..."เพื่อนของโสเครติส...ว่าด้วยเรื่องกัลยาณมิตร"...
...เห็นด้วยหรือไม่ว่า “การมีเพื่อนหรือกัลยาณมิตรดีดีสักคนไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือการรักษาเพื่อนหรือกัลยาณมิตรดีดีไว้ได้หรือไม่นี่สิเรื่องใหญ่”
วันนี้วันโกนจึงขอหยิบยกว่าด้วยเรื่องกัลยาณมิตร
ซึ่งเป็นนิทานธรรมของดร.เอ๋ย มานำเสนอแด่กัลยาณมิตรผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน
สมัยกรีซโบราณ โสเครติสได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่
วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งถามท่านว่า...
“ท่านทราบไหมว่าผมเพิ่งได้ยินเรื่องอะไรเกี่ยวกับเพื่อนของท่าน”
“เดี๋ยวก่อน อย่าเพิ่งเล่า ก่อนอื่น ผมขอถามคำถามสักสองสามข้อ” โสเครติสตอบ
“ข้อแรก ท่านแน่ใจอย่างเด็ดขาดหรือว่าเรื่องที่จะเล่านี้เป็นเรื่องจริง”
“อืม...ที่จริงผมได้ยินมาอีกทีนะครับ” ชายหนุ่มตอบ
“งั้นท่านก็ไม่ทราบว่ามันจริงหรือเท็จใช่ไหม
คำถามที่สองนะครับ มันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ครับ” โสเครติสถามต่อ
“เอ้อ...ไม่ใช่ครับ” ชายหนุ่มตอบ
“ท่านจะเล่าเรื่องที่ไม่ดีเกี่ยวกับเพื่อนของผมทั้ง ๆ
ที่ไม่รู้แน่ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ขอผมถามข้อสุดท้ายนะครับ
สิ่งที่ท่านจะเล่ามีประโยชน์สำหรับผมไหมครับ” โสเครติสถาม
“ก็ไม่เชิงครับ” ชายหนุ่มตอบ
“ตกลงเรื่องที่ท่านจะเล่าอาจไม่เป็นความจริง
ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ดี และไม่มีประโยชน์ ท่านจะเล่าไปทำไมหรือ”
โสเครติสย้อนถาม...
...บางครั้งเราก็อาจฆ่าความเบื่อด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นลับหลัง
แต่ถ้าคนที่คุณพูดถึงในทางเสียหายเป็นเพื่อนของคุณ
มันก็ไม่คุ้มกันเลยที่จะเสียเพื่อนด้วยความคะนองปาก
พระพุทธเจ้าได้สอนวิธีที่เราควรปฏิบัติต่อเพื่อน
ซึ่งถือเป็นบุคคลที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไว้ในทิศเบื้องซ้าย ดังนี้...
๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. พูดจามีน้ำใจ
๓. ช่วยเหลือเกื้อกูล
๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย และ
๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
ส่วนมิตรสหายเมื่อได้รับการปฏิบัติโดยชอบแล้ว ก็ควรอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก และ
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
...การมีเพื่อนดีเป็นลาภอันประเสริฐ
มีพุทธภาษิตหลายบทที่สรรเสริญการมีมิตรที่ดี
เช่นกล่าวว่าการมีญาติมิตรมากเปรียบเสมือนต้นไม้ในป่าที่มีจำนวนมาก
ต่างกับต้นไม้ที่อยู่โดดเดี่ยว แม้จะมีขนาดใหญ่โตสักเท่าไหร่
เมื่อมีพายุมา ก็อาจโค่นได้
อย่างไรก็ตาม การมีมิตรที่ดีมากมาย
ก็ยังไม่สู้กับการมีกัลยาณมิตรเพียงคนเดียว
กัลยาณมิตรคือผู้ที่มีใจเป็นเพื่อนที่มุ่งดี
ปรารถนาดี ให้ความช่วยเหลือ ว่ากล่าวตักเตือน
แนะนำไม่ปล่อยให้คิดผิดพูดผิด
ไม่ปล่อยให้มีภัยมีความเสื่อมเสียเกิดขึ้นหากป้องกันได้
กัลยาณมิตรหาได้ไม่ง่าย ไม่ใช่เพื่อนทุกคนจะเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน
ผู้เป็นกัลยาณมิตรนั้นต้องมีคุณสมบัติหลักที่สำคัญที่สุดคือ
ความดี มีคุณธรรมประจำใจ พร้อมด้วยสติและปัญญา...
