ผลสำรวจ ชี้ ครูไทย ทิ้งเวลาเกือบครึ่งไปกับการประเมินผล

กระทู้ข่าว
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษา ที่น่าสนใจ และก็น่าตกใจ โดยในงานแถลงข่าว "คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง" โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา เปิดเผยว่า จากการสำรวจกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ใน 1 ปี มีวันเปิดเรียน ที่หักวันหยุดต่าง ๆ ไปหมดแล้ว 200 วัน ปรากฎว่า ครูต้องหมดเวลาไปกับการทำกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนถึง 84 วัน คิดเป็น ร้อยละ42 โดยกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ว่านั้น เช่น ส่วนหมดเวลาไปกับการประเมินของหน่วยานต่าง ๆ ทั้งภายใน และสถาบันทดสอบต่าง ๆ

ทั้งนี้ ครูส่วนใหญ่ สะท้อนว่า กิจกรรมนอกชั้นเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน คือ การอบรม แต่ปรากฎว่า 1 ปี ใช้เวลากับการอบรมเพียง 10 วัน แต่เสียเวลาไปกับการประเมินผลต่าง ๆ รวมถึง 43 วัน โดยครูส่วนใหญ่ สะท้อนว่า น่าจะคืนเวลาเหล่านี้ของครูให้ไปอยู่ในห้องเรียน  และลดภาระงานของครูที่ไม่มีผลกับการเรียนรู้ของเด็กลง และควรจัดอบรมในเนื้อหาที่ครูต้องการในช่วงปิดภาคเรียนเท่านั้น  นอกจากนี้ ครู ยังสะท้อนผลเสียของการประเมินผล ว่านอกจากจะเสียเวลาในการสอนแล้ว ยังมีช่องในการเรียกรับสินบน เพื่อให้ผ่านการประเมิน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1418219769

เรื่องระบบการสอบการเรียนการประเมินยิ่งออกแบบใหม่ยิ่งยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปทุกที เหมือนจะซื้อประกันชีวิตต้องตรวจสุขภาพมีเงื่อนไขมากมายหาน้อยที่มีแบบป่วยแล้วจ่ายตังค์ให้เลยหรือมือถือที่มีระบบอะไรมากมายแต่จริงๆ ใช้แค่โทรเข้าโทรออกส่งข้อความ การศึกษาควรจะออกแบบให้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเกินไป เพราะจะกลายเป็นทั้งครูและนักเรียนเบื่อกับระบบที่ยุ่งยากเกินไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่