นำคดี ปรส. มาให้อ่านกันนะครับ จะได้รู้ทั่วๆ กัน

ดีเอสไอฟันธง คดี ปรส.ผิดจริง คนขายชาติตัวจริง ประชาธิปปัตย์

นาย ไกรสร บารมีอวยชัย รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นประธานประชุมพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมกับอัยการสำนักคดีพิเศษ และที่ปรึกษาจากกระทรวงการคลัง

สรุปสำนวนคดีการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ใช้เวลาประชุมนานประมาณ 2 ชั่วโมง ร่วมกันแถลงว่า
ในการสอบสวนมุ่งถึงการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

จาก การนำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท และการดำเนินการของ ปรส. ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ

แต่ ขั้นตอนดำเนินการของ ปรส. กลับไม่แยกหนี้ดี หนี้เสีย เพื่อแยกหนี้ดีไปให้กับธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) นำไปบริหาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ

รายงานระบุว่า คดี ปรส. มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 5 คดี

ประกอบด้วย

คดี ที่ 1 กรณี บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท

คดีที่ 2 กรณีบริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท

คดีที่ 3 – 4 กรณี บริษัท เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1 – 3 ยอดคงค้างทางบัญชี 64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท

คดีที่ 5 กรณี บริษัท วีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทาง บัญชี2,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท

ในคดีที่ 1 มีการสอบปากคำพยานบุคคล ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวม 106 ปาก แยกประเด็นการสอบสวนออกเป็นประเด็นข้อกฎหมายและประเด็นข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้หลักฐานถึงวัตถุประสงค์ในการปฏิรูปสถาบันการเงิน และกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี

หลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น

ประกอบด้วย

1. ปรส. ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. โดยมิชอบ
2. คณะกรรมการ ปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้อง ปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3. ข้อกำหนดของ ปรส. ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4. การโอนสิทธิ ของผู้ชนะการประมูลไม่ชอบ ขัดต่อ พ.ร.ก.ปรส.
5. ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการ ปรส. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6. คณะกรรมการ ปรส. และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8. มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9. สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ
10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติ เนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง

การ ขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดทางอาญา

หลังจากนี้ กรรมการ ปรส. ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องโดยตรงในการขายและนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมและสนับสนุน ให้เจ้าหน้าที่กระทำผิดอาญาจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ราย จะถูกดำเนินคดี

ฐาน เป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานและเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันกระทำโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ในคดีภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุก 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 -200,000 บาท ถ้าคดีนี้ฟ้องได้ ก็มีโอกาสที่ประเทศจะได้เงินกลับคืนมา สำหรับคดีนี้เกี่ยวพันกับบริษัทใหญ่หลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ

ความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากการขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ผ่านมา เคยตั้งนายยุวรัตน์ กมลเวชช เป็นกรรมการตรวจสอบ และได้ตั้งประเด็นในการตรวจสอบตรงกับการสอบสวนของดีเอสไอ การสอบสวนพบพยานหลักฐานว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาก ดีเอสไอ สั่งฟ้องคดีที่ 1 เรียบร้อย ก็จะเป็นบรรทัดฐานข้อกฎหมายที่จะมาใช้ฟ้องกรณีบริษัทอื่น ๆ ต่อไป

ที่มา : http://www.konthaiuk.eu
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่