สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
จีนไม่มีทางเสียแน่นอน ทุกวันนี้ก็ขาดดุลการค้ากับจีนอยู่แล้ว
ค่าแรงเขาก็ถูกกว่า แถมบ้านเราก็ซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีนทั้งนั้น
จะเอาสินค้าเกษตรไปขายจีน ทุกวันนี้มีแต่ของจีนมาขายให้ไทย
แล้วค่าใช้จ่ายในการสร้างรางรถไฟ + รถไฟ ทำไมแพงชิป
ต้องถามรัฐบาลว่าทำไมมันเร่งด่วน และจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอ ต้องรีบเซ็นต์
ขนาดสัญญาที่ลงนามกัน คนทั้งประเทศยังไม่มีใครรู้รายละเอียดเลย
นึกถึงตอน 2 ล้านๆ แล้วเจ็บใจคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมาจริงๆ ที่บอกว่าภาษีเรา ต้องตรวจสอบได้
ใครจะใช้หนี้ คุ้มกับการลงทุนไหม ค่าโดยสารเท่าไหร่ แพงแล้วใครจะขึ้น ขาดทุนแล้วใครจะรับผิดชอบ
ตอนนี้คนกลุ่นนี้หายไปไหนเงียบเป็นเป่าสาก
ค่าแรงเขาก็ถูกกว่า แถมบ้านเราก็ซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีนทั้งนั้น
จะเอาสินค้าเกษตรไปขายจีน ทุกวันนี้มีแต่ของจีนมาขายให้ไทย
แล้วค่าใช้จ่ายในการสร้างรางรถไฟ + รถไฟ ทำไมแพงชิป
ต้องถามรัฐบาลว่าทำไมมันเร่งด่วน และจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอ ต้องรีบเซ็นต์
ขนาดสัญญาที่ลงนามกัน คนทั้งประเทศยังไม่มีใครรู้รายละเอียดเลย
นึกถึงตอน 2 ล้านๆ แล้วเจ็บใจคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมาจริงๆ ที่บอกว่าภาษีเรา ต้องตรวจสอบได้
ใครจะใช้หนี้ คุ้มกับการลงทุนไหม ค่าโดยสารเท่าไหร่ แพงแล้วใครจะขึ้น ขาดทุนแล้วใครจะรับผิดชอบ
ตอนนี้คนกลุ่นนี้หายไปไหนเงียบเป็นเป่าสาก
ความคิดเห็นที่ 30
จากประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปพันปี จีนช่วยเหลือเรามาตลอดนะครับ
นับแต่กรุงสุโขทัย การตั้งกรุงศรีอยุธยารัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งได้จีนช่วย
จนมาถึงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ครั้งเสียกรุงจีนส่งสายลับมาเต็มกรุงศรีและเมืองจันทบุรีเต็มไปหมด
ตอนพระเจ้าตากจะยกทัพกลับไปยึดกรุงศรี เฉียนหลงฮ่องเต้รับสั่งให้ทัพใหญ่จีนบุกตีพม่าทันที ส่งผลให้พม่าต้องถอนทัพกลับไปรับศึกทางเหนือแทน พระเจ้าตากจึงกู้เอกราชได้ง่ายยิ่งขึ้น
หลังจากตั้งกรุงธนบุรี เงินจะสร้างกำแพงพระราชวังยังไม่มี เราจนมา จีนประกาศยกเลิกภาษีอากรทุกชนิดจากเรือสินค้าไทย ให้ไทยสามารถส่งสินค้าไปขายจีนได้อย่างเสรี ส่งผลให้พระเจ้าตากสามารถสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นได้ และเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยในเวลาต่อมา
