ตอนนี้ก็มี 2 ประเทศแล้วล่ะที่ให้ความช่วยเหลือไทยสร้างรถไฟความเร็วสูง คือจีนและญี่ปุ่น และมีข่าวว่าเกาหลีใต้เองก็สนใจที่เข้ามาลงทุน
โครงการรถไฟไทย-จีน ที่ลงนาม MOU (บันทึกความเข้าใจ) กับรัฐบาลจีนไปแล้ว ที่เรียกว่ารถไฟทางคู่มาตรฐาน มีความเร็ว 180 กม./ชม. มินิไฮสปีด
เทรน หรืออีกอย่างว่ารถไฟความเร็วปานกลาง
โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ที่เรียกว่าการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยได้เสนอร่วมพัฒนา 2 เส้นทาง คือ
1. สายพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง
ซึ่งหากมีการเชื่อมทวายจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนี้ เพราะจะสามารถเชื่อมไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามได้
คาดว่าเป็นมินิไฮสปีดเทรนราง 1.435 เมตรเหมือนกับจีน
2. สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่ง 200-300 กม./ชม.
นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนเร่งผลักดันรถไฟกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ โดยจะเริ่มที่เส้นทางตอนใต้ก่อน
เพื่อเชื่อมรถไฟไทย-จีนที่สร้างจากหนองคาย-กรุงเทพฯ จะเปิดประมูลทั่วไปเนื่องจากยังไม่มีประเทศที่ 3 มาเสนอตัว
แต่มีบริษัทเอกชนแสดงความสนใจ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง 180 กม./ชม.
อีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-พัทยาและกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่จะสร้างเป็นรถไฟความเร็วปานกลางถึงความเร็วสูงได้
เป็นอย่างไรบ้างครับอ่านแล้วเวียนหัวกันไหม หลายระบบ หลายความเร็ว (สูงมั่ง ปานกลางมั่ง) และร่วมมือกับหลายประเทศ วิธีการเช่นนี้มีผลดีหรือผลเสียอย่างไรครับ และจะมีปัญหาในเรื่องการบำรุงรักษาและการต่อเชื่อมกันในอนาคตหรือไม่
ไทยสร้างรถไฟความเร็วสูงหลายระบบ ร่วมมือกับหลายประเทศ ดีหรือไม่ดี
โครงการรถไฟไทย-จีน ที่ลงนาม MOU (บันทึกความเข้าใจ) กับรัฐบาลจีนไปแล้ว ที่เรียกว่ารถไฟทางคู่มาตรฐาน มีความเร็ว 180 กม./ชม. มินิไฮสปีด
เทรน หรืออีกอย่างว่ารถไฟความเร็วปานกลาง
โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ที่เรียกว่าการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยได้เสนอร่วมพัฒนา 2 เส้นทาง คือ
1. สายพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง
ซึ่งหากมีการเชื่อมทวายจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนี้ เพราะจะสามารถเชื่อมไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามได้
คาดว่าเป็นมินิไฮสปีดเทรนราง 1.435 เมตรเหมือนกับจีน
2. สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่ง 200-300 กม./ชม.
นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนเร่งผลักดันรถไฟกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ โดยจะเริ่มที่เส้นทางตอนใต้ก่อน
เพื่อเชื่อมรถไฟไทย-จีนที่สร้างจากหนองคาย-กรุงเทพฯ จะเปิดประมูลทั่วไปเนื่องจากยังไม่มีประเทศที่ 3 มาเสนอตัว
แต่มีบริษัทเอกชนแสดงความสนใจ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง 180 กม./ชม.
อีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-พัทยาและกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่จะสร้างเป็นรถไฟความเร็วปานกลางถึงความเร็วสูงได้
เป็นอย่างไรบ้างครับอ่านแล้วเวียนหัวกันไหม หลายระบบ หลายความเร็ว (สูงมั่ง ปานกลางมั่ง) และร่วมมือกับหลายประเทศ วิธีการเช่นนี้มีผลดีหรือผลเสียอย่างไรครับ และจะมีปัญหาในเรื่องการบำรุงรักษาและการต่อเชื่อมกันในอนาคตหรือไม่