สนช. เพิ่งจะให้ความเห็นชอบ MOU รถไฟไทย-จีน โดยใช้รางกว้าง 1.435 เมตรเส้นทาง หนองคาย-โคราช-มาบตพุต เพื่อจะเชื่อมเส้นทาง คุนหมิง-หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ ที่หนองคาย โดยใช้ความเร็ว 160 กม/ชม
จริงๆแล้วในปัจจุบันทางรถไฟในประเทศไทยเป็นทางขนาด 1.0 เมตร (มิเตอร์เกจ) มีระยะทางประมาณ 4,000 กม. เป็นทางคู่ประมาณ 300 กม. ที่เหลือเป็นทางเดี่ยวครับ
ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมเดิม จะพัฒนารถไฟในสองระบบคือ
1. ระบบรถไฟทางคู่เดิม (มิเตอร์เกจ) เน้นขนสินค้าหนัก ผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความเร็วมากนัก (ประมาณ 120 กม.ต่อ ชม.) ทำเป็นทางคู่ทั้งประเทศ และ เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เด่นชัย-เชียงราย ขอนแก่น-นครพนม
2. ระบบรถไฟความเร็วสูง (วางรางใหม่ ขนาด 1.435 เมตร หรือ แสตนดาร์ดเกจ) เน้นขนผู้โดยสารที่ต้องการความรวดเร็ว สินค้ามูลค่าสูง ความเร็วไม่ต่ำกว่า 250 กม.ต่อชม ทำสี่เส้นทาง เหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้
เป็นระบบคล้ายๆกับที่ญี่ปุ่นมีคือ ญึ่ปุ่นมีระบบรถไฟสองระบบ รางขนาด 1 เมตร สำหรับ รถช้า รถสินค้า และ รางขนาด 1.435 เมตร สำหรับ รถไฟชินคันเซ็น
สำหรับโครงการนี้ของรัฐบาล เหมือนกับเอาสองระบบมายำรวมกัน คือ วางรางใหม่ใช้แสตนดาร์ดเกจ แต่เน้นเพื่อขนสินค้า (ขนคนด้วยความเร็ว 160 กม/ชม ไม่มี Economy of Speed แข่งกับ Low Cost ไม่ได้)
ถ้าจะทำจริง ก็คงจะมีประเด็นที่ต้องศึกษาให้ละเอียดดังนี้ครับ
1. หัวรถจักร แคร่ โบกี้ โรงซ่อม ของการรถไฟที่มีอยู่เดิมสำหรับทาง 1 เมตร ไม่สามารถใช้กับทางใหม่ 1.435 เมตรได้ ต้องจัดหาใหม่ และ ในอนาคตต้องจัดหาเป็นสองชุด ชุดหนึ่งสำหรับทางเดิม และ อีกชุดหนึ่ง สำหรับทางใหม่ หรือ สุดท้ายอาจจะมีแต่รถไฟจีนเข้ามาวิ่งในเส้นทางนี้
2. การเน้นขนสินค้าจะเกิดประโยชน์กับไทยมากน้อยเพียงไร คงต้องศึกษาให้ดี ประโยชน์กับจีนมีแน่ เพราะทางมณฑลยูนานทางตะวันตกของจีนนั้น ยังมีต้นทุน Logistics ค่อนข้างสูง ต้องขนออกทะเลทางเมืองท่าตะวันออก ถ้าลัดลงมาทางใต้ได้ จีนอาจจะประหยัดต้นทุนขนส่งได้ รวมทั้งการนำเข้าสินค้า วัตถุดิบเข้าจีนจะสะดวกขึ้น แต่ประโยชน์ที่ไทยได้ ต้องศึกษาให้ดีว่าจะมีสินค้าไทยไปจีนทางเส้นทางนี้เท่าไร เพราะส่วนใหญ่สินค้าเราน่าจะไปทางเรือ ไม่ใช่ว่าสุดท้ายแล้วเรากลายเป็น Transit Country ที่มีแต่สินค้าผ่าน (เหมือนที่ สปป ลาว กังวลอยู่) ค่าผ่านทาง เราเก็บแพงไม่ได้เพราะถ้าเก็บแพงเขาก็ไม่มาใช้
