เห็นเหล่าสาวกแมลงสาบพยามทุกวิถีทางที่ขัดขวางไม่ให้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานไม่เกิด
เปิดประเด็นเรื่องรถไฟขนผักเพื่อทำลายนายกอย่างเมามัน จนลืมว่าตนเองคือตัวถ่วงความเจริญ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ "การขนส่งสินค้าที่เน่าเสียได้ผ่านทางรถไฟ อย่างผัก ผลไม้ ที่ปัจจุบันนี้มีการขนส่งทางรถยนต์เกิดการเน่าเสีย 17-35% แต่เมื่อขนส่งทางไฮสปีดเทรน จะมีอัตราการเน่าเสีย 0% ประเทศไทยจะสามารถขนส่งสินค้าเกษตรไปถึงลูกค้าในมูลค่า 336,000 ล้านบาท ในปี 2561 ที่ไฮสปีดเทรนสร้างเสร็จโดยไม่มีความสูญเสียเลย ขณะที่การขนส่งสินค้าสดๆ อย่างปลาสดจะถึงมือลูกค้าทั้งๆที่ปลายังเป็นอยู่”
แนวคิดเรื่องการปรับระบบลอจิสติกส์ด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องน่าสนใจมาก และลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการขนส่งสินค้าเกษตรด้วยระบบรางจากต่างประเทศ เพื่อค้นหาว่าต่างประเทศมีประสบการณ์ด้านนี้อย่างไรบ้าง
Railex รถไฟขนสินค้าเกษตรข้ามฝั่งทะเลสหรัฐ
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือบริษัท Railex ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งโฆษณาตัวเองไว้ว่าเป็น “Temperature Controlled Unit Train” หรือรถไฟควบคุมอุณหภูมิพิเศษ ที่วิ่งระหว่างฝั่งตะวันตก-ตะวันออกของสหรัฐอเมริกาเพื่อขนส่งสินค้าเกษตรโดยเฉพาะ ระยะเวลาการวิ่งจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งใช้เวลา 5 วัน
แนวคิดของการขนส่งด้วย Railex คือใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าทางไกล และตั้งศูนย์ขนถ่ายสินค้าตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ จากนั้นต่อเชื่อมเส้นทางด้วยรถบรรทุกในระยะสั้นจากจุดกระจายสินค้าอีกทีหนึ่ง
Railex ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2006 โดยเริ่มจากเส้นทางระหว่างรัฐวอชิงตันทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มายังรัฐนิวยอร์กที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของประเทศ จากนั้นก็ขยายเส้นทางในปี 2008 โดยเพิ่มเส้นทางระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก เพิ่มเข้ามา ในอนาคต Railex มีแผนตั้งจุดขนถ่ายสินค้าตอนกลางประเทศที่ชิคาโก และมีแผนขยายเส้นทางมายังภาคตะวันออกเฉียงใต้อีกเส้นทางหนึ่ง
ในหนึ่งสัปดาห์มีรถไฟของ Railex วิ่งให้บริการขนส่งสินค้า 4 ขบวน โดยแบ่งเป็นเส้นทางวอชิงตัน-นิวยอร์ก 2 ขบวน และเส้นทางแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก 2 ขบวน รถทุกขบวนปรับอากาศและมีระบบตรวจสอบสินค้าด้วยกล้องวงจรปิด ระบบเช็คพิกัดด้วยจีพีเอส ส่วนศูนย์ขนถ่ายสินค้าทั้งสามแห่งก็มีระบบห้องเย็นพร้อมมูล ช่วยการันตีว่าสินค้าเกษตรที่ขนส่งด้วย Railex จะผ่านการปรับอากาศตลอดการเดินทาง
ตัวอย่างการขนสินค้าของ Railex ได้แก่การขนส่งไวน์ และการขนผลไม้ที่ลงเรือหรือเครื่องบินจากแอฟริกามายังฝั่งตะวันออกของสหรัฐ และกระจายไปยังภาคตะวันตกอีกทีหนึ่ง
Euro Carex โครงการรถไฟเชื่อมยุโรปตะวันตก
ฝั่งยุโรปเองก็มีแนวคิดการสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงสำหรับขนถ่ายสินค้า (European High-speed Rail Freight Network) เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะยังเป็นเพียงโครงการอยู่ก็ตาม
