ศาลฎีกาฯ ยกฟ้อง-ถอนหมายจับ คดี 'ยิ่งลักษณ์' ย้าย 'ถวิล เปลี่ยนศรี' พ้น สมช.
https://prachatai.com/journal/2023/12/107391
ศาลฎีกาฯ ยกฟ้อง และถอนหมายจับ ม.157 คดีอดีตนายกฯ 'ยิ่งลักษณ์' ย้าย 'ถวิล เปลี่ยนศรี' จากเลขาฯ สมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ โดยมิชอบ ชี้ไม่ได้มีเจตนาทุจริต
26 ธ.ค. 2566 เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ
บีบีซีไทย ไทยพีบีเอส และ
The Reporters รายงานวันนี้ (26 ธ.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อม.11/2565 ที่มีอัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ยิ่
งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดในฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กรณีโอนย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาต (สมช.) มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
วันนี้
ยิ่งลักษณ์ยังอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2558 และไม่ได้มาตามนัดศาลครั้งแรกเมื่อปี 2565 ได้ส่ง
นรวิชญ์ หล้าแหล่ง และ
วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายจำเลย เป็นตัวแทนรับฟังคำพิพากษา
สำหรับศาลฎีกาฯ นี้ถือเป็นการอ่านคำพิพากษาศาลที่ 3 หลังจากก่อนหน้านี้ มีคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยิ่งลักษณ์ พ้นจากการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากใช้ตำแหน่งแทรกแซงโยกย้าย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บุคคลในครอบครัว ถือเป็นการกระทำทุจริต เช่นเดียวกับศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้เพิกถอนประกาศแต่งตั้งโยกย้ายถวิล เพราะเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ
'ไม่มีเจตนาพิเศษ' ยกฟ้อง-ถอนหมายจับ ม.157
ศาลพิเคราะห์แล้วให้ยกฟ้อง และเพิกถอนหมายจับในข้อหาตามมาตรา 157 โดยศาลได้ไต่สวน และใช้ดุลยพินิจแล้วชี้ว่า ในคำร้องดังกล่าวเป็นคนละประเด็นกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษาของศาลปกครองและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด จึงไม่มีผลผูกพันกัน
นอกจากนี้ ตุลาการเสียงข้างมาก พิเคราะห์ว่า
ยิ่งลักษณ์ ใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายถวิล “
ไม่ได้มีเจตนาพิเศษ” ที่จะสร้างความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดให้ถวิล หรือมีเจตนาปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
โดยพยานหลักฐานจากการไต่สวนได้ความว่า ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาโยกย้ายตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำแตกต่างจากกรณีข้าราชการอื่นทั่วไป ประกอบกับจำเลยมิได้มีสาเหตุขัดแย้งอันใดกับนายถวิลเป็นการส่วนตัว อันจะเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำเลยประสงค์ที่จะกลั่นแกล้งนายถวิลแต่อย่างใด
"
การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ย่อมไม่อาจนำมารับฟังว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ของ พล.ต.อ. พ. จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามฟ้องพิพากษายกฟ้อง เเละให้ถอนหมายจับคดีนี้" คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ระบุตอนหนึ่ง
ย้อนรอยคดีย้ายเลขาฯ สมช.
สำหรับคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ 30 ก.ย. 2554
ยิ่งลักษณ์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งให้
ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ไปปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเมื่อ 4 ต.ค. ในปีเดียวกัน คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้ง พล.ต.อ.
วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาฯ สมช. แทน
ถวิล เป็นเหตุให้ต่อมา
ถวิล ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด และศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว
ต่อมา เมื่อ 19 ต.ค. 2554 คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มีมติเห็นชอบให้ พล.ต.อ.
เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น และมีกำหนดเกษียณอายุราชการ 30 ก.ย. 2555 ขึ้นเป็น ผบ.ตร. แทน
วิเชียร โดยมี
ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้เสนอ
ทั้งนี้ บีบีซีไทย ให้ข้อมูลด้วยว่า ในด้านความสัมพันธ์กับตระกูลชินวัตร
เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เป็นพี่ชายของ
พจมาน ณ ป้อมเพชร (เดิมนามสกุล ดามาพงศ์) อดีตภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรี
ทักษิณ ชินวัตร และมีศักดิ์เป็นพี่ชายของอดีตพี่สะใภ้ของ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
20 ก.พ. 2557 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้เพิกถอนประกาศแต่งตั้งโยกย้าย
ถวิล โดยชี้ว่า "
เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" คดีนี้มี
ถวิล เป็นผู้ร้องต่อศาลปกครอง
ต่อมา 7 พ.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเป็นรัฐมนตรีของ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 182 วรรค 1 (7) ประกอบมาตรา 268 จากกรณีใช้ตำแหน่งหน้าที่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะซ่อนเร้น และเป็นการกระทำทุจริต โดยคดีนี้มี
ไพบูลย์ นิติตะวัน ปัจจุบันเป็นรองประธานพรรคพลังประชารัฐ สว. และคณะรวม 28 ราย ยื่นคำร้องผ่านประธาน สว. ให้ศาล รธน.วินิจฉัย
ต่อจากนั้น ในวันที่ 1 ก.ค. 2563 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของ ยิ่งลักษณ์ และส่งให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
28 ก.พ. 2565 อัยการสูงสุดจึงได้ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาฯ และศาลฎีกาฯ มีการออกหมายจับยิ่งลักษณ์ เนื่องจากเมื่อ 21 พ.ย. 2565 ไม่เดินทางมาศาลโดยไม่ได้แจ้งเหตุผล
นอกจากนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 9 พ.ย. 2566 เนื่องจาก 1 ในองค์คณะผู้พิพากษามีปัญหาเรื่องสุขภาพ และครั้งที่สอง วันที่ 29 พ.ย. 2566
สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อดีตรองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาในองค์คณะในคดีฯ ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้เลือก
กษิดิศ มงคลศิริภัทรา เป็นองค์คณะผู้พิพากษาแทน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 11 เพื่อให้ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกเข้ามาเป็นองค์คณะแทนที่มีเวลาเพียงพอ กระทั่งมีคำพิพากษายกฟ้องดังกล่าวในวันนี้
ยิ่งชีพ ไอลอว์ ชี้ 4 ช้อยส์ใหญ่ จะโหวตประชามติอย่างไร รับคำถามแบบนี้ ทางไหนก็ยาก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4348764
ยิ่งชีพ ไอลอว์ ชี้ 4 ช้อยส์ใหญ่ จะโหวตประชามติอย่างไร รับคำถามแบบนี้ ทางไหนก็ยาก
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหลังรัฐบาลเผยคำถามประชามติครั้งแรกเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมีเนื้อหาดังนี้
วันหยุดปีใหม่นี้ มีการบ้านให้นอนคิดครับ ทั้งเรื่องการทำ ประชามติ รัฐธรรมนูญใหม่ และความเป็นไปไม่ได้แต่ก็ต้องผลักดัน นิรโทษกรรมประชาชน
ถ้ามีการทำประชามติด้วยคำถามว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 หมวด 2” เราจะโหวตอะไร???
๐ โหวต NO ยืนยันหลักการ เดินหน้าสั่งสอนรัฐบาล
๐ โหวต YES รับๆ ไปก่อน แก้รัฐธรรมนูญให้ได้ก่อน กินทีละคำ
๐ โหวต “งดออกเสียง”
๐ หรือรณรงค์ “ไม่ไปใช้สิทธิ” ให้จำนวนผู้ไปออกเสียงไม่ถึงครึ่ง แล้วประชามติตกไป
