1.
ภาระงานนอกเหนือการสอน ทั้งที่ครูไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องเหล่านั้นมา เช่น การเงิน พัสดุ
ล้วนมาเบียดเบียนเวลาในการเตรียมสอนเด็ก ตรวจงานของเด็ก (สำหรับครูที่ตั้งใจจริง แล้วต้องมาทำงานด้านนี้ น่าเห็นใจสุด ๆ )
มันโลกสวยเกินไป ถ้าคุณจะพูดว่า "น้องไปศึกษาระเบียบสิ ทุกอย่างทำตามระเบียบไม่ผิดอยู่แล้ว ....."
ได้ครับ ไปศึกษา แต่ยอมทิ้งคุณภาพการจัดการสอนไป
ถ้าจะให้ครูทำจริง กระทรวงศึกษาธิการ ควรไปคุยกับมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูเลย ว่าให้บรรจุวิชากฎหมาย ระเบียบการเงิน บัญชี พัสดุเข้าไปด้วย
นี่อะไรกัน ! น้อง ๆ บัณฑิตครู เพิ่งจบใหม่ สดใสไฟแรง รับปริญญาเสร็จ สอบบรรจุได้ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อยากพัฒนาเด็ก สอนเด็ก เตรียมสื่อการสอน
พอมาเจองานเหล่านี้เข้า ไม่ถึงปี ไฟในตัวมอดดับลง และไม่ลุกโชนอีกเลย
คำถามสำคัญ คือ
กระทรวงจะนำงานนี้ออกจากครูได้แล้วหรือยัง ?
2.
การจัดโครงการ / กิจกรรม / ประเมิน ที่มักมาจาก กระทรวง - สพฐ. -เขตพื้นที่ หรือกระทั่งหน่วยงานอื่น ๆ รวมไปถึงหน่วยงานท้องถิ่น (อบต. / เทศบาล)
หากมีบ่อยไป ก็กระทบต่องานสอนของครู
อย่างล่าสุดสัปดาห์ที่แล้ว เขตพื้นที่ผม ให้โรงเรียนในสังกัด 120 กว่าโรง
ตัดต่อวิดีโอ นำเสนอห้องส้วมของโรงเรียน ตามโครงการสุขาดี มีความสุข ของกระทรวงศึกษาธิการ
ต้องนำเด็กมาติว ท่องจำสคริปต์อยู่พักใหญ่ มันใช่เรื่องไหม ?
แทนที่...จะเน้นห้องเรียน กลับเน้นห้องส้วม !!
ถ้าอยากมีความสุขนัก เขตพื้นที่ควรมาลงพื้นที่ แล้วถามเด็กไปเลยว่า
ห้องส้วมโรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง ? หรือเขตพื้นที่ควรจะมาเข้าห้องส้วมโรงเรียนด้วยตนเอง
3. เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ นอกจากสาเหตุจากข้อ 1 และ 2
ต้องยอมรับว่ามาจากตัวครู + ผอ.โรงเรียน + ครอบครัวของเด็กเองด้วย
ครูกวดขันมากน้อยแค่ไหน เช้าเย็น ก่อนเข้าแถว หลังเลิกเรียน ติดต่อกับผู้ปกครอง ขอความร่วมมือได้มากน้อยแค่ไหน และสม่ำเสมอเพียงใด
ผอ.โรงเรียน นำพาโรงเรียนไปเน้นกิจกรรมกีฬา ชุมชน มากเกินไปหรือไม่ จน ละเลย หรือทิ้งวิชาการ ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กไป (อ่าน เขียน คำนวณ)
*ถ้าอายุ 9-10 ขวบ หรือขึ้น ป.3 แล้วยังอ่านไม่ออก เขียนไม่เป็นตัว บวกลบเลขไม่เป็น*
***ไม่ควรส่งต่อไปชั้น ป.4-6***
เพราะกว่า 70-80% ของโรงเรียนรัฐบาล ที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาในไทย
ครูสอนภาษาไทย ป.4-ป.6 จะมีเพียงคนเดียว แล้วสอนควบหมด 3 ชั้น (ถ้าเป็นชั้น ป.1-ป.3 ส่วนใหญ่ครูประจำชั้นจะรับสอนทั้งวิชาไทยและคณิต)
เมื่อขึ้นมาชั้น ป.4-6 ไม่มีทางที่ครูคนเดียว จะกวดเด็กที่อ่อนมาก ๆ ได้ทัน
ถ้าระดับชั้นด้านล่างเอาแต่ส่งต่อ ๆ ขึ้นมา โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ
กระทรวงศึกษาธิการต้องเข้ามากำกับติดตามให้มากขึ้น ไม่ใช่ไปเน้นเรื่องบ้าบอคอแตก เรื่องส้วม เรื่องหนี้ครู
แต่ก็นั่นแหละ ผอ.โรงเรียนบางคน ก็กลัวเหลือเกินถ้าให้เด็กซ้ำชั้นจะเสียภาพลักษณ์โรงเรียนกลัวผู้ปกครองด่าไปโพสต์เฟซบุ๊กประจานโรงเรียน
มันเป็นเสียอย่างนี้แหละ ปล่อย ๆ มันไป
ประเทศไทยล่มจม ช่างหัวมัน.....
