ทวิฆาต (The Man Who Died Twice)
บทนำ :
http://ppantip.com/topic/32351131
ตอนที่ 1 :
http://ppantip.com/topic/32376238
ตอนที่ 2 :
http://ppantip.com/topic/32406733
ตอนที่ 3 :
http://ppantip.com/topic/32454296
ตอนที่ 4 :
http://ppantip.com/topic/32633276
Guido Reni's St. Sebastian at Dulwich Picture Gallery, Southwalk, London
--------------------------------------------------------------------------------
(5)
โคเวนท์การ์เดน, ลอนดอน, 22 มกราคม 1889
เป็นความจริงที่ข้าพเจ้าตั้งใจมาที่โรงแรมเรจินัลด์ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้คิดจะลอบสังเกตว่าใครเป็นผู้ว่าจ้างให้เบนเน็ต ดาลบี้ เพื่อนร่วมบ้านเช่าของข้าพเจ้าวาดภาพนักบุญเซบาสเตียนเพื่อมอบให้แก่ ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์แต่อย่างใด เพราะข้าพเจ้าทราบว่า เขาผู้นั้นเป็นใคร ตั้งแต่เห็นภาพที่เบนเน็ตต์วาดให้ข้าพเจ้าดู หากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่ข้าพเจ้ามา ณ สถานที่แห่งนี้นั้น ก็เพื่อพบกับบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งถูกกล่าวถึงในคดี นั่นคือ ร้อยเอกแม็กซิมิเลียน บาร์เทิลบี้ นายทหารจากสมรภูมิอาบูเคลียและเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพันเอกออกัสต์ โกลด์เบิร์กเช่นเดียวกับ ‘ร้อยโทเซบาสเตียน อาร์เชอร์’ ผู้ตาย
ในการนี้ ข้าพเจ้าต้องยกความดีความชอบให้แก่ตำรวจสืบสวนประจำดิวิชั่นเอ เขตเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งไปหาข้อมูลเกี่ยวกับแขกที่เข้าพักในโรงแรมเรจินัลด์ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาให้ข้าพเจ้าจนได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงนับแต่ข้าพเจ้าส่งโทรเลขไปถึง และตอบกลับมาก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะถูกผู้บังคับการสก็อตแลนด์ยาร์ดเรียกเข้าไปหารือ
ไม่เพียงแต่เรื่องของร้อยเอกบาร์เทิลบี้ หลังจากทราบชื่อของผู้ตายจากเอกสารที่ติดตัวเขามาแล้ว ตำรวจประจำเขตเวสต์มินสเตอร์ก็ยังได้ข้อมูลที่อยู่ปัจจุบันของ ‘เอ็ดมันด์ อาร์เชอร์’ บรรณารักษ์ประจำสมาคมการสำรวจอัฟริกา และ ‘พี่ชาย’ คนเดียวของ ‘เซบาสเตียน ฟอล์กเนอร์’ มาอีกด้วย ข้าพเจ้ายอมรับว่า การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตนี้ค่อนข้างราบรื่นและได้รับความร่วมมือในระดับที่น่าพอใจ
สารวัตรเฟรเดอริค เชพพาร์ดแห่งสถานีตำรวจเวสต์มินสเตอร์แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า เขาไม่สามารถติดต่อกับเอ็ดมันด์ อาร์เชอร์ ญาติเพียงคนเดียวที่ร้อยโทเซบาสเตียนมีอยู่ได้ เนื่องจากเขาลาหยุดงานเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เพื่อจัดการเรื่องส่วนตัวบางประการ โดยไม่ได้ให้รายละเอียดว่า ไปที่ไหนอย่างไร ส่วนเพื่อนร่วมบ้านเช่าก็รู้จักเขาแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น ไม่รู้ความเป็นไปใด ๆ ของเขาทั้งสิ้น ส่วนเจ้าของบ้านเช่าเอง ก็ทราบแต่เพียงชื่อเสียงเรียงนาม หน้าที่การงาน และได้สนทนากันตามมารยาทเท่านั้น
