อวสานคดี ปรส.ชาติเสียหาย 8 แสนล้าน ให้จำคุก 2 ปี รอลงอาญา 3 ปี
Mthainews: ในที่สุดก็ได้บทสรุปแล้วสำหรับคดี ที่นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการปรส.พร้อมพวก กระทำความผิด พ.ร.บ.พนักงานองค์กรรัฐทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ ปรส. กับเอกชนมิชอบ ซึ่งหลายฝ่ายต่างก็เฝ้าจับตามองว่าคดีอาจจะหมดอายุความในปี 2556
แต่เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พิเคราะห์ จากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า นายอมเรศ ศิลาอ่อน และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ มีความผิดฐานไม่เรียกเก็บเงินงวดแรกในการขายสินทรัพย์ให้กับบริษัทเอกชนเลห์แมนบราเธอร์ส โฮลดิ้งอิ้งค์ จำกัดจำนวน 2,304 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์กำหนดที่ไว้ ผิดตาม พรบ.ว่าด้วย ความผิดพนักงานในองค์กรของรัฐ จึงพิพากษาจำคุกจำเลยทั้ง 2 เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนายอมเรศเคยเป็นอดีตรมว.พาณิชย์ และนายวิชรัตน์วิชรัตน์ เป็นอดีตประธานอนุกรรมการกลั้นกรองวางแผนการฟื้นฟูให้กับสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นการทำคุณให้กับประเทศชาติ อีกทั้งจำเลยทั้ง2 มีอายุมากเห็นสมควรให้กลับตัวกลับใจโทษจำคุกจึงรอลงอาญา 3 ปี ให้คุมประพฤติ 1 ปี โดยต้องรายงานตัว 3 ครั้งต่อเดือน พร้อมบำเพ็ญประโยชน์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยคนอื่นๆ พิพากษายกฟ้องเพราะไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ
หากย้อนอดีตไปเมื่อปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ปาเข้าไปนานถึงสิบกว่าปี กับสำนวนคดี การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือปรส.เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท อีกทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้เอกชน และหลบเลี่ยงภาษี คดีหมายเลขดำที่ อ.3344/2551
ซึ่งแต่เดิมนั้น ปรส. ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นได้สั่งปิด 56 ไฟแนนซ์ และตั้งปรส.ขึ้นมา เพื่อแยกหนี้ดี-หนี้เสียออกจากกัน แล้วค่อยประมูลขาย เพื่อปลดล็อกสินทรัพย์ทั้งหลายถูกแช่แข็งอยู่ออกมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ อย่างรวดเร็วที่สุดและโปร่งใสที่สุด
โดยสินทรัพย์ดีจะได้ขายได้ในราคาที่ดี (โดยใช้วิธีประมูล) อีกทั้งช่วยเหลือผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริต โดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วน 87.54% และเพื่อชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้
แต่ในทางปฏิบัติ สมัย นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปปัตย์มาบริหารประเทศนั้น มีการตั้งข้อสังเกตกันว่ากระทำขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ ไม่ได้มีการแยกสินทรัพย์ดี และเสีย ( Good Bank –Bad Bank ) ทำรัฐเสียหายกว่า 800,000 ล้าน เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ
จาก 8 แสนล้าน เหลือ 2 แสนล้าน มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 5 คดี ประกอบด้วย
คดี ที่ 1 กรณี บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท
คดีที่ 2 กรณีบริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
คดีที่ 3 – 4 กรณี บริษัท เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1 – 3 ยอดคงค้างทางบัญชี 64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท
คดีที่ 5 กรณี บริษัท วีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทาง บัญชี2,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท
เหล่านี้ คือผลของการกระทำดังกล่าวทำให้ การประมูลทรัพย์ ได้ราคาที่ต่ำมาก ซึ่งดีเอสไอสรุปสำนวนคดี ปรส. ชี้การกระทำดังกล่าวว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และนายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย แถลงสรุปผลการประชุม ยังพบว่า มีการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้
1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สิน จากปรส.โดยมิชอบ
2.คณะกรรมการปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3.ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อพรก.ปรส.
