“ไพรินทร์” หนุนสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมท่าเรือระนอง ชี้ช่วยหนุนการเปิดเศรษฐกิจไทยเชื่อมบิมสเทค
(BIMSTEC ที่มีสมาชิกใน 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย)
พร้อมบูมเศรษฐกิจระนองเป็น ‘เมืองท่าฝั่งขวา’ ชี้เป็นครั้งแรกในรอบ100 ปีที่ไทยจะมีเมืองท่าในฝั่งทะเลอันดามัน
และครั้งแรกรอบ140 ปีมีรถไฟเชื่อมเส้นทางฝั่งอันดามัน
โครงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ที่รัฐบาลมีแผนจะผลักดันให้เป็นโครงการเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปโดยในโครงการนี้มีโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างการศึกษา
และออกแบบคือโครงการแลนด์บริดจ์ที่จะเชื่อมการขนส่งในอนาคตทั้งจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทยไปยังทะเลฝั่งอันดามัน
รวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมาขนส่งมายังท่าเรือระนอง
เพื่อเปิดเส้นทางการส่งออกไปยังฝั่งอันดามัน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์
และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลาง-ยาว ในศูนย์บริหารสถารการณ์เศรษฐกิจ
จากผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) เปิดเผยว่าเส้นทางรถไฟทางคู่ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบคือเส้นทางรถไฟ
ทางคู่ความยาวประมาณ 90 กิโลเมตรเชื่อมจากจะเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางชุมพร-ระนองมาถึงท่าเรือระนอง
โดยเส้นทางนี้ตนได้เสนอตั้งแต่ครั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมโดยโดยเมื่อครั้งได้ไปตรวจราชการในพื้นที่จ.ระนอง
และเห็นหัวรถจักรเก่าสมัยสงครามโลกถูกทิ้งล้างอยู่ในป่าจึงได้ไปคุยกับชาวบ้านและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงได้รู้ประวัติความเป็นมา
ของเส้นทางรถไฟเส้นนี้ว่าเป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นเข้ามาสร้างไว้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นได้มาก่อสร้างเส้นทางรถไฟเอาไว้ 2 เส้น
เส้นนึงคือเส้นทางรถไฟที่จ.กาญจนบุรีที่เชื่อมไปถึงเมียนมาซึ่งตามยุทธศาตร์ญี่ปุ่นจะยกทัพจากเมียนมาไปยังอินเดีย
ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทางที่จะไปยังจังหวัดระนองเพื่อไปยังท่าเรือที่จะออกไปยังฝั่งตะวันตกและเข้าไปยังเมียนมาได้
ความยาวขนาด 90 กิโลเมตร ซึ่งตอนนั้นญี่ปุ่นใช้เวลาสร้างเสร็จภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี โดยการก่อสร้างนั้นไปถึงยังบริเวณที่เรียกว่า
ปากคลองละอุ่น จ.ระนอง ซึ่งจากคลองละอุ่นนี้มีเส้นทางเรือต่อไปยังคลองกะเป็นชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมาและออกสู่ทะเล
ฝั่งอันดามันได้เช่นกัน เส้นทางนี้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประโยชน์ในการลำเลียงกำลังพลอยู่ได้ไม่นานนักในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
ก็ถูกกองกำลังของสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนเสียหายไป และเมื่อกาลเวลาผ่านไปเส้นทางรถไฟสายนี้ก็ถูกลืมเลือนไปในประวัติศาสตร์
นายไพรินทร์กล่าวต่อว่าข้อเสนอของตนคือให้กระทรวงคมนาคมเดินหน้าศึกษาและก่อสร้างรถไฟเส้นทางนี้เพราะจะเป็นเส้นทางรถไฟ
เส้นแรกของประเทศที่เชื่อมตอนในของประเทศเข้ากับท่าเรืออันดามันเพราะในพื้นที่จ.ระนองมีท่าเรือพาณิชย์ที่สร้างไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2550
แต่ก็ยังไม่ได้ใช้งาน ซึ่งหากขยายขนาดท่าเรือให้ใหญ่ขึ้นอาจจะไม่ต้องถึงขนาดที่จะต้องเป็นท่าเรือน้ำลึกในทันทีแต่การปรับปรุง
จะทำให้เป็นท่าเรือที่รองรับท่าเรือสินค้าที่จะส่งสินค้าไปถึงประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ที่มีสมาชิกใน 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน
อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่จะเป็นตลาดส่งออกของไทยได้ ส่วนในอนาคต
หากจะพัฒนาท่าเรือระนองต่อไปให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ก็สามารถที่จะทำได้ หรืออีกรูปแบบคือสร้างท่ารับเรือขนาดใหญ่
ไว้ในทะเลก็สามารถที่จะทำได้ต้องว่ากันอีกที
ในหลักการก็คือเมื่อเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นชุมพร-ระนองสร้างเสร็จ ตู้สินค้าที่ขนส่งมาทางรางก็ขนส่งต่อมาทางเส้นทางรถไฟทางคู่
ที่จะสร้างต่ออีก 90 กิโลเมตรมาถึงฝั่งอันดามันเชื่อมกับท่าเรือระนองจะทำให้การขนส่งสินค้าของไทยออกไปยังฝั่งอันดามัน
ทำได้อย่างเป็นรูปธรรมโครงการนี้ได้งบออกแบบแล้วในปีงบประมาณ 2564 ประมาณ 3 - 4 ปีน่าจะสร้างแล้วเสร็จ