สิ่งที่ได้ทราบ ทำให้ข้าพเจ้าอดคิดไม่ได้ว่า พี่น้องอาร์เชอร์ทั้งสองเหมาะแก่การทำงานเป็นสายลับหรือข่าวกรองอย่างยิ่ง เพราะเริ่มจากการที่เขาสลับตัวกันและใช้ชีวิตของตนภายใต้ชื่อของอีกฝ่ายมาได้ตลอดหลายปี โดยแทบไม่มีใครจับได้นั้น ย่อมหมายความว่า พวกเขาสามารถปลอมตัว เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ มิหนำซ้ำยังไม่ทำตัวให้อยู่ความสนใจของใครอีกด้วย ข้าพเจ้าจะไม่แปลกใจเลย หากการณ์ปรากฏต่อมาว่า เซบาสเตียนตัวจริง ที่ใช้ชีวิตในนามเอ็ดมันด์ บรรณารักษ์ห้องสมุดสโมสรสำรวจอัฟริกาจะเป็นสายลับของทางการด้วยอีกคนหนึ่ง
ท้ายที่สุดแล้ว เซบาสเตียน อาร์เชอร์ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นชายผู้ตายสองครั้งเช่นเดียวกับนักบุญเซบาสเตียน ซึ่งมีวันฉลองในวันที่ 20 มกราคมที่เขาสิ้นลมนั่นเอง โดยครั้งแรก เป็นความตายของเซบาสเตียนซึ่งเป็นเปลือกนอกที่ผู้อื่นยืมใช้ และครั้งที่สอง เป็นความตายที่แท้จริงของเขาผู้เป็นเจ้าของชื่อเซบาสเตียน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ่ายวันฉลองนักบุญเซบาสเตียนไม่ใช่จุดเริ่มต้นของคดีนี้เสียทีเดียว หากจุดเริ่มต้นที่แท้จริงในความคิดของข้าพเจ้านั้น คือ การที่ทิโมธี ฟอล์กเนอร์ซึ่งเป็นคนของรัฐบาลรู้ความลับของสองพี่น้องอาร์เชอร์ และเลือกให้เอ็ดมันด์ทำงานเป็นสายลับในกองทัพ เพื่อสืบว่ามีผู้ที่คิดขัดขวางการปฏิบัติการช่วยเหลือนายพลกอร์ดอนหรือไม่ อีกทั้งยังมอบหมายให้น้องชายแท้ ๆ ของตนเองเป็นผู้ช่วยเหลือในปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ พันเอกออกัสต์ โกลด์เบิร์ก หนึ่งในผู้บังคับกองพันและเป็นผู้คุมบัญชีและข้อมูลด้านยุทโธปกรณ์รวมถึงสัตว์พาหนะ และมีร้อยเอกแม็กซิมิเลียน บาร์เทิลบี้ นายทหารคนสนิทเป็นผู้ช่วยอีกทางหนึ่ง
หากเป็นข้าพเจ้า การล้วงเอาความลับจากพันเอกโกลด์เบิร์กตั้งแต่ต้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเข้าทางนายทหารที่ยศและวัยใกล้เคียงกันอย่างร้อยเอกบาร์เทิลบี้ดูจะง่ายกว่า และจากข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับจาก ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์ พบว่า ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ที่อียิปต์และซูดาน เอ็ดมันด์ในนามของเซบาสเตียน สนิทสนมกับร้อยเอกบาร์เทิลบี้ค่อนข้างมาก ก่อนที่จะได้รับความไว้วางใจจากพันเอกโกลด์เบิร์กให้เป็นนายทหารคนสนิท ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ คัดกรองจดหมายและเอกสารเข้าออก เขาจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ได้โดยตรง ในขณะที่การส่งผ่านข้อมูลเพื่อรายงานความเคลื่อนไหวหรือความผิดปกติไปยังรัฐบาล เขาทำผ่าน ดร. ฟอล์กเนอร์ ซึ่งเป็นน้องชายของทิโมธี ฟอล์กเนอร์ทางหนึ่ง และยังมีทางอื่นอีก ซึ่งในข้อนี้ ดร. ฟอล์กเนอร์ยอมรับว่าไม่ทราบ
