ทำไมเครื่องบินขนส่งของทหาร แบบใบพัดจึงยังได้รับความนิยมอยู่ครับ

ทำไมเครื่องบินขนส่งของทหาร แบบใบพัดจึงยังได้รับความนิยมอยู่ครับ ไม่ว่าจะเป็น C130, C-295, A400-M, C-27J ถ้าแบบเครื่อง Jet
ของ บ.Embraer( Brazil ) เปิดตัว KC-390


Cn-295 โหลดของได้ 9.25 ตัน สำหรับ c-130j โหลดของได้ 20 ตัน อัตราโหลดของ c-295 มากกว่า g-222 อยู่นิดหน่อย น่าจะมาช่วยแบ่งเบา c130 ของเราได้ และด้วยมีขนาดที่เล็กกว่าน่าจะนำไปใช้ได้ค่อนข้างหลายภาระกิจ ด้วยราคาที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว โดย c-130j ตกเครื่องหนึ่งประมาณ 100 ล้านเหรียญหรือประมาณ 3300 ล้านบาท แต่ c-295 ตกลำละ 36 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1000 ล้านบาท ด้วยที่ใช้สองเครื่องยนต์ อัตราสิ้นเปลื่องต่อเที่ยวย่อมประหยัดกว่า c-130

บล. C-27J นั้นได้ผลิตขึ้นมาจากบริษัท LMATTS ซึ่งเป็นการร่วมมือระห่างสองบริษัท Lockheed Martin และ Alenia ด้วยเหตุผลดังนี้จึงทําให้ บล.C-27J มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหมือนกับ บล.C-130J ก็ว่าได้ครับ ขบวนการประกอบของ บล.C-27J นั้นจะอยู่ที่ประเทศอิตาลี โดยระบบการขับเคลื่อนและ avionic นั้นจะมอบหมายให้บริษัท Lockheed Martin เป็นผู้ดูแลรวมถึง กองสนับสนุนผลิตภัณฑ์และการตลาด ส่วนบริษัท Alenia นั้นจะเป็นผู้ดูแลในขบวนการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรและดูแลการผลิตสินค้าทั้งหมดรวมถึงการทดสอบระบบของเครื่องบิน

บล.C-27J เลยมีคุณสมบัติในการบํารุงรักษาและการคํานวนเหมือนกับ บล.C-130Jเลยครับแถมยังมีความจุของการบรรทุกสินค้าเท่ากันอีกด้วย ส่วนห้องนักบินก็ยังคล้ายกับ บล.C-130Jแต่ที่เหมือนกันอีกอย่างก็คือสภาพพื้นของห้องบรรจุสินค้าที่มีความแข็งแกร่งทนทานและความกว้างของห้องบรรจุสามารถบรรทุก บล.C-130 Hercules pallet ได้สบายมากครับ

ในการเปรียบเทียบระห่วาง บล.G222 และ บล.C-27J ทําให้เห็นว่าระบบการขับเคลื่อนของ บล.C-27J นั้นได้เพิ่มประสิทธิภาพระยะทางการบิน( Airfcraft range ) ถึง 35% และระดับการบิน (cruise ceiling) ถึง 30% เลยทีเดียว จึงไม่น่าแปลกใจเลยครับที่ บล.C-27J นั้นได้ถูกสั่งไปประจําการและใช้งานในหลายประเทศ
บล. C27jว่าเป็น บ.ลําเลียง ที่เจ๋งมากเพราะสามารถลงจอดในพื้นที่ ที่มี runway ไม่ยาวมาก โดยต้องการพื้นที่ไม่เกิน 600mครับ เช่นในประเทศอิรัก และ ประเทศอัฟกานิสถานจึงทําให้ C27J ปฎิบัติภารกิจในหลายๆพื้นที่ได้

นํ้าหนักบรรทุกของก็เป็นเรื่องสําคัญอีกอย่างของ บ.ลําเลียง ซึ่งบล.C27J นั้นมี payload ที่มากกว่าถึง 11,100 Kg เมื่อเปรียบเทียบกับ C295อยู่ที่ 9,250 kgจึงทําให้C27jนั้นเป็น บ.ลําเลียงที่ดีที่สุดก็ว่าได้ครับ



ขอ้เปรียบเทียบระหว่า C-130๋J(ตัวใหม่) กับ C-130H(ตัวเก่าที่เรามี)

C-130๋J(ตัวใหม่) มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า 29%
C-130๋J(ตัวใหม่) ประหยัดกว่า 15%
C-130๋J(ตัวใหม่) บรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า  25%
C-130๋J(ตัวใหม่) มีพิสัยการบินไกลกว่า 40%

งั้นผมเลยคิดว่าคงเป็น C-130 อีกนั่นแหละ ประจำการนานกว่า30ปี และยังคงใช้ได้อีกนานในกองทัพทั่วโลก
Credit K.Big Worm.




A400M คือเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ ที่ Airbus Military คาดหวังว่าจะเข้ามาอุดช่องว่างระหว่าง C-130 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธรและ C-17 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ โดย A400M มีความสามารถในการบรรทุกมากกว่า C-130 ถึง 2 เท่า แต่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อน้ำหนักบรรทุกที่ถูกกว่า และมีขนาดที่ไม่แตกต่างจาก C-130 มากนัก เช่นมีความกว้างของปีกมากกว่า C-130 เพียง 2 เมตร จึงทำให้สามารถใช้ลานจอดและโรงเก็บเดียวกับ C-130 ได้โดยไม่ต้องทำการปรับปรุงมากนัก นอกจากนั้นยังมีความเร็วที่ใกล้เคียงกับ C-17 คือ 0.68-0.72 มัค เทียบกับ C-17 ที่ 0.74-0.77 มัค และ C-130 ที่ 0.56-0.59 มัค

A400M ยังมีห้องโดยสารที่กว้าง สามารถลำเลียงเฮลิคอปเตอร์แบบ EC735 หรือปืนใหญ่อัตตาจรแบบ M109 ได้ รวมถึงสามารถลำเลียงรถเครน รถตัก และรถบรรทุกได้ในภารกิจทางด้านมุษยธรรม ในภารกิจการส่งทางอากาศ A400M สามารถบรรทุกพลร่มพร้อมสัมภาระได้ 116 นาย หรือบรรทุกกำลังพล 54 นายพร้อมพาเลทมาตราฐานนาโต้ 9 พาเลท หรือสามารถติดตั้งเตียงพยาบาลจำนวน 66 เตียงพร้อมที่นั่ง 25 ที่นั่ง

ทางด้านพิสัยการบิน เมื่อทำการบินจากกรุงเทพ จะบินได้ไกล 4,500 ก.ม. เท่ากับการบินถึงปากีสถานหรือญี่ปุ่นเมื่อบรรทุกน้ำหนัก 30 ตัน หรือบินได้ไกล 6,400 ก.ม. เท่ากับการบินถึงซาอุดิอารเบียหรือรัสเซียเมื่อบรรทุกน้ำหนัก 20 ตัน โดยมิพิสัยบินไกลสุดที่ 8,700 กม. เทียบกับ C-130J ที่มีพิสัยบินได้ไกล 3,000 ก.ม.เมื่อบรรทุกน้ำหนัก 20 ตัน ซึ่งจะบินถึงอินเดียหรือฟิลิปปินส์เท่านั้น

A400M ยังใช้เครื่องยนต์ Turboprop แบบ Europrop TP400-D6 ซึ่ง Airbus Military กล่าวว่า A400M จำนวน 8 ลำสามารถปฏิบัติภารกิจได้เท่ากับ C-130 ถึง 18 ลำด้วยค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานที่ต่ำกว่าราว 55% นอกจากนั้นห้องนักบินยังใช้การออกแบบเดียวกับห้องนักบินของ A380 และเพิ่มจอ HUD เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบิน ส่วนการซ่อมบำรุงนั้นใช้หลักการเดียวกับการซ่อมบำรุงเครื่องบินโดยสาร โดยมีระยะเวลาการตรวจเช็คทุก 3 เดือน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เป็นการตั้งกระทู้ "ถาม" ที่อธิบายปูพื้นได้เต็มมากครับ

ผมนี้ไม่ต้องการคำตอบเลย อมยิ้ม01
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่