แล้วท่าเรือที่ระนองก็ขยายออกไป
'ไพรินทร์'บูมรถไฟทางคู่เชื่อมอันดามัน ปั้นเมืองท่าระนอง เปิดตลาด 'บิมเทค'
(BIMSTEC ที่มีสมาชิกใน 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย)
พร้อมบูมเศรษฐกิจระนองเป็น ‘เมืองท่าฝั่งขวา’ ชี้เป็นครั้งแรกในรอบ100 ปีที่ไทยจะมีเมืองท่าในฝั่งทะเลอันดามัน
และครั้งแรกรอบ140 ปีมีรถไฟเชื่อมเส้นทางฝั่งอันดามัน
โครงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ที่รัฐบาลมีแผนจะผลักดันให้เป็นโครงการเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปโดยในโครงการนี้มีโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างการศึกษา
และออกแบบคือโครงการแลนด์บริดจ์ที่จะเชื่อมการขนส่งในอนาคตทั้งจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทยไปยังทะเลฝั่งอันดามัน
รวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมาขนส่งมายังท่าเรือระนอง
เพื่อเปิดเส้นทางการส่งออกไปยังฝั่งอันดามัน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์
และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลาง-ยาว ในศูนย์บริหารสถารการณ์เศรษฐกิจ
จากผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) เปิดเผยว่าเส้นทางรถไฟทางคู่ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบคือเส้นทางรถไฟ
ทางคู่ความยาวประมาณ 90 กิโลเมตรเชื่อมจากจะเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางชุมพร-ระนองมาถึงท่าเรือระนอง
โดยเส้นทางนี้ตนได้เสนอตั้งแต่ครั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมโดยโดยเมื่อครั้งได้ไปตรวจราชการในพื้นที่จ.ระนอง
และเห็นหัวรถจักรเก่าสมัยสงครามโลกถูกทิ้งล้างอยู่ในป่าจึงได้ไปคุยกับชาวบ้านและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงได้รู้ประวัติความเป็นมา
ของเส้นทางรถไฟเส้นนี้ว่าเป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นเข้ามาสร้างไว้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นได้มาก่อสร้างเส้นทางรถไฟเอาไว้ 2 เส้น
เส้นนึงคือเส้นทางรถไฟที่จ.กาญจนบุรีที่เชื่อมไปถึงเมียนมาซึ่งตามยุทธศาตร์ญี่ปุ่นจะยกทัพจากเมียนมาไปยังอินเดีย
ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทางที่จะไปยังจังหวัดระนองเพื่อไปยังท่าเรือที่จะออกไปยังฝั่งตะวันตกและเข้าไปยังเมียนมาได้
ความยาวขนาด 90 กิโลเมตร ซึ่งตอนนั้นญี่ปุ่นใช้เวลาสร้างเสร็จภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี โดยการก่อสร้างนั้นไปถึงยังบริเวณที่เรียกว่า
ปากคลองละอุ่น จ.ระนอง ซึ่งจากคลองละอุ่นนี้มีเส้นทางเรือต่อไปยังคลองกะเป็นชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมาและออกสู่ทะเล
ฝั่งอันดามันได้เช่นกัน เส้นทางนี้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประโยชน์ในการลำเลียงกำลังพลอยู่ได้ไม่นานนักในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
ก็ถูกกองกำลังของสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนเสียหายไป และเมื่อกาลเวลาผ่านไปเส้นทางรถไฟสายนี้ก็ถูกลืมเลือนไปในประวัติศาสตร์
นายไพรินทร์กล่าวต่อว่าข้อเสนอของตนคือให้กระทรวงคมนาคมเดินหน้าศึกษาและก่อสร้างรถไฟเส้นทางนี้เพราะจะเป็นเส้นทางรถไฟ
เส้นแรกของประเทศที่เชื่อมตอนในของประเทศเข้ากับท่าเรืออันดามันเพราะในพื้นที่จ.ระนองมีท่าเรือพาณิชย์ที่สร้างไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2550
แต่ก็ยังไม่ได้ใช้งาน ซึ่งหากขยายขนาดท่าเรือให้ใหญ่ขึ้นอาจจะไม่ต้องถึงขนาดที่จะต้องเป็นท่าเรือน้ำลึกในทันทีแต่การปรับปรุง
จะทำให้เป็นท่าเรือที่รองรับท่าเรือสินค้าที่จะส่งสินค้าไปถึงประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ที่มีสมาชิกใน 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน
อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่จะเป็นตลาดส่งออกของไทยได้ ส่วนในอนาคต
หากจะพัฒนาท่าเรือระนองต่อไปให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ก็สามารถที่จะทำได้ หรืออีกรูปแบบคือสร้างท่ารับเรือขนาดใหญ่
ไว้ในทะเลก็สามารถที่จะทำได้ต้องว่ากันอีกที
ในหลักการก็คือเมื่อเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นชุมพร-ระนองสร้างเสร็จ ตู้สินค้าที่ขนส่งมาทางรางก็ขนส่งต่อมาทางเส้นทางรถไฟทางคู่
ที่จะสร้างต่ออีก 90 กิโลเมตรมาถึงฝั่งอันดามันเชื่อมกับท่าเรือระนองจะทำให้การขนส่งสินค้าของไทยออกไปยังฝั่งอันดามัน
ทำได้อย่างเป็นรูปธรรมโครงการนี้ได้งบออกแบบแล้วในปีงบประมาณ 2564 ประมาณ 3 - 4 ปีน่าจะสร้างแล้วเสร็จ
แล้วท่าเรือที่ระนองก็ขยายออกไป