ในข้อดังกล่าว ข้าพเจ้าสันนิษฐานเอาไว้ว่า เมื่อมีการสลับตัวกันเกิดขึ้น คนที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบย่อมไม่ได้มีแต่เอ็ดมันด์ ซึ่งปลอมเป็นเซบาสเตียนแต่เพียงผู้เดียว หากยังรวมไปถึงเซบาสเตียน ซึ่งให้เอ็ดมันด์นำชื่อของตนเองไปใช้ด้วยอีกคนหนึ่ง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เซบาสเตียนตัวจริง ที่ทำงานเป็นบรรณารักษ์สมาคมสำรวจอัฟริกา ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนายทหารที่เคยปฏิบัติงานในภูมิภาคดังกล่าว นักวิชาการด้วยสังคมและประวัติศาสตร์ จะเป็นคนกลางรับข้อมูลจากน้องชายเพื่อส่งต่อไปยังรัฐบาลอย่างลับ ๆ อีกทอดหนึ่ง โดยใช้สถานะความเป็นพี่น้องในการติดต่อสื่อสารกันตามปกติเป็นประโยชน์ เช่นเดียวกับที่ทิโมธีใช้โทเบียส ฟอล์กเนอร์ น้องชายของตนเองเป็นผู้ให้ความสะดวกแก่สายลับนั่นเอง
อย่างที่เห็นในจดหมายส่งถึง ดร. ฟอล์กเนอร์ ลายมือในจดหมายมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและถูกแบบแผน แม้จะว่าจะเขียนด้วยความรีบเร่ง บ่งบอกถึงระดับการศึกษาและหน้าที่การงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานราชการ
ความเป็นไปได้ที่เซบาสเตียน และเอ็ดมันด์ (ต่อไปนี้ เมื่อพูดถึงนายทหารซึ่งเสียชีวิตที่ซูดาน ข้าพเจ้าจะหมายความถึง ร้อยโทอาร์เชอร์ ส่วนมิสเตอร์อาร์เชอร์ คือ บรรณารักษ์ห้องสมุดซึ่งเสียชีวิตที่เซนต์เจมส์พาร์ก) จะร่วมกันทำงานเป็นสายลับให้แก่รัฐบาลจึงมีสูงมาก แต่จุดพลิกผันที่สุดของเรื่องนี้ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ไม่ใช่ความล้มเหลวของแผนปฏิบัติการช่วยเหลือนายพลกอร์ดอน แต่เป็นความตายของสายลับอย่างร้อยโทอาร์เชอร์ต่างหาก
ในการสู้รบที่อาบูเคลีย การประเมินข้อมูลและตระเตรียมยุทโธปกรณ์ผิดพลาด เนื่องจากการให้ข้อมูลที่จงใจทำให้คลาดเคลื่อนแทบไม่มีผลอะไรในสถานการณ์เช่นว่า เพราะสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ล่วงหน้า คือ การที่กลุ่มมาห์ดิสต์บุกเข้าจู่โจมระหว่างจนทำให้ต้องตั้งรับกันกลางทะเลทราย ด้วยกำลังพลที่น้อยกว่าฝ่ายข้าศึกกว่าสองเท่า แม้จะมีอาวุธพร้อมสรรพกว่าที่เป็นอยู่ ผลการต่อสู้ก็ไม่อาจคาดการณ์ได้ โอกาสแพ้และชนะมีพอกันคือครึ่งต่อครึ่ง แต่สิ่งที่ทำให้การช่วยเหลือนายพลกอร์ดอนไม่เป็นไปตามแผนยิ่งกว่า คือ การที่ต้องรอให้ต่อเรือกลไฟล่องแม่น้ำไนล์พากำลังพลที่เหลือขึ้นไปยังกรุงคาทูม เพราะกว่าจะดำเนินการต่อเรือและเคลื่อนย้ายกำลังพล ก็ล่าช้าเกินไปสำหรับการนำกำลังไปเสริมเสียแล้ว และต่อให้หน่วยเคลื่อนที่เร็วไปถึงกรุงคาทูมก่อน ด้วยสภาพทหารที่เหนื่อยล้าและบอบช้ำมาจากการเดินทางและการต่อสู้ การยึดกรุงคาทูมคืนจากฝ่ายกองกำลังของซูดานก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
การแพ้ชนะในสงครามเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุปัจจัยใด ๆ แต่ความตายของร้อยโทอาร์เชอร์ไม่ใช่เรื่องปกติ แม้จะเป็นการเสียชีวิตระหว่างการสู้รบก็ตาม
