โชว์หนังสืออัยการฉบับเต็ม! ขอคืนอำนาจจาก"ประยุทธ์"ตั้งอสส.ต้องผ่าน ก.อ.
"..ดัวยเหตุผลดังที่ชี้แจงมาทั้งสิ้น ข้าพเจ้าจึงกราบเรียนมาเพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาทบทวนและมอบหมายให้คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ทำหน้าที่ตามกฎหมาย อันเป็นการคืนหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการทั้งปวงให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรมด้วยความอิสระปราศจากการแทรงแซง ตามกฎหมายและตามจารีตประเพณีที่สืบต่อมายาวนานกว่าร้อยปี ให้แก่องค์กรอัยการและข้าราชการฝ่ายอัยการ.."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org: เป็นหนังสือฉบับเต็มที่ "นายวิทยา ปัตตพงศ์" กรรมการอัยการ(ก.อ.) ทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายตระกูล วินิจฉัยภาค รองอัยการสูงสุด ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นอัยการสูงสุด(อสส.) และให้นายอรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่งอสส. และมาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า น่าจะเป็นความคลาดเคลื่อนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มีผลกระทบกระเทือนต่อขวัญกำลังใจและหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ อันเป็นผลให้การรักษากฎหมายตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการสั่นคลอน ซึ่งอาจทำให้ความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของประชาชนที่เกิดขึ้นตามความมุ่งมั่นของคสช.มีความแปรรปวนไปได้
นายวิทยา ระบุบว่า ในขณะนี้ แม้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 47 กำหนดให้คำสั่ง คสช. ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้บังคับให้ถือเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมและเป็นที่สุดก็ตาม แต่ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัด กระทรวง อธิบดี ผู้พิพากษา และตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายบัญญัติและทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นตำแหน่งเพราะความตาย
ดังนั้น การแต่งตั้งข้าราชการให้พ้นจากตำแหน่งอัยการสูงสุด และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ควรต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการทีกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 โดยกระทำผ่านมติของคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เพื่อความชอบด้วยกฎหมาย เพื่อความสง่างามของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง และเพื่อรักษาองค์การอัยการให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้เป็นที่พึ่งของประชาชน ได้อย่างแท้จริง
สำนักข่าวอิศรา
http://goo.gl/AHXh0O
อัยการ ขอคืนอำนาจจาก"ประยุทธ์"ตั้งอสส.ต้องผ่าน ก.อ.
"..ดัวยเหตุผลดังที่ชี้แจงมาทั้งสิ้น ข้าพเจ้าจึงกราบเรียนมาเพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาทบทวนและมอบหมายให้คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ทำหน้าที่ตามกฎหมาย อันเป็นการคืนหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการทั้งปวงให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรมด้วยความอิสระปราศจากการแทรงแซง ตามกฎหมายและตามจารีตประเพณีที่สืบต่อมายาวนานกว่าร้อยปี ให้แก่องค์กรอัยการและข้าราชการฝ่ายอัยการ.."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org: เป็นหนังสือฉบับเต็มที่ "นายวิทยา ปัตตพงศ์" กรรมการอัยการ(ก.อ.) ทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายตระกูล วินิจฉัยภาค รองอัยการสูงสุด ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นอัยการสูงสุด(อสส.) และให้นายอรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่งอสส. และมาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า น่าจะเป็นความคลาดเคลื่อนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มีผลกระทบกระเทือนต่อขวัญกำลังใจและหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ อันเป็นผลให้การรักษากฎหมายตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการสั่นคลอน ซึ่งอาจทำให้ความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของประชาชนที่เกิดขึ้นตามความมุ่งมั่นของคสช.มีความแปรรปวนไปได้
นายวิทยา ระบุบว่า ในขณะนี้ แม้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 47 กำหนดให้คำสั่ง คสช. ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้บังคับให้ถือเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมและเป็นที่สุดก็ตาม แต่ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัด กระทรวง อธิบดี ผู้พิพากษา และตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายบัญญัติและทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นตำแหน่งเพราะความตาย
ดังนั้น การแต่งตั้งข้าราชการให้พ้นจากตำแหน่งอัยการสูงสุด และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ควรต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการทีกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 โดยกระทำผ่านมติของคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เพื่อความชอบด้วยกฎหมาย เพื่อความสง่างามของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง และเพื่อรักษาองค์การอัยการให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้เป็นที่พึ่งของประชาชน ได้อย่างแท้จริง
สำนักข่าวอิศรา
http://goo.gl/AHXh0O