ครั้งที่อเมริกาหนีหัวซุกหัวซุนจากสงครามเวียดนาม แม้แต่เฮลิคอปเตอร์ยังต้องขนไปทิ้งทะเลนับสิบลำ เครื่องบินรถถังต่างๆอีกจำนวนมาก แทนที่จะยกให้ไทย แสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ของอเมริกัน เวียดนามฮึกเหิมประกาศจะยึดไทยภายในสามวัน ซึ่งเป็นไปได้ เพราะอาวุธเวียดนามตอนนั้นติดอันดับสามของโลก ทั้งของอเมริกาและรัสเซีย เติ้งเสี่ยวผิง สั่งทหารจีนบุกเวียดนามทันที ทั้งๆที่จีนเองก็ไม่พร้อมรบ ใช้คลื่นมนุษย์เข้ามา ปรากฏว่าทหารจีนตายทันทีสามหมื่น เติ้งก็สั่งให้ระดัมทหารเข้าไปอีก เพราะจีนพลเมืองเยอะ จนเวียดนามต้านไม่ไหว ยอมยุติการประกาศบุกไทย
หลังจากสงครามสั่งสอนจบลง เวียดนามก็กร่างอีกรอบ ประกาศจะยึดภาคอีสานไทย บุกเข้ามาแล้วด้วยที่ช่องบก จีนส่งรถถัง น้ำมัน มาช่วยไทยแบบไม่อั้น รวมไปถึงครั้งสงครามร่มเกล้าด้วย ไทยยิงจนกระสุนหมด มีแต่จีน ที่ขนอาวุธมาให้ไทยสู้ต่อแบบไม่คิดเงิน
ตอนเราแพ้สงครามเศรษฐกิจ เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง จีนเป็นประเทศเดียวที่ช่วยเรา จีนให้เงินช่วยจำนวนมาก และสินค้าไทยส่งไปขายยังจีนได้เป็นจำนวนมากโดยให้สิทธิพิเศษ และยังแนะนำด้วยว่า อย่าไปทำตาม IMF แต่เราไม่เชื่อ
คนไทยมีเลือดจีนผสมไม่น้อยกว่า 70% ของประชากร ยังไงเลือดย่อมข้นกว่าน้ำ ประเทศอื่นๆ ไม่คิดช่วยเราจริงหรอก
คุยกับจีน ง่ายที่สุดแล้ว
นับแต่กรุงสุโขทัย การตั้งกรุงศรีอยุธยารัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งได้จีนช่วย
จนมาถึงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ครั้งเสียกรุงจีนส่งสายลับมาเต็มกรุงศรีและเมืองจันทบุรีเต็มไปหมด
ตอนพระเจ้าตากจะยกทัพกลับไปยึดกรุงศรี เฉียนหลงฮ่องเต้รับสั่งให้ทัพใหญ่จีนบุกตีพม่าทันที ส่งผลให้พม่าต้องถอนทัพกลับไปรับศึกทางเหนือแทน พระเจ้าตากจึงกู้เอกราชได้ง่ายยิ่งขึ้น
หลังจากตั้งกรุงธนบุรี เงินจะสร้างกำแพงพระราชวังยังไม่มี เราจนมา จีนประกาศยกเลิกภาษีอากรทุกชนิดจากเรือสินค้าไทย ให้ไทยสามารถส่งสินค้าไปขายจีนได้อย่างเสรี ส่งผลให้พระเจ้าตากสามารถสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นได้ และเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยในเวลาต่อมา
ครั้งที่อเมริกาหนีหัวซุกหัวซุนจากสงครามเวียดนาม แม้แต่เฮลิคอปเตอร์ยังต้องขนไปทิ้งทะเลนับสิบลำ เครื่องบินรถถังต่างๆอีกจำนวนมาก แทนที่จะยกให้ไทย แสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ของอเมริกัน เวียดนามฮึกเหิมประกาศจะยึดไทยภายในสามวัน ซึ่งเป็นไปได้ เพราะอาวุธเวียดนามตอนนั้นติดอันดับสามของโลก ทั้งของอเมริกาและรัสเซีย เติ้งเสี่ยวผิง สั่งทหารจีนบุกเวียดนามทันที ทั้งๆที่จีนเองก็ไม่พร้อมรบ ใช้คลื่นมนุษย์เข้ามา ปรากฏว่าทหารจีนตายทันทีสามหมื่น เติ้งก็สั่งให้ระดัมทหารเข้าไปอีก เพราะจีนพลเมืองเยอะ จนเวียดนามต้านไม่ไหว ยอมยุติการประกาศบุกไทย
หลังจากสงครามสั่งสอนจบลง เวียดนามก็กร่างอีกรอบ ประกาศจะยึดภาคอีสานไทย บุกเข้ามาแล้วด้วยที่ช่องบก จีนส่งรถถัง น้ำมัน มาช่วยไทยแบบไม่อั้น รวมไปถึงครั้งสงครามร่มเกล้าด้วย ไทยยิงจนกระสุนหมด มีแต่จีน ที่ขนอาวุธมาให้ไทยสู้ต่อแบบไม่คิดเงิน