หากข้อสันนิษฐานของข้าพเจ้าถูกต้อง ผู้รู้เรื่องและควรที่ทำหน้าที่รายงานการเสียชีวิตของ ‘ร้อยโทเซบาสเตียน อาร์เชอร์’ ในฐานะสายลับของรัฐบาลให้แก่ญาติสนิทคนเดียวที่เขามีอยู่ คือ ‘เอ็ดมันด์ อาร์เชอร์’ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่พ้น ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์ หากเขาบอกแก่ข้าพเจ้าว่า เขาไม่เคยพบกับเซบาสเตียน ตัวจริงมาก่อน เนื่องจากเมื่อกลับมาถึงอังกฤษแล้ว ทิโมธี ฟอล์กเนอร์เป็นคนรับเรื่องไว้ทั้งหมดและเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างต่อด้วยตนเอง ส่วนหน้าที่ผู้ช่วยเหลือสายลับของรัฐบาลของเขาก็ได้สิ้นสุดลงในวันนั้นนั่นเอง
หลังจากกลับเข้าทำงานเป็นศัลยแพทย์ในโรงพยาบาลในกรุงลอนดอนตามคำชักชวนของเพื่อนสมัยเรียนและอาจารย์ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศัลยแพทย์ตำรวจประจำดิวิชั่นเอช ไวท์ชาเพิล ดร. ฟอล์กเนอร์ก็ปฏิเสธที่จะกลับไปทำงานในกองทัพ หรือเข้าร่วมสมาคมใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทหารและทวีปอัฟริกาอีก หรือพูดให้ถูกต้องกว่านั้น คือ เขาปฏิเสธที่จะออกงานสังคมหรือไปสโมสรของสุภาพบุรุษแทบทุกแห่งหากไม่จำเป็น มีเพียงอย่างเดียวที่เขาเต็มใจสมัครเป็นสมาชิก คือ ห้องสมุดเท่านั้น
ข้าพเจ้ารู้ว่า ดร. ฟอล์กเนอร์อยากลืมเรื่องดังกล่าวไปเสีย และคงไม่ทราบตื้นลึกหนาบางมากไปกว่าที่เล่าให้ข้าพเจ้าฟัง แต่มิสเตอร์อาร์เชอร์ ผู้พี่เล่า จะคิดอย่างไร เมื่อทราบว่าร้อยโทอาร์เชอร์ น้องชายของตนเสียชีวิตที่ซูดานอย่างมีเงื่อนงำ
หากเซบาสเตียน อาร์เชอร์ติดใจสงสัยเกี่ยวกับการตายของเอ็ดมันด์ซึ่งใช้ชื่อของเขาไปปฏิบัติราชการที่ซูดาน ทำไมจึงไม่มีความเคลื่อนไหวตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา เหตุผลเดียวที่ข้าพเจ้าคิดได้ คือ เพราะตลอดระยะเวลาดังกล่าว ผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการตายของเอ็ดมันด์มากที่สุด คือ พันเอกโกลด์เบิร์ก และร้อยเอกบาร์เทิลบี้ ยังคงอยู่ในอัฟริกา แล้วเพราะเหตุใดเขาจึงไม่ติดต่อกับ ดร. ฟอล์กเนอร์ตั้งแต่แรกเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง เหตุผลที่ข้าพเจ้านึกออก คือ นิสัยเก็บตัวร่วมกับอาการบาดเจ็บที่ขาซึ่งทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวกนักของศัลยแพทย์ผู้นี้นั่นเอง ที่ทำให้เขาเงียบหายไปจากวงสังคมของลอนดอนจนแทบไม่มีใครรู้จัก นอกจากคนที่ต้องทำงานร่วมกันและเพื่อนเท่านั้น
หากข้าพเจ้าเป็นเซบาสเตียน ปีนี้ย่อมเป็นปีที่เหมาะสมที่สุดที่จะไขความกระจ่างเกี่ยวกับการเสียชีวิตของน้องชาย เพราะบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหวนกลับมารวมตัวกันในลอนดอนพอดี โดยพันเอกโกลด์เบิร์กและร้อยเอกบาร์เทิลบี้ กลับมารับราชการในอังกฤษ และ ดร. ฟอล์กเนอร์ เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ในฐานะศัลยแพทย์ตำรวจในคดีฆาตกรรมเจมส์ พ็อตต์ หรือ คดีมือผีที่บัคเคิลสตรีทเมื่อปลายปีก่อน ซึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่างพากันประโคมข่าวอย่างเอิกเกริก การสืบหาที่อยู่และนัดพบแต่ละคนเพื่อถามหาความจริงที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขาอีกต่อไป
