สมัยหนึ่ง พระศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวัน ณ กรุงสาวัตถี
พระสารีบุตรเข้าไปในพระนครเพื่อบิณฑบาตเพียงรูปเดียว
ณ ที่นั้น นางกุณฑลเกสา (นักบวชในสำนักนิครนถ์) ได้มาโต้วาทะกับท่าน
นางกุณฑลเกสาถามพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าให้เหยียบย่ำกิ่งไม้นี้หรือ.
พระสารีบุตร. ใช่แล้ว เราให้เหยียบย่ำเอง.
นาง. เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอดิฉันกับพระคุณเจ้ามาโต้วาทะกันนะพระคุณเจ้า
พระสารีบุตร. ได้สิน้องหญิง.
นาง. ใครจะถาม ใครจะกล่าวแก้ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร. ความจริงคำถามตกแก่เรา แต่ท่านจงถามสิ่งที่ท่านรู้เถิด.
นางถามลัทธิตามที่ตนรู้มาทั้งหมดทีเดียว ตามที่พระเถระยินยอม. พระเถระก็กล่าวแก้ได้หมด.
นางครั้นถามแล้วถามอีกจนหมดจึงได้นิ่ง.
ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะนางว่า ท่านถามเราหมดแล้ว แม้เราก็จะถามท่านข้อหนึ่ง.
นาง. ถามเถิด เจ้าข้า
พระสารีบุตร.
ที่ชื่อว่าหนึ่งคืออะไร.
นางกุณฑลเกสาเรียนว่า ดิฉันไม่ทราบ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร. เธอไม่ทราบแม้เหตุเพียงเท่านี้ เธอจักทราบอะไรอย่างอื่นเล่า.
นางหมอบแทบเท้าทั้งสองของพระเถระ เรียนว่า ดิฉันขอถึงพระคุณเจ้าเป็นสรณะ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร. จะทำการถึงเราเป็นสรณะไม่ได้ บุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับอยู่ที่วิหารใกล้ๆ นี่เอง
ขอเธอจงถึงพระองค์ท่านเป็นสรณะเถิด.
นาง. ดิฉันจักกระทำเช่นนั้น เจ้าข้า.
พอตอนเย็น ในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม จึงไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์
แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาตรัสพระคาถาในธรรมบทตามความเหมาะสมกับจริยาของนางที่เคยพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้ว ต่อไปว่า
สหสฺสมปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ
หากคาถาที่ไม่ประกอบด้วยบทอันมีประโยชน์
แม้จะมีตั้ง ๑,๐๐๐ คาถาก็ตาม คาถาเดียวที่
บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ยังประเสริฐกว่า ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา นางทั้งที่ยืนอยู่นั่นเองก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงทูลขอบรรพชา.
พระศาสดาทรงรับให้นางบรรพชาแล้ว. นางไปยังสำนักภิกษุณีบวชแล้ว.
ในกาลต่อมาเกิดสนทนากันขึ้นในท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า นางภัททากุณฑลเกสานี้ใหญ่ยิ่งจริงหนอ
บรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาเพียง ๔ บท.
พระศาสดาทรงกระทำเหตุนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงสถาปนาพระเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาผู้ตรัสรู้เร็วด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
-----------------------------------------------------
ที่มา ประวัติพระภัททากุณฑลเกสาเถรี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=150&p=9
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=694&Z=715
หรืออ่านที่
http://www.84000.org/one/2/09.html
ที่ชื่อว่าหนึ่งคืออะไร
เฉลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ [๒๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวก
เราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่
พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ
ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหนึ่งเป็นไฉน สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่
ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะสังขาร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4501&Z=7015
อาหารมี 4 อย่างคือ
[๒๔๔] อาหาร ๔ อย่าง
๑. กวฬิงการาหาร [อาหารคือคำข้าวหยาบหรือละเอียด]
๒. ผัสสาหาร [อาหารคือผัสสะ]
๓. มโนสัญเจตนาหาร [อาหารคือมโนสัญเจตนา]
๔. วิญญาณาหาร [อาหารคือวิญญาณ]
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=5210&Z=5214&pagebreak=0
อาหาร 4 (สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย, เครื่องค้ำจุนชีวิต, สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ - nutriment)
1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไป หล่อเลี้ยงร่างกาย - material food; physical nutriment) เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะที่เกิดจากเบญจกามคุณได้ด้วย
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายที่จะเกิดตามมา - nutriment consisting of contact; contact as nutriment) เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนา 3 ได้ด้วย
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่ากรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่งภพ คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย - nutriment consisting of mental volition; mental choice as nutriment) เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา 3 ได้ด้วย.