ตอนเราแพ้สงครามเศรษฐกิจ เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง จีนเป็นประเทศเดียวที่ช่วยเรา จีนให้เงินช่วยจำนวนมาก และสินค้าไทยส่งไปขายยังจีนได้เป็นจำนวนมากโดยให้สิทธิพิเศษ และยังแนะนำด้วยว่า อย่าไปทำตาม IMF แต่เราไม่เชื่อ
คนไทยมีเลือดจีนผสมไม่น้อยกว่า 70% ของประชากร ยังไงเลือดย่อมข้นกว่าน้ำ ประเทศอื่นๆ ไม่คิดช่วยเราจริงหรอก
คุยกับจีน ง่ายที่สุดแล้ว
ความคิดเห็นที่ 42
ในปัจจุบันทางรถไฟในประเทศไทยเป็นทางขนาด 1.0 เมตร (มิเตอร์เกจ) มีระยะทางประมาณ 4,000 กม. เป็นทางคู่ประมาณ 300 กม. ที่เหลือเป็นทางเดี่ยว
แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมเดิม จะพัฒนารถไฟในสองระบบคือ
1. ระบบรถไฟทางคู่เดิม (มิเตอร์เกจ) เน้นขนสินค้าหนัก ผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความเร็วมากนัก (ประมาณ 120 กม.ต่อ ชม.) ทำเป็นทางคู่ทั้งประเทศ และ เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เด่นชัย-เชียงราย ขอนแก่น-นครพนม
2. ระบบรถไฟความเร็วสูง (วางรางใหม่ ขนาด 1.435 เมตร หรือ แสตนดาร์ดเกจ) เน้นขนผู้โดยสารที่ต้องการความรวดเร็ว สินค้ามูลค่าสูง ความเร็วไม่ต่ำกว่า 250 กม.ต่อชม ทำสี่เส้นทาง เหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้
เป็นระบบคล้ายๆกับที่ญี่ปุ่นมีคือ ญึ่ปุ่นมีระบบรถไฟสองระบบ รางขนาด 1 เมตร สำหรับ รถช้า รถสินค้า และ รางขนาด 1.435 เมตร สำหรับ รถไฟชินคันเซ็น
สำหรับโครงการนี้ของรัฐบาล เหมือนกับเอาสองระบบมายำรวมกัน คือ วางรางใหม่ใช้แสตนดาร์ดเกจ แต่เน้นเพื่อขนสินค้า (ขนคนด้วยความเร็ว 160 กม/ชม ไม่มี Economy of Speed แข่งกับ Low Cost ไม่ได้)
ถ้าจะทำจริง ก็คงจะมีประเด็นที่ต้องศึกษาให้ละเอียดดังนี้ครับ
1. หัวรถจักร แคร่ โบกี้ โรงซ่อม ของการรถไฟที่มีอยู่เดิมสำหรับทาง 1 เมตร ไม่สามารถใช้กับทางใหม่ 1.435 เมตรได้ ต้องจัดหาใหม่ และ ในอนาคตต้องจัดหาเป็นสองชุด ชุดหนึ่งสำหรับทางเดิม และ อีกชุดหนึ่ง สำหรับทางใหม่ หรือ สุดท้ายอาจจะมีแต่รถไฟจีนเข้ามาวิ่งในเส้นทางนี้
2. การเน้นขนสินค้าจะเกิดประโยชน์กับไทยมากน้อยเพียงไร คงต้องศึกษาให้ดี ประโยชน์กับจีนมีแน่ เพราะทางมณฑลยูนานทางตะวันตกของจีนนั้น ยังมีต้นทุน Logistics ค่อนข้างสูง ต้องขนออกทะเลทางเมืองท่าตะวันออก ถ้าลัดลงมาทางใต้ได้ จีนอาจจะประหยัดต้นทุนขนส่งได้ รวมทั้งการนำเข้าสินค้า วัตถุดิบเข้าจีนจะสะดวกขึ้น แต่ประโยชน์ที่ไทยได้ ต้องศึกษาให้ดีว่าจะมีสินค้าไทยไปจีนทางเส้นทางนี้เท่าไร เพราะส่วนใหญ่สินค้าเราน่าจะไปทางเรือ ไม่ใช่ว่าสุดท้ายแล้วเรากลายเป็น Transit Country ที่มีแต่สินค้าผ่าน (เหมือนที่ สปป ลาว กังวลอยู่) ค่าผ่านทาง เราเก็บแพงไม่ได้เพราะถ้าเก็บแพงเขาก็ไม่มาใช้
