“อรรถพล ใหญ่สว่าง”ลั่น!! เข้าประชุมก.อ.26พ.ย.นี้ ถกหลักเกณฑ์แต่งตั้งโยกย้าย ยันต้องอิสระ
จากกรณีที่พนักงานอัยการทั่วประเทศ เทคะแนนเสียงในการเลือกตั้งซ่อม
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้นายอรรถพล ใหญ่สว่าง
ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด และอดีตอัยการสูงสุด เป็น ก.อ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วย
คะแนนสูงถึง 1,677 คะแนน ซึ่งเกินกว่าจำนวนกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิและ
ผู้ลงคะแนน แทนนายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ ซึ่งเดิมได้รับเลือกตั้งเป็น ก.อ.
สัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ แต่เมื่อนายเรวัตร ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รองอัยการสูงสุด
จึงทำให้ตำแหน่ง ก.อ.ในสัดส่วนดังกล่าวว่างลง เมื่อวานที่ผ่านมานั้น
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด
เปิดเผยภายหลังได้รับเลือกเป็น ก.อ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ว่า สำหรับ ก.อ.
ซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลของอัยการและวางนโยบายในภาพรวมนั้น
จะมีการประชุมในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งตนก็จะเข้าร่วมในการประชุม
ครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ตนทราบว่ากรรมการอัยการท่านหนึ่งได้เตรียมเสนอในที่
ประชุม ก.อ. ให้มีการตั้งคณะทำงานอัยการขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
การแต่งตั้งโยกย้ายอัยการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น และเพื่อ
เป็นหลักประกันความอิสระของพนักงานอัยการ รวมทั้งเป็นการลบข้อครหา
ที่มีกระแสข่าวว่าการแต่งตั้งอัยการสามารถวิ่งเต้นได้
นายอรรถพล กล่าวว่า โดยการแต่งตั้งโยกย้ายอัยการในแต่ละปีจะมีด้วยกัน
2 ครั้ง คือครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคมเป็นการแต่งตั้งระดับอธิบดีอัยการ
รองอธิบดีอัยการฝ่าย ฯลฯ ส่วนครั้งที่สองคือในช่วงเดือนเมษายน เป็นการ
แต่งตั้งระดับอัยการจังหวัด หรืออัยการที่อยู่ในต่างจังหวัด และอัยการระดับ
ชั้น 5 ลงมา โดยการแต่งตั้งช่วงเดือนเมษายนนั้นพนักงานอัยการจะต้องเป็น
ผู้ยื่นคำร้องภายในเดือน ธ.ค. นี้ ดังนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะต้อง
ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ธ.ค. นี้ เพื่อเตรียมประกาศให้พนักงาน
อัยการรับทราบโดยทั่วกัน
ขณะที่แหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงการเลือกตั้งซ่อม ก.อ.
ครั้งนี้ ว่า การที่พนักงานอัยการทั่วประเทศได้เทคะแนนเสียงให้นายอรรถพล
เกินกว่าจำนวนกึ่งหนึ่งของผู้ที่มีสิทธิและผู้ลงคะแนนนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะการ
เลือกที่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่
เป็นการแสดงออกถึงพลังของพนักงาน
อัยการทั่วประเทศว่า ต้องการให้ ก.อ. ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นหลักประกันความ
อิสระของพนักงานอัยการ ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และเป็นการ
แสดงให้เห็นว่าอัยการทั่วประเทศต้องการให้อำนาจการบริหารงานบุคคลใน
การแต่งตั้งโยกย้ายอัยการ จะต้องขึ้นอยู่ที่ ก.อ. มิใช่อำนาจจากฝ่ายการเมือง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1416559832
แต่งตั้งโยกย้ายอัยการ .... มิใช่อำนาจจากฝ่ายการเมือง ....มติชนออนไลน์ .. sao..เหลือ..noi
จากกรณีที่พนักงานอัยการทั่วประเทศ เทคะแนนเสียงในการเลือกตั้งซ่อม
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้นายอรรถพล ใหญ่สว่าง
ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด และอดีตอัยการสูงสุด เป็น ก.อ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วย
คะแนนสูงถึง 1,677 คะแนน ซึ่งเกินกว่าจำนวนกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิและ
ผู้ลงคะแนน แทนนายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ ซึ่งเดิมได้รับเลือกตั้งเป็น ก.อ.
สัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ แต่เมื่อนายเรวัตร ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รองอัยการสูงสุด
จึงทำให้ตำแหน่ง ก.อ.ในสัดส่วนดังกล่าวว่างลง เมื่อวานที่ผ่านมานั้น
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด
เปิดเผยภายหลังได้รับเลือกเป็น ก.อ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ว่า สำหรับ ก.อ.
ซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลของอัยการและวางนโยบายในภาพรวมนั้น
จะมีการประชุมในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งตนก็จะเข้าร่วมในการประชุม
ครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ตนทราบว่ากรรมการอัยการท่านหนึ่งได้เตรียมเสนอในที่
ประชุม ก.อ. ให้มีการตั้งคณะทำงานอัยการขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
การแต่งตั้งโยกย้ายอัยการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น และเพื่อ
เป็นหลักประกันความอิสระของพนักงานอัยการ รวมทั้งเป็นการลบข้อครหา
ที่มีกระแสข่าวว่าการแต่งตั้งอัยการสามารถวิ่งเต้นได้
นายอรรถพล กล่าวว่า โดยการแต่งตั้งโยกย้ายอัยการในแต่ละปีจะมีด้วยกัน
2 ครั้ง คือครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคมเป็นการแต่งตั้งระดับอธิบดีอัยการ
รองอธิบดีอัยการฝ่าย ฯลฯ ส่วนครั้งที่สองคือในช่วงเดือนเมษายน เป็นการ
แต่งตั้งระดับอัยการจังหวัด หรืออัยการที่อยู่ในต่างจังหวัด และอัยการระดับ
ชั้น 5 ลงมา โดยการแต่งตั้งช่วงเดือนเมษายนนั้นพนักงานอัยการจะต้องเป็น
ผู้ยื่นคำร้องภายในเดือน ธ.ค. นี้ ดังนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะต้อง
ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ธ.ค. นี้ เพื่อเตรียมประกาศให้พนักงาน
อัยการรับทราบโดยทั่วกัน
ขณะที่แหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงการเลือกตั้งซ่อม ก.อ.
ครั้งนี้ ว่า การที่พนักงานอัยการทั่วประเทศได้เทคะแนนเสียงให้นายอรรถพล
เกินกว่าจำนวนกึ่งหนึ่งของผู้ที่มีสิทธิและผู้ลงคะแนนนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะการ
เลือกที่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการแสดงออกถึงพลังของพนักงาน
อัยการทั่วประเทศว่า ต้องการให้ ก.อ. ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นหลักประกันความ
อิสระของพนักงานอัยการ ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และเป็นการ
แสดงให้เห็นว่าอัยการทั่วประเทศต้องการให้อำนาจการบริหารงานบุคคลใน
การแต่งตั้งโยกย้ายอัยการ จะต้องขึ้นอยู่ที่ ก.อ. มิใช่อำนาจจากฝ่ายการเมือง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1416559832