ปลัดฯ อรรชกา ดันตั้งนิคมอุตสาหกรรมกำจัดกากฯ เล็งพื้นที่ทหารฝั่งตะวันตก
นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการจัดการกากอุตสาหกรรม ว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ไปหารือร่วมกับกรมการอุตสาหกรรมทหาร เพื่อขอใช้พื้นที่ ซึ่งหากได้พื้นที่แล้วก็จะพิจารณาว่าจะมีเอกชนสนใจลงทุนเอง หรือการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนหรือไม่
“ เบื้องต้นทางกระทรวงฯ เตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกระทรวงกลาโหม เพื่อขอใช้พื้นที่ทหารตั้งนิคมกำจัดกากอุตสาหกรรมครบวงจร ซึ่งอาจมีหลายแห่ง แต่จะมีการเริ่มดำเนินการที่บริเวณภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่นำร่องและจะมีการขยายผลในพื้นที่อื่นๆต่อไป การจัดตั้งนิคมฯ ดังกล่าว ต้องใช้พื้นที่มาก เพื่อเป็นเขตกันชนกับชุมชน ( Buffer Zone ) และลดปัญหาความขัดแย้ง ประเด็นเรื่องการจัดหาพื้นที่ว่ามีความสำคัญมากที่สุด โดยหลังจากได้พื้นที่แล้ว นโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีมาตรการทางกฎหมาย ให้ผู้ประกอบการที่มีกากขยะอุตสาหกรรมส่งกากอุตสาหกรรมมายังนิคมฯ และบังคับให้นำกากอุตสาหกรรมเข้าระบบ ทั้งนี้ กระทรวงฯ ตั้งเป้าหมายอย่างน้อย 6 พื้นที่ ในจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากก่อน ” ปลัดอรรชกา กล่าว
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของการออกใบอนุญาตประทานบัตรของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้อนุมัติไปแล้วหลายร้อยราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแปลงขนาดเล็ก แต่มี 3 เรื่องที่ยังติดอยู่ที่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี คือ เรื่องเหมืองแร่โปแตซ ที่ใช้ในการทำปุ๋ย แร่ทองคำ และแร่ควอตซ์ ที่ใช้ในการผลิตพลังงานโซลาร์เซลล์
สำหรับกรณีการขอต่อประทานบัตรแต่ติดปัญหาตรงพื้นที่ตั้งที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำ หรือเขตป่า ซึ่งไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มาหารือว่าดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่ง กพร.ต้องทำข้อเสนอที่ชัดเจนว่าประเภทใดที่สามารถขอผ่อนผันได้ และประเภทใดที่ผ่อนผันไม่ได้ การดำเนินการต้องจัดทำเป็นหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อความโปร่งใส ผู้ประกอบการจะได้ทราบแนวทางปฏิบัติ
----------------------------------------------------
ปลัดฯ อรรชกา ดันตั้งนิคมอุตสาหกรรมกำจัดกากฯ เล็งพื้นที่ทหารฝั่งตะวันตก
นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการจัดการกากอุตสาหกรรม ว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ไปหารือร่วมกับกรมการอุตสาหกรรมทหาร เพื่อขอใช้พื้นที่ ซึ่งหากได้พื้นที่แล้วก็จะพิจารณาว่าจะมีเอกชนสนใจลงทุนเอง หรือการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนหรือไม่
“ เบื้องต้นทางกระทรวงฯ เตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกระทรวงกลาโหม เพื่อขอใช้พื้นที่ทหารตั้งนิคมกำจัดกากอุตสาหกรรมครบวงจร ซึ่งอาจมีหลายแห่ง แต่จะมีการเริ่มดำเนินการที่บริเวณภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่นำร่องและจะมีการขยายผลในพื้นที่อื่นๆต่อไป การจัดตั้งนิคมฯ ดังกล่าว ต้องใช้พื้นที่มาก เพื่อเป็นเขตกันชนกับชุมชน ( Buffer Zone ) และลดปัญหาความขัดแย้ง ประเด็นเรื่องการจัดหาพื้นที่ว่ามีความสำคัญมากที่สุด โดยหลังจากได้พื้นที่แล้ว นโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีมาตรการทางกฎหมาย ให้ผู้ประกอบการที่มีกากขยะอุตสาหกรรมส่งกากอุตสาหกรรมมายังนิคมฯ และบังคับให้นำกากอุตสาหกรรมเข้าระบบ ทั้งนี้ กระทรวงฯ ตั้งเป้าหมายอย่างน้อย 6 พื้นที่ ในจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากก่อน ” ปลัดอรรชกา กล่าว
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของการออกใบอนุญาตประทานบัตรของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้อนุมัติไปแล้วหลายร้อยราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแปลงขนาดเล็ก แต่มี 3 เรื่องที่ยังติดอยู่ที่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี คือ เรื่องเหมืองแร่โปแตซ ที่ใช้ในการทำปุ๋ย แร่ทองคำ และแร่ควอตซ์ ที่ใช้ในการผลิตพลังงานโซลาร์เซลล์
สำหรับกรณีการขอต่อประทานบัตรแต่ติดปัญหาตรงพื้นที่ตั้งที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำ หรือเขตป่า ซึ่งไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มาหารือว่าดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่ง กพร.ต้องทำข้อเสนอที่ชัดเจนว่าประเภทใดที่สามารถขอผ่อนผันได้ และประเภทใดที่ผ่อนผันไม่ได้ การดำเนินการต้องจัดทำเป็นหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อความโปร่งใส ผู้ประกอบการจะได้ทราบแนวทางปฏิบัติ
----------------------------------------------------