3. การก่อสร้างรถไฟความเร็ว 160 กม ต่อ ชม (กท-หนองคาย 4-5 ชม) ไม่มีแรงจูงใจให้ผู้โดยสารใช้ ดังนั้น ความฝันที่จะเห็นการกระจายความเจริญสู่ชนบทโดยรถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดขึ้น ส่วนที่มีคนพยายามอธิบายว่า อนาคตจะ upgrade ให้มีความเร็ว 250 กม ต่อ ชม ก็น่าจะยากและต้องลงทุนเพิ่มอีกมาก เพราะความเร็วสูงสุดต่างกัน มาตรฐานในการก่อสร้างก็ต่างกัน (เช่น รัศมีความโค้ง การทรุดตัว) ถ้าจะ upgrade ในอนาคต ก็ต้องสร้างเผื่อไว้เลย
4. ความร่วมมือ G-to-G ในกรณีนี้ ความหมายคืออะไร เพราะเท่าที่ฟัง สุดท้ายแล้ว ไทยก็ต้องจ่ายเงินคืน การก่อสร้างรถไฟทางคู่ แสตนดาร์ดเกจ ความเร็ว 160 กม/ชม ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ถ้าเปิดประมูลให้แข่งขัน น่าจะได้ราคาที่เป็นธรรมกว่า ส่วนที่คาดว่าจะจ่ายค่าก่อสร้างเป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ในทางปฏิบัติคงจะยาก เพราะติดเงื่อนไขด้านราคา การส่งของ จีนเขาเอาเงินสดและไปซื้อสินค้าเองง่ายกว่า (ที่ผ่านมา ผมยังไม่เห็นโครงการขนาดใหญ่ทำ Barter Trade สำเร็จสักโครงการ)
5. การเชื่อมมาบตาพุดมีประโยชน์อย่างไร เพราะท่าเรือหลักของเราคือแหลมฉบัง มาบตาพุดมีท่าเรือสำหรับขนวัถตุดิบของนิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์น้อยมาก และไม่มีสายเดินเรือแวะ ถ้าเชือมมาบตาพุด อนาคตต้องมีการขยายท่าเรือมาบตาพุดเพื่อรองรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์หรือไม่ ผลกระทบต่างๆในการสร้างท่าเรือขนาดใหญ่เพื่อ รับส่งสินค้าให้จีน จะคุ้มกับประเทศไทยหรือไม่ และถ้าท่าเรือเราแออัดเพิ่มจากสินค้าจีน จะมีผลกับสินค้าไทยอย่างไร
6. เขตทางรถไฟมีจำกัด ถ้าไทยเลือกที่จะทำรถไฟแบบนี้จากหนองคาย ลงมากรุงเทพแล้ว ก็จะไม่มีเขตทางเหลือสำหรับทำรถไฟความเร็วสูงสำหรับขนผู้โดยสาร กระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัดอีกแล้ว
7. เส้นทางรถไฟนี้ คงไม่ได้ช่วยให้จีนมาลงทุนไนไทยหรอกครับ เพราะถ้าลงทุนในไทย เขาส่งออกทางแหลมฉบังไปทั่วโลกได้เลย ไม่ต้องส่งสินค้าย้อนเข้าไปในจีนอีกที
โครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งกับความร่วมมือกับต่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี จีนเองก็เป็นมิตรประเทศที่ดีของเราเสมอมา แต่ในการตกลงในความร่วมมือต่างๆ แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของฝ่ายตนเอง และ หาข้อสรุปที่ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ที่ผมกังวลคือ ฝ่ายไทยเอง เรายังไม่เข้าใจประโยชน์ของโครงการนี้อย่างชัดเจนเลยครับ เราเอาตามจีนเป็นหลัก ก็ต้องฝากช่วยกันดูรายละเอียด รวมทั้งศึกษาประเด็นต่างๆให้รอบคอบด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย
ถ้าจีนจะมาสร้างรถไฟให้ไทย ใครจะได้ประโยชน์กันแน่? {แตกประเด็นจาก 32941799}
สนช. เพิ่งจะให้ความเห็นชอบ MOU รถไฟไทย-จีน โดยใช้รางกว้าง 1.435 เมตรเส้นทาง หนองคาย-โคราช-มาบตพุต เพื่อจะเชื่อมเส้นทาง คุนหมิง-หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ ที่หนองคาย โดยใช้ความเร็ว 160 กม/ชม
จริงๆแล้วในปัจจุบันทางรถไฟในประเทศไทยเป็นทางขนาด 1.0 เมตร (มิเตอร์เกจ) มีระยะทางประมาณ 4,000 กม. เป็นทางคู่ประมาณ 300 กม. ที่เหลือเป็นทางเดี่ยวครับ
ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมเดิม จะพัฒนารถไฟในสองระบบคือ
1. ระบบรถไฟทางคู่เดิม (มิเตอร์เกจ) เน้นขนสินค้าหนัก ผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความเร็วมากนัก (ประมาณ 120 กม.ต่อ ชม.) ทำเป็นทางคู่ทั้งประเทศ และ เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เด่นชัย-เชียงราย ขอนแก่น-นครพนม
2. ระบบรถไฟความเร็วสูง (วางรางใหม่ ขนาด 1.435 เมตร หรือ แสตนดาร์ดเกจ) เน้นขนผู้โดยสารที่ต้องการความรวดเร็ว สินค้ามูลค่าสูง ความเร็วไม่ต่ำกว่า 250 กม.ต่อชม ทำสี่เส้นทาง เหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้
เป็นระบบคล้ายๆกับที่ญี่ปุ่นมีคือ ญึ่ปุ่นมีระบบรถไฟสองระบบ รางขนาด 1 เมตร สำหรับ รถช้า รถสินค้า และ รางขนาด 1.435 เมตร สำหรับ รถไฟชินคันเซ็น
สำหรับโครงการนี้ของรัฐบาล เหมือนกับเอาสองระบบมายำรวมกัน คือ วางรางใหม่ใช้แสตนดาร์ดเกจ แต่เน้นเพื่อขนสินค้า (ขนคนด้วยความเร็ว 160 กม/ชม ไม่มี Economy of Speed แข่งกับ Low Cost ไม่ได้)
ถ้าจะทำจริง ก็คงจะมีประเด็นที่ต้องศึกษาให้ละเอียดดังนี้ครับ
1. หัวรถจักร แคร่ โบกี้ โรงซ่อม ของการรถไฟที่มีอยู่เดิมสำหรับทาง 1 เมตร ไม่สามารถใช้กับทางใหม่ 1.435 เมตรได้ ต้องจัดหาใหม่ และ ในอนาคตต้องจัดหาเป็นสองชุด ชุดหนึ่งสำหรับทางเดิม และ อีกชุดหนึ่ง สำหรับทางใหม่ หรือ สุดท้ายอาจจะมีแต่รถไฟจีนเข้ามาวิ่งในเส้นทางนี้
2. การเน้นขนสินค้าจะเกิดประโยชน์กับไทยมากน้อยเพียงไร คงต้องศึกษาให้ดี ประโยชน์กับจีนมีแน่ เพราะทางมณฑลยูนานทางตะวันตกของจีนนั้น ยังมีต้นทุน Logistics ค่อนข้างสูง ต้องขนออกทะเลทางเมืองท่าตะวันออก ถ้าลัดลงมาทางใต้ได้ จีนอาจจะประหยัดต้นทุนขนส่งได้ รวมทั้งการนำเข้าสินค้า วัตถุดิบเข้าจีนจะสะดวกขึ้น แต่ประโยชน์ที่ไทยได้ ต้องศึกษาให้ดีว่าจะมีสินค้าไทยไปจีนทางเส้นทางนี้เท่าไร เพราะส่วนใหญ่สินค้าเราน่าจะไปทางเรือ ไม่ใช่ว่าสุดท้ายแล้วเรากลายเป็น Transit Country ที่มีแต่สินค้าผ่าน (เหมือนที่ สปป ลาว กังวลอยู่) ค่าผ่านทาง เราเก็บแพงไม่ได้เพราะถ้าเก็บแพงเขาก็ไม่มาใช้