3. การก่อสร้างรถไฟความเร็ว 160 กม ต่อ ชม (กท-หนองคาย 4-5 ชม) ไม่มีแรงจูงใจให้ผู้โดยสารใช้ ดังนั้น ความฝันที่จะเห็นการกระจายความเจริญสู่ชนบทโดยรถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดขึ้น ส่วนที่มีคนพยายามอธิบายว่า อนาคตจะ upgrade ให้มีความเร็ว 250 กม ต่อ ชม ก็น่าจะยากและต้องลงทุนเพิ่มอีกมาก เพราะความเร็วสูงสุดต่างกัน มาตรฐานในการก่อสร้างก็ต่างกัน (เช่น รัศมีความโค้ง การทรุดตัว) ถ้าจะ upgrade ในอนาคต ก็ต้องสร้างเผื่อไว้เลย
4. ความร่วมมือ G-to-G ในกรณีนี้ ความหมายคืออะไร เพราะเท่าที่ฟัง สุดท้ายแล้ว ไทยก็ต้องจ่ายเงินคืน การก่อสร้างรถไฟทางคู่ แสตนดาร์ดเกจ ความเร็ว 160 กม/ชม ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ถ้าเปิดประมูลให้แข่งขัน น่าจะได้ราคาที่เป็นธรรมกว่า ส่วนที่คาดว่าจะจ่ายค่าก่อสร้างเป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ในทางปฏิบัติคงจะยาก เพราะติดเงื่อนไขด้านราคา การส่งของ จีนเขาเอาเงินสดและไปซื้อสินค้าเองง่ายกว่า (ที่ผ่านมา ผมยังไม่เห็นโครงการขนาดใหญ่ทำ Barter Trade สำเร็จสักโครงการ)
5. การเชื่อมมาบตาพุดมีประโยชน์อย่างไร เพราะท่าเรือหลักของเราคือแหลมฉบัง มาบตาพุดมีท่าเรือสำหรับขนวัถตุดิบของนิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์น้อยมาก และไม่มีสายเดินเรือแวะ ถ้าเชือมมาบตาพุด อนาคตต้องมีการขยายท่าเรือมาบตาพุดเพื่อรองรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์หรือไม่ ผลกระทบต่างๆในการสร้างท่าเรือขนาดใหญ่เพื่อ รับส่งสินค้าให้จีน จะคุ้มกับประเทศไทยหรือไม่ และถ้าท่าเรือเราแออัดเพิ่มจากสินค้าจีน จะมีผลกับสินค้าไทยอย่างไร
6. เขตทางรถไฟมีจำกัด ถ้าไทยเลือกที่จะทำรถไฟแบบนี้จากหนองคาย ลงมากรุงเทพแล้ว ก็จะไม่มีเขตทางเหลือสำหรับทำรถไฟความเร็วสูงสำหรับขนผู้โดยสาร กระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัดอีกแล้ว
7. เส้นทางรถไฟนี้ คงไม่ได้ช่วยให้จีนมาลงทุนไนไทยหรอกครับ เพราะถ้าลงทุนในไทย เขาส่งออกทางแหลมฉบังไปทั่วโลกได้เลย ไม่ต้องส่งสินค้าย้อนเข้าไปในจีนอีกที
โครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งกับความร่วมมือกับต่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี จีนเองก็เป็นมิตรประเทศที่ดีของเราเสมอมา แต่ในการตกลงในความร่วมมือต่างๆ แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของฝ่ายตนเอง และ หาข้อสรุปที่ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ที่ผมกังวลคือ ฝ่ายไทยเอง เรายังไม่เข้าใจประโยชน์ของโครงการนี้อย่างชัดเจนเลยครับ เราเอาตามจีนเป็นหลัก ก็ต้องฝากช่วยกันดูรายละเอียด รวมทั้งศึกษาประเด็นต่างๆให้รอบคอบด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย
แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมเดิม จะพัฒนารถไฟในสองระบบคือ