โครงการ Euro Carex มีแนวทางที่ต่างไปจาก Railex อยู่บ้าง เพราะเป็นโครงการที่ผลักดันโดยอุตสาหกรรมการบินที่กำลังถูกบีบจากกฎกติกาทางสังคม (เช่น การห้ามบินในเวลากลางคืน) ทำให้ทำธุรกิจขนส่งสินค้ายากขึ้น ทางออกที่เป็นไปได้จึงเป็นการเปลี่ยนวิธีขนส่งมาใช้รถไฟแทน และใช้จุดขนถ่ายสินค้าของสนามบิน (cargo) ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือพูดในอีกแง่ก็คือเปลี่ยนจากการขนส่งทางอากาศมาเป็นรถไฟเท่านั้น ส่วนโครงสร้างของอุตสาหกรรม cargo ยังเป็นเหมือนเดิม
Euro Carex มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สนามบินชาร์ลเดอโกล ปารีส และเมือง Liege ในเบลเยียม จากนั้นจะกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก เช่น ขนข้ามไปลอนดอนผ่านอุโมงค์ลอดใต้ช่องแคบอังกฤษ ขนขึ้นเหนือไปอัมสเตอร์ดัมและโคโลญจ์ และในระยะยาวจะขยายไปยังยุโรปตอนใต้อย่างสเปนและอิตาลีด้วย
แนวคิดเรื่องการใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะแนวคิดนี้ถูกเสนอตั้งแต่ปี 1984 โดย Yanick Paternotte นักการเมืองชาวฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญเรื่องสิ่งแวดล้อมและกฎเกณฑ์ของสนามบิน เขาเสนอว่าเที่ยวบินสินค้ารอบดึกสามารถใช้การขนส่งด้วยรถไฟได้ และทางบริษัทรถไฟแห่งชาติของฝรั่งเศส (SNCF) ก็ตอบรับและเคยศึกษาเรื่องนี้ในเชิงธุรกิจ
การเกิดขึ้นของ Railex และแนวคิดการสร้าง Euro Carex เป็นตัวอย่างที่ดีว่าการขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเชิงธุรกิจ (ในกรณีของ Railex) ในกรณีของประเทศไทยที่มีที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์อันโดดเด่น สามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับโครงการทางรถไฟสายอาเซียน (Kunming–Singapore Railway) ที่เคยถูกคิดขึ้นตั้งแต่สมัยอาณานิคม มาประกอบการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ
อยากให้สาวกของแมลงหาข้อมูลมาก่อนโพสค่ะ...แนะยังหัวเราะอีก 555
>> รถไฟส่งผัก <<
เปิดประเด็นเรื่องรถไฟขนผักเพื่อทำลายนายกอย่างเมามัน จนลืมว่าตนเองคือตัวถ่วงความเจริญ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ "การขนส่งสินค้าที่เน่าเสียได้ผ่านทางรถไฟ อย่างผัก ผลไม้ ที่ปัจจุบันนี้มีการขนส่งทางรถยนต์เกิดการเน่าเสีย 17-35% แต่เมื่อขนส่งทางไฮสปีดเทรน จะมีอัตราการเน่าเสีย 0% ประเทศไทยจะสามารถขนส่งสินค้าเกษตรไปถึงลูกค้าในมูลค่า 336,000 ล้านบาท ในปี 2561 ที่ไฮสปีดเทรนสร้างเสร็จโดยไม่มีความสูญเสียเลย ขณะที่การขนส่งสินค้าสดๆ อย่างปลาสดจะถึงมือลูกค้าทั้งๆที่ปลายังเป็นอยู่”
แนวคิดเรื่องการปรับระบบลอจิสติกส์ด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องน่าสนใจมาก และลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการขนส่งสินค้าเกษตรด้วยระบบรางจากต่างประเทศ เพื่อค้นหาว่าต่างประเทศมีประสบการณ์ด้านนี้อย่างไรบ้าง
Railex รถไฟขนสินค้าเกษตรข้ามฝั่งทะเลสหรัฐ
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือบริษัท Railex ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งโฆษณาตัวเองไว้ว่าเป็น “Temperature Controlled Unit Train” หรือรถไฟควบคุมอุณหภูมิพิเศษ ที่วิ่งระหว่างฝั่งตะวันตก-ตะวันออกของสหรัฐอเมริกาเพื่อขนส่งสินค้าเกษตรโดยเฉพาะ ระยะเวลาการวิ่งจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งใช้เวลา 5 วัน
แนวคิดของการขนส่งด้วย Railex คือใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าทางไกล และตั้งศูนย์ขนถ่ายสินค้าตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ จากนั้นต่อเชื่อมเส้นทางด้วยรถบรรทุกในระยะสั้นจากจุดกระจายสินค้าอีกทีหนึ่ง
