Interstellar (ในมุมมองของแพทย์)




ถ้าใครยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ แนะนำให้ไปดูกันนะครับ
เป็นหนัง Science Fiction ที่ทำได้ดีมากๆเรื่องนึง

มีคนมาตั้งกระทู้วิเคราะห์ หนังเรื่องนี้กันมากมายในพันทิป
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นในมุมของ ฟิสิกส์ และการขยายความต่อของทีมผู้สร้าง

แต่หลังจากได้ไปดูมาด้วยตัวเองแล้ว
ขออนุญาตเขียนมุมมองของตัวเองในฐานะแพทย์คนนึง
เพราะคิดว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจมากๆ และ ยังไม่มีใครพูดถึง


1. ตอนทีมของพระเอกจะออกเดินมางจากโลกไปดาวเสาร์
จะสังเกตว่า ยานอวกาศที่ชื่อว่า Endurance
หน้าตาประหลาดๆ เป็นวงล้อ 12 ชิ้นล้อมรอบ docking port
ซึ่งต่อเข้ากับตัวยาน Lander กับ Ranger
ที่ทีมนักบินอวกาศอาศัยอยู่ในนี้

ก่อนออกเดินทาง วงล้อจะหมุนด้วยความเร็วคงที่ค่าหนึ่ง
เพื่อสร้างแรงโน้มถ่วงภายในห้องโดยสาร ให้ใกล้เคียงกับพื้นผิวโลก
ไม่ได้ทำเพื่อให้รู้สึกสบายนะครับ
แต่ทำเพื่อให้การทำงานของอวัยวะต่างในร่างกายใกล้เคียงปกติที่สุด
สำหรับการเดินทางอันยาวนานในอวกาศ
จากโลกไปดาวเสาร์ ในหนังเรื่องนี้บอกว่า 2 ปี


2. วิวัฒนาการของมนุษย์ รวมถึงการทำงานอวัยวะต่างๆ
กำเนิดขึ้นบนแรงโน้มถ่วงของโลก
หากมนุษย์ต้องไปใช้ชีวิตอยู่นอกแรงโน้มถ่วง
ไม่ว่าจะเป็น zero gravity หรือ แรง g ของดาวเคราะห์ดวงอื่น
ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นกับร้างกายเราแน่นอนได้แก่

ก. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ถือเป็นระบบของไหลที่อิงแรงโน้มถ่วงมากที่สุดในร่างกาย
เมื่อเข้าสู่สภาวะไร้น้ำหนัก
เลือดดำจะเทกลับเข้าหัวใจห้องขวามากฉับพลันทันที
เนื่องจากไม่มีแรงดึงเลือดที่ขาไว้กับพื้นโลก
เปรียบเหมือนยืนอยู่แล้วถูกจับนอนทันที

ในหัวใจปกติไม่เป็นปัญหาอะไรเราสามารถจัดการกับมันได้
เพียงแต่ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจจะเพิ่มขึ้นกะทันหัน
เซนเซอร์ในหัวใจ และ หลอดเลือดที่คอ จะรับรู้แรงดันที่เพิ่มขึ้น
ทำให้หัวใจเต้นช้าลง
หากค้างอยู่ในสภาพนั้น นานกว่านี้
อัตราเร็วของหัวใจจะช้ากว่าปกติ
ปริมาตรน้ำในร่างกายจะลดลง แรงต้านทานในหลอดเลือดแดงลดลง
ความดันโลหิตจะต่ำกว่าปกติ มวลของหัวใจอาจจะลดขนาดลง
สาเหตุหนึ่งมากจาก เซนเซอร์รับแรงดันที่หลอดเลือดคอ จะอ่านแรงดันได้สูงกว่าที่เคย
เนื่องจาก ปัจจัยเรื่องความสูงของเซนเซอร์จากหัวใจไม่มีผลในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง

เหล่านี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในนักบินอวกาศ
ไม่กี่คนของ NASA
แต่ข้อมูลในระยะยาวของมนุษย์เรา ยังมีค่อนข้างจำกัด
อย่างไรก็ตามสามารถคาดเดาได้ว่า มนุษย์ที่ไปใช้ชีวิตในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเวลานานมากๆ กลับมารับแรง g บนพื่นผิวโลก อาจเกิดภาวะการทำงานหัวใจไม่เป็นปกติ หรือ ล้มเหลวได้เช่นกัน