ทางไหนก็ยากทั้งนั้น และไม่ว่าผลการทำประชามติออกมาอย่างไร ก็ต้องถกเถียงกัน ต่างคนต่างตีความไปต่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดแบบตัวเอง เข้าข้างตัวเอง เท่ากับเป็นการเริ่มต้นกระบวนการรัฐธรรมนูญประชาชนที่ผิดตั้งแต่ต้น และสร้างปัญหายาวต่อไปทำให้ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม และไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกันคนจำนวนมากก็กำลังทยอยเดินเข้าคุกด้วยคดีความทางการเมือง โดยเฉพาะ มาตรา 112 ข้อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็มีแล้วสองฉบับ คือ ของพรรคก้าวไกลเสนอไปแล้ว ของภาคประชาชนเปิดตัวมาแล้ว เดี๋ยวช่วยเข้าชื่อเสนอกัน 10,000 รายชื่อ อีกไม่นานคงได้ แต่พรรคเพื่อไทย “แหยง” นิรโทษกรรมตายห่า ทั้งที่เคยเสนอเองแท้ๆ แต่รอบนี้ไม่กล้าแม้แต่จะกล่าวถึง ไม่กล้าที่จะตอบรับ และเดาว่า คงไม่กล้าโหวตด้วย
เรื่องนี้ก็รอช้าไม่ได้ แม้ประชามติกำลังจะมา แต่ถึงตรงนี้แล้วการรณรงค์ยกเลิกคดีความทางการเมืองก็สำคัญ พอจะติดเครื่องลุกมาทำท้ายปีก็ไม่ค่อยไหว เปิดมาไม่กี่วันคงต้องเอาเลย เรื่องนี้อาจจำเป็นต้องทำก่อน รณรงค์ก่อน ระดมกำลังกันก่อน เสร็จแล้วอีกไม่กี่วันค่อยหันไปทำประชามติ ต้องตั้งสติและแบ่งกำลังให้มันเป็นไปให้ได้
และต้องการให้ทุกคนลุกขึ้นมาช่วยกันอีกมาก
ทั้งการนิรโทษกรรมประชาชน และการเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญใหม่
ผมเชื่อเสมอว่า ทุกเสียงมีความหมาย ที่เคยส่งเสียงกันไปแล้วก็มีความหมาย แม้เขาจะไม่ได้เชื่อหรือไม่ได้ยอมตาม แต่เขาก็ได้ยินและอย่างน้อยที่สุดเราก็ทำให้งานของเขายากขึ้น บุ่มบ่ามทำอะไรตามใจอยากไม่ได้ง่ายนัก
ถ้าวันที่เราช่วยกันเสียงดังได้กว่านี้ เสียงที่ส่งไปก็จะมีความหมายกว่านี้ จนวันที่เสียงมันดังกระหึ่มมากพอจริง “เขา” ก็จะอยู่ในภาวะที่ไม่ยอมไม่ได้ หรือไม่ยอมอะไรเลยไม่ได้เลย เพราะ “เขา” ก็จะรู้ว่าจะอยู่ไม่ได้เอง และวันนั้นเราก็จะไม่ยอมให้ “เขา” ยอมแค่เพียงบางอย่าง แล้วลอยตัวไป
ไม่ยอมแพ้หรอกครับ แค่รู้อยู่ว่า ปีหน้าเหนื่อยแน่ๆ มีอะไรต้องทำอีกเยอะ
ขอให้ทุกคนมีช่วงเวลาวันหยุดปีใหม่ที่เติมพลังได้อย่างเต็มที่ แล้วเปิดมาก็เริ่มลุย ช่วยกันต่อยาวๆ นะครับ
https://www.facebook.com/pow.ilaw/posts/pfbid0Tw6GRpLYuUB8crYYUU3nuJ2WLgRZv2YBgQbW8eAiVfMzibQ1GB4AgEypvV32dFLil
ไม่เข้าท่าตรงไหน! “สมชัย” แซะรบ.ตั้งคำถามประชามติ
https://siamrath.co.th/n/502895
นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คระบุข้อความว่า
คำถามประชามติ ของรัฐบาลที่ตั้งคำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” นั้น
ไม่เข้าท่าตรงไหน
1. เป็นคำถามที่ไม่จำเป็นต้องถาม เพราะหากท่านอยากแก้โดยยกเว้นบางหมวด ไม่ใช่การจัดทำใหม่ทั้งฉบับ จึงไม่จำเป็นต้องทำประชามติ โดยยึดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
2. เป็นคำถาม ที่เพิ่มเงื่อนไขให้ซับซ้อน และ นำไปสู่โอกาสที่ประชามติจะไม่ผ่าน ยกตัวอย่าง เช่น หาก ผู้ลงประชามติเห็นว่า ควรแก้ได้ทั้งฉบับโดยไม่ควรยกเว้น หมวด 1 หมวด 2 ก็อาจตอบ “ไม่เห็นชอบ”
3. เป็นคำถามที่ไม่มีความชัดเจนในคณะผู้ร่าง ไม่มีการระบุถึงกลไก สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น แม้ประชามติผ่าน รัฐบาลอาจเลือกวิธีแก้ไขเอง โดยไม่มี สสร. ก็ได้
4. เป็นคำถามที่ไม่เคารพประชาชนผู้ออกเสียงประชามติว่า ประชาชนสามารถมีวิจารณญานเขียนรัฐธรรมนูญอย่างเหมาะสมได้เอง ต้องสร้างกรอบขึ้นมากำกับ
