ใครได้ประโยชน์จากโครงการนี้คะ

กระทู้สนทนา
ดันนิคมฯกำจัดกากอุตสหกรรม

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมกำจัดกากอุตสาหกรรมว่า อยู่ระหว่างประสานงานกับกรมป่าไม้ และกรมการอุตสาหกรรมทหาร ในการดูพื้นที่เหมาะสม ในการจัดตั้งนิคมกำจัดกากอุตฯ โดยจะต้องอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก อย่างละ 1 แห่ง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งนิคมฯกำจัดกากอุตฯ จะมีประมาณ10,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่กำจัดกากา 5,000 ไร่ และอีก 5,000 ไร่ เป็นการทำพื้นที่กันชน (บับเบิ้ลโซน) เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อม คาดว่า จะสรุปแนวทางกลางปี 58 และจะเริ่มเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปี 60

“ การจัดตั้งนิคมฯกำจัดกากอุตฯ คาดว่า ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยแต่แห่งประมาณ 10,000 – 15,000 ล้านบาท โดยจะเป็นนิคมฯ กำจัดกากอุตสาหกรรมทั่วไป และกากาพิษอันตรายอย่างสมบูรณ์แบบ มีทั้งพื้นที่ฝังกลบ มีเตาเผา ซึ่งส่วนนี้มีราคาสูงมาก โดยขณะนี้มีผู้สนใจข้อมูลการสร้างนิคม ฯกำจัดกากแล้ว คือ องค์การพัฒนาพลังงานใหม่ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เนโดะ) ของประเทศญี่ปุ่น และบมจ.อมตะ ซึ่งต้องดูว่า เป็นการสนใจในรูปแบบการลงทุน หรือว่า การนำความรู้มาให้ข้อมูล”

นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรอ. กล่าวว่า กรอ.จะเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมทั้ง 20 ประเภท ใน14จังหวัด ที่มีกากอุตสาหกรรมอันตราย โดยส่งจดหมายเตือน 2,800 ราย และจะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบพื้นที่โรงงานทุกโรงงานว่า ปริมาณขยะที่แท้จริงมีปริมาณใด และมีการจำกัดกากที่ถูกต้องหรือไม่ หากพบว่า กระทำผิด จะใช้กฏหมาย พรบ.วัตถุอันตรายเข้ามาลงโทษ มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี และหากไม่ปรับปรุงจะมีการดำเนินการปิดโรงงาน

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการอบรมการกำจัดกากอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการโรงงานที่มีของเสียอันตรายและกิจการที่เกี่ยวข้องกับขยะอุตสาหกรรมทั้งระบบทั่วประเทศว่า กระทรวง ฯ ตั้งเป้าหมายผลักดันการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมกำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ โดยให้ กนอ. และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม มีรูปแบบการดำเนินงาน 2 แนวทาง คือ ให้กนอ. ลงทุนเอง หรือส่งเสริมให้เอกชนดำเนินการ ซึ่งเอกชนเองหลายรายก็มีความพร้อม แต่ประสบปัญหาหาที่ดินยาก จึงให้กนอ.และกรอ.อยู่ระหว่างประสานงานหาพื้นที่ส่วนราชการจากกรมป่าไม้ และพื้นที่ทหารอยู่ คาดว่า ได้ข้อสรุปแนวทางทั้งหมดกลางปี 58

สำหรับแผนดำเนินการเร่งนำกากอุตสาหกรรมเข้าระบบปี 57 ตั้งเป้าหมายจะมีปริมาณกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบการจำกัดกากที่ถูกต้องทั้งสิ้นจำนวน 1.2 ล้านตัน จากปัจจุบันเข้าระบบอยู่เพียงจำนวน 900,000 ตัน จากปริมาณกากทั้งสิ้น 3 ล้านตันและในปี 58 กระทรวง ฯ ตั้งเป้าหมายปริมาณกากอุตสาหกรรมเข้าระบบจำนวน1.5 ล้านตัน พร้อมกับจะเข้มงวดให้เอกชนดำเนินการกำจัดกากอย่างถูกระบบมากขึ้น หากไม่มีการรายงานปริมาณกากจะลงโทษตามกฏหมายอย่างจริงจัง

เดลินิวส์ 10 พฤศจิกายน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่