(มีต่อนะคะ)
Dark Tales of London: ทวิฆาต (The Man Who Died Twice) - ตอนที่ 5
บทนำ : http://ppantip.com/topic/32351131
ตอนที่ 1 : http://ppantip.com/topic/32376238
ตอนที่ 2 : http://ppantip.com/topic/32406733
ตอนที่ 3 : http://ppantip.com/topic/32454296
ตอนที่ 4 : http://ppantip.com/topic/32633276
--------------------------------------------------------------------------------
(5)
เป็นความจริงที่ข้าพเจ้าตั้งใจมาที่โรงแรมเรจินัลด์ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้คิดจะลอบสังเกตว่าใครเป็นผู้ว่าจ้างให้เบนเน็ต ดาลบี้ เพื่อนร่วมบ้านเช่าของข้าพเจ้าวาดภาพนักบุญเซบาสเตียนเพื่อมอบให้แก่ ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์แต่อย่างใด เพราะข้าพเจ้าทราบว่า เขาผู้นั้นเป็นใคร ตั้งแต่เห็นภาพที่เบนเน็ตต์วาดให้ข้าพเจ้าดู หากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่ข้าพเจ้ามา ณ สถานที่แห่งนี้นั้น ก็เพื่อพบกับบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งถูกกล่าวถึงในคดี นั่นคือ ร้อยเอกแม็กซิมิเลียน บาร์เทิลบี้ นายทหารจากสมรภูมิอาบูเคลียและเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพันเอกออกัสต์ โกลด์เบิร์กเช่นเดียวกับ ‘ร้อยโทเซบาสเตียน อาร์เชอร์’ ผู้ตาย
ในการนี้ ข้าพเจ้าต้องยกความดีความชอบให้แก่ตำรวจสืบสวนประจำดิวิชั่นเอ เขตเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งไปหาข้อมูลเกี่ยวกับแขกที่เข้าพักในโรงแรมเรจินัลด์ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาให้ข้าพเจ้าจนได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงนับแต่ข้าพเจ้าส่งโทรเลขไปถึง และตอบกลับมาก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะถูกผู้บังคับการสก็อตแลนด์ยาร์ดเรียกเข้าไปหารือ
ไม่เพียงแต่เรื่องของร้อยเอกบาร์เทิลบี้ หลังจากทราบชื่อของผู้ตายจากเอกสารที่ติดตัวเขามาแล้ว ตำรวจประจำเขตเวสต์มินสเตอร์ก็ยังได้ข้อมูลที่อยู่ปัจจุบันของ ‘เอ็ดมันด์ อาร์เชอร์’ บรรณารักษ์ประจำสมาคมการสำรวจอัฟริกา และ ‘พี่ชาย’ คนเดียวของ ‘เซบาสเตียน ฟอล์กเนอร์’ มาอีกด้วย ข้าพเจ้ายอมรับว่า การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตนี้ค่อนข้างราบรื่นและได้รับความร่วมมือในระดับที่น่าพอใจ
สารวัตรเฟรเดอริค เชพพาร์ดแห่งสถานีตำรวจเวสต์มินสเตอร์แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า เขาไม่สามารถติดต่อกับเอ็ดมันด์ อาร์เชอร์ ญาติเพียงคนเดียวที่ร้อยโทเซบาสเตียนมีอยู่ได้ เนื่องจากเขาลาหยุดงานเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เพื่อจัดการเรื่องส่วนตัวบางประการ โดยไม่ได้ให้รายละเอียดว่า ไปที่ไหนอย่างไร ส่วนเพื่อนร่วมบ้านเช่าก็รู้จักเขาแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น ไม่รู้ความเป็นไปใด ๆ ของเขาทั้งสิ้น ส่วนเจ้าของบ้านเช่าเอง ก็ทราบแต่เพียงชื่อเสียงเรียงนาม หน้าที่การงาน และได้สนทนากันตามมารยาทเท่านั้น