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid0hQpNYWjLB4inPsLKidXXGf7FciSbFKVJjYPyg1qvdHSADATYctw21tmnFDMwTW1Ml
JJNY : 5in1 ศาลยกฟ้อง-ถอนหมายจับ'ยิ่งลักษณ์'│ไอลอว์ชี้ 4 ช้อยส์ใหญ่│“สมชัย”แซะรบ.│แท็กซี่วอนลด NGV│ผู้ประท้วงปะทะตำรวจ
https://prachatai.com/journal/2023/12/107391
ศาลฎีกาฯ ยกฟ้อง และถอนหมายจับ ม.157 คดีอดีตนายกฯ 'ยิ่งลักษณ์' ย้าย 'ถวิล เปลี่ยนศรี' จากเลขาฯ สมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ โดยมิชอบ ชี้ไม่ได้มีเจตนาทุจริต
26 ธ.ค. 2566 เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ บีบีซีไทย ไทยพีบีเอส และ The Reporters รายงานวันนี้ (26 ธ.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อม.11/2565 ที่มีอัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดในฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กรณีโอนย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาต (สมช.) มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
วันนี้ ยิ่งลักษณ์ยังอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2558 และไม่ได้มาตามนัดศาลครั้งแรกเมื่อปี 2565 ได้ส่ง นรวิชญ์ หล้าแหล่ง และ วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายจำเลย เป็นตัวแทนรับฟังคำพิพากษา
สำหรับศาลฎีกาฯ นี้ถือเป็นการอ่านคำพิพากษาศาลที่ 3 หลังจากก่อนหน้านี้ มีคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยิ่งลักษณ์ พ้นจากการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากใช้ตำแหน่งแทรกแซงโยกย้าย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บุคคลในครอบครัว ถือเป็นการกระทำทุจริต เช่นเดียวกับศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้เพิกถอนประกาศแต่งตั้งโยกย้ายถวิล เพราะเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ
'ไม่มีเจตนาพิเศษ' ยกฟ้อง-ถอนหมายจับ ม.157
ศาลพิเคราะห์แล้วให้ยกฟ้อง และเพิกถอนหมายจับในข้อหาตามมาตรา 157 โดยศาลได้ไต่สวน และใช้ดุลยพินิจแล้วชี้ว่า ในคำร้องดังกล่าวเป็นคนละประเด็นกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษาของศาลปกครองและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด จึงไม่มีผลผูกพันกัน
นอกจากนี้ ตุลาการเสียงข้างมาก พิเคราะห์ว่า ยิ่งลักษณ์ ใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายถวิล “ไม่ได้มีเจตนาพิเศษ” ที่จะสร้างความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดให้ถวิล หรือมีเจตนาปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
โดยพยานหลักฐานจากการไต่สวนได้ความว่า ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาโยกย้ายตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำแตกต่างจากกรณีข้าราชการอื่นทั่วไป ประกอบกับจำเลยมิได้มีสาเหตุขัดแย้งอันใดกับนายถวิลเป็นการส่วนตัว อันจะเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำเลยประสงค์ที่จะกลั่นแกล้งนายถวิลแต่อย่างใด
"การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ย่อมไม่อาจนำมารับฟังว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ของ พล.ต.อ. พ. จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามฟ้องพิพากษายกฟ้อง เเละให้ถอนหมายจับคดีนี้" คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ระบุตอนหนึ่ง
ย้อนรอยคดีย้ายเลขาฯ สมช.
สำหรับคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ 30 ก.ย. 2554 ยิ่งลักษณ์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งให้ ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ไปปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเมื่อ 4 ต.ค. ในปีเดียวกัน คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาฯ สมช. แทนถวิล เป็นเหตุให้ต่อมา ถวิล ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด และศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว
ต่อมา เมื่อ 19 ต.ค. 2554 คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มีมติเห็นชอบให้ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น และมีกำหนดเกษียณอายุราชการ 30 ก.ย. 2555 ขึ้นเป็น ผบ.ตร. แทนวิเชียร โดยมียิ่งลักษณ์ เป็นผู้เสนอ
ทั้งนี้ บีบีซีไทย ให้ข้อมูลด้วยว่า ในด้านความสัมพันธ์กับตระกูลชินวัตร เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เป็นพี่ชายของพจมาน ณ ป้อมเพชร (เดิมนามสกุล ดามาพงศ์) อดีตภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และมีศักดิ์เป็นพี่ชายของอดีตพี่สะใภ้ของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
20 ก.พ. 2557 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้เพิกถอนประกาศแต่งตั้งโยกย้ายถวิล โดยชี้ว่า "เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" คดีนี้มีถวิล เป็นผู้ร้องต่อศาลปกครอง
ต่อมา 7 พ.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเป็นรัฐมนตรีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 182 วรรค 1 (7) ประกอบมาตรา 268 จากกรณีใช้ตำแหน่งหน้าที่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะซ่อนเร้น และเป็นการกระทำทุจริต โดยคดีนี้มี ไพบูลย์ นิติตะวัน ปัจจุบันเป็นรองประธานพรรคพลังประชารัฐ สว. และคณะรวม 28 ราย ยื่นคำร้องผ่านประธาน สว. ให้ศาล รธน.วินิจฉัย
ต่อจากนั้น ในวันที่ 1 ก.ค. 2563 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของ ยิ่งลักษณ์ และส่งให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
28 ก.พ. 2565 อัยการสูงสุดจึงได้ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาฯ และศาลฎีกาฯ มีการออกหมายจับยิ่งลักษณ์ เนื่องจากเมื่อ 21 พ.ย. 2565 ไม่เดินทางมาศาลโดยไม่ได้แจ้งเหตุผล
นอกจากนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 9 พ.ย. 2566 เนื่องจาก 1 ในองค์คณะผู้พิพากษามีปัญหาเรื่องสุขภาพ และครั้งที่สอง วันที่ 29 พ.ย. 2566 สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อดีตรองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาในองค์คณะในคดีฯ ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้เลือกกษิดิศ มงคลศิริภัทรา เป็นองค์คณะผู้พิพากษาแทน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 11 เพื่อให้ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกเข้ามาเป็นองค์คณะแทนที่มีเวลาเพียงพอ กระทั่งมีคำพิพากษายกฟ้องดังกล่าวในวันนี้
ยิ่งชีพ ไอลอว์ ชี้ 4 ช้อยส์ใหญ่ จะโหวตประชามติอย่างไร รับคำถามแบบนี้ ทางไหนก็ยาก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4348764
ยิ่งชีพ ไอลอว์ ชี้ 4 ช้อยส์ใหญ่ จะโหวตประชามติอย่างไร รับคำถามแบบนี้ ทางไหนก็ยาก
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหลังรัฐบาลเผยคำถามประชามติครั้งแรกเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมีเนื้อหาดังนี้
วันหยุดปีใหม่นี้ มีการบ้านให้นอนคิดครับ ทั้งเรื่องการทำ ประชามติ รัฐธรรมนูญใหม่ และความเป็นไปไม่ได้แต่ก็ต้องผลักดัน นิรโทษกรรมประชาชน
ถ้ามีการทำประชามติด้วยคำถามว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 หมวด 2” เราจะโหวตอะไร???
๐ โหวต NO ยืนยันหลักการ เดินหน้าสั่งสอนรัฐบาล
๐ โหวต YES รับๆ ไปก่อน แก้รัฐธรรมนูญให้ได้ก่อน กินทีละคำ
๐ โหวต “งดออกเสียง”
๐ หรือรณรงค์ “ไม่ไปใช้สิทธิ” ให้จำนวนผู้ไปออกเสียงไม่ถึงครึ่ง แล้วประชามติตกไป
ทางไหนก็ยากทั้งนั้น และไม่ว่าผลการทำประชามติออกมาอย่างไร ก็ต้องถกเถียงกัน ต่างคนต่างตีความไปต่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดแบบตัวเอง เข้าข้างตัวเอง เท่ากับเป็นการเริ่มต้นกระบวนการรัฐธรรมนูญประชาชนที่ผิดตั้งแต่ต้น และสร้างปัญหายาวต่อไปทำให้ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม และไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกันคนจำนวนมากก็กำลังทยอยเดินเข้าคุกด้วยคดีความทางการเมือง โดยเฉพาะ มาตรา 112 ข้อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็มีแล้วสองฉบับ คือ ของพรรคก้าวไกลเสนอไปแล้ว ของภาคประชาชนเปิดตัวมาแล้ว เดี๋ยวช่วยเข้าชื่อเสนอกัน 10,000 รายชื่อ อีกไม่นานคงได้ แต่พรรคเพื่อไทย “แหยง” นิรโทษกรรมตายห่า ทั้งที่เคยเสนอเองแท้ๆ แต่รอบนี้ไม่กล้าแม้แต่จะกล่าวถึง ไม่กล้าที่จะตอบรับ และเดาว่า คงไม่กล้าโหวตด้วย
เรื่องนี้ก็รอช้าไม่ได้ แม้ประชามติกำลังจะมา แต่ถึงตรงนี้แล้วการรณรงค์ยกเลิกคดีความทางการเมืองก็สำคัญ พอจะติดเครื่องลุกมาทำท้ายปีก็ไม่ค่อยไหว เปิดมาไม่กี่วันคงต้องเอาเลย เรื่องนี้อาจจำเป็นต้องทำก่อน รณรงค์ก่อน ระดมกำลังกันก่อน เสร็จแล้วอีกไม่กี่วันค่อยหันไปทำประชามติ ต้องตั้งสติและแบ่งกำลังให้มันเป็นไปให้ได้
และต้องการให้ทุกคนลุกขึ้นมาช่วยกันอีกมาก
ทั้งการนิรโทษกรรมประชาชน และการเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญใหม่
ผมเชื่อเสมอว่า ทุกเสียงมีความหมาย ที่เคยส่งเสียงกันไปแล้วก็มีความหมาย แม้เขาจะไม่ได้เชื่อหรือไม่ได้ยอมตาม แต่เขาก็ได้ยินและอย่างน้อยที่สุดเราก็ทำให้งานของเขายากขึ้น บุ่มบ่ามทำอะไรตามใจอยากไม่ได้ง่ายนัก
ถ้าวันที่เราช่วยกันเสียงดังได้กว่านี้ เสียงที่ส่งไปก็จะมีความหมายกว่านี้ จนวันที่เสียงมันดังกระหึ่มมากพอจริง “เขา” ก็จะอยู่ในภาวะที่ไม่ยอมไม่ได้ หรือไม่ยอมอะไรเลยไม่ได้เลย เพราะ “เขา” ก็จะรู้ว่าจะอยู่ไม่ได้เอง และวันนั้นเราก็จะไม่ยอมให้ “เขา” ยอมแค่เพียงบางอย่าง แล้วลอยตัวไป
ไม่ยอมแพ้หรอกครับ แค่รู้อยู่ว่า ปีหน้าเหนื่อยแน่ๆ มีอะไรต้องทำอีกเยอะ
ขอให้ทุกคนมีช่วงเวลาวันหยุดปีใหม่ที่เติมพลังได้อย่างเต็มที่ แล้วเปิดมาก็เริ่มลุย ช่วยกันต่อยาวๆ นะครับ
https://www.facebook.com/pow.ilaw/posts/pfbid0Tw6GRpLYuUB8crYYUU3nuJ2WLgRZv2YBgQbW8eAiVfMzibQ1GB4AgEypvV32dFLil
ไม่เข้าท่าตรงไหน! “สมชัย” แซะรบ.ตั้งคำถามประชามติ
https://siamrath.co.th/n/502895
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คระบุข้อความว่า
คำถามประชามติ ของรัฐบาลที่ตั้งคำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” นั้น
ไม่เข้าท่าตรงไหน
1. เป็นคำถามที่ไม่จำเป็นต้องถาม เพราะหากท่านอยากแก้โดยยกเว้นบางหมวด ไม่ใช่การจัดทำใหม่ทั้งฉบับ จึงไม่จำเป็นต้องทำประชามติ โดยยึดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
2. เป็นคำถาม ที่เพิ่มเงื่อนไขให้ซับซ้อน และ นำไปสู่โอกาสที่ประชามติจะไม่ผ่าน ยกตัวอย่าง เช่น หาก ผู้ลงประชามติเห็นว่า ควรแก้ได้ทั้งฉบับโดยไม่ควรยกเว้น หมวด 1 หมวด 2 ก็อาจตอบ “ไม่เห็นชอบ”
3. เป็นคำถามที่ไม่มีความชัดเจนในคณะผู้ร่าง ไม่มีการระบุถึงกลไก สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น แม้ประชามติผ่าน รัฐบาลอาจเลือกวิธีแก้ไขเอง โดยไม่มี สสร. ก็ได้
4. เป็นคำถามที่ไม่เคารพประชาชนผู้ออกเสียงประชามติว่า ประชาชนสามารถมีวิจารณญานเขียนรัฐธรรมนูญอย่างเหมาะสมได้เอง ต้องสร้างกรอบขึ้นมากำกับ
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid0hQpNYWjLB4inPsLKidXXGf7FciSbFKVJjYPyg1qvdHSADATYctw21tmnFDMwTW1Ml