4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป - nutriment consisting of consciousness; consciousness as nutriment) เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ด้วย.
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D2%CB%D2%C3&original=1
ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวนิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของอวิชชา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรจะกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕
ดังนั้น
- สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ( กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร)
- สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะสังขาร (อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร)
อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า
มีคำถามว่า เทพจำพวกอสัญญสัตตะ เป็นอเหตุกะ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ" ดังนี้เป็นต้น จะมิเป็นอันคลาดเคลื่อนไปละหรือ
ตอบว่า ไม่คลาดเคลื่อน ทั้งนี้เพราะเทพพวกนั้นก็มีฌานเป็นอาหาร
เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้น พวกนักบวชในลัทธิเดียรถีย์ ทำบริกรรมในวาโยกสิณแล้ว ยังฌานที่ ๔ ให้เกิดขึ้นได้แล้ว ออกจากฌานนั้นแล้ว ให้เกิดความยินดีชอบใจว่า "น่าติเตียนจิต จิตนี้น่าติเตียนแท้, ชื่อว่าการไม่มีจิตนั่นแลเป็นความดี, เพราะอาศัยจิต จึงเกิดทุกข์อันมีการฆ่าและการจองจำเป็นต้นเป็นปัจจัย, เมื่อไม่มีจิต ทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี " ดังนี้ ไม่เสื่อมฌาน สิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในอสัญญภพ.
ผู้ใดตั้งมั่นอิริยาบถใด ในมนุษยโลก, ผู้นั้นก็เกิดโดยอิริยาบถนั้น เป็นผู้ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างตลอด ๕๐๐ กัป, เป็นประดุจว่านอนอยู่ตลอดกาลนานถึงเพียงนี้.
แม้สัตว์ทั้งหลายที่มีรูปอย่างนี้ ก็ย่อมได้ปัจจัยอาหาร.
แท้จริง สัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใด แล้วไปเกิด. ฌานนั้นแหละย่อมเป็นปัจจัยของสัตว์เหล่านั้น. ปัจจัยคือฌาน ยังมีอยู่ตราบใด ก็ย่อมดำรงอยู่ได้ตราบนั้น อุปมาเหมือนลูกศรที่ยิงไปด้วยแรงส่งแห่งสาย, แรงส่งแห่งสายยังมีเพียงใดก็พุ่งไปได้เพียงนั้น ฉะนั้น. เมื่อปัจจัยคือฌานนั้นหมดลง สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมตกไป ดุจลูกศรที่สิ้นแรงส่งแห่งสายฉะนั้น.
ส่วนพวกสัตว์นรกที่ท่านกล่าวไว้ว่า มิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้งมิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งบุญ เหล่านี้มีอะไรเป็นอาหาร.
กรรมนั่นเองเป็นอาหารของสัตว์นรกเหล่านั้น.
ถ้าจะถามว่า อาหารมี ๕ อย่าง กระนั้นหรือ?.
(ก็ต้องตอบว่า) คำว่า "๕ อย่างหรือไม่ใช่ ๕ อย่าง" นี้ไม่ควรพูด. ท่านกล่าวคำนี้ไว้แล้วมิใช่หรือว่า " ปัจจัยคืออาหาร " เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นเกิดในนรกด้วยกรรมใด กรรมนั้นนั่นเองจัดว่าเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยแห่งความดำรงอยู่ของสัตว์เหล่านั้น ดังที่ตรัสมุ่งหมายถึงไว้ว่า "จะยังไม่สิ้นชีวิต ตราบเท่าที่บาปกรรมอันนั้นยังไม่หมดสิ้น." และในที่นี้ไม่ควรจะต้องโต้เถียงกัน ด้วยเรื่องกพฬิงการาหาร เพราะแม้แต่น้ำลายที่เกิดในปากก็ยังให้สำเร็จกิจในเชิงอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นได้.
