คัดพระสุตร ในพระไตรปิกฏให้อ่านศึกษา จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 16 เพื่อคลายความสัดส่ายในทิฏฐิต่างๆ พอได้บ้าง
-----------------------------------
คหบดีวรรคที่ ๕
๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑
[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบ
แล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรม
อย่างประเสริฐ อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่พึงพยากรณ์ตน
ด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้
ในภายหน้า ฯ
[๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพ
ภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะ
ปาณาติบาตเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก
ทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทานสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพภัยเวรใดอันมีในชาตินี้บ้างอันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก
ทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสพภัยเวรใดอันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก
ทุกข์คือโทมนัสบ้างเพราะ มุสาวาทเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้
บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและ
เมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
ภัยเวร ๕ ประการนี้สงบแล้ว ฯ
[๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกร
คฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔
บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญอันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วย
ธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
[๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป
บาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
[๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อ
นั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างและญายธรรมอย่าง
ประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติ
วิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้
เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
จบสูตรที่ ๑
---------------------------------------------
เสนอแนะ...
บางท่านอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเฟ้อเจ้อไป อาจเป็นเพราะขาดการศึกษาพิจารณาและการปฏิบัติอย่างถูกต้องไม่ปรากฏผลไปตามลำดับ ส่วนบางท่านเมื่ออ่านแล้วคิดคิดว่า เป็นเรื่องยาก ก็ขอให้กำลังใจว่า ไม่พ้นไปจาก ผู้มีความตั้งมั่นเจริญปัญญาและมีความเพียร ไปได้
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติ วิสัยสิ้นแล้ว ดังนี้
-----------------------------------
คหบดีวรรคที่ ๕
๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑
[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบ
แล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรม
อย่างประเสริฐ อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่พึงพยากรณ์ตน
ด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้
ในภายหน้า ฯ
[๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพ
ภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะ
ปาณาติบาตเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก
ทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทานสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพภัยเวรใดอันมีในชาตินี้บ้างอันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก
ทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสพภัยเวรใดอันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก
ทุกข์คือโทมนัสบ้างเพราะ มุสาวาทเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้
บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและ
เมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
ภัยเวร ๕ ประการนี้สงบแล้ว ฯ
[๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกร
คฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔
บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญอันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วย
ธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
[๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป
บาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
[๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อ
นั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างและญายธรรมอย่าง
ประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติ
วิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้
เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
จบสูตรที่ ๑
---------------------------------------------
เสนอแนะ...
บางท่านอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเฟ้อเจ้อไป อาจเป็นเพราะขาดการศึกษาพิจารณาและการปฏิบัติอย่างถูกต้องไม่ปรากฏผลไปตามลำดับ ส่วนบางท่านเมื่ออ่านแล้วคิดคิดว่า เป็นเรื่องยาก ก็ขอให้กำลังใจว่า ไม่พ้นไปจาก ผู้มีความตั้งมั่นเจริญปัญญาและมีความเพียร ไปได้