Railex ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2006 โดยเริ่มจากเส้นทางระหว่างรัฐวอชิงตันทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มายังรัฐนิวยอร์กที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของประเทศ จากนั้นก็ขยายเส้นทางในปี 2008 โดยเพิ่มเส้นทางระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก เพิ่มเข้ามา ในอนาคต Railex มีแผนตั้งจุดขนถ่ายสินค้าตอนกลางประเทศที่ชิคาโก และมีแผนขยายเส้นทางมายังภาคตะวันออกเฉียงใต้อีกเส้นทางหนึ่ง
ในหนึ่งสัปดาห์มีรถไฟของ Railex วิ่งให้บริการขนส่งสินค้า 4 ขบวน โดยแบ่งเป็นเส้นทางวอชิงตัน-นิวยอร์ก 2 ขบวน และเส้นทางแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก 2 ขบวน รถทุกขบวนปรับอากาศและมีระบบตรวจสอบสินค้าด้วยกล้องวงจรปิด ระบบเช็คพิกัดด้วยจีพีเอส ส่วนศูนย์ขนถ่ายสินค้าทั้งสามแห่งก็มีระบบห้องเย็นพร้อมมูล ช่วยการันตีว่าสินค้าเกษตรที่ขนส่งด้วย Railex จะผ่านการปรับอากาศตลอดการเดินทาง
ตัวอย่างการขนสินค้าของ Railex ได้แก่การขนส่งไวน์ และการขนผลไม้ที่ลงเรือหรือเครื่องบินจากแอฟริกามายังฝั่งตะวันออกของสหรัฐ และกระจายไปยังภาคตะวันตกอีกทีหนึ่ง
Euro Carex โครงการรถไฟเชื่อมยุโรปตะวันตก
ฝั่งยุโรปเองก็มีแนวคิดการสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงสำหรับขนถ่ายสินค้า (European High-speed Rail Freight Network) เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะยังเป็นเพียงโครงการอยู่ก็ตาม
โครงการ Euro Carex มีแนวทางที่ต่างไปจาก Railex อยู่บ้าง เพราะเป็นโครงการที่ผลักดันโดยอุตสาหกรรมการบินที่กำลังถูกบีบจากกฎกติกาทางสังคม (เช่น การห้ามบินในเวลากลางคืน) ทำให้ทำธุรกิจขนส่งสินค้ายากขึ้น ทางออกที่เป็นไปได้จึงเป็นการเปลี่ยนวิธีขนส่งมาใช้รถไฟแทน และใช้จุดขนถ่ายสินค้าของสนามบิน (cargo) ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือพูดในอีกแง่ก็คือเปลี่ยนจากการขนส่งทางอากาศมาเป็นรถไฟเท่านั้น ส่วนโครงสร้างของอุตสาหกรรม cargo ยังเป็นเหมือนเดิม
Euro Carex มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สนามบินชาร์ลเดอโกล ปารีส และเมือง Liege ในเบลเยียม จากนั้นจะกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก เช่น ขนข้ามไปลอนดอนผ่านอุโมงค์ลอดใต้ช่องแคบอังกฤษ ขนขึ้นเหนือไปอัมสเตอร์ดัมและโคโลญจ์ และในระยะยาวจะขยายไปยังยุโรปตอนใต้อย่างสเปนและอิตาลีด้วย
แนวคิดเรื่องการใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะแนวคิดนี้ถูกเสนอตั้งแต่ปี 1984 โดย Yanick Paternotte นักการเมืองชาวฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญเรื่องสิ่งแวดล้อมและกฎเกณฑ์ของสนามบิน เขาเสนอว่าเที่ยวบินสินค้ารอบดึกสามารถใช้การขนส่งด้วยรถไฟได้ และทางบริษัทรถไฟแห่งชาติของฝรั่งเศส (SNCF) ก็ตอบรับและเคยศึกษาเรื่องนี้ในเชิงธุรกิจ
การเกิดขึ้นของ Railex และแนวคิดการสร้าง Euro Carex เป็นตัวอย่างที่ดีว่าการขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเชิงธุรกิจ (ในกรณีของ Railex) ในกรณีของประเทศไทยที่มีที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์อันโดดเด่น สามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับโครงการทางรถไฟสายอาเซียน (Kunming–Singapore Railway) ที่เคยถูกคิดขึ้นตั้งแต่สมัยอาณานิคม มาประกอบการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ
อยากให้สาวกของแมลงหาข้อมูลมาก่อนโพสค่ะ...แนะยังหัวเราะอีก 555