https://www.facebook.com/BBCThai?fref=nf
.........เกิดอะไรขึ้นกับ "อาเบะโนมิกส์" .............
เกิดอะไรขึ้นกับ "อาเบะโนมิกส์"
เศรษฐกิจญี่ปุ่นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก หดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเท่ากับว่าเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคแล้ว โดยอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจรายปีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1.6% จากที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 2.1%
ที่ปรึกษาคนหนึ่งซึ่งใกล้ชิดกับรัฐบาลญี่ปุ่นบอกว่าสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แบบนี้อาจเป็นผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นชะลอการขึ้นภาษีสินค้าอีกรอบ
ด้านรูเพิร์ธ วิงฟิลด์ เฮยส์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำกรุงโตเกียว บอกว่าเมื่อฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีอาเบะ ประกาศดำเนินกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจที่ได้ยินกันคุ้นหูว่า "อาเบะโนมิกส์" มีเป้าหมายที่จะดึงญี่ปุ่นให้พ้นจากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมานานถึง 20 ปี และทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้เสียที รัฐบาลญี่ปุ่นใช้วิธีปั๊มเงินหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการกระตุ้นการใช้จ่าย ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นเดินหน้าไปไกลกว่านั้นด้วยการออกมาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากตลาด
มาตรการข้างต้นส่งผลสองอย่าง อย่างแรกคือดันให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง ซึ่งทำให้การส่งออกของญี่ปุ่นถูกลง อย่างที่สองทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในหลักทรัพย์แทนพันธบัตร ตลาดหุ้นญี่ปุ่นถึงได้เฟื่องฟู ถึงขั้นที่ว่าเมื่อกลางปีที่แล้วเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นคืนกลับมาอยู่ในระดับที่น่าจะเรียกได้ว่าเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
แต่ว่ามาในต้นปีนี้เองที่รัฐบาลนายอาเบะซึ่งเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจึงหันมาปรับภาษีสินค้าขึ้นจาก 5% เป็น 8% เพื่อหาทางอุดช่องโหว่งบประมาณภาครัฐ แต่ปรากฏว่าผู้บริโภคไม่เอาด้วย และพากันไม่จับจ่ายอย่างที่รัฐบาลคิด นี่ก็เลยทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับไปอยู่ในสภาพถดถอย สาเหตุที่ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเพราะแม้ว่าการที่ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง จะส่งผลดีกับภาคการส่งออก แต่ปรากฏว่านายจ้างกลับไม่ได้เพิ่มเงินเดือนให้พนักงานด้วย
ขณะที่การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่พุ่งกระฉูดก็ส่งผลดีกับคนร่ำรวยเพียงกลุ่มน้อยเท่านั้น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่หรือประมาณ 80% ไม่ได้มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ในทางตรงกันข้าม รายได้ของชาวบ้านในญี่ปุ่นไม่เพิ่มแถมยังจะลดลงด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นนโยบายขึ้นภาษีสินค้าจึงทำให้คนญี่ปุ่นรู้สึกจนลง ก็เลยไม่พากันไปจับจ่ายใช้สอยเสียเลย
--------------------------------
สรุป
ในภาวะ เศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีตังใช้จ่าย ไม่ควรขึ้นภาษี นะคราบบบ
.........เกิดอะไรขึ้นกับ "อาเบะโนมิกส์" .............
.........เกิดอะไรขึ้นกับ "อาเบะโนมิกส์" .............
เกิดอะไรขึ้นกับ "อาเบะโนมิกส์"
เศรษฐกิจญี่ปุ่นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก หดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเท่ากับว่าเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคแล้ว โดยอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจรายปีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1.6% จากที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 2.1%
ที่ปรึกษาคนหนึ่งซึ่งใกล้ชิดกับรัฐบาลญี่ปุ่นบอกว่าสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แบบนี้อาจเป็นผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นชะลอการขึ้นภาษีสินค้าอีกรอบ
ด้านรูเพิร์ธ วิงฟิลด์ เฮยส์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำกรุงโตเกียว บอกว่าเมื่อฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีอาเบะ ประกาศดำเนินกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจที่ได้ยินกันคุ้นหูว่า "อาเบะโนมิกส์" มีเป้าหมายที่จะดึงญี่ปุ่นให้พ้นจากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมานานถึง 20 ปี และทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้เสียที รัฐบาลญี่ปุ่นใช้วิธีปั๊มเงินหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการกระตุ้นการใช้จ่าย ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นเดินหน้าไปไกลกว่านั้นด้วยการออกมาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากตลาด
มาตรการข้างต้นส่งผลสองอย่าง อย่างแรกคือดันให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง ซึ่งทำให้การส่งออกของญี่ปุ่นถูกลง อย่างที่สองทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในหลักทรัพย์แทนพันธบัตร ตลาดหุ้นญี่ปุ่นถึงได้เฟื่องฟู ถึงขั้นที่ว่าเมื่อกลางปีที่แล้วเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นคืนกลับมาอยู่ในระดับที่น่าจะเรียกได้ว่าเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
แต่ว่ามาในต้นปีนี้เองที่รัฐบาลนายอาเบะซึ่งเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจึงหันมาปรับภาษีสินค้าขึ้นจาก 5% เป็น 8% เพื่อหาทางอุดช่องโหว่งบประมาณภาครัฐ แต่ปรากฏว่าผู้บริโภคไม่เอาด้วย และพากันไม่จับจ่ายอย่างที่รัฐบาลคิด นี่ก็เลยทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับไปอยู่ในสภาพถดถอย สาเหตุที่ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเพราะแม้ว่าการที่ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง จะส่งผลดีกับภาคการส่งออก แต่ปรากฏว่านายจ้างกลับไม่ได้เพิ่มเงินเดือนให้พนักงานด้วย
ขณะที่การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่พุ่งกระฉูดก็ส่งผลดีกับคนร่ำรวยเพียงกลุ่มน้อยเท่านั้น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่หรือประมาณ 80% ไม่ได้มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ในทางตรงกันข้าม รายได้ของชาวบ้านในญี่ปุ่นไม่เพิ่มแถมยังจะลดลงด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นนโยบายขึ้นภาษีสินค้าจึงทำให้คนญี่ปุ่นรู้สึกจนลง ก็เลยไม่พากันไปจับจ่ายใช้สอยเสียเลย
--------------------------------
สรุป
ในภาวะ เศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีตังใช้จ่าย ไม่ควรขึ้นภาษี นะคราบบบ