แต่ครูดี ๆ ที่เขาตั้งใจพัฒนาเด็ก จะท้อแท้มาก
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วคุณเข้าใจผม นั่นคืออุดมการณ์ จิตวิญญาณของเราเหมือนกัน
Photo Credit :
https://www.blockdit.com/posts/5d008ec36adef40a07223828
ปัญหาการศึกษาไทย มาจากทั้ง กระทรวง / ตัวครูเอง / ครอบครัวของนักเรียน
ล้วนมาเบียดเบียนเวลาในการเตรียมสอนเด็ก ตรวจงานของเด็ก (สำหรับครูที่ตั้งใจจริง แล้วต้องมาทำงานด้านนี้ น่าเห็นใจสุด ๆ )
มันโลกสวยเกินไป ถ้าคุณจะพูดว่า "น้องไปศึกษาระเบียบสิ ทุกอย่างทำตามระเบียบไม่ผิดอยู่แล้ว ....."
ได้ครับ ไปศึกษา แต่ยอมทิ้งคุณภาพการจัดการสอนไป
ถ้าจะให้ครูทำจริง กระทรวงศึกษาธิการ ควรไปคุยกับมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูเลย ว่าให้บรรจุวิชากฎหมาย ระเบียบการเงิน บัญชี พัสดุเข้าไปด้วย
นี่อะไรกัน ! น้อง ๆ บัณฑิตครู เพิ่งจบใหม่ สดใสไฟแรง รับปริญญาเสร็จ สอบบรรจุได้ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อยากพัฒนาเด็ก สอนเด็ก เตรียมสื่อการสอน
พอมาเจองานเหล่านี้เข้า ไม่ถึงปี ไฟในตัวมอดดับลง และไม่ลุกโชนอีกเลย
คำถามสำคัญ คือ กระทรวงจะนำงานนี้ออกจากครูได้แล้วหรือยัง ?
2. การจัดโครงการ / กิจกรรม / ประเมิน ที่มักมาจาก กระทรวง - สพฐ. -เขตพื้นที่ หรือกระทั่งหน่วยงานอื่น ๆ รวมไปถึงหน่วยงานท้องถิ่น (อบต. / เทศบาล)
หากมีบ่อยไป ก็กระทบต่องานสอนของครู
อย่างล่าสุดสัปดาห์ที่แล้ว เขตพื้นที่ผม ให้โรงเรียนในสังกัด 120 กว่าโรง
ตัดต่อวิดีโอ นำเสนอห้องส้วมของโรงเรียน ตามโครงการสุขาดี มีความสุข ของกระทรวงศึกษาธิการ
ต้องนำเด็กมาติว ท่องจำสคริปต์อยู่พักใหญ่ มันใช่เรื่องไหม ?
แทนที่...จะเน้นห้องเรียน กลับเน้นห้องส้วม !!
ถ้าอยากมีความสุขนัก เขตพื้นที่ควรมาลงพื้นที่ แล้วถามเด็กไปเลยว่า
ห้องส้วมโรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง ? หรือเขตพื้นที่ควรจะมาเข้าห้องส้วมโรงเรียนด้วยตนเอง
3. เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ นอกจากสาเหตุจากข้อ 1 และ 2 ต้องยอมรับว่ามาจากตัวครู + ผอ.โรงเรียน + ครอบครัวของเด็กเองด้วย
ครูกวดขันมากน้อยแค่ไหน เช้าเย็น ก่อนเข้าแถว หลังเลิกเรียน ติดต่อกับผู้ปกครอง ขอความร่วมมือได้มากน้อยแค่ไหน และสม่ำเสมอเพียงใด
ผอ.โรงเรียน นำพาโรงเรียนไปเน้นกิจกรรมกีฬา ชุมชน มากเกินไปหรือไม่ จน ละเลย หรือทิ้งวิชาการ ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กไป (อ่าน เขียน คำนวณ)
*ถ้าอายุ 9-10 ขวบ หรือขึ้น ป.3 แล้วยังอ่านไม่ออก เขียนไม่เป็นตัว บวกลบเลขไม่เป็น*
***ไม่ควรส่งต่อไปชั้น ป.4-6***
เพราะกว่า 70-80% ของโรงเรียนรัฐบาล ที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาในไทย
ครูสอนภาษาไทย ป.4-ป.6 จะมีเพียงคนเดียว แล้วสอนควบหมด 3 ชั้น (ถ้าเป็นชั้น ป.1-ป.3 ส่วนใหญ่ครูประจำชั้นจะรับสอนทั้งวิชาไทยและคณิต)
เมื่อขึ้นมาชั้น ป.4-6 ไม่มีทางที่ครูคนเดียว จะกวดเด็กที่อ่อนมาก ๆ ได้ทัน
ถ้าระดับชั้นด้านล่างเอาแต่ส่งต่อ ๆ ขึ้นมา โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ
กระทรวงศึกษาธิการต้องเข้ามากำกับติดตามให้มากขึ้น ไม่ใช่ไปเน้นเรื่องบ้าบอคอแตก เรื่องส้วม เรื่องหนี้ครู
แต่ก็นั่นแหละ ผอ.โรงเรียนบางคน ก็กลัวเหลือเกินถ้าให้เด็กซ้ำชั้นจะเสียภาพลักษณ์โรงเรียนกลัวผู้ปกครองด่าไปโพสต์เฟซบุ๊กประจานโรงเรียน
มันเป็นเสียอย่างนี้แหละ ปล่อย ๆ มันไป ประเทศไทยล่มจม ช่างหัวมัน.....
แต่ครูดี ๆ ที่เขาตั้งใจพัฒนาเด็ก จะท้อแท้มาก
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วคุณเข้าใจผม นั่นคืออุดมการณ์ จิตวิญญาณของเราเหมือนกัน
Photo Credit : https://www.blockdit.com/posts/5d008ec36adef40a07223828