..."เพื่อนของโสเครติส...ว่าด้วยเรื่องกัลยาณมิตร"...!!!
...เห็นด้วยหรือไม่ว่า “การมีเพื่อนหรือกัลยาณมิตรดีดีสักคนไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือการรักษาเพื่อนหรือกัลยาณมิตรดีดีไว้ได้หรือไม่นี่สิเรื่องใหญ่”
วันนี้วันโกนจึงขอหยิบยกว่าด้วยเรื่องกัลยาณมิตร
ซึ่งเป็นนิทานธรรมของดร.เอ๋ย มานำเสนอแด่กัลยาณมิตรผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน
สมัยกรีซโบราณ โสเครติสได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่
วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งถามท่านว่า...
“ท่านทราบไหมว่าผมเพิ่งได้ยินเรื่องอะไรเกี่ยวกับเพื่อนของท่าน”
“เดี๋ยวก่อน อย่าเพิ่งเล่า ก่อนอื่น ผมขอถามคำถามสักสองสามข้อ” โสเครติสตอบ
“ข้อแรก ท่านแน่ใจอย่างเด็ดขาดหรือว่าเรื่องที่จะเล่านี้เป็นเรื่องจริง”
“อืม...ที่จริงผมได้ยินมาอีกทีนะครับ” ชายหนุ่มตอบ
“งั้นท่านก็ไม่ทราบว่ามันจริงหรือเท็จใช่ไหม
คำถามที่สองนะครับ มันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ครับ” โสเครติสถามต่อ
“เอ้อ...ไม่ใช่ครับ” ชายหนุ่มตอบ
“ท่านจะเล่าเรื่องที่ไม่ดีเกี่ยวกับเพื่อนของผมทั้ง ๆ
ที่ไม่รู้แน่ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ขอผมถามข้อสุดท้ายนะครับ
สิ่งที่ท่านจะเล่ามีประโยชน์สำหรับผมไหมครับ” โสเครติสถาม
“ก็ไม่เชิงครับ” ชายหนุ่มตอบ
“ตกลงเรื่องที่ท่านจะเล่าอาจไม่เป็นความจริง
ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ดี และไม่มีประโยชน์ ท่านจะเล่าไปทำไมหรือ”
โสเครติสย้อนถาม...
...บางครั้งเราก็อาจฆ่าความเบื่อด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นลับหลัง
แต่ถ้าคนที่คุณพูดถึงในทางเสียหายเป็นเพื่อนของคุณ
มันก็ไม่คุ้มกันเลยที่จะเสียเพื่อนด้วยความคะนองปาก
พระพุทธเจ้าได้สอนวิธีที่เราควรปฏิบัติต่อเพื่อน
ซึ่งถือเป็นบุคคลที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไว้ในทิศเบื้องซ้าย ดังนี้...
๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. พูดจามีน้ำใจ
๓. ช่วยเหลือเกื้อกูล
๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย และ
๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
ส่วนมิตรสหายเมื่อได้รับการปฏิบัติโดยชอบแล้ว ก็ควรอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก และ
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
...การมีเพื่อนดีเป็นลาภอันประเสริฐ
มีพุทธภาษิตหลายบทที่สรรเสริญการมีมิตรที่ดี
เช่นกล่าวว่าการมีญาติมิตรมากเปรียบเสมือนต้นไม้ในป่าที่มีจำนวนมาก
ต่างกับต้นไม้ที่อยู่โดดเดี่ยว แม้จะมีขนาดใหญ่โตสักเท่าไหร่
เมื่อมีพายุมา ก็อาจโค่นได้
อย่างไรก็ตาม การมีมิตรที่ดีมากมาย
ก็ยังไม่สู้กับการมีกัลยาณมิตรเพียงคนเดียว
กัลยาณมิตรคือผู้ที่มีใจเป็นเพื่อนที่มุ่งดี
ปรารถนาดี ให้ความช่วยเหลือ ว่ากล่าวตักเตือน
แนะนำไม่ปล่อยให้คิดผิดพูดผิด
ไม่ปล่อยให้มีภัยมีความเสื่อมเสียเกิดขึ้นหากป้องกันได้
กัลยาณมิตรหาได้ไม่ง่าย ไม่ใช่เพื่อนทุกคนจะเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน
ผู้เป็นกัลยาณมิตรนั้นต้องมีคุณสมบัติหลักที่สำคัญที่สุดคือ
ความดี มีคุณธรรมประจำใจ พร้อมด้วยสติและปัญญา...