จริงอยู่ น้ำลายนั้นในนรกนับว่าเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ในสวรรค์นับว่าเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จัดว่าเป็นปัจจัยได้
ดังนั้น ในกามภพโดยตรงมีอาหาร ๔ อย่าง
ในรูปภพและอรูปภพ ยกเว้นอสัญญสัตตะ ที่เหลือนอกนั้นมีอาหาร ๓ อย่าง,
สำหรับอสัญญสัตตะและเทพอื่นๆ (นอกจากที่กล่าวแล้ว) มีอาหารคือปัจจัยอาหารด้วยประการดังนี้.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=1#ว่าด้วยธรรมหมวด_๑
... "ที่ชื่อว่าหนึ่งคืออะไร" ...
พระสารีบุตรเข้าไปในพระนครเพื่อบิณฑบาตเพียงรูปเดียว
ณ ที่นั้น นางกุณฑลเกสา (นักบวชในสำนักนิครนถ์) ได้มาโต้วาทะกับท่าน
นางกุณฑลเกสาถามพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าให้เหยียบย่ำกิ่งไม้นี้หรือ.
พระสารีบุตร. ใช่แล้ว เราให้เหยียบย่ำเอง.
นาง. เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอดิฉันกับพระคุณเจ้ามาโต้วาทะกันนะพระคุณเจ้า
พระสารีบุตร. ได้สิน้องหญิง.
นาง. ใครจะถาม ใครจะกล่าวแก้ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร. ความจริงคำถามตกแก่เรา แต่ท่านจงถามสิ่งที่ท่านรู้เถิด.
นางถามลัทธิตามที่ตนรู้มาทั้งหมดทีเดียว ตามที่พระเถระยินยอม. พระเถระก็กล่าวแก้ได้หมด.
นางครั้นถามแล้วถามอีกจนหมดจึงได้นิ่ง.
ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะนางว่า ท่านถามเราหมดแล้ว แม้เราก็จะถามท่านข้อหนึ่ง.
นาง. ถามเถิด เจ้าข้า
พระสารีบุตร. ที่ชื่อว่าหนึ่งคืออะไร.
นางกุณฑลเกสาเรียนว่า ดิฉันไม่ทราบ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร. เธอไม่ทราบแม้เหตุเพียงเท่านี้ เธอจักทราบอะไรอย่างอื่นเล่า.
นางหมอบแทบเท้าทั้งสองของพระเถระ เรียนว่า ดิฉันขอถึงพระคุณเจ้าเป็นสรณะ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร. จะทำการถึงเราเป็นสรณะไม่ได้ บุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับอยู่ที่วิหารใกล้ๆ นี่เอง
ขอเธอจงถึงพระองค์ท่านเป็นสรณะเถิด.
นาง. ดิฉันจักกระทำเช่นนั้น เจ้าข้า.
พอตอนเย็น ในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม จึงไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์
แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาตรัสพระคาถาในธรรมบทตามความเหมาะสมกับจริยาของนางที่เคยพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้ว ต่อไปว่า
สหสฺสมปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ
หากคาถาที่ไม่ประกอบด้วยบทอันมีประโยชน์
แม้จะมีตั้ง ๑,๐๐๐ คาถาก็ตาม คาถาเดียวที่
บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ยังประเสริฐกว่า ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา นางทั้งที่ยืนอยู่นั่นเองก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงทูลขอบรรพชา.
พระศาสดาทรงรับให้นางบรรพชาแล้ว. นางไปยังสำนักภิกษุณีบวชแล้ว.
ในกาลต่อมาเกิดสนทนากันขึ้นในท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า นางภัททากุณฑลเกสานี้ใหญ่ยิ่งจริงหนอ
บรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาเพียง ๔ บท.
พระศาสดาทรงกระทำเหตุนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงสถาปนาพระเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาผู้ตรัสรู้เร็วด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
-----------------------------------------------------
ที่มา ประวัติพระภัททากุณฑลเกสาเถรี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=150&p=9
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=694&Z=715
หรืออ่านที่
http://www.84000.org/one/2/09.html
ที่ชื่อว่าหนึ่งคืออะไร
เฉลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้