ข. กลศาสตร์ของการหายใจ recoil pressure ไม่ได้รับผลกระทบมากนักในสภาพไร้น้ำหนัก

ค. กล้ามเนื้อจะอ่อนแอลง รวมทั้งโอกาสเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดขาก็สูงขึ้น

*** ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของการออกแบบยาน Endurance ให้ปั่นกำเนิดแรง g ขึ้นภายในห้องโดนสารนั่นเอง


3. ใครไปดูมาจะเห็นตอนที่ ทีมพระเอกเข้าไปนอนในแคปซูล
หรือ cryo-sleep อันนี้ ยังไม่มีจริงในโลกเรานะครับ
และคิดว่าคงอีกนานมากๆ
ที่คล้ายคลึงที่สุด เป็นแค่การแช่เย็นคนไข้ ที่เรียกว่า therapeutic hypothermia
หลายๆรพ.ในบ้านเราก็ทำนะครับ

โดยการให้สารน้ำอุณหภูมิต่ำ 4c เข้าเส้นเลือด ห่อหุ้มคนไข้ไว้ด้วยน้ำแข็ง
รักษาอุณหภูมิคนไข้ไว้ที่ 34c
เราจะทำในคนไข้ที่หัวใจหยุดทำงานฉับพลัน (cardiac arrest)
และคนไข้ไม่ฟื้นคืนสติ แต่หัวใจยังสามารถกลับมาทำงานได้
จุดประสงค์คือทำเพื่อ
ให้เซลล์สมองใช้พลังงานให้น้อยที่สุด
ลดการตายของเซลล์สมองให้มากที่สุด
แต่ทำได้แค่ไม่กี่วันก็ต้องปรับอุณหภูมิกลับคืนมา

เรายังไม่มีข้อบ่งใช้ในคนที่รู้ตัวปกติ
และตอนอุ่นคนไข้กลับมา (rewarming) มีปัญหาเกิดได้ค่อนข้างมาก
เนื่องจาก ความไม่สมดุลย์กันของ
ตวามต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อ และ ปริมาณออกซิเจนที่ส่งออกไป ในช่วงฟิ้นอุณหภูมิกลับมา

อาจกล่าวได้ว่าตอนแช่แข็งไม่ยากเท่าตอนฟื้นให้กลับมา

ในหนังเรื่องนี้ทำขัดตานิดๆ คือผมเข้าใจว่า
ของเหลวที่ให้ทีมพระเอกนอนลงไป คงจะเป็น ไนโตรเจนเหลว
แนวคิดแบบแช่แข็งหรือ แนวคิดแบบ cryonics
แต่ไม่มีการปกป้องทางเดินหายใจ หรือ ทำให้หมดสติก่อน
คือแช่ลงไปเลย อีกอย่างคือตอนฟื้นขึ้นมา มันช่างง่ายดายเหลือเกิน
แถมกล้ามเนื่อไม่มีการฝ่อลงไปแต่อย่างใด
เหมือนทีวีฮิตาชิสมัยก่อน ภายใต้สโลแกน 'เปิดปุ๊ปติดปั๊ป'
แต่ก็พยายามเข้าใจว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ตามท้องเรื่อง
ข้ามขีดจำกัดเหล่านี้ไปหมดแล้ว


ถึงแม้ผมจะไม่ใช่นักฟิสิกส์ แต่เชื่อว่าการที่เราจะเดินทางออกนอกระบบดวงอาทิตย์ไปได้ อาจต้องอาศัยกรอบความคิดอื่นที่ไม่ใช่นิวตัน
น่าสนใจนะครับ การปล่อยยานอวกาศรวมทั้งการลงจอดบนดาวหางเมื่อไม่กี่วันก่อน ซึ่งต้องบอกว่าสุดยอดมากๆ
ก็ยังอิงอยู่บนกรอบความคิดหรือกฎที่คิดไว้หลายร้อยปีก่อนอยู่เลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่