เห็นเพื่อนแชร์เพจที่ชื่อว่า "ตบดิ้น"
https://www.facebook.com/tobedin
ใจความตามนี้
คดีปรส. : เรื่องมั่วๆที่หาว่า ปชป. ทำรัฐเสียหายถึง 8แสนล้านบาท
29 January 2014 at 23:16
วิธีใช้ :
1. ใช้อ่านเพิ่มความรู้ให้กับตนเองจะเป็นการดีที่สุด
2. ส่งลิ้งให้คนใกล้ชิดเพื่อนำเสนอความรู้
ปรส. หรือชื่อเต็มคือ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (ทักษิณเป็นรองนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ออกพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2540 ทำให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ปรส. ชุดแรกขึ้น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2540 โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ เป็นอันดับแรก
โดย ปรส. มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการดูแลบริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
1. คดีที่เกี่ยวพันกับปรส.คือกรณีขายสินทรัพย์สถาบันการเงิน 56 แห่ง ที่ อมเรศ ศิลาอ่อน และ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. ถูกฟ้องฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 (เฉพาะในส่วนของ ปรส.) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
คือไปเอื้อประโยชน์เอกชนที่ประมูลสินทรัพย์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ โดยไม่ได้ให้เอกชนรายดังกล่าวคือ บริษัท เลแมน บราเดอร์ส โดยราคาสินทรัพย์ที่เป็นปัญหาอยู่ที่ 11,520 ล้านบาท วางหลักประกัน 10 ล้านบาท แต่บริษัทไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับ ปรส.ภายใน 7 วันนับจากวันที่ 20 ส.ค. 2541
พร้อมทั้งต้องชำระเงินงวดแรกร้อยละ 20 ของราคาเสนอซื้อที่ชนะการประมูลเป็นเงิน 2,304 ล้านบาท แต่ไม่ได้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีแต่การวางเงินประกัน 10 ล้านเท่านั้น ศาลจึงเห็นว่า การประมูลดังกล่าวไม่เกิดสัญญาขึ้น อย่างไรก็ตามต่อมามีการชำระเงินเต็มจำนวนจากการประมูลสินทรัพย์ดังกล่าว
ความหมายคือ ไม่มีความเสียหายทางการเงินเกิดขึ้น ปรส.ได้เงินตามราคาที่ประมูล เพียงแต่ขั้นตอนทำสัญญาผิดกฎหมาย และผู้บริหาร ปรส. (อมเรศ ศิลาอ่อน และ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ) ไปเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน ศาลจึงสั่งจำคุก 2 ปี ปรับ 20,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา 3 ปี เพราะอายุมากและเคยทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ลิ้งข่าวรายละเอียดคดีอมเรศ ศิลาอ่อน
http://goo.gl/SgHv2K
2. คดีล่าสุดเกี่ยวกับ ปรส. ที่ ป.ป.ช.เพิ่งตัดสินไปเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ว่า มนตรี เจนวิทย์การ เลขา ปรส. เอื้อประโยชน์ให้กับ เกียรตินาคิน ซึ่งเป็นบริษัทของ ภรรยาพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล (ยิ่งลักษณ์1 จากการเลือกตั้งปี2554) ในการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส.
ลิ้งข่าวรายละเอียดคดีมนตรี เจนวิทย์การ
http://goo.gl/ugHKZK
อ้าว...แล้วความเสียหาย 8 แสนล้านบาทคืออะไร??
ความเสียหายแปดแสนล้านนั้นก็คือ ผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, ดร.วีรพงษ์ รามางกูร, ทักษิณ ชินวัตร และทนง พิทยะ ที่ร่วมกันบริหารประเทศจนล้มละลาย ต้องเอาประเทศเข้า IMF เพื่อขอกู้เงินมาใช้หนี้ระยะสั้น ทำให้ IMF เข้าควบคุมการเงินของประเทศ นำไปสู่การปิดสถาบันการเงินและการตั้ง ปรส. มาเผื่อจัดก่รหนี้เสียที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นหนี้สินของสถาบันการเงิน 56 แห่งรวมกันแล้วเป็นเท่าไหร่ นั้นคือผลงานของชวลิตกับพวกโดยตรง
การที่ปรส. ไม่สามารถขายหนี้ 8 แสนล้านได้เท่ากับจำนวนหนี้ เหตุผลหลักก็เป็น เพราะชวลิตทำให้หนี้พวกนี้เป็นหนี้เน่า ปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันใดๆ
"คนทำให้หนี้เน่าไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
คนขายหนี้เน่าไม่ได้ราคากลับกลายเป็นคนผิด"
คดี ปรส. นี้เองเป็นสิ่งที่พรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และปัจจุบันคือ พรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือนมาตลอด
ข้อมูลเพิ่มเติม"ข้อเท็จจริงในด้านนโยบาย ปรส."
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q1/2007march13p5.htm
อยากทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำไปโต้แย้งกับเพจนี้ค่ะ
เพราะเท่าที่ศึกษาดูพบว่ารัฐบาลชวน หลีกภัย น่าจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อคดีนี้มากกว่า
ใครมีข้อมูลยังไงเรารวนกวนเข้ามาในนี้ด้วยนะคะ อยากจะเขียนแย้งค่ะ แต่เราด้อยในเรื่องการเขียนโต้แย้งเป็นภาษาให้เข้าใจง่ายๆจริงๆ
พยายามแปะลิ้งค์อะไรยาวๆที่เป็นข้อเท็จจริงก็ไม่อ่านกัน อ่านกันแต่ฝ่ายที่ตัวเองเข้าข้างเท่านั้น เห้อ..
ข้องใจกับคดีปรส. เมื่อมีเพจหนึ่งในเฟสบุ๊กชี้แจงว่าแท้จริงแล้ว ปชป.เป็นฝ่ายถูกกล่าวหา (มีคนแชร์จำนวนมาก)
ใจความตามนี้
คดีปรส. : เรื่องมั่วๆที่หาว่า ปชป. ทำรัฐเสียหายถึง 8แสนล้านบาท
29 January 2014 at 23:16
วิธีใช้ :
1. ใช้อ่านเพิ่มความรู้ให้กับตนเองจะเป็นการดีที่สุด
2. ส่งลิ้งให้คนใกล้ชิดเพื่อนำเสนอความรู้
ปรส. หรือชื่อเต็มคือ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (ทักษิณเป็นรองนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ออกพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2540 ทำให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ปรส. ชุดแรกขึ้น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2540 โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ เป็นอันดับแรก
โดย ปรส. มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการดูแลบริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
1. คดีที่เกี่ยวพันกับปรส.คือกรณีขายสินทรัพย์สถาบันการเงิน 56 แห่ง ที่ อมเรศ ศิลาอ่อน และ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. ถูกฟ้องฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 (เฉพาะในส่วนของ ปรส.) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
คือไปเอื้อประโยชน์เอกชนที่ประมูลสินทรัพย์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ โดยไม่ได้ให้เอกชนรายดังกล่าวคือ บริษัท เลแมน บราเดอร์ส โดยราคาสินทรัพย์ที่เป็นปัญหาอยู่ที่ 11,520 ล้านบาท วางหลักประกัน 10 ล้านบาท แต่บริษัทไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับ ปรส.ภายใน 7 วันนับจากวันที่ 20 ส.ค. 2541
พร้อมทั้งต้องชำระเงินงวดแรกร้อยละ 20 ของราคาเสนอซื้อที่ชนะการประมูลเป็นเงิน 2,304 ล้านบาท แต่ไม่ได้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีแต่การวางเงินประกัน 10 ล้านเท่านั้น ศาลจึงเห็นว่า การประมูลดังกล่าวไม่เกิดสัญญาขึ้น อย่างไรก็ตามต่อมามีการชำระเงินเต็มจำนวนจากการประมูลสินทรัพย์ดังกล่าว
ความหมายคือ ไม่มีความเสียหายทางการเงินเกิดขึ้น ปรส.ได้เงินตามราคาที่ประมูล เพียงแต่ขั้นตอนทำสัญญาผิดกฎหมาย และผู้บริหาร ปรส. (อมเรศ ศิลาอ่อน และ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ) ไปเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน ศาลจึงสั่งจำคุก 2 ปี ปรับ 20,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา 3 ปี เพราะอายุมากและเคยทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ลิ้งข่าวรายละเอียดคดีอมเรศ ศิลาอ่อน
http://goo.gl/SgHv2K
2. คดีล่าสุดเกี่ยวกับ ปรส. ที่ ป.ป.ช.เพิ่งตัดสินไปเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ว่า มนตรี เจนวิทย์การ เลขา ปรส. เอื้อประโยชน์ให้กับ เกียรตินาคิน ซึ่งเป็นบริษัทของ ภรรยาพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล (ยิ่งลักษณ์1 จากการเลือกตั้งปี2554) ในการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส.
ลิ้งข่าวรายละเอียดคดีมนตรี เจนวิทย์การ
http://goo.gl/ugHKZK
อ้าว...แล้วความเสียหาย 8 แสนล้านบาทคืออะไร??
ความเสียหายแปดแสนล้านนั้นก็คือ ผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, ดร.วีรพงษ์ รามางกูร, ทักษิณ ชินวัตร และทนง พิทยะ ที่ร่วมกันบริหารประเทศจนล้มละลาย ต้องเอาประเทศเข้า IMF เพื่อขอกู้เงินมาใช้หนี้ระยะสั้น ทำให้ IMF เข้าควบคุมการเงินของประเทศ นำไปสู่การปิดสถาบันการเงินและการตั้ง ปรส. มาเผื่อจัดก่รหนี้เสียที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นหนี้สินของสถาบันการเงิน 56 แห่งรวมกันแล้วเป็นเท่าไหร่ นั้นคือผลงานของชวลิตกับพวกโดยตรง
การที่ปรส. ไม่สามารถขายหนี้ 8 แสนล้านได้เท่ากับจำนวนหนี้ เหตุผลหลักก็เป็น เพราะชวลิตทำให้หนี้พวกนี้เป็นหนี้เน่า ปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันใดๆ
"คนทำให้หนี้เน่าไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
คนขายหนี้เน่าไม่ได้ราคากลับกลายเป็นคนผิด"
คดี ปรส. นี้เองเป็นสิ่งที่พรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และปัจจุบันคือ พรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือนมาตลอด
ข้อมูลเพิ่มเติม"ข้อเท็จจริงในด้านนโยบาย ปรส."
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q1/2007march13p5.htm
อยากทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำไปโต้แย้งกับเพจนี้ค่ะ
เพราะเท่าที่ศึกษาดูพบว่ารัฐบาลชวน หลีกภัย น่าจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อคดีนี้มากกว่า
ใครมีข้อมูลยังไงเรารวนกวนเข้ามาในนี้ด้วยนะคะ อยากจะเขียนแย้งค่ะ แต่เราด้อยในเรื่องการเขียนโต้แย้งเป็นภาษาให้เข้าใจง่ายๆจริงๆ
พยายามแปะลิ้งค์อะไรยาวๆที่เป็นข้อเท็จจริงก็ไม่อ่านกัน อ่านกันแต่ฝ่ายที่ตัวเองเข้าข้างเท่านั้น เห้อ..