจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางพารา คือ โรงงานอัดยางแท่ง STR 20 และโรงงานทำยางเครป โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรยางพาราในภาคเหนือและทั่วประเทศในระยะยาวต่อไปในอนาคต
เนื่องจากหากนำยางพาราในภาคเหนือแปรรูปในภาคกลางคือภาคตะวันออก เพื่อทำยางแท่ง STR 20 และยางเครป สถาบันเกษตรจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการแปรรูปกิโลกรัมละ 12-15 บาท หากมีโรงงานแปรรูปยางพาราดังกล่าวในภาคเหนือ จะช่วยลดต้นทุน และเกษตรกรจะได้มีโรงงานแปรรูปยางพาราในพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าของยางพาราได้อย่างยั่งยืนต่อไป .....
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1419304470
............
ปอลิง .. อายกลุ่มคนที่พึ่งปลูกยางทางภาคอื่นกันบ้างไหม๊ เขาดิ้นรนเอง หาทางออกเอง เขาไม่ออกมาโวยวาย ทั้งๆที่ราคายางก็เท่ากัน .. กินหลากหลาย เสียชื่อฉิบ .... !!!
ปอลิง 2 .. ดูการรวมกลุ่ม การบริหารจัดการ การมีวิสัยทัศ ของคนปลูกยางทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก แล้วมาดูพวกปลูกยางทางภาคใต้ ซึ่งปลูกมาไม่รู้กี่ชั่วคนแล้ว ก็ยังจับกลุ่มกันไม่ติด ถึงมีกลุ่มก็ขายให้พวกหรือในเครือ 5 เสือ ยางพารา ราคายางเลยไม่ไปถึงไหน
ปอลิง 3 .. คิดได้บ้างก็แค่ปลอบใจตัวเองว่าปลูกมานานแล้ว คืนทุนมาเป็น10ปีแล้ว ช่วงนี้ถึงราคายางจะลดลงก็เป็นช่วงกำไร ไม่เป็นไร ... แต่ในความเป็นจริง ... หากแดร๊ก ขี้ยางได้คงแคร๊กไปแล้วไม่ออกมาโวยวายให้หายขี้หน้าหรอกเชื่อเถอะ ...
ปอลิง 4 .. 5 เสือบริษัทส่งออกยางของไทยคือ ....
บริษัทไทยฮั้วรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน)
บริษัทเซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด บริษัทวงศ์บัณฑิต จำกัด บริษัทไทยรับเบอร์ ลาแท็คซ์กรุ๊ป จำกัด
"ยางเหนือ"ไม่ง้อ5เสือ-ส่งออกเอง ประเดิม80ตันขายตรงจีน ... >>> พวกกินหลากหลาย หน้าแหกหมอไม่รับเย็บ ....
นายสาย อิ่นคำ กรรมการสมาคมยางพารา สถาบันเกษตรกรยางพาราไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทางสมาคมยางพารา ได้ดำเนินการส่งออกยางพาราครั้งแรก โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราจำนวน 80 ตัน แยกเป็นยางแท่ง STR 20 จำนวน 50 ตัน และยางเครป จำนวน 30 ตัน .....
ซึ่งเป้าหมายการส่งออกในครั้งนี้ไปที่ประเทศจีนตอนใต้ สมาคมฯส่งโดยทางเรือ คือ นำส่งให้กับทางผู้ประกอบการของจีน ณ ท่าเรือเชียงแสน ถือว่าสิ้นสุดขั้นตอนการส่งออก ไม่ต้องแบกรับภาระไปถึงประเทศจีน เนื่องจากส่งของถึงผู้ประกอบการลงท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย ก็เสร็จสิ้นแล้ว
โดยราคายางพาราส่งออกอยู่ที่ STR 20 จำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 48 บาท ยางเครปจำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 30 บาท ระยะทางการขนส่งก็ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ เป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในระยะยาวอย่างมาก และสิ่งนี้คือความหวังของเกษตรกรอย่างมาก
นายสายกล่าวต่อว่า มาตรการและแนวทางการส่งออกยางพาราดังกล่าว เป็นผลดีต่อสมาคมฯ และเกษตรกร คือ จะช่วยกระตุ้นราคายางพาราให้สูงขึ้น เนื่องจากสถาบันเกษตรกรสามารถส่งออกได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งกลไกทางธุรกิจของ 5 เสือที่ผูกขาดการส่งออกยางพาราเหมือนที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีโอกาสด้านการตลาดมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทางสมาคมฯต้องการได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเร่งด่วน
และในระยะยาวคือ การสนับสนุนทุนและการจัดงบประมาณลงทุนด้านการจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางพารา คือ โรงงานอัดยางแท่ง STR 20 และโรงงานทำยางเครป โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรยางพาราในภาคเหนือและทั่วประเทศในระยะยาวต่อไปในอนาคต
เนื่องจากหากนำยางพาราในภาคเหนือแปรรูปในภาคกลางคือภาคตะวันออก เพื่อทำยางแท่ง STR 20 และยางเครป สถาบันเกษตรจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการแปรรูปกิโลกรัมละ 12-15 บาท หากมีโรงงานแปรรูปยางพาราดังกล่าวในภาคเหนือ จะช่วยลดต้นทุน และเกษตรกรจะได้มีโรงงานแปรรูปยางพาราในพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าของยางพาราได้อย่างยั่งยืนต่อไป .....
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1419304470
............
ปอลิง .. อายกลุ่มคนที่พึ่งปลูกยางทางภาคอื่นกันบ้างไหม๊ เขาดิ้นรนเอง หาทางออกเอง เขาไม่ออกมาโวยวาย ทั้งๆที่ราคายางก็เท่ากัน .. กินหลากหลาย เสียชื่อฉิบ .... !!!
ปอลิง 2 .. ดูการรวมกลุ่ม การบริหารจัดการ การมีวิสัยทัศ ของคนปลูกยางทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก แล้วมาดูพวกปลูกยางทางภาคใต้ ซึ่งปลูกมาไม่รู้กี่ชั่วคนแล้ว ก็ยังจับกลุ่มกันไม่ติด ถึงมีกลุ่มก็ขายให้พวกหรือในเครือ 5 เสือ ยางพารา ราคายางเลยไม่ไปถึงไหน
ปอลิง 3 .. คิดได้บ้างก็แค่ปลอบใจตัวเองว่าปลูกมานานแล้ว คืนทุนมาเป็น10ปีแล้ว ช่วงนี้ถึงราคายางจะลดลงก็เป็นช่วงกำไร ไม่เป็นไร ... แต่ในความเป็นจริง ... หากแดร๊ก ขี้ยางได้คงแคร๊กไปแล้วไม่ออกมาโวยวายให้หายขี้หน้าหรอกเชื่อเถอะ ...
ปอลิง 4 .. 5 เสือบริษัทส่งออกยางของไทยคือ ....
บริษัทไทยฮั้วรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน)
บริษัทเซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด บริษัทวงศ์บัณฑิต จำกัด บริษัทไทยรับเบอร์ ลาแท็คซ์กรุ๊ป จำกัด