สิ่งที่ได้ทราบ ทำให้ข้าพเจ้าอดคิดไม่ได้ว่า พี่น้องอาร์เชอร์ทั้งสองเหมาะแก่การทำงานเป็นสายลับหรือข่าวกรองอย่างยิ่ง เพราะเริ่มจากการที่เขาสลับตัวกันและใช้ชีวิตของตนภายใต้ชื่อของอีกฝ่ายมาได้ตลอดหลายปี โดยแทบไม่มีใครจับได้นั้น ย่อมหมายความว่า พวกเขาสามารถปลอมตัว เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ มิหนำซ้ำยังไม่ทำตัวให้อยู่ความสนใจของใครอีกด้วย ข้าพเจ้าจะไม่แปลกใจเลย หากการณ์ปรากฏต่อมาว่า เซบาสเตียนตัวจริง ที่ใช้ชีวิตในนามเอ็ดมันด์ บรรณารักษ์ห้องสมุดสโมสรสำรวจอัฟริกาจะเป็นสายลับของทางการด้วยอีกคนหนึ่ง
ท้ายที่สุดแล้ว เซบาสเตียน อาร์เชอร์ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นชายผู้ตายสองครั้งเช่นเดียวกับนักบุญเซบาสเตียน ซึ่งมีวันฉลองในวันที่ 20 มกราคมที่เขาสิ้นลมนั่นเอง โดยครั้งแรก เป็นความตายของเซบาสเตียนซึ่งเป็นเปลือกนอกที่ผู้อื่นยืมใช้ และครั้งที่สอง เป็นความตายที่แท้จริงของเขาผู้เป็นเจ้าของชื่อเซบาสเตียน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ่ายวันฉลองนักบุญเซบาสเตียนไม่ใช่จุดเริ่มต้นของคดีนี้เสียทีเดียว หากจุดเริ่มต้นที่แท้จริงในความคิดของข้าพเจ้านั้น คือ การที่ทิโมธี ฟอล์กเนอร์ซึ่งเป็นคนของรัฐบาลรู้ความลับของสองพี่น้องอาร์เชอร์ และเลือกให้เอ็ดมันด์ทำงานเป็นสายลับในกองทัพ เพื่อสืบว่ามีผู้ที่คิดขัดขวางการปฏิบัติการช่วยเหลือนายพลกอร์ดอนหรือไม่ อีกทั้งยังมอบหมายให้น้องชายแท้ ๆ ของตนเองเป็นผู้ช่วยเหลือในปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ พันเอกออกัสต์ โกลด์เบิร์ก หนึ่งในผู้บังคับกองพันและเป็นผู้คุมบัญชีและข้อมูลด้านยุทโธปกรณ์รวมถึงสัตว์พาหนะ และมีร้อยเอกแม็กซิมิเลียน บาร์เทิลบี้ นายทหารคนสนิทเป็นผู้ช่วยอีกทางหนึ่ง
หากเป็นข้าพเจ้า การล้วงเอาความลับจากพันเอกโกลด์เบิร์กตั้งแต่ต้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเข้าทางนายทหารที่ยศและวัยใกล้เคียงกันอย่างร้อยเอกบาร์เทิลบี้ดูจะง่ายกว่า และจากข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับจาก ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์ พบว่า ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ที่อียิปต์และซูดาน เอ็ดมันด์ในนามของเซบาสเตียน สนิทสนมกับร้อยเอกบาร์เทิลบี้ค่อนข้างมาก ก่อนที่จะได้รับความไว้วางใจจากพันเอกโกลด์เบิร์กให้เป็นนายทหารคนสนิท ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ คัดกรองจดหมายและเอกสารเข้าออก เขาจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ได้โดยตรง ในขณะที่การส่งผ่านข้อมูลเพื่อรายงานความเคลื่อนไหวหรือความผิดปกติไปยังรัฐบาล เขาทำผ่าน ดร. ฟอล์กเนอร์ ซึ่งเป็นน้องชายของทิโมธี ฟอล์กเนอร์ทางหนึ่ง และยังมีทางอื่นอีก ซึ่งในข้อนี้ ดร. ฟอล์กเนอร์ยอมรับว่าไม่ทราบ