1. ระบบรถไฟทางคู่เดิม (มิเตอร์เกจ) เน้นขนสินค้าหนัก ผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความเร็วมากนัก (ประมาณ 120 กม.ต่อ ชม.) ทำเป็นทางคู่ทั้งประเทศ และ เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เด่นชัย-เชียงราย ขอนแก่น-นครพนม
2. ระบบรถไฟความเร็วสูง (วางรางใหม่ ขนาด 1.435 เมตร หรือ แสตนดาร์ดเกจ) เน้นขนผู้โดยสารที่ต้องการความรวดเร็ว สินค้ามูลค่าสูง ความเร็วไม่ต่ำกว่า 250 กม.ต่อชม ทำสี่เส้นทาง เหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้
เป็นระบบคล้ายๆกับที่ญี่ปุ่นมีคือ ญึ่ปุ่นมีระบบรถไฟสองระบบ รางขนาด 1 เมตร สำหรับ รถช้า รถสินค้า และ รางขนาด 1.435 เมตร สำหรับ รถไฟชินคันเซ็น
สำหรับโครงการนี้ของรัฐบาล เหมือนกับเอาสองระบบมายำรวมกัน คือ วางรางใหม่ใช้แสตนดาร์ดเกจ แต่เน้นเพื่อขนสินค้า (ขนคนด้วยความเร็ว 160 กม/ชม ไม่มี Economy of Speed แข่งกับ Low Cost ไม่ได้)
ถ้าจะทำจริง ก็คงจะมีประเด็นที่ต้องศึกษาให้ละเอียดดังนี้ครับ
1. หัวรถจักร แคร่ โบกี้ โรงซ่อม ของการรถไฟที่มีอยู่เดิมสำหรับทาง 1 เมตร ไม่สามารถใช้กับทางใหม่ 1.435 เมตรได้ ต้องจัดหาใหม่ และ ในอนาคตต้องจัดหาเป็นสองชุด ชุดหนึ่งสำหรับทางเดิม และ อีกชุดหนึ่ง สำหรับทางใหม่ หรือ สุดท้ายอาจจะมีแต่รถไฟจีนเข้ามาวิ่งในเส้นทางนี้
2. การเน้นขนสินค้าจะเกิดประโยชน์กับไทยมากน้อยเพียงไร คงต้องศึกษาให้ดี ประโยชน์กับจีนมีแน่ เพราะทางมณฑลยูนานทางตะวันตกของจีนนั้น ยังมีต้นทุน Logistics ค่อนข้างสูง ต้องขนออกทะเลทางเมืองท่าตะวันออก ถ้าลัดลงมาทางใต้ได้ จีนอาจจะประหยัดต้นทุนขนส่งได้ รวมทั้งการนำเข้าสินค้า วัตถุดิบเข้าจีนจะสะดวกขึ้น แต่ประโยชน์ที่ไทยได้ ต้องศึกษาให้ดีว่าจะมีสินค้าไทยไปจีนทางเส้นทางนี้เท่าไร เพราะส่วนใหญ่สินค้าเราน่าจะไปทางเรือ ไม่ใช่ว่าสุดท้ายแล้วเรากลายเป็น Transit Country ที่มีแต่สินค้าผ่าน (เหมือนที่ สปป ลาว กังวลอยู่) ค่าผ่านทาง เราเก็บแพงไม่ได้เพราะถ้าเก็บแพงเขาก็ไม่มาใช้
3. การก่อสร้างรถไฟความเร็ว 160 กม ต่อ ชม (กท-หนองคาย 4-5 ชม) ไม่มีแรงจูงใจให้ผู้โดยสารใช้ ดังนั้น ความฝันที่จะเห็นการกระจายความเจริญสู่ชนบทโดยรถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดขึ้น ส่วนที่มีคนพยายามอธิบายว่า อนาคตจะ upgrade ให้มีความเร็ว 250 กม ต่อ ชม ก็น่าจะยากและต้องลงทุนเพิ่มอีกมาก เพราะความเร็วสูงสุดต่างกัน มาตรฐานในการก่อสร้างก็ต่างกัน (เช่น รัศมีความโค้ง การทรุดตัว) ถ้าจะ upgrade ในอนาคต ก็ต้องสร้างเผื่อไว้เลย
4. ความร่วมมือ G-to-G ในกรณีนี้ ความหมายคืออะไร เพราะเท่าที่ฟัง สุดท้ายแล้ว ไทยก็ต้องจ่ายเงินคืน การก่อสร้างรถไฟทางคู่ แสตนดาร์ดเกจ ความเร็ว 160 กม/ชม ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ถ้าเปิดประมูลให้แข่งขัน น่าจะได้ราคาที่เป็นธรรมกว่า ส่วนที่คาดว่าจะจ่ายค่าก่อสร้างเป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ในทางปฏิบัติคงจะยาก เพราะติดเงื่อนไขด้านราคา การส่งของ จีนเขาเอาเงินสดและไปซื้อสินค้าเองง่ายกว่า (ที่ผ่านมา ผมยังไม่เห็นโครงการขนาดใหญ่ทำ Barter Trade สำเร็จสักโครงการ)
