หวังว่าแดงคงจะอ่านจบนะครับ กำเนิด ปรส.

กระทู้สนทนา
การตั้ง ปรส.ของรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เกิดจากความจำเป็นที่จะต้องเข้าขอความช่วยเหลือทางการเงิน จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอ.เอ็มเอฟ. เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงินของประเทศในขณะนั้น
วิกฤตการณ์ทางการเงินที่สำคัญคือ ปัญหาที่รัฐบาลและ ธปท. ได้ใช้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เข้า"อุ้ม"ช่วยเหลือสถาบันการเงินต่างๆ หมดไปเกือบ 1 ล้านล้านบาท แล้วกลับต้องสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราวถึง
58 แห่ง
(ขอย้ำว่าความเสียหายร่วม 1 ล้านล้านบาทได้เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ตามรายงานของ ธปท.ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 ที่รายงานรัฐบาลชวน หลีกภัย ผู้มารับหน้าที่ภายหลัง)
การให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
เข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิด ความเสียหายมหาศาลนี้ ไอเอ็มเอ็ม.ถือว่าเป็นความบกพร่องของฝ่ายการเมือง คือรัฐบาล
ปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราวทั้ง 58 แห่ง จะได้กลับมาดำเนินกิจการกี่แห่งก็ดี การชำระบัญชีบริษัทที่ถูกปิดถาวรต่อไปเพื่อเอาเงินมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ดี จะต้องทำงานโดยหน่วยงานกลาง ที่เป็นอิสระเด็ดขาด ปราศจากการ แทรงแซงก้าวก่ายของฝ่ายการเมือง วิธีการชำระบัญชีต้องถูกกำหนดโดย กฎหมายอย่างชัดเจน ความเป็นอิสระเด็ดขาดของหน่วยงาน อิสระนี้ต้องมีกฎหมายรองรับ ตามข้อกำหนดของไอเอ็มเอฟ.
เพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้
รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ ได้ดำเนินการตามลำดับดังนี้
(1) วันที่ 4 สิงหาคม 25400
รมว.กค.ขณะนั้นได้ทำหนังสือถึง นรม. เพื่อขออนุมัติเงื่อนไขในการขอความ ช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ.
นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรี ขณะนั้นเห็นชอบ และมอบหมายให้ รมว.กค. และ ผวก.ธปท. เป็นผู้ดำเนินการและลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง
(2) วันที่ 14 สิงหาคม 2540
รมว.กค. และ ผว.ธปท. ได้ลงนามในสัญญากับ ไอ.เอ็มเอฟ. มีเงื่อนไขในการต้องจัดตั้งปรส. มีองค์ประกอบ ความเป็นอิสระและ อำนาจหน้าที่ดังกล่าว
(3) วันที่ 19 สิงหาคม 2540
ครม.มีมติ
"ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวเพื่อให้สัมฤทธิผล ***ตามเงื่อนไข เวลาและเป้าหมาย***ที่ได้ตกลงไว้กับ กองทุนการเงินระหว่างประเทศต่อไป"
และได้แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีท่าน หนึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกำกับ แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจตามเงื่อนไขของ ไอเอ็มเอฟ.ด้วย
(4) วันที่ 13 ตุลาคม 2540
รมว.กค.ขณะนั้น ได้ทำหนังสือ ลับมาก/ด่วนที่สุด ถึงเลขาธิการครม.ให้บรรจุวาระเรื่อง "มาตรการแก้ไขสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาร้ายแรง 58 แห่ง" โดยให้จัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน:ปรส.
(Financial Secter Restructuring Authority :FRA) ขึ้นมาทำหน้าที่
(5) วันที่ 14 ตุลาคม 2540
รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ ได้เสนอเรื่อง "มาตรการเพื่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยในอนาคต" มีประเด็นเกี่ยวกับ 58 สถาบันการเงินที่ถูกระงับการ ดำเนินกิจการดังนี้
**"โดยเฉพาะปัญหาของบริษัทเงินทุน 58 บริษัท เป็นสิ่งเร่งด่วน ที่จะต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ของประชาชนและเจ้าหนี้ ที่มีต่ระบบการเงินและระบบสินเชื่อใน ภาพรวม นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหา ของสถาบันการเงินดังกล่าวก็จะช่วยแก้ไขปัญหาสินเชื่อของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน มาตรการเรื่องนี้รวมถึงการประกันเงิน ฝากและดอกเบี้ยที่จะได้รับของประชาชนผู้ฝาก และการประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้สถาบันการเงินดังกล่าว"
(6) ครม.เห็นชอบให้ **ปรส.เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดการชำระบัญชีและดูแลบริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ เป็นองค์กรเฉพาะกิจ
(7) วันที่ 25 ตุลาคม 2540
รัฐบาลออก พระราชกำหนดจัดตั้ง ปรส.
ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป
(8) วันที่ 29 ตุลาคม 2540
รมว.กค. คนใหม่
(นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฐ) ลงนามแต่งตั่งประธานฯ ปรส.และเลขาธิการ ปรส.
พรก.จัดตั้ง ปรส.มีลักษณะพิเศษ อาทิเช่น
(8).1 อำนาจในการพิจารณาปิดถาวร 58 สถาบันการเงินที่ถูกปิดชั่วคราว เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของ ปรส. รมว.กค.มีอำนาจเพียงลงนามอนุมัติบริษัทที่ปรส.อนุมัติให้ดำเนินกิจการต่อไปได้เท่านั้น
(8).2 การจัดการขายสินทรัพย์ ต้องกระทำโดยการประมูลขายโดย
เปิดเผยเท่านั้น
และม. 16(3) กำหนดให้เป็นอำนาจ โดยเด็ดขาดของคณะกรรมการปรส.เท่านั้น รมว.กค.ไม่มีอำนาจ ที่จะเข้าแทรกแซง
(8).3 รมว.กค. ด้วยความเห็นชอบของครม. มีอำนาจแต่งตั้งประธานปรส. แต่ไม่มีอำนาจถอดถอน ประธาน กก.ปรส.ที่ได้แต่งตั้งไว้แล้ว
(8).4 ห้ามรมว.กค.เข้าไป แทรกแซง หรือสั่งการใดๆเกี่ยวกับการบริหารงาน ทั่วไปของปรส. และปรส.เองก็ ไม่ต้องรายงาน ต่อรัฐมนตรี
(8).5 รัฐมนตรีมีข้อจำกัดในการรับทราบข้อมูลของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ และอยู่ในกระบวนก่รชำระบัญชี เพราะ ปรส.อยู่ในข้อบังคับของ บทกำหนดโทษในมาตรา 39 ที่ว่า
"ผู้ใดล่วงรู้กิจการของสถาบันการเงินใด เนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ๆ กำหนดไว้ตามพระราชกำหนดนี้ อันเป็นกิจการที่ตามปกติพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย แล้วนำไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ตามบทบัญญัตินี้ ปรส.ถูกตีความว่าเป็น "ผู้ใด" และรัฐมนตรีถูกตีความว่าเป็น "บุคคลอื่น"
(9) วันที่ 6 พฤศจิกายน 2540
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ ลาออก ทำให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
(10) วันที่ 14 พฤศจิกายน 2540
นายชวน หลีกภัย ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำคณะรัฐมนตรีใหม่เข้าถวายสัตย์ รับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินมีผลตั้งแต่วันดังกล่าว
ข้อสังเกตุ***
มีการตั้งข้อสังเกตุว่า การที่ พรก.ปรส.
ได้ตัดอำนาจทางการเมืองไปโดยสิ้นเชิง เหตุผลเนื่องจาก ไอ.เอ็มเอฟ.เห็นว่า ความเสียหายทั้งหมดเกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาล จึงไม่ควรให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาเกี่ยว ข้องกับเรื่องสำคัญทั้งสองเรื่อง กับอีกเหตุหนึ่งมีผู้เชื่อว่า เนื่องจาก รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ แฝงเจตนาที่จะลาออกอยู่แล้ว จึงออกพรก.มีลักษณะตัดอำนาจของรัฐบาลใหม่โดยสิ้นเชิง
ต่อมาวันที่ 8 ธันวาคม 2540
ในสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย
คณะกรรมการ ปรส. ที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ ตั้งไว้ มีมติเด็ดขาดเกี่ยวกับ 58 สถาบันการเงินที่ถูกสั่งปิดชั่วคราว ให้ปิดถาวรต่อไป 56 แห่ง
อนุญาตให้กลับมาฟื้นฟูดำเนินกิจการ ต่อไปได้เพียง 2 แห่ง
**หนึ่งในสองแห่ง คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน
ซึ่งปัจจุบันได้เติบโตจนยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ ในปี 2548 สมัยรัฐบาล พตท.ทักษิณ ชินวัตร คือธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด(มหาชน)
โปรดติดตาม ปรส.ตอนต่อไป
การชำระบัญชีและจัดการสินทรัพย์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่