ในข้อดังกล่าว ข้าพเจ้าสันนิษฐานเอาไว้ว่า เมื่อมีการสลับตัวกันเกิดขึ้น คนที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบย่อมไม่ได้มีแต่เอ็ดมันด์ ซึ่งปลอมเป็นเซบาสเตียนแต่เพียงผู้เดียว หากยังรวมไปถึงเซบาสเตียน ซึ่งให้เอ็ดมันด์นำชื่อของตนเองไปใช้ด้วยอีกคนหนึ่ง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เซบาสเตียนตัวจริง ที่ทำงานเป็นบรรณารักษ์สมาคมสำรวจอัฟริกา ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนายทหารที่เคยปฏิบัติงานในภูมิภาคดังกล่าว นักวิชาการด้วยสังคมและประวัติศาสตร์ จะเป็นคนกลางรับข้อมูลจากน้องชายเพื่อส่งต่อไปยังรัฐบาลอย่างลับ ๆ อีกทอดหนึ่ง โดยใช้สถานะความเป็นพี่น้องในการติดต่อสื่อสารกันตามปกติเป็นประโยชน์ เช่นเดียวกับที่ทิโมธีใช้โทเบียส ฟอล์กเนอร์ น้องชายของตนเองเป็นผู้ให้ความสะดวกแก่สายลับนั่นเอง
อย่างที่เห็นในจดหมายส่งถึง ดร. ฟอล์กเนอร์ ลายมือในจดหมายมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและถูกแบบแผน แม้จะว่าจะเขียนด้วยความรีบเร่ง บ่งบอกถึงระดับการศึกษาและหน้าที่การงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานราชการ
ความเป็นไปได้ที่เซบาสเตียน และเอ็ดมันด์ (ต่อไปนี้ เมื่อพูดถึงนายทหารซึ่งเสียชีวิตที่ซูดาน ข้าพเจ้าจะหมายความถึง ร้อยโทอาร์เชอร์ ส่วนมิสเตอร์อาร์เชอร์ คือ บรรณารักษ์ห้องสมุดซึ่งเสียชีวิตที่เซนต์เจมส์พาร์ก) จะร่วมกันทำงานเป็นสายลับให้แก่รัฐบาลจึงมีสูงมาก แต่จุดพลิกผันที่สุดของเรื่องนี้ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ไม่ใช่ความล้มเหลวของแผนปฏิบัติการช่วยเหลือนายพลกอร์ดอน แต่เป็นความตายของสายลับอย่างร้อยโทอาร์เชอร์ต่างหาก
ในการสู้รบที่อาบูเคลีย การประเมินข้อมูลและตระเตรียมยุทโธปกรณ์ผิดพลาด เนื่องจากการให้ข้อมูลที่จงใจทำให้คลาดเคลื่อนแทบไม่มีผลอะไรในสถานการณ์เช่นว่า เพราะสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ล่วงหน้า คือ การที่กลุ่มมาห์ดิสต์บุกเข้าจู่โจมระหว่างจนทำให้ต้องตั้งรับกันกลางทะเลทราย ด้วยกำลังพลที่น้อยกว่าฝ่ายข้าศึกกว่าสองเท่า แม้จะมีอาวุธพร้อมสรรพกว่าที่เป็นอยู่ ผลการต่อสู้ก็ไม่อาจคาดการณ์ได้ โอกาสแพ้และชนะมีพอกันคือครึ่งต่อครึ่ง แต่สิ่งที่ทำให้การช่วยเหลือนายพลกอร์ดอนไม่เป็นไปตามแผนยิ่งกว่า คือ การที่ต้องรอให้ต่อเรือกลไฟล่องแม่น้ำไนล์พากำลังพลที่เหลือขึ้นไปยังกรุงคาทูม เพราะกว่าจะดำเนินการต่อเรือและเคลื่อนย้ายกำลังพล ก็ล่าช้าเกินไปสำหรับการนำกำลังไปเสริมเสียแล้ว และต่อให้หน่วยเคลื่อนที่เร็วไปถึงกรุงคาทูมก่อน ด้วยสภาพทหารที่เหนื่อยล้าและบอบช้ำมาจากการเดินทางและการต่อสู้ การยึดกรุงคาทูมคืนจากฝ่ายกองกำลังของซูดานก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
การแพ้ชนะในสงครามเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุปัจจัยใด ๆ แต่ความตายของร้อยโทอาร์เชอร์ไม่ใช่เรื่องปกติ แม้จะเป็นการเสียชีวิตระหว่างการสู้รบก็ตาม
