มีข่าวให้อ่าน เผื่อเป็นประโยชน์กับเม่าอย่างพวกเรา
นายพงษ์เทพ จารุอำพรพรรณ รักษาการอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ.อยู่ระหว่างของบประมาณจากประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน วงเงิน 1,500-2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างเตาเผากากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 500 ตันต่อวัน แห่งแรกของไทย รวมค่าที่ดินและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว เพราะปัจจุบันไทยมีเตาเผากากอุตสาหกรรมแห่งเดียวและขนาดเล็ก เพียง 50 ตันต่อวัน คือ อัคคีปราการ ของบริษัท อัคคี ปราการ จำกัด (มหาชน) ไม่เพียงพอต่อปริมาณกากฯในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ขณะที่การจ้างเอกชนเผา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเตาเผาของบริษัท ปูนซิเมนต์ พบว่า กากอุตสาหกรรมบางประเภททำปฏิกิริยาต่อปูนซีเมนต์ เกิดการชำรุดและมีอันตราย ทำให้เอกชนบางรายไม่รับเผา เป็นปัญหาที่ภาครัฐต้องเร่งแก้ไข
นายพงษ์เทพกล่าวว่า มั่นใจว่า กยน.จะพิจารณาอนุมัติ เพราะเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในอนาคต เห็นได้จากตัวเลขตั้งโรงงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งยอดขอส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ปี 2555 ยอดขอลงทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1 ล้านล้านบาท โดย กรอ.ได้เขียนโครงการและนายประเสริฐ บุญชัยสุข ได้ลงนามเห็นชอบเสนอ กยน.แล้ว หากได้รับการอนุมัติจะพิจารณาอีกครั้งว่ารัฐบาลจะดำเนินการเอง หรือให้สัมปทานเอกชนดำเนินการ
“เตาเผากากอุตสาหกรรมเป็นกระบวนการที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เพราะมีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการฝังกลบ ปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรมมีเตาเผาขนาดดังกล่าว 1-2 โรง ทั้งนี้ ต้นทุนการเผาของกากอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ 10,000 บาทต่อตัน มากกว่าการฝังกลบที่ต้นทุนกำจัดอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาทต่อตัน” นาย พงษ์เทพกล่าว
นายพงษ์เทพกล่าวว่า สำหรับพื้นที่ตั้งของโครงการเตาเผากากอุตสาหกรรมนี้ เบื้องต้นอาจเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เพราะมีกระบวนการควบคุมมลพิษที่ครอบคลุม หรืออาจเป็นพื้นที่เหลือของบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือเจนโก้ ใน จ.ราชบุรี ถือเป็นอีกพื้นที่เหมาะสมเพราะ เจนโก้รับกำจัดขยะเหมือนกัน
ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวเดินหน้าจะต้องเข้าสู่กระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) เพราะโครงการเตาเผากากอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งใน 11 โครงการที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งอีเอชไอเอนี้คาดว่าจะเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดของโครงการ
เตือนก่อนเข้า AKP
นายพงษ์เทพ จารุอำพรพรรณ รักษาการอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ.อยู่ระหว่างของบประมาณจากประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน วงเงิน 1,500-2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างเตาเผากากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 500 ตันต่อวัน แห่งแรกของไทย รวมค่าที่ดินและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว เพราะปัจจุบันไทยมีเตาเผากากอุตสาหกรรมแห่งเดียวและขนาดเล็ก เพียง 50 ตันต่อวัน คือ อัคคีปราการ ของบริษัท อัคคี ปราการ จำกัด (มหาชน) ไม่เพียงพอต่อปริมาณกากฯในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ขณะที่การจ้างเอกชนเผา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเตาเผาของบริษัท ปูนซิเมนต์ พบว่า กากอุตสาหกรรมบางประเภททำปฏิกิริยาต่อปูนซีเมนต์ เกิดการชำรุดและมีอันตราย ทำให้เอกชนบางรายไม่รับเผา เป็นปัญหาที่ภาครัฐต้องเร่งแก้ไข
นายพงษ์เทพกล่าวว่า มั่นใจว่า กยน.จะพิจารณาอนุมัติ เพราะเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในอนาคต เห็นได้จากตัวเลขตั้งโรงงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งยอดขอส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ปี 2555 ยอดขอลงทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1 ล้านล้านบาท โดย กรอ.ได้เขียนโครงการและนายประเสริฐ บุญชัยสุข ได้ลงนามเห็นชอบเสนอ กยน.แล้ว หากได้รับการอนุมัติจะพิจารณาอีกครั้งว่ารัฐบาลจะดำเนินการเอง หรือให้สัมปทานเอกชนดำเนินการ
“เตาเผากากอุตสาหกรรมเป็นกระบวนการที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เพราะมีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการฝังกลบ ปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรมมีเตาเผาขนาดดังกล่าว 1-2 โรง ทั้งนี้ ต้นทุนการเผาของกากอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ 10,000 บาทต่อตัน มากกว่าการฝังกลบที่ต้นทุนกำจัดอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาทต่อตัน” นาย พงษ์เทพกล่าว
นายพงษ์เทพกล่าวว่า สำหรับพื้นที่ตั้งของโครงการเตาเผากากอุตสาหกรรมนี้ เบื้องต้นอาจเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เพราะมีกระบวนการควบคุมมลพิษที่ครอบคลุม หรืออาจเป็นพื้นที่เหลือของบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือเจนโก้ ใน จ.ราชบุรี ถือเป็นอีกพื้นที่เหมาะสมเพราะ เจนโก้รับกำจัดขยะเหมือนกัน
ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวเดินหน้าจะต้องเข้าสู่กระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) เพราะโครงการเตาเผากากอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งใน 11 โครงการที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งอีเอชไอเอนี้คาดว่าจะเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดของโครงการ