Credit: Maysaanitto Home
“ความจริงคดี ปรส.” ที่ ปชป. ไม่เคยกล่าวถึง
เป็นวิวาทะกันมาร่วมอาทิตย์กว่าสำหรับ กรณี องค์การเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน : ปรส.ระหว่าง
ฝ่ายสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ถึงขั้น “สอนมวย” กันเลยทีเดียว แต่ที่แน่ๆ งานนี้เห็นทีจะไม่
พ้นยุทธศาสตร์ “โบ้ยทักษิณ” อีกแล้ว วันนี้ จึงขอนำเสนอ “ความจริง” ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยกล่าวถึงเพื่อความ
ชัดเจนดังนี้
1. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (พ.ศ. 2539-2540) ได้ออก พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.
2540 จัดตั้ง “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส.” (Financial Secter Restructuring Authority:
FRA) ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540
2. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต แต่งตั้งคณะกรรมการ “ปรส. ยุคชวลิต” โดยมี นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เป็น ประธาน ปรส. ชุด
แรก ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540
3. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540
4. พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลชวลิต และไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการจัดตั้ง ปรส. แต่อย่างใด
5. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 เพื่อแสดงความรับผิด
ชอบต่อการลอยตัวค่าเงินบาท กล่าวคือ “ปรส. ยุคชวลิต” ได้สิ้นสุดลงหลังจัดตั้งกองทุนได้เพียง 16 วันเท่านั้น
6. นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยที่ 2 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 (รัฐบาลชวน 2 : พ.ย. 40 – ก.พ. 44)
7. รัฐบาลชวน 2 ได้มีการสรรหาผู้เหมาะสมเข้ามาเป็นประธาน ปรส. แทน นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ที่ลาออก โดยนาย
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น เป็นผู้ทาบทาม นายอมเรศ ศิลาอ่อน
8. รัฐบาลชวน 2 ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการ “ปรส. ยุคชวน” โดยมี นายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. และนาย วิชรัตน์
วิจิตรวาทการ เป็นเลขาธิการ ในวันที่ 23 ธันวาคม 2540 ซึ่งภายหลังนายวิชรัตน์ มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ จึงมีการแต่งตั้ง
นายมนตรี เจนวิทย์การ เป็นเลขาธิการ ปรส. แทน
9. “ปรส. ยุคชวน” แต่งตั้งโดยรัฐบาลชวน 2 สั่งปิดกิจการถาวร 56 สถาบันการเงิน และ เปลี่ยนนโยบายเรื่องการคัดแยกหนี้
ดี หนี้เสียก่อนการประมูล เป็น การเอาหนี้ทั้งหมดรวมกันทำให้ราคาประมูลต่ำกว่าความเป็นจริง
10. “ปรส. ยุคชวน” แต่งตั้งโดยรัฐบาลชวน 2 ดำเนินการนำสินทรัพย์ 56 สถาบันการเงิน ประมูลขายแบบ “เหมาเข่ง” ใน
ราคา “เลหลัง” กล่าวคือสินทรัพย์ที่นำไปประมูลขายทอดตลาด ได้รับการประเมิณว่ามีมูลค่า สูงถึง 851,000 ล้านบาท ถูก
ขายทอดตลาดไปเพียง 190,000 ล้านบาท เท่านั้น
11. รัฐบาลชวน 2 ตราพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ เพื่องดเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อสินทรัพย์ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนต่างประเทศ และ
ยกเว้นภาษีให้กองทุนรวมฯ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายซื้อ ใช้กองทุนรวมฯ (กองทุนต่างชาติ) ที่ไม่มีสิทธิเข้าประมูล เข้ามาใช้
สิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีฯ
12. ทักษิณ เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ในฐานะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งขณะนั้น ปรส. ขาย(ทรัพย์สินของ)
ชาติ ไปหมดเกลี้ยงแล้ว
เชิญทุกท่าน มาจับผิด เรื่องราวในคดี ปรส. ดูซิว่า มันผิดตรงไหนบ้าง
“ความจริงคดี ปรส.” ที่ ปชป. ไม่เคยกล่าวถึง
เป็นวิวาทะกันมาร่วมอาทิตย์กว่าสำหรับ กรณี องค์การเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน : ปรส.ระหว่าง
ฝ่ายสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ถึงขั้น “สอนมวย” กันเลยทีเดียว แต่ที่แน่ๆ งานนี้เห็นทีจะไม่
พ้นยุทธศาสตร์ “โบ้ยทักษิณ” อีกแล้ว วันนี้ จึงขอนำเสนอ “ความจริง” ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยกล่าวถึงเพื่อความ
ชัดเจนดังนี้
1. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (พ.ศ. 2539-2540) ได้ออก พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.
2540 จัดตั้ง “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส.” (Financial Secter Restructuring Authority:
FRA) ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540
2. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต แต่งตั้งคณะกรรมการ “ปรส. ยุคชวลิต” โดยมี นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เป็น ประธาน ปรส. ชุด
แรก ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540
3. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540
4. พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลชวลิต และไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการจัดตั้ง ปรส. แต่อย่างใด
5. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 เพื่อแสดงความรับผิด
ชอบต่อการลอยตัวค่าเงินบาท กล่าวคือ “ปรส. ยุคชวลิต” ได้สิ้นสุดลงหลังจัดตั้งกองทุนได้เพียง 16 วันเท่านั้น
6. นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยที่ 2 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 (รัฐบาลชวน 2 : พ.ย. 40 – ก.พ. 44)
7. รัฐบาลชวน 2 ได้มีการสรรหาผู้เหมาะสมเข้ามาเป็นประธาน ปรส. แทน นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ที่ลาออก โดยนาย
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น เป็นผู้ทาบทาม นายอมเรศ ศิลาอ่อน
8. รัฐบาลชวน 2 ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการ “ปรส. ยุคชวน” โดยมี นายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. และนาย วิชรัตน์
วิจิตรวาทการ เป็นเลขาธิการ ในวันที่ 23 ธันวาคม 2540 ซึ่งภายหลังนายวิชรัตน์ มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ จึงมีการแต่งตั้ง
นายมนตรี เจนวิทย์การ เป็นเลขาธิการ ปรส. แทน
9. “ปรส. ยุคชวน” แต่งตั้งโดยรัฐบาลชวน 2 สั่งปิดกิจการถาวร 56 สถาบันการเงิน และ เปลี่ยนนโยบายเรื่องการคัดแยกหนี้
ดี หนี้เสียก่อนการประมูล เป็น การเอาหนี้ทั้งหมดรวมกันทำให้ราคาประมูลต่ำกว่าความเป็นจริง
10. “ปรส. ยุคชวน” แต่งตั้งโดยรัฐบาลชวน 2 ดำเนินการนำสินทรัพย์ 56 สถาบันการเงิน ประมูลขายแบบ “เหมาเข่ง” ใน
ราคา “เลหลัง” กล่าวคือสินทรัพย์ที่นำไปประมูลขายทอดตลาด ได้รับการประเมิณว่ามีมูลค่า สูงถึง 851,000 ล้านบาท ถูก
ขายทอดตลาดไปเพียง 190,000 ล้านบาท เท่านั้น
11. รัฐบาลชวน 2 ตราพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ เพื่องดเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อสินทรัพย์ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนต่างประเทศ และ
ยกเว้นภาษีให้กองทุนรวมฯ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายซื้อ ใช้กองทุนรวมฯ (กองทุนต่างชาติ) ที่ไม่มีสิทธิเข้าประมูล เข้ามาใช้
สิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีฯ
12. ทักษิณ เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ในฐานะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งขณะนั้น ปรส. ขาย(ทรัพย์สินของ)
ชาติ ไปหมดเกลี้ยงแล้ว