หากข้อสันนิษฐานของข้าพเจ้าถูกต้อง ผู้รู้เรื่องและควรที่ทำหน้าที่รายงานการเสียชีวิตของ ‘ร้อยโทเซบาสเตียน อาร์เชอร์’ ในฐานะสายลับของรัฐบาลให้แก่ญาติสนิทคนเดียวที่เขามีอยู่ คือ ‘เอ็ดมันด์ อาร์เชอร์’ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่พ้น ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์ หากเขาบอกแก่ข้าพเจ้าว่า เขาไม่เคยพบกับเซบาสเตียน ตัวจริงมาก่อน เนื่องจากเมื่อกลับมาถึงอังกฤษแล้ว ทิโมธี ฟอล์กเนอร์เป็นคนรับเรื่องไว้ทั้งหมดและเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างต่อด้วยตนเอง ส่วนหน้าที่ผู้ช่วยเหลือสายลับของรัฐบาลของเขาก็ได้สิ้นสุดลงในวันนั้นนั่นเอง
หลังจากกลับเข้าทำงานเป็นศัลยแพทย์ในโรงพยาบาลในกรุงลอนดอนตามคำชักชวนของเพื่อนสมัยเรียนและอาจารย์ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศัลยแพทย์ตำรวจประจำดิวิชั่นเอช ไวท์ชาเพิล ดร. ฟอล์กเนอร์ก็ปฏิเสธที่จะกลับไปทำงานในกองทัพ หรือเข้าร่วมสมาคมใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทหารและทวีปอัฟริกาอีก หรือพูดให้ถูกต้องกว่านั้น คือ เขาปฏิเสธที่จะออกงานสังคมหรือไปสโมสรของสุภาพบุรุษแทบทุกแห่งหากไม่จำเป็น มีเพียงอย่างเดียวที่เขาเต็มใจสมัครเป็นสมาชิก คือ ห้องสมุดเท่านั้น
ข้าพเจ้ารู้ว่า ดร. ฟอล์กเนอร์อยากลืมเรื่องดังกล่าวไปเสีย และคงไม่ทราบตื้นลึกหนาบางมากไปกว่าที่เล่าให้ข้าพเจ้าฟัง แต่มิสเตอร์อาร์เชอร์ ผู้พี่เล่า จะคิดอย่างไร เมื่อทราบว่าร้อยโทอาร์เชอร์ น้องชายของตนเสียชีวิตที่ซูดานอย่างมีเงื่อนงำ
หากเซบาสเตียน อาร์เชอร์ติดใจสงสัยเกี่ยวกับการตายของเอ็ดมันด์ซึ่งใช้ชื่อของเขาไปปฏิบัติราชการที่ซูดาน ทำไมจึงไม่มีความเคลื่อนไหวตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา เหตุผลเดียวที่ข้าพเจ้าคิดได้ คือ เพราะตลอดระยะเวลาดังกล่าว ผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการตายของเอ็ดมันด์มากที่สุด คือ พันเอกโกลด์เบิร์ก และร้อยเอกบาร์เทิลบี้ ยังคงอยู่ในอัฟริกา แล้วเพราะเหตุใดเขาจึงไม่ติดต่อกับ ดร. ฟอล์กเนอร์ตั้งแต่แรกเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง เหตุผลที่ข้าพเจ้านึกออก คือ นิสัยเก็บตัวร่วมกับอาการบาดเจ็บที่ขาซึ่งทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวกนักของศัลยแพทย์ผู้นี้นั่นเอง ที่ทำให้เขาเงียบหายไปจากวงสังคมของลอนดอนจนแทบไม่มีใครรู้จัก นอกจากคนที่ต้องทำงานร่วมกันและเพื่อนเท่านั้น
หากข้าพเจ้าเป็นเซบาสเตียน ปีนี้ย่อมเป็นปีที่เหมาะสมที่สุดที่จะไขความกระจ่างเกี่ยวกับการเสียชีวิตของน้องชาย เพราะบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหวนกลับมารวมตัวกันในลอนดอนพอดี โดยพันเอกโกลด์เบิร์กและร้อยเอกบาร์เทิลบี้ กลับมารับราชการในอังกฤษ และ ดร. ฟอล์กเนอร์ เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ในฐานะศัลยแพทย์ตำรวจในคดีฆาตกรรมเจมส์ พ็อตต์ หรือ คดีมือผีที่บัคเคิลสตรีทเมื่อปลายปีก่อน ซึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่างพากันประโคมข่าวอย่างเอิกเกริก การสืบหาที่อยู่และนัดพบแต่ละคนเพื่อถามหาความจริงที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขาอีกต่อไป
(มีต่อนะคะ)