5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.คณะกรรมการปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขาย ทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ
10.ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อน กับสถาบันการเงินอีกแห่ง
ก่อนที่จะหมดอายุความในปี 2556 ในที่สุดศาลก็ได้ตัดสินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าบทลงโทษจะเป็นอย่างไร ผลการพิจารณาคดีถือเป็นที่สิ้นสุด
Mthai News
http://news.mthai.com/webmaster-talk/191510.html
zzz นับถอยหลังคดีปรส.สิ้นสุดอายุความ 21 มิถุนายน 2556 เหลือเวลา 138 วัน zzz
Mthainews: ในที่สุดก็ได้บทสรุปแล้วสำหรับคดี ที่นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการปรส.พร้อมพวก กระทำความผิด พ.ร.บ.พนักงานองค์กรรัฐทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ ปรส. กับเอกชนมิชอบ ซึ่งหลายฝ่ายต่างก็เฝ้าจับตามองว่าคดีอาจจะหมดอายุความในปี 2556
แต่เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พิเคราะห์ จากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า นายอมเรศ ศิลาอ่อน และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ มีความผิดฐานไม่เรียกเก็บเงินงวดแรกในการขายสินทรัพย์ให้กับบริษัทเอกชนเลห์แมนบราเธอร์ส โฮลดิ้งอิ้งค์ จำกัดจำนวน 2,304 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์กำหนดที่ไว้ ผิดตาม พรบ.ว่าด้วย ความผิดพนักงานในองค์กรของรัฐ จึงพิพากษาจำคุกจำเลยทั้ง 2 เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนายอมเรศเคยเป็นอดีตรมว.พาณิชย์ และนายวิชรัตน์วิชรัตน์ เป็นอดีตประธานอนุกรรมการกลั้นกรองวางแผนการฟื้นฟูให้กับสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นการทำคุณให้กับประเทศชาติ อีกทั้งจำเลยทั้ง2 มีอายุมากเห็นสมควรให้กลับตัวกลับใจโทษจำคุกจึงรอลงอาญา 3 ปี ให้คุมประพฤติ 1 ปี โดยต้องรายงานตัว 3 ครั้งต่อเดือน พร้อมบำเพ็ญประโยชน์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยคนอื่นๆ พิพากษายกฟ้องเพราะไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ
หากย้อนอดีตไปเมื่อปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ปาเข้าไปนานถึงสิบกว่าปี กับสำนวนคดี การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือปรส.เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท อีกทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้เอกชน และหลบเลี่ยงภาษี คดีหมายเลขดำที่ อ.3344/2551
ซึ่งแต่เดิมนั้น ปรส. ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นได้สั่งปิด 56 ไฟแนนซ์ และตั้งปรส.ขึ้นมา เพื่อแยกหนี้ดี-หนี้เสียออกจากกัน แล้วค่อยประมูลขาย เพื่อปลดล็อกสินทรัพย์ทั้งหลายถูกแช่แข็งอยู่ออกมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ อย่างรวดเร็วที่สุดและโปร่งใสที่สุด
โดยสินทรัพย์ดีจะได้ขายได้ในราคาที่ดี (โดยใช้วิธีประมูล) อีกทั้งช่วยเหลือผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริต โดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วน 87.54% และเพื่อชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้
แต่ในทางปฏิบัติ สมัย นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปปัตย์มาบริหารประเทศนั้น มีการตั้งข้อสังเกตกันว่ากระทำขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ ไม่ได้มีการแยกสินทรัพย์ดี และเสีย ( Good Bank –Bad Bank ) ทำรัฐเสียหายกว่า 800,000 ล้าน เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ
จาก 8 แสนล้าน เหลือ 2 แสนล้าน มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 5 คดี ประกอบด้วย
คดี ที่ 1 กรณี บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท
คดีที่ 2 กรณีบริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
คดีที่ 3 – 4 กรณี บริษัท เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1 – 3 ยอดคงค้างทางบัญชี 64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท
คดีที่ 5 กรณี บริษัท วีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทาง บัญชี2,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท
เหล่านี้ คือผลของการกระทำดังกล่าวทำให้ การประมูลทรัพย์ ได้ราคาที่ต่ำมาก ซึ่งดีเอสไอสรุปสำนวนคดี ปรส. ชี้การกระทำดังกล่าวว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และนายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย แถลงสรุปผลการประชุม ยังพบว่า มีการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้
1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สิน จากปรส.โดยมิชอบ
2.คณะกรรมการปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3.ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อพรก.ปรส.
5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.คณะกรรมการปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขาย ทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ
10.ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อน กับสถาบันการเงินอีกแห่ง
ก่อนที่จะหมดอายุความในปี 2556 ในที่สุดศาลก็ได้ตัดสินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าบทลงโทษจะเป็นอย่างไร ผลการพิจารณาคดีถือเป็นที่สิ้นสุด
Mthai News
http://news.mthai.com/webmaster-talk/191510.html