3. การก่อสร้างรถไฟความเร็ว 160 กม ต่อ ชม (กท-หนองคาย 4-5 ชม) ไม่มีแรงจูงใจให้ผู้โดยสารใช้ ดังนั้น ความฝันที่จะเห็นการกระจายความเจริญสู่ชนบทโดยรถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดขึ้น ส่วนที่มีคนพยายามอธิบายว่า อนาคตจะ upgrade ให้มีความเร็ว 250 กม ต่อ ชม ก็น่าจะยากและต้องลงทุนเพิ่มอีกมาก เพราะความเร็วสูงสุดต่างกัน มาตรฐานในการก่อสร้างก็ต่างกัน (เช่น รัศมีความโค้ง การทรุดตัว) ถ้าจะ upgrade ในอนาคต ก็ต้องสร้างเผื่อไว้เลย
4. ความร่วมมือ G-to-G ในกรณีนี้ ความหมายคืออะไร เพราะเท่าที่ฟัง สุดท้ายแล้ว ไทยก็ต้องจ่ายเงินคืน การก่อสร้างรถไฟทางคู่ แสตนดาร์ดเกจ ความเร็ว 160 กม/ชม ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ถ้าเปิดประมูลให้แข่งขัน น่าจะได้ราคาที่เป็นธรรมกว่า ส่วนที่คาดว่าจะจ่ายค่าก่อสร้างเป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ในทางปฏิบัติคงจะยาก เพราะติดเงื่อนไขด้านราคา การส่งของ จีนเขาเอาเงินสดและไปซื้อสินค้าเองง่ายกว่า (ที่ผ่านมา ผมยังไม่เห็นโครงการขนาดใหญ่ทำ Barter Trade สำเร็จสักโครงการ)
5. การเชื่อมมาบตาพุดมีประโยชน์อย่างไร เพราะท่าเรือหลักของเราคือแหลมฉบัง มาบตาพุดมีท่าเรือสำหรับขนวัถตุดิบของนิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์น้อยมาก และไม่มีสายเดินเรือแวะ ถ้าเชือมมาบตาพุด อนาคตต้องมีการขยายท่าเรือมาบตาพุดเพื่อรองรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์หรือไม่ ผลกระทบต่างๆในการสร้างท่าเรือขนาดใหญ่เพื่อ รับส่งสินค้าให้จีน จะคุ้มกับประเทศไทยหรือไม่ และถ้าท่าเรือเราแออัดเพิ่มจากสินค้าจีน จะมีผลกับสินค้าไทยอย่างไร
6. เขตทางรถไฟมีจำกัด ถ้าไทยเลือกที่จะทำรถไฟแบบนี้จากหนองคาย ลงมากรุงเทพแล้ว ก็จะไม่มีเขตทางเหลือสำหรับทำรถไฟความเร็วสูงสำหรับขนผู้โดยสาร กระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัดอีกแล้ว
7. เส้นทางรถไฟนี้ คงไม่ได้ช่วยให้จีนมาลงทุนไนไทยหรอกครับ เพราะถ้าลงทุนในไทย เขาส่งออกทางแหลมฉบังไปทั่วโลกได้เลย ไม่ต้องส่งสินค้าย้อนเข้าไปในจีนอีกที
โครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งกับความร่วมมือกับต่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี จีนเองก็เป็นมิตรประเทศที่ดีของเราเสมอมา แต่ในการตกลงในความร่วมมือต่างๆ แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของฝ่ายตนเอง และ หาข้อสรุปที่ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ที่ผมกังวลคือ ฝ่ายไทยเอง เรายังไม่เข้าใจประโยชน์ของโครงการนี้อย่างชัดเจนเลยครับ เราเอาตามจีนเป็นหลัก ก็ต้องฝากช่วยกันดูรายละเอียด รวมทั้งศึกษาประเด็นต่างๆให้รอบคอบด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย