ปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ส่งผลให้สถาบันการเงินของไทยจำนวนมากล้มไม่เป็นท่า แต่ที่น่าสนใจคือ รัฐบาลในขณะนั้นได้นำ 56 สถาบันการเงินไปเร่ขายให้กับต่างชาติในราคาถูก จากมูลค่า 851,000 ล้านบาท ขายไปเพียง 190,000 ล้านบาท
จากวันนั้นถึงวันนี้ 10 กว่าปี คดีการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการยังไม่ไปไหน ทั้งที่ “ดีเอสไอ” สรุปสำนวนคดี ปรส. ว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังพบว่ามีหลายกรณีไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบหลักเกณฑ์รวม 10 ประเด็น คือ
1. ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส.โดยมิชอบ
2. คณะกรรมการ ปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3. ข้อกำหนดของ ปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4. การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูลไม่ชอบขัดต่อ พ.ร.ก.ปรส.
5. ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการ ปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6. คณะกรรมการ ปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8. มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9. สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของ ปรส. และ
10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง
จึงมีการทวงถามความคืบหน้าคดีดังกล่าวจาก ป.ป.ช. เพราะเกรงว่าจะหมดอายุความในปี 2556 และจะปล่อยคนผิดให้ลอยนวล ซึ่งหาก ป.ป.ช. ปล่อยให้คดี ปรส.หมดอายุความไป คงมีคำถามว่า ป.ป.ช.จะแสดงความรับผิดชอบค่าเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไร.
ทั้ง 10 ข้อ ไม่เป็นธรรมอย่างไร? หรือจะชี้แจงอธิบายได้อย่างไร? ครับ
อยากรู้เหตุผลจริงๆ ไม่ใช่แกล้งถามล่อเป้าแต่อย่างใด
เรียนถามผู้รู้ ปรส. หรือแฟนคลับ ปชป. มาช่วยอธิบายหน่อยครับ
จากวันนั้นถึงวันนี้ 10 กว่าปี คดีการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการยังไม่ไปไหน ทั้งที่ “ดีเอสไอ” สรุปสำนวนคดี ปรส. ว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังพบว่ามีหลายกรณีไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบหลักเกณฑ์รวม 10 ประเด็น คือ
1. ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส.โดยมิชอบ
2. คณะกรรมการ ปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3. ข้อกำหนดของ ปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4. การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูลไม่ชอบขัดต่อ พ.ร.ก.ปรส.
5. ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการ ปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6. คณะกรรมการ ปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8. มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9. สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของ ปรส. และ
10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง
จึงมีการทวงถามความคืบหน้าคดีดังกล่าวจาก ป.ป.ช. เพราะเกรงว่าจะหมดอายุความในปี 2556 และจะปล่อยคนผิดให้ลอยนวล ซึ่งหาก ป.ป.ช. ปล่อยให้คดี ปรส.หมดอายุความไป คงมีคำถามว่า ป.ป.ช.จะแสดงความรับผิดชอบค่าเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไร.
ทั้ง 10 ข้อ ไม่เป็นธรรมอย่างไร? หรือจะชี้แจงอธิบายได้อย่างไร? ครับ
อยากรู้เหตุผลจริงๆ ไม่ใช่แกล้งถามล่อเป้าแต่อย่างใด