5. การเชื่อมมาบตาพุดมีประโยชน์อย่างไร เพราะท่าเรือหลักของเราคือแหลมฉบัง มาบตาพุดมีท่าเรือสำหรับขนวัถตุดิบของนิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์น้อยมาก และไม่มีสายเดินเรือแวะ ถ้าเชือมมาบตาพุด อนาคตต้องมีการขยายท่าเรือมาบตาพุดเพื่อรองรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์หรือไม่ ผลกระทบต่างๆในการสร้างท่าเรือขนาดใหญ่เพื่อ รับส่งสินค้าให้จีน จะคุ้มกับประเทศไทยหรือไม่ และถ้าท่าเรือเราแออัดเพิ่มจากสินค้าจีน จะมีผลกับสินค้าไทยอย่างไร
6. เขตทางรถไฟมีจำกัด ถ้าไทยเลือกที่จะทำรถไฟแบบนี้จากหนองคาย ลงมากรุงเทพแล้ว ก็จะไม่มีเขตทางเหลือสำหรับทำรถไฟความเร็วสูงสำหรับขนผู้โดยสาร กระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัดอีกแล้ว
7. เส้นทางรถไฟนี้ คงไม่ได้ช่วยให้จีนมาลงทุนไนไทยหรอกครับ เพราะถ้าลงทุนในไทย เขาส่งออกทางแหลมฉบังไปทั่วโลกได้เลย ไม่ต้องส่งสินค้าย้อนเข้าไปในจีนอีกที
โครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งกับความร่วมมือกับต่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี จีนเองก็เป็นมิตรประเทศที่ดีของเราเสมอมา แต่ในการตกลงในความร่วมมือต่างๆ แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของฝ่ายตนเอง และ หาข้อสรุปที่ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ที่ผมกังวลคือ ฝ่ายไทยเอง เรายังไม่เข้าใจประโยชน์ของโครงการนี้อย่างชัดเจนเลยครับ เราเอาตามจีนเป็นหลัก ก็ต้องฝากช่วยกันดูรายละเอียด รวมทั้งศึกษาประเด็นต่างๆให้รอบคอบด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งสองฝ่าย
ความคิดเห็นที่ 2
จะได้หรือจะเสียอยู่ที่กึ๋นล้วนๆครับ คนไม่ฉลาดอยู่ที่ไหนก็ไม่สามารถสร้างโอกาสให้กับตัวเองได้ ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ทำเลที่ดีเยี่ยมเหนือหลายๆประเทศในภูมิภาค แต่เราไม่สามารถสร้างโอกาสที่ดีให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีได้เลย ทางแก้ต้องแก้ที่ sofeware ก่อนเลยครับ เพราะ hardware ไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหา บางเราก็แกล้งโง่เพราะผลประโยชน์ หรือ โง่จริงๆ อันนี้บอกตามตรงมองไม่ออก
แสดงความคิดเห็น
รถไฟความร่วมมือ ไทย-จีน ใครได้ใครเสีย?
สรุปคือจีนจะมาสร้างให้ และดูจากเส้นทางที่จะเชื่อมไปยังจีนลงมายัง มาตพุต จีนน่าจะได้รับประโยชน์มหาศาลในการกระจายสินไทย
กลับมาทางไทยที่พอจะดึงเงินจากจีนได้คือนักท่องเที่ยวก็ไม่รู้จะดูดได้ด้วยรถไฟได้มั้ย นั่งเครื่องบินน่าจะดีกว่า
ส่วนเรืองสินค้าที่ส่งไปจีน เราได้เปรียบจีนเรื่องสินค้าอะไรบ้างครับ
ดูๆแล้วเหมือนมันเป็นโครงการรถไฟของจีนเลยอ่ะ
สรุปแล้วไทยเราไม่มีทางเลือกต้องให้จีนช่วยชาติเดียวแล้วหรือครับ?